เป็นอยู่ เรียนรู้ และมีสุขอย่างคนญี่ปุ่น : ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับสังคมแห่งความรู้ กับ ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย

14/09/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) การพัฒนาเมืองบนฐานความรู้เป็นสิ่งที่กำลังส่อเค้าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบัน องค์ความรู้ ภูมิปัญญาจากชุมชนหลายแห่งกำลังถูกรวบรวม เพื่อสร้างขึ้นเป็นโครงข่ายที่สนับสนุนการเรียนรู้นอกระบบ  แต่กระนั้น สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่สิ่งใหม่นักในประเทศญี่ปุ่น ที่แนวคิดของ Living Museum แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการรู้จักวิถีชีวิตของท้องถิ่นอย่างถ่องแท้ เป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมมาหลายทศวรรษ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis ได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนเก่าในสาขา Urban Engineering จากมหาวิทยาลัยโตเกียว เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสภาวะ และความเป็นมาของการสร้างและพัฒนาสังคมเมืองแห่งการเรียนรู้ของประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นรากฐานของความเจริญทางวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นๆ อย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ รากฐานจากเอโดะ: เพราะการเรียนรู้อยู่คู่สังคมมานานแล้ว ก่อนที่เราจะพูดถึงนโยบายการจัดการเมืองในโลกปัจจุบัน เราต้องเข้าใจบริบทของสังคมเมืองในประเทศญี่ปุ่นเสียก่อน ความเป็นเมืองในญี่ปุ่นเริ่มเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ในเมืองเอโดะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองแห่งนี้รวมผู้คนมากมายเข้ามาอยู่เป็นสังคมใหญ่อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การรวมกลุ่มทางสังคมนี้ เช่นเดียวกับมหานครสมัยใหม่ในโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น และเกิดความมั่งคั่งที่มากขึ้นเช่นกัน    ปัญหาและความมั่งคั่งในเอโดะนี้เอง ที่ขับเคลื่อนความสงสัยใคร่รู้ของสังคมญี่ปุ่น เป็นรากฐานของการส่งเสริมการเรียนรู้มาจนถึงทุกวันนี้ 2 ประการด้วยกัน คือ ความมั่นคงทางสังคมและอิสระทางการแข่งขัน […]

สนทนากับ อรรถ บุนนาค ย้อนวัฒนธรรมการเรียนรู้ญี่ปุ่น กับบทบาทโรงเรียนเชื่อมร้อยครอบครัวและชุมชน

23/08/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค, สรวิชญ์ อังศุธาร สูญสิ้นความเป็นคน, เมียชายชั่ว, อาทิตย์สิ้นแสง ฯลฯ คือตัวอย่างวรรณกรรมคลาสสิกของญี่ปุ่นที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยอย่างยอดเยี่ยมโดยสำนักพิมพ์ JLIT โดยมี อรรถ บุนนาค เป็นผู้ก่อตั้ง บรรณาธิการ ลงมือแปลด้วยตัวเอง หลายคนอาจคุ้นเคยคุณอรรถจากบทบาทอดีตพิธีกรร่วมในรายการ “คิดเล่นเห็นต่าง” ทางวอยซ์ทีวีเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน เช่นเดียวกับบทบาทผู้รักการอ่านและผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น ย้อนไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ดิฉันได้รับเชิญจากสำนักพิมพ์ JLIT ร่วมงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ซันชิโร ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซันชิโรเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของโซเซกิ ว่าด้วยเรื่องคู่ขัดแย้ง เมือง-ชนบท ความขัดแย้งทางจิตใจ และคุณค่าความเป็นมนุษย์ งานนี้ทำให้ดิฉันทราบว่านอกจากความเชี่ยวชาญด้านวรรณกรรม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นแล้ว คุณอรรถยังเป็นผู้สนใจและเชี่ยวชาญเรื่องเมืองอีกด้วย ในฐานะหัวหน้าโครงการอนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ (The Future of Learning City) ดิฉันจึงขอความกรุณาจากคุณอรรถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ของญี่ปุ่น เพื่อหาคำตอบว่าเพราะเหตุใด ญี่ปุ่นจึงมีวัฒนธรรมของการเรียนรู้ที่เข้มข้น และจัดการองค์ความรู้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อการฟื้นฟูเมือง ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมอะไรที่ทำให้คนแปรความรู้เป็นสินทรัพย์และพัฒนาให้เกิดผลผลิตทางเศรษฐกิจได้ บางคนบอกว่าสังคมไทยกับสังคมญี่ปุ่นคล้ายกัน […]

เบื้องหลังการพัฒนาชุมชนเชิงทดลองสุดสร้างสรรค์กับ ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์

11/08/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค, สรวิชญ์ อังศุธาร, ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต งานพัฒนาฟื้นฟูชุมชน เป็นตัวอย่างงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่เราเห็นกันได้บ่อยๆ โดยเฉพาะในชุมชนเล็กๆ ที่มักมีคนนอกพื้นที่เข้าไปช่วยปรับปรุงให้สวยงามน่ามอง แต่บ่อยครั้ง สิ่งที่ตามมามักเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างคนนอก ตั้งแต่สถาปนิก นักผังเมือง นักออกแบบ กับ ‘คนในพื้นที่ผู้อยู่อาศัย’ ที่ตั้งคำถามกับงานที่ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาใดๆ ให้ชุมชน ซ้ำยังอาจเข้าไปเปลี่ยนวิถีชีวิตเดิมให้เสน่ห์สูญหายไป ทำให้งานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่เพียงต้องใช้ทักษะในการออกแบบเท่านั้น แต่ต้องเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์และเข้าใจสิ่งที่ชุมชนต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นทักษะที่อาศัยองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างคนนอกและคนในพื้นที่ไม่น้อยเลย อาจารย์หน่อง-ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คือหนึ่งในสถาปนิกผู้คลุกคลีกับงานพัฒนาชุมชน และมักตั้งต้นโครงการฟื้นฟูย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ในเชิงทดลองที่ไม่เหมือนใครออกมาอยู่เสมอ อย่างโครงการพัฒนาชุมชนคลองบางหลวง นิทรรศการ ‘New เวิร์ล โอล Town’ ที่ชุมชนบางลำพู หรือโครงการต่อยอดจากเพจ Humans of Flower Market ที่ชุมชนปากคลองตลาด สิ่งที่น่าสนใจในกระบวนการลงพื้นที่ของอาจารย์หน่องและคณะนักศึกษา ก็คือการฟังเสียงความต้องการของชุมชนและดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ผลลัพธ์ที่ได้จึงล้วนเป็นโครงการพัฒนาชุมชนที่น่าสนุก และเป็นปรากฏการณ์ที่ชักชวนให้คนสนใจทั้งในในโลกออนไลน์และออฟไลน์  โอกาสนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) […]

ชัยรัตน์ ถมยา : เคล็ดลับผู้ประกอบการญี่ปุ่น เมื่อธุรกิจต้องอยู่รอดและชุมชนต้องอยู่ด้วย

09/08/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค, สรวิชญ์ อังศุธาร, ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต หากใครติดตามข่าวสารต่างประเทศเป็นประจำ คงจะคุ้นกับชื่อ ชัยรัตน์ ถมยา กันบ้าง แต่สำหรับคนที่ไม่คุ้นนัก เราขอแนะนำสั้นๆ ว่าชัยรัตน์คือนักข่าวและผู้ประกาศข่าวต่างประเทศที่ลงพื้นที่รายงานข่าวได้น่าติดตามและจับประเด็นได้ลึกซึ้งเคยเป็นผู้ดำเนินรายการทันโลกกับ ชัยรัตน์ ถมยาทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ปัจจุบัน ชัยรัตน์เป็นเจ้าของเพจ ‘ย่อโลก’ ที่หยิบจับข่าวจากทุกมุมโลกมาเล่าอย่างสนุก ควบคู่ไปกับการเป็นที่ปรึกษาเพจข่าวออนไลน์ ‘The Opener’ นอกไปจากมุมมองต่อโลกกว้างซึ่งชัยรัตน์สะสมจากการคลุกคลีในวงการข่าวต่างประเทศมากว่า 20 ปี ตัวเขาเองยังเคยมีโอกาสไปศึกษาปริญญาตรีที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Hitotsubashi กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประตูบานแรกให้เขาได้ออกไปสัมผัสวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของสังคมญี่ปุ่น ประเทศที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้แข็งแรงไม่แพ้ใครอย่างใกล้ชิด ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis เลยชวนชัยรัตน์มาพูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ของญี่ปุ่นเฉพาะตัวที่สืบทอดกันมายาวนาน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาผ่านผู้ประกอบการตัวเล็กๆ ที่หยิบเอาของดีและความรู้ที่มีในย่านมาใช้ฟื้นฟูชุมชนไปพร้อมกัน เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนนี้ออกมาพัฒนาเมืองในบริบทสังคมไทยบนฐานขององค์ความรู้ต่อไป ในฐานะคนที่เคยไปอาศัยอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นมา คุณคิดว่าอะไรคือวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เข้มแข็งของสังคมญี่ปุ่น จริงๆ แล้ว ตอนที่ไปเรียนยังไม่ค่อยได้สัมผัสเรื่องนี้มากนัก แต่ช่วงหลังที่ได้ไปเที่ยวเองบ่อยมากขึ้นในหลายจังหวัด ได้ดูรายการทีวีญี่ปุ่น […]

เปิดตำรา Better Bangkok กับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สร้างเมืองที่ดีกว่าจากโครงข่ายผู้คน องค์ความรู้ และความผูกพันด้วยการทำงาน ทำงาน ทำงาน

29/07/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค / ณิชากร เรียงรุ่งโรจน์ ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบทบาทในด้านการพัฒนาเมืองผ่านการมีส่วนร่วมของผู้คนหลายภาคส่วน ด้วยการจัดตั้งกลุ่ม Better Bangkok โดยคิกออฟที่ชุมชนโรงหมู คลองเตย ไปเมื่อปลายปี 2562 ก่อนจะตะลุยพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รับรู้ปัญหาและความต้องการของชุมชน ทั้งในเชิงคุณภาพชีวิตและด้านกายภาพ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาดก็ได้เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะนำอาหารและสิ่งจำเป็นที่ภาคเอกชน และกลุ่มต่างๆ ได้ร่วมสมทบไปแจกให้แก่ชุมชนต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่อาจารย์ชัชชาติให้เกียรติศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis ถอดบทเรียนการทำงานของกลุ่ม Better Bangkok และ กลุ่มเพื่อนชัชชาติ ที่มีเป้าหมายสร้างเมืองที่ดีกว่าจากโครงข่ายผู้คนและองค์ความรู้ เชิญอ่านตำรา Better Bangkok ว่าด้วย จุดเริ่มต้นและโครงสร้างการทำงาน, โอกาส ปัญหา และอุปสรรค ในการผลักดันการพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ของผู้คน, […]

Walkability, Livable Cities and New Opportunities โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล

15/07/2021

เรียบเรียงจาก เวทีเสวนา Smarter Together โดย เครือข่ายเชียงใหม่สร้างสรรค์ (Creative Chiang Mai) ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมเสวนา เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 UddC-CEUS มักจะโดนถาม 2 คำถาม : ทำไมเราจึงควรอยากให้เมืองเราเดินได้เดินดี และเราจะสร้างให้เมืองเราเดินได้เดินดีได้อย่างไร? เนื่องจากมีเวลาเพียง 5 นาที จึงขอกล่าวเฉพาะส่วนแรกว่า ทำไมเราอยากให้ถนนในเมืองเราเดินได้เดินดี แม้ว่าดิฉันสอนและทำงานเกี่ยวข้องกับสถาปัตย์ผังเมือง แต่ต้องบอกว่าเหตุผลพื้นฐานที่จะยกมานำเสนอแก่ทุกท่าน แทบไม่มีเรื่องความงาม แต่เป็นเรื่องความจำเป็นล้วน การเดินเป็น necessity ไม่ใช่ aesthetic หรือ luxury แต่อย่างใด การที่เราอาศัยในเมือง แล้วจำเป็นต้องเดินทางในเมืองได้ด้วยการเดินอย่างสะดวก สบาย ปลอดภัยนั้น ข้อโต้แย้งพื้นฐานที่โลกพูดมาตั้งแต่ทศวรรษ 80  ได้แก่ เหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความเท่าเทียมทางสังคม ด้านสุขภาพทั้งระดับสาธารณะและปัจเจก ซึ่งทุกท่านคงทราบกันดีแล้ว หรือล่าสุดด้านความปลอดภัยสาธารณะยามฉุกเฉิน เช่น หากมีเหตุระเบิดที่สมุทรปราการ […]

THE POST-PANDEMIC CITY WE WANT เมืองแบบไหนที่ฉันอยากอยู่หลังโควิด

17/06/2021

เรียบเรียงจากเวที TEDxBangkok: ประเทศไทยในจินตนาการ นำเสนอโดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ร่วมด้วย คุณบรรยง พงษ์พานิช และคุณพิเชษฐ กลั่นชื่น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เพื่อชวนสังคมไทยระดมไอเดียหาทางออกหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านมุมมองเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม และเมือง ขอพูดถึงสถานการณ์ปัญหา ก่อนพูดถึงความฝันหรือจินตนาการ ดังที่ นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า โควิด-19 เผยให้เห็นปัญหาของเมืองที่มีอยู่เดิมให้ปรากฏชัดขึ้น เช่น ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ชี้ว่า ปัญหาการแพร่ระบาดในประเทศไทยมาจาก ความอปกติปัจจุบัน หรือ CURRENT ABNORMAL ของเมือง เช่น ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาแรงงานนอกระบบ ปัญหาเศรษฐกิจที่ถูกเรียกว่า สีเทา ซึ่งแรงงานในภาคเหล่านี้มีจำนวนมหาศาล และล้วนเป็นแรงงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนเมือง แต่เมืองทำเหมือนว่าไม่มีพวกเขาอยู่ เป็นกลุ่ม INVISIBLE คือ ไม่ถูกมองเห็น หรือแย่กว่านั้นคือกลุ่ม UNVISIBLE […]

กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้

09/04/2021

เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิตอล ทุกสิ่งทุกอย่างต่างหมุนเร็วขึ้นในทุกมิติ ความรู้เดิมที่เคยมี ไม่สามารถนำเราก้าวไปข้างหน้าได้อีกต่อไป การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงไม่ได้ถูกจำกัดเพียงเเค่ในระบบการศึกษา แต่ยังมีความสำคัญมากขึ้นต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อสร้างโอกาสในการเกิดการเรียนรู้ในทุกรูปแบบที่ไม่จำกัดเพียงการเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียน มหาวิทยาลัย เเต่ยังรวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จากชุมชน ที่ทำงาน พื้นที่สาธารณะ และการศึกษาผ่านรูปแบบแพลทฟอร์มออนไลน์  จึงเกิดเป็นเเนวคิด “เมืองเเห่งการเรียนรู้” (Learning City) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับเเนวทาง (UNESCO Institute for Lifelong Learning- UIL) ที่จัดตั้งเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบ SDGs เพราะการเรียนรู้ > การศึกษา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฉายภาพเปรียบความแตกต่างระหว่าง การศึกษา (Education) กับ “การเรียนรู้” (Learning) […]

‘Chao Phraya Sky Park’: New hopes and possibilities for adding green to the city, connecting districts, linking communities, by promoting a high-value walking experience

16/09/2020

Translated from an interview transcript : Niramon Serisakul,Director of Urban Design and Development Center (UddC) and head of Chao Phraya Sky Park project Full interview transcript https://theurbanis.com/public-realm/09/06/2020/2016 The path to the Sky Park The Chao Phraya Sky Park was built upon a structure that had been abandoned for more than 30 years. At that time, […]

From the Financial Bazooka to the City Planning Bazooka: Proposal to Restore a Sustainable Economic Foundation

16/09/2020

Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Guntamuanglee, Parisa Musigakama, Preechaya Nawarat, Thanaporn Ovatvoravarunyou 3 dimensions of the urban response to COVID-19 This article is a proposal for urban design and management, produced by the Urban Design and Development Center (UddC) to emphasize that, for Bangkok, the present time is an ​​opportunity to advance equality and […]

1 2 3 4