แนวคิด TOD กับปรากฏการณ์คอนโดล้อมสถานี

01/11/2019

การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ได้แก่ ระบบราง เป็นการลงทุนสำคัญของภาครัฐในมหานครต่างๆ ที่ใช้ในการอำนวยความสะดวกในการสัญจร แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และเป็นมาตรการเชิงบวกเพื่อกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่ของภาคเอกชนไปพร้อมๆ กัน ในต่างประเทศมีการใช้แนวคิด Transit Oriented Development หรือ TOD ในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ทั่วถึง คุ้มค่าแก่การลงทุน และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยแนวคิดดังกล่าวมีหลักคิดสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกนำมาใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน (Mixed Use Development) โดยในพื้นที่ใกล้สถานีหนึ่งแปลงอาจถูกพัฒนาให้เป็นทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งพาณิชยกรรม และพื้นที่นันทนาการหลากหลายรูปแบบ 2. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาอย่างกระชับ (compact development) ซึ่งเป็นการพัฒนาให้พื้นที่นั้นมีความหนาแน่นสูง กล่าวคือ การใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรเพื่อประโยชน์สูงสุด 3. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาเพื่อให้ผู้คนสามารถเดินสัญจรได้อย่างสะดวก หมายความว่าบริการทุกอย่างในพื้นที่นั้นจะต้องเข้าถึงได้ด้วยการเดิน และพื้นที่นั้นจะต้องมีบรรยากาศที่น่าเดินด้วย 4. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลาย เช่น มีทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ ทางเดินเท้า ทางจักรยานและที่เก็บจักรยานไว้บริการ กล่าวโดยย่อคือ แนวคิด TOD เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทั้งคุณภาพของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีที่ต้องสามารถให้บริการที่หลากหลายแก่ประชาชน และรวมถึงอำนวยความความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการเข้าถึงบริการเหล่านั้น โดยหลักคิดดังกล่าว […]

อดีตที่ไม่มีกรุงเทพฯ และอนาคตที่ ‘อาจ’ ไม่มีอีกครั้ง

01/11/2019

เคยได้ยินมาว่า กรุงเทพฯ เปรียบเสมือนเมืองที่ยังสร้างไม่เสร็จ เพราะในทางธรณีวิทยากรุงเทพฯ ตั้งอยู่บริเวณตอนล่างที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำที่ไหลมาทับถมพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นพื้นที่ดินใหม่ เหมือนดั่งปากแม่น้ำสำคัญหลายๆ แห่งบนโลก อาทิ แม่น้ำอิระวดีในพม่าที่ตะกอนพัดมาสะสมทำให้แผ่นดินงอกออกไปในทะเลปีละประมาณ 55 เมตร หรือแถบแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ที่สมัยก่อนเมืองโบราณชื่ออัวร์อยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร ฉะนั้นพื้นดินกรุงเทพฯ ที่เรากำลังอาศัยอยู่ จึงเป็นพื้นดินใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นจากตะกอนทับถมเมื่อไม่นานมานี้ เช่นเดียวกับรายงานแผนที่ธรณีวิทยาของกรุงเทพฯ ในปี 2559 จากกรมทรัพยากรธรณีประเทศไทยที่พบว่า แผ่นดินส่วนใหญ่เป็นตะกอนดินเหนียวที่ราบน้ำท่วมถึง เจาะสำรวจพบเศษเปลือกหอยทะเล ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทำงานของทะเล โดยเฉพาะเขตที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลขึ้นและลง (Tidal Zone) และมีความหนามากในบริเวณที่ใกล้ชายฝั่งทะเลปัจจุบัน เป็นเครื่องการันตีได้ว่าสภาพแวดล้อมอดีตของกรุงเทพฯ (หมายรวมถึงจังหวัดภาคกลางบางส่วน) เคยอยู่ใต้ทะเลมาก่อน! จะว่าไปนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่จะกล่าวว่า แต่เดิมกรุงเทพฯ เคยเป็นทะเลมาก่อน เรามีหลักฐานยืนยันประเด็นนี้มากมาย ทั้งการขุดพบซากหอยทะเลโบราณที่วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี หรือแม้กระทั่งการขุดพบศีรษะปลาวาฬ ณ พระราชวังเดิมในฝั่งกรุงธนบุรี ประเด็นนี้ต้องไล่ย้อนถึงประวัติศาสตร์โลกที่มีช่วงอบอุ่น และช่วงยุคน้ำแข็งสลับกันไป โดยเริ่มจากเมื่อ 1,000 ปีก่อนที่โลกยังอยู่ในช่วงอบอุ่น (Medieval Warm Period) ตรงกับประวัติศาสตร์ไทยช่วงสมัยทวารวดีก่อนก่อตั้งกรุงสุโขทัย ความร้อนของโลกทำให้น้ำแข็งละลายออกมาจำนวนมาก แม้แต่เกาะกรีนแลนด์ที่ปัจจุบันมีแต่น้ำแข็งยังกลายเป็นเขตอบอุ่นให้ชาวไวกิ้งเข้าไปตั้งรกรากทำการเพาะปลูกในบริเวณนั้นได้ โดยน้ำที่เพิ่มสูงมากขึ้นทั่วโลกทำให้อ่าวไทยกินพื้นที่จังหวัดภาคกลางจมอยู่ใต้ทะเล เหมือนดั่งภาพแผนที่บริเวณอ่าวไทยโบราณสมัยที่ยังไม่มีแม้กระทั่งประเทศไทย  ต่อมาโลกเริ่มเย็นลงจนเข้าสู่ช่วงยุคน้ำแข็งย่อย (Little Ice Age) น้ำทะเลเริ่มจับตัวเป็นน้ำแข็งอีกครั้ง ระดับน้ำทั่วโลกจึงค่อยๆ ลดลง ประกอบกับการทับถมของตะกอนแม่น้ำหลายร้อยปี ทำให้เกิดพื้นแผ่นดินใหม่ในภาคกลางตอนล่าง โผล่ขึ้นเหนือระดับน้ำทะเลในยุคกรุงสุโขทัย และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรไทยจวบจนถึงปัจจุบัน กลับมายังโลก ณ […]

กรุงเทพฯ เมืองน้ำท่วม: คงเป็นบุพเพสันนิวาส เมื่อกรุงเทพฯ กับน้ำท่วมเป็นของคู่กันมานานแล้ว

01/11/2019

คงจำกันได้เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ปี 54 โลกอินเทอร์เน็ตมีการเปรียบเทียบสภาวะน้ำท่วมเป็น ‘น้องน้ำ’ ที่ค่อยๆ เดินทางมาหา ‘พี่กรุง’ โดยมี ‘นังทราย’ เป็นตัวขวางกั้น เกิดเป็นเรื่องราวความรักชวนหัวที่สร้างเสียงหัวเราะ และช่วยให้บรรยากาศผ่อนคลายในสภาวะวิกฤติขณะนั้น แม้จะฟังดูเป็นเรื่องราวโรแมนติก แต่ในโลกแห่งความจริงมวลน้ำมหาศาลก็พร้อมเดินทางมา ยังกรุงเทพมหานครทุกปี ทุกภพ ทุกชาติเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว หนำซ้ำเร็วๆ นี้มวลน้ำกำลังจะมาเยือนกรุงเทพมหานครอีกครั้ง วันนี้ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จะมาเล่าให้ฟังว่า อะไรเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้กรุงเทพมหานครต้องเผชิญหน้ากับสภาวะน้ำท่วมทุกปี และเรามีวิธีการรับมือกับมันอย่างไรบ้าง  มันอาจเป็นความรัก โชคชะตา พรหมลิขิต หรือจริงๆ แล้วมันเป็นยถากรรมของกรุงเทพมหานครกันแน่ ทำความรู้จักร่างกายกรุงเทพฯ  หากเป็นนิยาย อันดับเราต้องมาทำความรู้จักตัวละครหลักของเราก่อน ในที่นี้อาจหมายถึง กรุงเทพมหานคร ที่เปรียบเทียบพระเอกของเรา ในเชิงภูมิศาสตร์ กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่เรียกว่า ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (River Delta) เป็นแผ่นดินที่รวมกับแม่น้ำสะแกกรังและป่าสักเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนจะไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยในที่สุด กล่าวได้ว่ากรุงเทพฯ อยู่ราบต่ำน้ำท่วมถึง อยู่ตรงปากแม่น้ำปลายสุดของลำน้ำก่อนไหลลงสู่ทะเล หากมองไล่ขึ้นไปยังตำแหน่งต้นน้ำจะพบว่า แม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นเส้นเลือดหลักของกรุงเทพฯ เกิดการรวมกันของแม่น้ำ 4 สาย ในภาคเหนือ ได้แก่ ปิง, วัง, […]

ย้อนรอยกรุงเทพฯ 12 ปี เราเป็นเมืองน้ำท่วมกี่ครั้ง กี่ครากันแน่?

01/11/2019

ความที่กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ทำให้กรุงเทพฯ เป็นดั่งศูนย์กลางของสถาบันต่างๆ ทั้งการปกครอง การศึกษา การคมนาคม โดยเฉพาะเศรษฐกิจ คงหลีกเลี่ยงได้ยากที่ใครหลายคนจะเปรียบกรุงเทพฯ เป็นดั่งหัวใจหลักของประเทศ กระทั่งหน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญในการป้องกันน้ำท่วมมากกว่าพื้นที่อื่น อย่างไรก็ตาม อย่างที่เราเคยกล่าวไว้ในบทความที่แล้ว หากมองกรุงเทพฯ ในเชิงภูมิศาสตร์จะพบว่า กรุงเทพฯ เป็นดั่งพื้นที่รับน้ำที่ไหลมาจากทุกทิศทาง ฉะนั้นชะตากรรมกรุงเทพฯ จำต้องเผชิญหน้ากับมวลน้ำมหาศาลทุกปีเป็นเรื่องปกติ เราจึงมักได้ยินเสียงบ่นของมนุษย์กรุงเทพฯ ว่า “กี่ปีๆ น้ำก็ท่วมอยู่ดีนั่นแหละ” ด้วยความสงสัยของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เราจึงไปสืบค้นข้อมูลเพื่อย้อนเวลากลับไปดูในระยะ 12 ปีที่ผ่านมาว่า แท้จริงแล้วมหานครกรุงเทพฯ เผชิญหน้ากับสภาวะน้ำท่วมมาแล้วกี่ครั้งกี่ครากันแน่? ก่อนที่ปี 2560 นี้ กรุงเทพฯ จะต้องเผชิญหน้ากับมันอีกครั้ง จากข้อมูลของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) พบว่า สภาวะน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครย้อนหลัง 12 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2559 กรุงเทพฯ จมน้ำเพียง 5 ปีเท่านั้น โดยมีการท่วมต่อเนื่อง 4 ปีคือช่วง พ.ศ. […]

Good Walk, Save Cost เมืองไม่จน เพราะคนเดิน

01/11/2019

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบคำนวณค่าใช้จ่ายรายเดือน คุณก็คงสังเกตว่าแต่ละเดือนนั้นคุณจ่ายเงินสำหรับค่าเดินทางไปเท่าไหร่ แน่นอนว่าเราปฏิเสธรายจ่ายส่วนนี้ไม่ได้ หากเรายังต้องเดินทางในเมือง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าแต่ละเดือนเราจ่ายค่าเดินทางกันเยอะเกินไป คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง และผู้จัดการโครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี กล่าวว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในแต่ละเดือน เราเสียเงินกับค่าเดินทางประมาณ 20% ของรายได้ ซึ่งถือว่าไม่น้อยเลยหากเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่ใช้จ่ายเงินส่วนนี้เพียง 10% เท่านั้น ซึ่งปัญหาหลักๆ ก็คือเราไม่สามารถพึ่งพาระบบขนส่งสาธารณะของเราได้อย่างเต็มศักยภาพ เช่น การจะมาขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟใต้ดินเอ็มอาร์ทีที่เป็นขนส่งหลัก ในบางพื้นที่ก็ต้องนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างมายังสถานี ซึ่งราคาค่าโดยสายพอๆ กับค่ารถไฟฟ้าในแต่ละเที่ยวด้วยซ้ำ แต่ในต่างประเทศเส้นทางของขนส่งหลักจะครอบคลุมแทบทั้งเมือง และใช้การเดินเป็นระบบขนส่งรองแทน แนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ด้วยตัวเองก็คือ การปรับตัวของเรา ซึ่งหนึ่งในวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด นั่นคือ การเดิน แต่ก็ไม่ง่ายเลยที่เราจะเดินได้อย่างสะดวกในเมืองนี้ เพราะปัญหาหนึ่งที่ถูกเพิกเฉยตลอดมานั่นคือ ทางเท้าที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่ชวนให้อยากเดิน ทางจักรยานที่ใช้ไม่ได้จริง แต่เชื่อหรือไม่ว่าปัญหาอย่างทางเท้าหากได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย  มีหลายเมืองในโลกที่หันมาสนใจพัฒนาทางเท้าให้เอื้อต่อการเดินมากขึ้น จนท้ายที่สุดเศรษฐกิจเมืองดีขึ้น คำถามที่ตามมาก็คือ เมื่อเศรษฐกิจเมืองเติบโตดีขึ้น แล้วสภาพคล่องในกระเป๋าเงินของเราล่ะ จะเป็นอย่างไร? เดินได้เพราะเมืองดี มีงานวิจัยที่บอกว่า ความเร็วของการเคลื่อนที่มีผลต่อการจับจ่าย  นั่นหมายความว่ายิ่งคุณเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ คุณก็จะแวะซื้อของได้ลำบากมากขึ้น เพราะฉะนั้นหากเมืองไหนที่มีคนใช้แต่รถ การจับจ่ายใช้สอยก็จะไปกระจุกตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือการซื้อของแบบ Drive through ที่ต่างคนต่างซื้อแล้วไปยังจุดหมายปลายทางของตน […]

Boost your health up! : อะไรก็ดีถ้าเมืองเดินได้เมืองเดินดี

01/11/2019

คำถามร่วมสมัยคนเมืองก็คือ เราจะมี “ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว” ได้อย่างไร ท่ามกลางการเติบโตอย่างไม่ค่อยคอยใครของกรุงเทพมหานคร การก้าวข้ามกำแพงของความเหลื่อมล้ำดูจะเป็นเรื่องที่แค่คิดก็ท้อสำหรับใครหลายคน ทำวันนี้ให้อิ่มท้องก่อนดีไหม หรือเช้านี้จะฝ่ารถติดไปทำงานอย่างไรให้ทันก่อนดีกว่า ยิ่งปัจจุบันระบบการสัญจรในกรุงเทพฯ ที่ง่ายที่สุดและช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างผู้คนและละแวกบ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่มากที่สุดอย่าง “การเดิน” กลับถูกลดความสำคัญลงและคนเดินเท้าก็กลายสถานะเป็น “ส่วนเกิน” ของถนนหรือทางเท้าไปได้ซะนี่ สิทธิที่จะเดิน จึงกลายเป็นเรี่องยากยิ่งกว่ายากสำหรับคนเมืองเนื่องจากการออกแบบสาธารณูปการต่างๆ ที่ไม่ได้คำนึงผู้ใช้งานทั้งหมดแต่กลับยกให้คนใช้รถเป็นใหญ่ที่สุดบนท้องถนนภาพฝันสวยๆ อย่างการเดินที่เชื่อมเราเข้ากับกิจกรรมอันหลากหลาย (mixed use) ในเมืองจึงไม่เคยเกิดขึ้นจริงสักที  มาถึงตรงนี้หลายคนคงมีข้อสงสัยกันบ้างว่า การเดินอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวันดูเป็นเรื่องที่เหนื่อยเกินไป ช้าก่อนค่ะ อย่าเพิ่งเอาความเคยชินที่เราอาจจะปรับตัวอยู่ร่วมกับความไม่ปกติบนทางเท้ามาทำให้คุณสิ้นหวัง ลองมาฟังผลพลอยได้สำคัญที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ หากคุณเริ่มเดิน เดินวันนี้ เฮลตี้วันนี้ หลายคนกังขาว่า การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ทำได้เฉพาะชนชั้นกลางขึ้นไป หรืออย่างน้อยก็ทำได้เฉพาะกับคนที่มีเวลา แต่ปัจจุบันแวดวงการศึกษาเรื่องสาธารณสุขเริ่มหันมาสนใจ “การเดิน” ในฐานะการออกกำลังกายวิธีการหนึ่งที่ให้ผลดีต่อสุขภาพหากเดินเป็นประจำอย่างน้อย 20-30 นาที หรือจะลองสร้างนิสัยการเดินในชีวิตประจำวันด้วยการชวนคนรู้จักมาร่วมเป็นเพื่อนเดิน แล้วลองใช้แอปพลิเคชั่นนับก้าวเดินต่างๆ เป็นอุปกรณ์เพิ่มความสนุก ก็อาจกระตุ้นให้คุณยิ่งอยากเดิน อยากสะสมจำนวนก้าวมากขึ้น รู้ตัวอีกที เดินไปครบ 10,000 ก้าวต่อวัน เผาผลาญได้ 280-500 แคลอรี่ มีแต่ได้กับได้ การเดินไม่เพียงแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีผลไปถึงการเปิดพื้นที่ช่องทางการสัญจรที่หลากหลายขึ้นในสังคมที่มีรถเป็นใหญ่กว่าคน เพราะเมื่อเราออกมาเดินกันมากขึ้น การเดินของเรานี่แหละที่จะเป็นการช่วยตรวจสอบความปลอดภัย […]

เดินบ้านเรา เข้าบ้านเธอ อารีย์-ประดิพัทธ์

01/11/2019

หากความงามของศิลปะขึ้นอยู่กับดวงตาของผู้มองฉันใด ความเป็นเมืองก็น่าจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกและประสบการณ์ร่วมของผู้อยู่ฉันนั้น สำหรับ “โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ในระยะที่ 3” ที่กำลังจะมาชวนทุกคนสนุกไปกับวัฒนธรรมการเดินเปลี่ยนเมือง โดยมีพื้นที่นำร่องศึกษาแห่งแรกคือ อารีย์-ประดิพัทธิ์ นอกจากเราจะทำงานกับพื้นที่และคนในย่านผ่านวิสัยทัศน์ของสถาปนิกและผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองอย่างที่เป็นมาในโครงการระยะที่ 1-2 แล้ว กลับมาทั้งทีต้องไฉไลกว่าเดิมด้วยยกระดับการทำงานให้สถาปนิกมามองเมืองร่วมกับนักสังคมศาสตร์ ด้วยความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาพื้นที่ย่อมต้องมาจากรับฟังความเห็นอันรอบด้านและจากทุกคนที่เดินอยู่บนทางเท้าเดียวกันในเมือง เอาล่ะในฐานะนักวิจัยประจำโครงการฯ ฉันขอพาทุกคนไปสำรวจย่านทั้งสองผ่านมิติทางสังคมกันบ้าง อารีย์กับประดิพัทธิ์มีขอบเขตทางพื้นที่ที่ห่างกันแค่ราว 1 กิโลเมตรเท่านั้น แต่กลับมีทั้งกายภาพและเอกลักษณ์เฉพาะย่านแตกต่างกันราวหน้ามือเป็นหลังมือ อารีย์คือ ภาพแทนของความชิคประหนึ่งวัยรุ่นหนุ่มสาวกำลังเริงร่า ขณะที่ประดิพัทธิ์หลากหลายไปด้วยผู้คนจากสารพัดทิศทั่วไทยมารวมตัวกัน เตรียมร่างกายของคุณให้พร้อม แล้วออกเดินส่องย่านไปกับเรา… สาม สี่ เริ่ม! ประดิพัทธิ์: ความม่วนชื่นเป็นกันเองแบบบ้านๆ ประดิพัทธิ์เป็นชื่อของถนนที่ตั้งอยู่ในย่านสะพานควาย กล่าวย่อลงมาหน่อย ประดิพัทธิ์คือ ถนนสายของกินราคาประหยัด แถมยังเนื้อหอมขึ้นทุกวันหากวัดจากจำนวนคอนโดที่ผุดขึ้นโดยรอบมากกว่า 5 เจ้า และยังมีผู้ประกอบกิจการที่สนใจมาเปิดร้านชิคๆ ในพื้นที่ ความน่าสนใจของประดิพัทธิ์ก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งรวบที่พักอาศัยของทั้งคนเมืองและคนที่ย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ยิ่งซอยประดิพัทธิ์ 23-25 ที่หากเดินเข้าไปจะพบว่าซอยทั้งสองนี้เต็มไปด้วยหอพักรายเดือนตั้งแต่หน้าซอยจนถึงท้ายซอย ความเฉพาะตัวเช่นนี้เองที่ช่วยประสานให้ประดิพัทธิ์เต็มไปด้วยความหลากหลายของผู้คน ตัวอย่างอันชัดเจนคือ แรงงานอีสานที่ปักหลักอาศัยและทำกินอยู่ในละแวกนี้ เพราะพวกเขาไม่เพียงแต่เดินทางมาตัวเปล่าเท่านั้น แต่ยังนำวิถีชีวิตจากถิ่นที่เดิมมายังที่อยู่ใหม่นี้อีกด้วย สิ่งบ่งชี้ถึงการเชื่อมโยงความผูกพันของดินแดนที่จากมากับการปรับประสานตนเองเข้ากับพื้นที่ใหม่ได้ดีที่สุดก็คือ อาหารการกิน หากสังเกตหาบเร่แผงลอยในย่านประดิพัทธิ์ เราจะพบว่าของกินส่วนใหญ่คือ อาหารที่คนรับรู้ร่วมกันว่าเป็นอาหารอีสาน ไม่ว่าจะเป็น […]

บทบาทของย่าน La Part-Dieu กับการพา Lyon สู่เมืองชั้นนำในยุโรป

01/11/2019

คงปฏิเสธไม่ได้ว่ายุโรปเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักเดินทางหลายๆคน หรือยิ่งไปกว่านั้นคือความฝันที่จะใช้ชีวิตภายหลังเกษียณ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านสภาพอากาศ ธรรมชาติ ผู้คน ตึกรามบ้านช่องที่ดูสวยงามไปซะหมดเหมือนยกออกมาจากเทพนิยาย หรือหลายคนอาจมองไปถึง “คุณภาพชีวิตที่ดี” ที่หาได้ยากเหลือเกินในบ้านเมืองเรา ที่จริงแล้วใครกันที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างบ้านเมืองให้น่าอยู่ รัฐ เอกชน หรือประชาชนทุกคน อ่านมาถึงจุดนี้อย่าพึ่งด่วนสรุปถอดใจเพราะเมืองที่ดีคงไม่ได้มาเพราะความบังเอิญแน่นอน            จากสถิติปี 2015 องค์กรที่ปรึกษา ชั้นนำอย่าง PwC ได้จัดอันดับให้เมือง Lyon เป็นเมืองที่น่าดึงดูดสำหรับผู้มาเยือนที่สุดในฝรั่งเศสสามารถเอาชนะเมืองคู่แข่งสำคัญอื่นๆ อาทิ Paris Toulouse Bordeaux ยิ่งไปกว่านั้น ในปีเดียวกันการจัดอันดับเมืองที่น่าอยู่อาศัยที่สุดยังจัดอันดับให้ Lyon ติดอันดับที่ 16 ของเมืองในทวีปยุโรปยังไม่นับสถิติด้านเศรษฐกิจและการลงทุนอื่นๆ อีกมากมายที่เมืองนี้ถูกจัดอันดับให้ใกล้เคียงสูสีกับเมืองชั้นนำอื่นๆ ในทวีป หนึ่งในโครงการสำคัญที่สร้างการเติบโตและพัฒนาอย่างก้าวกระโดดให้เมืองคือโครงการพลิกฟื้นย่านเก่าแก่ด้านพาณิชยกรรมอย่างย่าน LaPart-Dieu ที่ริเริ่มครั้งแรกในช่วงปี 2007-2009 ผ่านการผลักดันอย่างต่อเนื่องของนักการเมืองคนสำคัญ Gérard Collomb (ตำแหน่งปัจจุบัน President of the Lyon metropolis) และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ผ่านการทำงานตลอดจนการเกิดขึ้นของบรรษัทพัฒนาเมือง Société Publique Locale (SPL) หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบและบริหารจัดการโครงการโดยตรง           องค์กร Société Publique Locale  หรือเรียกย่อๆ ว่า SPL คือหน่วยงานที่ร่วมกันก่อตั้งในปี 2014 ถือหุ้นโดย Lyon City และ Metropole de Lyon (เทียบกับบ้านเราก็เปรียบกับหน่วยงานระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ทำหน้าที่ที่ปรึกษาและบริหารจัดการด้านการออกแบบวางผัง การลงทุน การประชาสัมพันธ์โครงการต่อสาธารณชน ทั้งเอกชนที่สนใจมาลงทุนในโครงการและที่สำคัญทำความเข้าใจและรับฟังความต้องการของชาวเมืองและประชาชนในพื้นที่ ดูแลพื้นที่สำคัญขนาด 1.77 ตารางกิโลเมตรอย่างโครงการ La Part-Dieu ที่ได้เกริ่นข้างต้น แต่ทำไมต้องพื้นที่นี้ ย่านนี้สำคัญอย่างไร ? บริเวณ La Part-Dieu เป็นย่านพาณิชยกรรมเก่าแก่ที่ถูกพัฒนาฟื้นฟูมาตั้งแต่ช่วงปี 1960-1970 โดยความหาญกล้าของหน่วยงานท้องถิ่นในการนำค่ายทหารเก่าที่อยู่ใจกลางเมืองติดกับสถานีรถไฟกลาง (Gare de Lyon Part-Dieu) และด้วยทำเลที่ห่างจากศูนย์กลางเมืองเพียง 1.8 กิโลเมตรมาพัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยขนาด 2,600 ยูนิตสำหรับประชาชนทั่วไป หลังจากนั้นพื้นที่ขนาด 334 เอเคอร์ หรือ 1.35 ตร.กม. (พื้นที่ก่อนจะเพิ่มขอบเขตและดูแลโดย SPL) ได้ถูกจัดสรรแบ่งโซนและพัฒนาโครงการอื่นๆ […]

WHY WE WALK? – เราเดินเพื่ออะไร?

01/11/2019

เพราะการเดินนับเป็นความสามารถพื้นฐานของมนุษย์ที่จะพาตัวเองไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ ซึ่งนอกเหนือจากการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งแล้ว การเดินยังมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จึงอยากรวบรวมประโยชน์ของการเดินแต่ละอย่าง ว่าเราสามารถเดินเพื่อวัตถุประสงค์อะไรได้บ้าง เดินปลดปล่อยความคิด ฌอง ฌาค รุสโซ นักทฤษฎีการเมืองในยุคแสงสว่างทางปัญญาที่ใครหลายคนรู้จักกล่าวว่า‘สมองหยุดคิดเมื่อเท้าหยุดเดิน’การเดินของเขาจึงเปรียบเสมือนการเดินเพื่อค้นพบ เพื่อทบทวน และเพื่อสื่อสารกับตัวเอง สอดคล้องกับงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในปี 2014 ที่พบว่า 60 % ของความคิดสร้างสรรค์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากออกไปเดิน ฉะนั้นเมื่อคุณสมองตันคิดงานไม่ออก ลองปลีกตัวออกไปเดินเล่นๆ รอบบ้านหรือออฟฟิศดูได้นะ เดินประท้วง ย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 การเดินก็เริ่มมีนัยยะในเชิงการเปลี่ยนแปลงสังคมกันแล้ว มีบันทึกว่า อิมมานูเอล คานท์ นักปรัชญาชาวเยอรมันคนสำคัญของโลก ก็ชอบเดินประท้วงไปรอบๆ ถิ่นที่อยู่อาศัยของเขาแทบทุกวัน ขณะที่ในปัจจุบันการเดินเริ่มเป็นหนึ่งในเครื่องมือของการแสดงพลังทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่า การเดินกลายเป็นเครื่องมือหนึ่งของสัญญะการประท้วง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในมิติเล็กๆ กระทั่งมิติใหญ่อย่างล้มรัฐบาลมาแล้วในหลายประเทศ เดินเพื่อสื่อสารตัวตน ออนอเร เดอ บาลซัก นักประพันธ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสมองเห็นท้องถนนในศตวรรษที่ 19 เป็นแรงบันดาลใจให้เขาหยิบฉวยช่วงขณะย่างเดินมาเป็นแว่นตาในการศึกษาผู้คนในเมืองและเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการเขียนงาน บัลซัค พบว่า การเดินเป็นการสื่อสารตัวตนที่แสดงออกถึงชนชั้นทางสังคม บุคลิก อาชีพ รวมไปถึงมีผลต่อการแต่งกาย ท่วงท่าการเดินของคนเราจึงไม่เหมือนกัน ถนนจึงเต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายและกลายมาเป็นสีสันสำคัญของเมือง […]

Good Walk – Bad Walk จินตนาการเมืองเดินดี

01/11/2019

เรานึกภาพออกกันไหมว่า หากกรุงเทพมหานครมีทางเดินที่ดี แสงสว่างเพียงพอ ไม่มีสิ่งกีดขวาง และมีบรรยากาศริมทางที่น่าเดิน ชีวิตในเมืองกรุงจะน่าอยู่เพียงใด ถ้าเรามีเมืองที่ผู้คนสามารถเข้าถึงจุดหมายต่างๆ ได้ด้วยการเดิน มีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับการเดิน และเป็นเมืองที่ผู้คนเข้าใจความหลากหลาย สะดวกสบาย ปลอดภัย และรื่นรมย์ เราจะได้ประโยชน์จากบ้านเมืองแบบนี้ และสามารถใช้ชีวิตได้ตามแต่ใจมากขึ้น  นอกจากนี้การเดินยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของสังคมให้มีค่าเฉลี่ยที่ดีขึ้นด้วย เมื่อมนุษย์เดินสองเท้า เราสามารถเข้าถึงสิ่งเล็กน้อยริมทาง เห็นรายละเอียดที่เคยมองข้าม ได้ออกกำลังกาย และสื่อสารตัวตน  ผู้คนมีการแต่งตัวที่แตกต่างตามบุคลิกหรืออาชีพที่หลากหลาย กลายเป็นสีสันให้เมือง และทำให้เราเข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้น ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้ดำเนิน ‘โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี’ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างกระบวนการและกลไกในการเชื่อมโยง ‘นโยบาย’ เข้ากับ ‘พื้นที่’ โดยมีเป้าหมายคือการส่งเสริมให้ผู้คนออกมาเดินกันในชีวิตประจำวัน มุ่งเน้นการสร้างพื้นที่นำร่องเพื่อเป็นพื้นที่ตัวอย่างการพัฒนาเมืองเดินดีให้เกิดขึ้นในประเทศไทย “การแสดงผลงานสาธารณะโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี” จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน 2561 เวลา 13.00-16.30 น. ณ โกดังอเนกประสงค์ริมน้ำ ล้ง 1919 ท่าน้ำเก่าที่ได้รับการเปลี่ยนให้เป็นคอมมิวนิตี้มอลล์แห่งใหม่  ในงานมีแฟชั่นโชว์ที่นำเสนอ good walk กับ bad walk เปรียบเทียบระหว่างชีวิตของผู้คนบนถนนหนทางที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ มีร่มเงา เป็นทางเดินมาตรฐาน กับทางเดินที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน สิ่งกีดขวาง […]

1 5 6 7 8