ทางเท้าของชาวเมือง : กรุงเทพฯ วันนี้ ‘เดินได้-เดินดี’ แล้วหรือยัง?

09/01/2020

เมืองใหญ่อันเต็มไปด้วยรถราบนท้องถนนและระบบขนส่งสาธารณะหลากหลายรูปแบบอย่างกรุงเทพมหานคร การเดินเท้าคงไม่ใช่ตัวเลือกแรกที่หลายคนนึกถึงเมื่อต้องออกเดินทาง แต่ในขณะเดียวกัน การเดินทางหลายครั้งกลับเริ่มต้นด้วยการเดินเท้า ทั้งเดินไปยังป้ายรถเมล์ สถานีรถไฟฟ้า กระทั่งเตร็ดเตร่ไปมาเพื่อรอแท็กซี่หรือรถยนต์ส่วนตัว การเดินเท้าเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อการเดินทางทุกประเภท รวมถึงเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่สุดที่สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของคนเกือบทุกเพศทุกวัย เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางเท้าที่สามารถ ‘เดินได้’ ไปจนถึงขั้น ‘เดินดี’ จึงมีความสำคัญอย่างมาก แต่คำถามคือทางเท้าของชาวเมืองกรุงในวันนี้มีสภาพที่ดีพอจะ ‘เดินได้’ ในชีวิตประจำวันของพวกเขาแล้วหรือยัง ปัญหาเรื่องการเดินของพวกเขาคืออะไร และทางเท้าที่ ‘เดินดี’ ในสายตาพวกเขานั้น สมควรเป็นอย่างไร คำตอบอยู่ในบทสนทนาและประสบการณาการเดินเท้าจากผู้ใช้จริง “ผมเดินทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลบ่อยมาก เรียกได้ว่าแทบทุกวันเวลาเดินทาง จะใช้วิธีเดินเท้าไปขึ้นรถเมล์หรือรถไฟฟ้า แล้วแต่เวลาและความสะดวก “ถ้าถามผมว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เหมาะกับการเดินไหม.. ไม่น่าจะเหมาะ เพราะสภาพแวดล้อมของทางเท้าส่วนมากไม่เอื้ออำนวยให้เดินอย่างสะดวกสบาย มักมีสิ่งกีดขวางตามพื้น เช่น เสาหรือต้นไม้ บางที่ถึงมีไม่เยอะ แต่มันก็ไม่สวยงาม ทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับอากาศร้อน ควันพิษจากท้องถนน เรียกว่าสิ่งแวดล้อมไม่ดีเลย “ส่วนตัวอยากให้มีการปรับปรุงทางเท้าให้เป็นระเบียบมากกว่านี้ ให้เป็นสัดส่วนมากกว่านี้ อาจจะมีสิ่งกีดขวางเล็กน้อยบ้างก็ได้ แต่ต้องมีการดูแลสภาพอยู่เป็นประจำ อย่าปล่อยปละละเลย” สุพจน์ ลูกแสงสี, อายุ 72 ปี อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว “บ้านเราอยู่แถบพุทธมณฑลสาย 4 […]

มาลเมอในสวีเดน และชุมชนหลากฐานะในอเมริกา : พัฒนาอย่างไร ให้คนยังมีที่ยืนในพื้นที่เดิมของตัวเอง

02/01/2020

“ที่อยู่อาศัยที่ดีไม่ใช่แค่สิ่งอำนวยความสะดวก แต่เป็นสิทธิมนุษยชน” แอนเดรียส คอนสตรอม (Andreas Schönström) รองนายกเทศมนตรี เมืองมาลเมอ (Malmö) ในสวีเดน กล่าวในงานประชุมนานาชาติว่าด้วยการเคหะและการเงินในเขตเมือง ครั้งที่ 7 (The 7th International Forum on Housing and Urban Finance) ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ หลังจากช่วงที่ 1 ของงาน วิทยากรได้พูดถึงโจทย์ในการร่างนโยบายการเคหะที่ครอบคลุมคนทุกประเภทให้ยังมีที่อยู่อาศัยในเมืองได้ผ่านโครงการ social housing ในช่วงที่ 2 นี้ โจทย์คือการมองภาพกว้างออกมาว่า ในเมื่อเมืองต้องผ่านการ ‘ผ่าตัด’ พัฒนาและฟื้นฟูให้กระปรี้กระเปร่าทางเศรษฐกิจอยู่เสมอๆ ในขั้นตอนเหล่านี้ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนควรเป็นไปในทิศทางใดและมีอะไรที่ต้องระวังบ้าง มาลเมอ จากเมืองท่าเรือสู่เมืองสีเขียว ตัวอย่างที่มาลเมอ อดีตเมืองอู่เรือที่อยู่ข้างช่องแคบเออเรซุน (Öresund) ซึ่งคั่นระหว่างเมืองนี้ของสวีเดนกับโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ภาพปี 1986 มาลเมอยังเป็นเมืองท่าจอดเรือทางตะวันตก ที่ประชากรส่วนใหญ่พึ่งพาธุรกิจอู่เรือ มี Kockums เป็นอู่จอดเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงรุ่งโรจน์ ราวทศวรรษ 1950s-1960s แต่เมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันในทศวรรษ […]

How to be Green เพิ่มป่าจริงในป่าคอนกรีต

26/12/2019

ภัยพิบัติทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทยอยกันโจมตีมนุษย์อย่างต่อเนื่อง คำถามก็คือ กรุงเทพฯ เมืองใหญ่ที่แสนจะเปราะบางแต่มักไม่รู้ตัว – จะยังพอมีทางออกอยู่หรือไม่? Concrete Jungle of the East หาก New York ได้รับสมญานามว่าเป็นป่าคอนกรีตแห่งโลก กรุงเทพฯ ก็คงเป็นเป็นคู่แข่งสำคัญอีกรายหนึ่งในนามป่าคอนกรีตแห่งตะวันออก วลี “ป่าคอนกรีต” อาจหมายถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเมืองอย่างเข้มข้น และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ หรือแหล่งที่อยู่อาศัยของผู้คนจากทั่วทุกสารทิศก็ได้ แต่ถ้าถามถึงคุณภาพชีวิตของคนในป่าคอนกรีตแต่ละแห่ง ก็มักจะแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยสนับสนุนการดำรงชีวิต แต่ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือเรื่องของ “พื้นที่สีเขียว” และ “สวนสาธารณะ” ในเมือง ซึ่งก็คือ “ป่าจริง” ที่ซ้อนอยู่ใน “ป่าคอนกรีต” นั่นเอง เราจะเห็นว่า กรุงเทพฯ ในฤดูร้อนนั้นร้อนขึ้นทุก แถมล่าสุดยังต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ “กรุงเทพฯ คลุกฝุ่น” เป็นเวลาหลายเดือนด้วย ผู้คนจึงเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อมในเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวที่เป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ทุเลาลงได้บ้าง ทั้งในแง่ของการกรองมลพิษ และสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตให้กับคนเมือง แล้วกรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวมากแค่ไหน? เริ่มต้นที่ “นิยาม” ของพื้นที่สีเขียวกันก่อน นิยามของคำว่า “พื้นที่สีเขียวในเมือง” แบบง่ายๆ ก็คือ […]

รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา City Lab สีลม กับเส้นทางไปสู่เมืองที่มีพื้นที่ส่วนรวมมากกว่าพื้นที่ส่วนตัว

19/12/2019

ใครที่สัญจรไปมาบริเวณถนนสีลมในช่วงเดือนธันวาคม จะเห็นว่าถนนเส้นนี้ดูแปลกตาออกไปในพื้นที่หลายๆ จุด ไม่ว่าจะเป็นป้ายรถเมล์ที่มีอุปกรณ์ออกกำลังกาย ที่นั่งพักริมถนน ทางม้าลายสีฟ้าสด ทางเท้าที่ออกแบบตีตารางให้สามารถกระโดดเล่นได้ กระดานหมากฮอสยักษ์ ไฟส่องสว่างรูปทรงหวือหวา สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้อยู่ภายใต้โครง City Lab สีลม โดยความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ทั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ศูนย์ส่งเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum), กลุ่มคนรักสีลม, กรุงเทพมหานคร (อนุญาตให้ใช้พื้นที่โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของกทม.) City Lab หรือ ‘ห้องทดลองเมือง’ คือกระบวนการนำเมืองที่เราอาศัยอยู่มาเป็นห้องทดลอง ศึกษาความต้องการและพฤติกรรมของคนเมือง เพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนางานออกแบบพื้นที่สาธารณะ ที่จะส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้แก่คนเมือง รวมไปถึงเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ของเมือง เมื่อโครงการทดลองนี้ถูกเผยแพร่ออกไปในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะโลกออนไลน์ แน่นอนว่ามีเสียงตอบรับทั้งในทางลบและบวก เรามีโอกาสได้สนทนากับ รศ.ดร. พนิต ภู่จินดา ผู้อำนวยการศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมืองและหัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนนี้ เพื่อที่จะได้เข้้าใจภาพใหญ่และเจตนารมณ์ของสิ่งที่เรียกว่า City Lab ให้มากขึ้น  หลักการของสิ่งที่เรียกว่า City Lab คืออะไร หลักการของ City Lab […]

‘การเดินทางในเมือง’ ชีวิตคนขี่มอเตอร์ไซค์กำลังจะเปลี่ยนไป

18/12/2019

เรื่อง: ดร.เปี่ยมสุข สนิท นักวิจัยโครงการคนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย เรียบเรียง: กัญรัตน์ โภไคยอนันท์ คุณว่ามนุษย์เราควรมีค่าใช้จ่ายในการ ‘เดินทาง’ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของรายได้? ปกติแล้ว เมืองควรจะจัดหาวิธีเดินทางให้คนในเมือง ทำให้คนเราไม่ควรใช้ ‘ค่าเดินทาง’ สูงเกิน 10% ของรายได้  แต่มีงานวิจัยพบว่า คนกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยในการเดินทางสูงถึง 20 % ของรายได้ และพบว่า คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง เลือกการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า แต่ผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีทางเลือก ยังคงเลือกใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถเมล์  และยิ่งหากนำตัวเลข 20% ไปเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ 40 บาท จะพบว่าคนที่รายได้น้อยแทบไม่มีทางเลือกในการเดินทางเท่าไหร่นัก ที่สำคัญก็คือ ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์หรือรถไฟฟ้า ต่างก็เป็นวิธีสัญจรบนเส้นทางหลักหรือ ‘ถนนใหญ่’ ทั้งนั้น แต่คนจำนวนมากอาศัยอยู่ในตรอกซอกซอยหรือเส้นทางรอง ดังนั้น คนเหล่านี้ก็ต้องเดินทางออกจากตรอกซอกซอยมายังถนนใหญ่ให้ได้เสียก่อน ด้วยลักษณะของบลอคพื้นที่ภายในถนนสายหลักในกรุงเทพมหานครที่มีขนาดใหญ่ (Superblock) การเดินทางด้วยเท้าจึงเป็นไปได้ยาก ความต้องการระบบขนส่งรองที่มีประสิทธิภาพในการเดินทางจากบ้านไปยังที่ทำงานจึงยังมีความสำคัญ ด้วยจำนวนพื้นที่ซอยตันกว่าร้อยละ 45 ในกรุงเทพฯ รถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์จึงเป็นพาหนะการเดินทางที่สำคัญ มอเตอร์ไซค์ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงพาหนะหลักแต่ยังเป็นพาหนะรองที่คอยรับ-ส่ง เปลี่ยนถ่ายผู้คนไปยังจุดหมายปลายทางที่ระบบขนส่งหลักไปไม่ถึงด้วย […]

เรารวยพอจะใช้รถไฟฟ้าหรือยัง? ค่ารถไฟฟ้าไทยแพงจริงหรือ?

16/12/2019

“ผู้โดยสารโปรดทราบขณะเข้า – ออก โปรดระวังช่องว่างระหว่างพื้นชานชาลากับขบวนรถ Attention, please mind the gap between train and platform.” ได้ยินเสียงนี้ทุกเช้า จนหลายคนสามารถเลียนแบบได้เลย โดยเฉพาะคนที่ต้องใช้รถไฟฟ้าเดินทางไปทำงานเป็นกิจวัตรประจำวัน ในเมืองที่ขึ้นชื่อว่าปัญหาการจราจรมหาโหดอย่างกรุงเทพฯ ตัวเลือกในการเดินทางช่วงชั่วโมงเร่งด่วนคงมีไม่มาก และปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถไฟฟ้าตอบโจทย์การเดินทางของเราที่สุด ณ ตอนนี้ เพราะทั้งสะดวก สะอาด ปลอดภัย รักษาเวลาได้ (แต่บางครั้งก็งอแงเก่งเหลือเกิน) แต่โดยรวมแล้ว คุณภาพและการให้บริการรถไฟฟ้าของเมืองนี้ทำได้ไม่เลวเลย อย่างไรก็ตาม ความสะดวก และช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางก็มีราคาที่ต้องจ่าย สิ่งนี้เองที่ทำให้เริ่มเกิดคำถามขึ้นว่า “ค่าโดยสารแพงเกินไปสำหรับเราหรือเปล่า?” หรืออันที่จริงแล้ว “เรายังรวยไม่พอที่จะใช้รถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งมวลชนหลักในชีวิตประวันจำได้” ค่าโดยสารรถไฟฟ้าของเราแพงจริง หรือเราแค่รู้สึกไปเอง? เราอาจคิดไปเองหรือเปล่า?  ลองมาดูกันหน่อยว่า ค่าโดยสารเราแพงจริงหรือไม่? จากการสำรวจข้อมูลโดยเว็บไซต์ Priceoftravel ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลค่าเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะของเมืองใหญ่ในรูปแบบต่างๆ 80 ประเทศ และการวิเคราะห์ค่าโดยสารเฉลี่ยจากเว็บไซต์ The Momentum (นำมาวิเคราะห์ 40 ประเทศ) พบว่า ค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนของไทย อยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยอยู่ที่ลำดับ […]

มหานครโซล กับการฟื้นฟูเมืองเชิงเส้น

12/12/2019

เมืองโซลที่เรารู้จัก เมืองโซล ประเทศเกาหลี กับภาพจำที่ต่อให้ไม่ได้เป็นแฟนซีรี่ย์เกาหลีหรือเกมโชว์ ก็ต้องเคยเห็นภาพบรรยากาศสีสันของเมืองสมัยใหม่ริมแม่น้ำ พระราชวังเก่าแก่ที่มีทิวเขาเป็นฉากหลัง และพื้นที่ริมน้ำที่ทอดยาวไปตามแนวคลองชองเกชอน ที่เปิดรับทุกเพศ ทุกวัย และทุกกิจกรรมให้มาใช้พื้นที่อย่างอิสระ เมืองที่ถูกสร้างขึ้นโดยภูมิศาสตร์ของพื้นที่นี้ยังคงอัตลักษณ์ ถึงแม้มีการขยายตัวเพื่อรองรับประชากรกว่า 10 ล้านคนและมีเปลี่ยนแปลงอย่างมากในแต่ละยุคสมัย  หากมองจากสัณฐาน ที่ตั้งเมืองโซลถูกล้อมรอบไปด้วยภูเขา พาดกลางด้วยคลองชองเกระบายน้ำในแนวตะวันออก-ตะวันตก และมีศูนย์กลางการปกครองหันหลังอิงภูเขาภายในกำแพงเมืองที่ลากผ่านสันเขาทั้งสี่ด้าน ช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ประชากรหลั่งไหลเข้าเมือง โซลขยายตัวอย่างมากภายใต้เงื่อนไขพื้นที่ราบที่มีอยู่อย่างจำกัด รัฐบาลได้ออกนโยบายเพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยอย่างเร่งรัดทั้งในรูปแบบผังพัฒนาโดยการรื้อร้างสร้างใหม่ รวมถึงการสร้างถนนและทางยกระดับเพื่อบรรเทาสภาพการจราจรที่ติดขัด ผลของการพัฒนาที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการและกลไกทางเศรษฐกิจ ทำให้เมืองถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองและชายขอบเนินเขาซึ่งมีความเหลื่อมล้ำสูง และนำมาซึ่งความไม่พอใจและการเรียกร้องของประชาชนให้มีการเปลี่ยนแปลง เมืองโซลที่กำลังฟื้นฟู กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา โซลเป็นเมืองที่มีโครงการฟื้นฟูเมืองอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นโครงการใหม่เกิดขึ้นในทุก 5 ปี ตามวาระสมัยของนายกเทศมนตรีโซล ที่มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกของเมือง โดยเฉพาะการปรับใช้โครงสร้างสาธารณูปโภคเก่าและอาคารสิ่งก่อสร้างเดิม อย่างโครงการฟื้นฟูคลองชองเกชอน (2003-2005) ที่ยกเลิกทางด่วนคร่อมคลองเป็นพื้นที่นันทนาการของเมือง โครงการศูนย์ออกแบบดองเดมุน (2009-2014) พื้นที่แสดงงานออกแบบในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โครงการสวนลอยฟ้า Seoullo7017 (2015-2017) แลนด์มาร์คใหม่ของเมือง และล่าสุดโครงการฟื้นฟูย่าน Sewoon Sangga (2015-2018) เชื่อมต่อย่านการผลิตใจกลางเมือง เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าในขณะที่โครงการฟื้นฟูเมืองเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนเมือง มันยังเป็นบันไดสู่ความสำเร็จทางการเมืองของนายกเทศมนตรีในทุกยุคทุกสมัย สิ่งที่โครงการฟื้นฟูเมืองเหล่านี้มีร่วมกัน คือ ตำแหน่งที่ตั้งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเมืองซึ่งเกิดจากความเข้าใจภูมิศาสตร์และระบบวางผังของเมืองที่พัฒนาตามแต่ละยุคสมัย […]

ออกแบบเมืองอย่างไรให้สู้กับโลกร้อนได้

11/12/2019

The point of no return: จุดเปลี่ยน หรือ จุดจบมวลมนุษยชาติ? มันเหมือนกับตลกร้าย ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา มนุษย์พยายามดิ้นรนต่อสู้กับธรรมชาติ เราสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน  แต่จนถึงวันนี้ วันที่มนุษย์เราก้าวข้ามขีดจำกัดหลากประการ สร้างสรรค์นวัตกรรมมากมาย สิ่งเหล่านั้นกลับยิ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้โลกของเราเข้าใกล้คำว่าหายนะมากขึ้น ตอนที่ 1 : Let’s beat the heat เปิดตำราเมืองร้อนกับ 7 เครื่องมือพิชิตร้อน Cooling Singapore, Singapore-ETH Centre, Singapore     ประเด็นใหญ่ที่สุดและเป็นที่ตระหนักมากที่สุดขององค์กรต่างๆทั่วโลก ซึ่งคงไม่มีใครไม่พูดถึงคือ วิกฤตการณ์โลกร้อน (Global Warming Crisis)  ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ได้เก็บข้อมูลและประเมินสถานการณ์ความเร่งด่วนโดยใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศเพื่อกำหนดเส้นตายสำหรับการเริ่มดำเนินการด้านสภาพอากาศเพื่อควบคุมไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ° C ในปี 2100 โดยจากผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า  หากเราไม่มีการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 45% ภายในปี 2030 เราจะก้าวสู่ the point […]

เมืองร้อนทำให้คนกินคน

04/12/2019

คนกรุงเทพฯ เสพติดเครื่องปรับอากาศ ใช่ – เครื่องปรับอากาศทำให้เราเย็นสบาย แต่เหรียญอีกด้านที่หลายคนอาจมองไม่เห็น  นั่นคือ  มลพิษมหาศาลที่เกิดจากการใช้งานเครื่องปรับอากาศ กำลังไปกระทบกับการใช้ชีวิตของคนอีกกลุ่มหนึ่งนอกห้องแอร์ฯ ซึ่งนักรัฐศาสตร์อย่าง ผศ.ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ดำเนินรายการวิเคราะห์ข่าวชื่อดัง เรียกปรากฎการณ์ท่ามกลางความร้อนของเดือนเมษายนว่า  “การกินชีวิตกันในเมือง”  “เมื่อสภาพอากาศร้อน คนบางกลุ่มก็เลือกที่จะเปิดแอร์ ให้ที่พักอาศัยมีอุณหภูมิที่เย็นสบาย แต่ลมร้อนที่ออกมาจากเครื่องปรับอากาศในเมือง กลับทำให้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ร้อนอยู่ในรถตู้ มอเตอร์ไซด์รับจ้างต้องร้อนกว่าปกติ “ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเมือง เช่น ความต้องการมีชีวิตที่ดี มีความลงตัวของคุณนั้น ไม่ได้เป็นแค่ความสะดวกสบายจากการพัฒนาวัตถุ การพัฒนารูปแบบเมือง แต่คุณอาจจะสร้างผลกระทบให้กับคนอื่น หรือคุณใช้คนเหล่านั้นทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น เช่น คุณมีเมืองที่สวยงาม มีเศรษฐกิจที่ดี มีความเจริญ แต่ความเจริญเหล่านี้อาจจะมาจากแรงงานราคาถูกที่มาก่อสร้างให้คุณ การมีเศรษฐกิจที่ดีอาจจะแลกมาจากการที่คนจำนวนหนึ่งต้องมีชีวิตที่ไม่ดี ดังนั้น การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในเมืองจึงไม่ใช่เพียงแค่การ living with others แต่ยังเป็นการ living through others อีกด้วย” ความร้อนของเมืองแสดงให้เห็นภาวะการณ์การ ‘กิน’ ชีวิตกันในเมืองได้ค่อนข้างชัดเจน ว่าเป็นความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกิดจากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นที่อยู่รอบตัว โดยการเข้าไปเกี่ยวข้องนี้อาจเข้าไปสร้างผลกระทบให้กับบุคคลอื่นในทางใดทางหนึ่ง หรือการใช้บุคคลอื่นทำให้ชีวิตของตนเองดีขึ้น แต่อาจแลกมาจากการมีแรงงานราคาถูก […]

ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนเมืองให้ดีขึ้น : เทรนด์ออกแบบเมืองที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนของโลก

04/11/2019

คุณเคยสงสัยไหมว่า – เมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร?  มีอาคารสวยล้ำสมัย? ระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุม? หรือเอื้อให้คนเดินได้เดินดี? ใช่แล้ว – เมืองที่ดีควรมีคุณสมบัติทั้งหมดที่ว่ามานั่นแหละ แต่โลกทุกวันนี้ที่ทรัพยากรมีจำกัด ปัญหาสิ่งแวดล้อมดูจะเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นทุกที และภายในปี 2040 อัตราการใช้พลังงานทั่วโลก 80% จะเกิดขึ้นในพื้นที่เมือง ดังนั้น หน้าที่ของนักออกแบบเมืองจึงไม่ได้หยุดแค่การสร้างอาคารสวยๆ สร้างระบบขนส่งสาธารณะดีๆ หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังต้องทำให้โครงสร้างพื้นฐานของเมืองสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนที่สุดด้วย แต่จะทำอย่างไรเล่า? หนึ่งคีย์เวิร์ดสำคัญที่ตอบโจทย์นี้ คือ ‘เทคโนโลยี’ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนเมือง แทนศรี พรปัญญาภัทร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ฝ่าย Urban Technology เล่าไว้ในการบรรยายสาธารณะเรื่อง ‘โลกรอบสถาปัตยกรรมผังเมือง’ เมื่อ19 กันยายน 2562 ว่าเทคโนโลยีจะมามีบทบาทต่อการพัฒนาเมืองในอนาคตอย่างไรบ้าง ก่อนอื่น อยากชวนคุณมาทำความเข้าใจเสียก่อนว่า คุณภาพชีวิตในเมืองเกิดจาก  1) โครงสร้างพื้นฐานเมือง (Urban Infrastructure) ที่มีประสิทธิภาพ  และ 2) การบริการในเมืองที่คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในยุคนี้จะเข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองให้ดีขึ้นนั่นเอง แทนศรเล่าถึง 5 เทรนด์สำคัญของโครงสร้างพื้นฐานเมืองที่ต้องจับตามอง และมีผลต่อเกมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารเมือง […]

1 4 5 6 7 8