ออกจาก สุวรรณภูมิ สู่ สมรภูมิ เมืองท่องเที่ยวเดินยาก สู่กับดักรายได้ท่องเที่ยวปานกลาง

20/11/2019

ประเทศไทยเป็นประเทศท่องเที่ยวยอดนิยมที่ติดอันดับโลกเป็นประจำทุกปี ล่าสุดปี 2019 ก็ติดอันดับ 2 แต่คำถามที่ต้องลองถามตัวเองก็คือ ถ้าเราเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนไทย เราจะเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวกแค่ไหน เพราะแค่ออกจาก “สุวรรณภูมิ” ก็เหมือนเข้าสู่ “สมรภูมิ” แล้ว! ไทยเป็นจุดหมายยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงหยุดยาว จึงไม่แปลกที่ภาครัฐพยายามส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการเชื่อมโยง (Connectivity) การเดินทางในประเทศหรือต่างประเทศระดับสเกลใหญ่ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้นักท่องเที่ยวในการเดินทางมายังบ้านเรา เช่น ระบบรถไฟ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือการเชื่อมโยงเชิงพื้นที่ระดับสเกลเล็ก ๆ ตั้งแต่มิติของการพัฒนาระบบขนส่งภายในเมือง รวมไปถึงการพัฒนาทางเดินเท้า                   เชื่อไหมว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงอำนวยความสะดวกในการเดิน แต่ยังช่วยสร้างเศรษฐกิจของสังคมได้อย่างมีนัยยะสำคัญด้วย ดังนั้นถ้าประเทศไทยปรารถนาจะเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวแล้วละก็ การสร้างเมืองเดินได้-เมืองเดินดี จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เกาะรัตนโกสินทร์ :  แหล่งท่องเที่ยวที่รายได้ยากกระจายสู่ท้องถิ่น กรุงเทพมหานครเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่ต้องมาเยือนสักครั้งในชีวิต ความที่กรุงเทพฯ มีค่าครองชีพถูกสำหรับชาวต่างชาติ สามารถเพลิดเพลินกับหลากหลายแหล่งช็อปปิ้ง ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าสุดหรูไปจนถึงร้านค้าแผงลอย ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนหลงเสน่ห์เมืองนี้ ไม่เท่านั้น กรุงเทพฯ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีสถาปัตยกรรมที่งดงามมากมายให้สำรวจ โดยเฉพาะพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าชมพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 35,000 คน อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่ทางเดินเท้าบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์กลับมีเพียง 54% เท่านั้นที่จัดว่า […]

Modern Syndrome คนป่วยในเมืองเปลี่ยน

15/11/2019

เคยสังเกตตัวเองกันไหมว่า ปีๆ หนึ่ง เราป่วยบ่อยแค่ไหน? ตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ อย่างเป็นหวัดคัดจมูก แพ้ฝุ่นละออง บางคนมีปัญหาร่างกายอ่อนเพลีย นอนไม่หลับบ่อยๆ เครียด วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไปจนถึงมีอาการที่คนรุ่นนี้เป็นกันมากอย่างซึมเศร้า ไม่นับโรคที่ต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ทั้งโรคเบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ใบวินิจฉัยของแพทย์คงลงสาเหตุว่าเพราะเราไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ หรือไม่ก็เครียดจากการงานที่รุมเร้า แต่หากวินิจฉัยให้ลึกลงไปอีกนิด ตัวการสำคัญที่ทำให้เราป่วยอาจอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เพราะเป็นสิ่งที่เราใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันทั้งวัน…เมืองของเราคือแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคที่แพร่กระจายอยู่ในทุกอณูอากาศที่เราหายใจ หันมองรอบๆ กรุงเทพฯ เมืองอันเป็นที่รัก ปัญหาคลาสสิกอย่างการจราจรติดขัด น้ำท่วมขังรอการระบาย ทางเท้าที่แคบและเสี่ยงต่อการเดินตกท่อระบายน้ำ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์และฝุ่น PM 2.5 ที่ฟุ้งทุกฤดูหนาว คือสภาพของเมืองที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลต่อสุขภาพของคน รวมถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของเมืองที่ไม่มีการจัดการที่ดีพอ ก็พร้อมจะทำให้เราเครียดและเกลียดเมืองนี้ขึ้นทุกวันๆ เมื่อเมืองป่วยเช่นนี้ คนในเมืองก็ป่วยตาม 1 ประวัติศาสตร์ของการเกิดเมืองสมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เมื่อการปฎิวัติอุตสาหกรรมผลักให้คนเข้ามาแสวงหาโอกาสในเมืองใหญ่ เกิดการกระจุกตัวของประชากร (Human Proximity) จนเมืองกลายเป็นสนามเด็กเล่นของเชื้อโรคไป เราอาจยกภาพเมืองแห่งความป่วยไข้ สิ้นหวัง ได้จากภาพยนตร์เรื่อง Les Misérables (2012) ช่วงที่ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงทางการเมือง (1815 – 1832) […]

ในวิกฤตมีโอกาส : สร้าง กรุงเทพฯ เมืองสีเขียว จากโครงสร้างทิ้งร้างใจกลางเมือง

14/11/2019

“ทำไมกรุงเทพฯ ไม่มีต้นไม้เยอะๆ แบบสิงคโปร์บ้าง” หลายคนที่เคยเห็นบ้านเมืองเขาคงอดรู้สึกน้อยใจไม่ได้ เพราะเทียบกันแล้วเขาดูเจริญนำหน้าไปหลายก้าว ในมุมการพัฒนาเมือง เราศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างเมืองที่มีองค์ประกอบบางอย่างเหมือนกัน เพื่อดูว่าองค์ประกอบที่แตกต่างทำให้เกิดผลลัพธ์ดีไม่ดีอย่างไร แต่กรุงเทพฯ กับสิงคโปร์แตกต่างกันหลายอย่าง การนำมาเปรียบเทียบกันตรงๆ จึงออกจะผิดฝาผิดตัวไปสักหน่อย สิงคโปร์เป็นนครรัฐ มีอำนาจการตัดสินใจที่เด็ดขาดและรวมศูนย์ กลไกการปกครองจึงจัดการง่ายกว่ามาก ส่วนกรุงเทพฯ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ หลายอย่างผู้ว่าราชการต้องขออนุมัติเห็นชอบจากหน่วยงานส่วนกลาง จะขยับอะไรก็ค่อนข้างยาก แต่ในข้อจำกัดนี้ ถามว่าเรามีอะไรที่จัดการดูแลให้ดีขึ้นได้ไหม คำตอบคือมี เรามีที่ดินเยอะกว่าสิงคโปร์แต่ไม่ได้ใช้ที่ดินให้คุ้มค่าเท่าที่ควร นอกจากดูตัวเลขปริมาณ สิ่งที่เราต้องสนใจคือตัวเลขสัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อหัวที่ประชากรอย่างเราๆ ‘เข้าไปใช้งานได้จริง’ ความย้อนแย้งคือตัวเลขพื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะของกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ กับพื้นที่ที่คนเข้าไปใช้งานได้จริงนั้นต่างกันอยู่มาก ทั้งที่การจั่วหัวว่า ‘สาธารณะ’ ย่อมต้องหมายถึงการเปิดให้คนเข้าไปใช้งานอยู่แล้ว เอาตัวเลขมากางกันชัดๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด 1,568 ตร.กม. เรามีพื้นที่สีเขียวเกือบ 14,000 แห่ง รวม ราว 120,000 ไร่ มีสวนสาธารณะกว่า 8000 แห่ง รวมราว 23,000 ไร่ แต่พื้นที่สวนสาธารณะที่คนทั่วไปเข้าใช้งานได้มีเพียง 93 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ 4,250 […]

บทสำรวจ “กรุงเทพฯ – ความฝัน – การเดินทาง” กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล

01/11/2019

“หากคุณเลือกความฝันได้แค่ฝันเดียว แต่คนละมีความฝันอยากเห็นกรุงเทพฯ เป็นอย่างไรกันบ้าง?” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ตั้งคำถามเปิดการบรรยายพิเศษในงาน “สู่เมืองเดินสบายของทุกคน” ณ Fab Café Bangkok เมื่อวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2560 เพื่อถามหาความฝันของคนกรุง ที่เข้ามาร่วมงานเสวนาในครั้งนี้ หลายคำตอบมีทิศทางเดียวกันว่า ฝันอยากเห็นกรุงเทพฯ เป็น “เมืองรถไม่ติด” เพื่อที่จะเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทว่าความฝันแบบนี้ ดร.นิรมลบอกว่า เป็นความฝันที่ไร้จินตนาการ เพราะกรุงเทพฯ ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีจราจรเลวร้ายที่สุดในโลก ความฝันที่มีฐานความคิดอยู่ที่การเคลื่อนที่ด้วยล้อจึงเป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ยากในมหานครแห่งนี้ ปัจจุบันเมืองอื่นทั่วโลก เริ่มไม่พูดถึงการจราจร (Traffic) กันแล้ว แต่มาพูดถึงการพัฒนาการเคลื่อนที่ (Mobility) ที่มีความหมายกว้างกว่าการเคลื่อนที่ด้วยล้อ ทั้งระบบขนส่งมวลชน และการเดินเท้า โดย Urban Mobility หมายถึงความยืดหยุ่นในการเคลื่อนย้าย-เคลื่อนที่ไปมาของผู้คนในเมือง แนวคิดดังกล่าวจึงถูกพัฒนาขึ้น และเป็นกระแสหลักในการพัฒนาเมืองทั่วโลก โดยเฉพาะ ‘การเดินเท้า’ ที่ ผศ.ดร.นิรมล ย้ำว่าเป็น ‘ที่สุดของ Smart Mobility’ ดังนั้นการเดินเท้าจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน […]

Singapore So Green สร้างเมืองเขียวอย่างไรให้เป็นแบรนด์

31/10/2019

ทุกวันนี้ความเป็นเมืองสีเขียวของสิงคโปร์เป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก แต่ความน่าสนใจจริงๆ ของเรื่องนี้ต้องเริ่มที่ประโยคแท็กไลน์ของแผนการพัฒนาเมืองของสิงคโปร์ที่ว่า ‘Bring the bees and boeings to the City in the Garden’ น่าสงสัยว่าผึ้งกับเครื่องบินโบอิ้งมาเกี่ยวข้องอะไรกัน เรื่องราวเริ่มต้นที่ ‘ที่ดิน’ ปัจจัยการพัฒนาประเทศที่สิงคโปร์มีน้อยกว่าเพื่อน ฉะนั้นการบริหารที่ดินต้องคิดอย่างถ้วนถี่เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด ส่งผลให้การสร้างแบรนด์ของประเทศออกมาในแนวคิด The Garden City ที่เชื่อมเรื่อง ‘ธรรมชาติ’ กับ ‘ธุรกิจ’ เข้าด้วยกัน ผึ้งในแท็กไลน์คือตัวแทนพื้นที่สีเขียว ส่วนเครื่องบินโบอิ้งคือตัวแทนการพัฒนาเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ พูดง่ายๆ คือสิงคโปร์มองออกว่าคุณภาพชีวิตกับเศรษฐกิจเป็นเรื่องเดียวกัน ทำอย่างหนึ่งต้องได้ประโยชน์อีกอย่างด้วย จากประเทศที่มีขนาดเมืองเล็กกว่าครึ่งของกรุงเทพฯ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายหมดในสมัยอาณานิคม กลายเป็นเมืองที่มีสีเขียวหนาแน่นที่สุดในโลกในอัตรา 30% ของพื้นที่ นี่คือปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นได้จริงด้วยวิธีคิดและนโยบายที่ ‘มาก่อนกาล’ คนทั่วไปรู้ดีอยู่แล้วว่าพื้นที่สีเขียวสำคัญกับสุขภาพคนและสุขภาพเมือง แต่ลองจินตนาการย้อนกลับไปในปี 1967 (พ.ศ. 2510) เวลานั้นลีกวนยูเกิดวิสัยทัศน์จะสร้าง The Garden City เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างไร ทั้งที่เวลานั้นสิงคโปร์ยังเป็นประเทศโลกที่สามที่มุ่งหน้าไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม คนกว่าครึ่งค่อนประเทศอาศัยอยู่ในสลัม แม่น้ำลำคลองก็เน่าเสีย สิ่งที่น่าจะมีอิทธิพลต่อความคิดลีคือ ‘อุทยานนคร’ […]

1 2 3 4