IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: Revive the Thai tourism sustainably by cultivating spatial immunity: Extra service level and build long-term trust

16/09/2020

Asst. Prof. Komkrit Thanapat, Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Kantamuangli, Manchu chada Dechaniwong, Preechaya Nawarat, Thanaporn Owat Worawaranyu The global economy, tourism and Covid-19 Over the past decades the global tourist sector had been steadily growing. As a result, tourism was one of the fastest growing and largest sectors of the world economy. Tourism […]

The new world in the COVID-19 era: Cities have to change because the virus has changed them

16/09/2020

Excerpted from the interview: “Cities and the Pandemic” conducted by Al Jazeera as a part of its program Voice GO, online, and the report: The Secret Sauce: Executive Espresso, The Standard online What does the novel coronavirus tell urban planners? For me, urban planning designers are professionals who design appropriate urban environments so that all […]

จากบาซูก้าการคลัง สู่บาซูก้าผังเมือง ข้อเสนอฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

05/06/2020

บอล 3 ลูกในเมืองหลัง COVID-19 บทความชิ้นนี้เป็นข้อเสนอเชิงออกแบบและบริหารจัดการพื้นที่เมือง โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เพื่อเน้นย้ำว่า ในเมืองกรุงเทพฯนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสและโอกาสนั้นมีอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมให้ทุกคน โดยเฉพาะโอกาสในการทำกินและการประกอบสัมมาอาชีพ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งคงปฎิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงในความเสี่ยงสุขภาพ ความหวาดระแวงว่าจะติดโรคระบาดหรือไม่ นี่คือผลกระทบด้านด้านสาธารณสุข ตลอดจนการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิต และผลกระทบสืบเนื่องสำคัญที่ตามมาคือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจในระดับปากท้องซึ่งกำลังปรากฎชัดและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากช่วงเวลาที่แน่นิ่งของเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับการการกักตัวที่ยาวนานกว่าครึ่งปี ดังนั้น จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่าเรากำลังจะต้องเผชิญรวมถึงตระเตรียมวิธีการจัดการกับลูกบอล 3 ลูกที่จะตามมาหลังการผ่านพ้นไปของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในครั้งนี้ ประกอบด้วย หนึ่ง-สาธารณสุข สอง-การเงินการคลัง และสาม-ปากท้อง อาชีพ และรายได้ แม้ว่าสถานการณ์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในบ้านเราจะดีขึ้นตามลำดับ และอยู่ในอันดับต้นๆ ที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นที่น่าพอใจ ทำให้มีอัตราผู้ติดเชื้อต่อแสนประชากรที่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าเราจะเป็นประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อนอกพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่ และนี่คือความสำเร็จขั้นที่ 1 ในมาตรการด้านสาธารณสุข หากแต่สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงหลังจากนี้ นอกเหนือไปจากการเยียวยาจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายระดับมหาภาคในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเยียวยาในระดับครัวเรือน ในมาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท และเงินเยียวยาเกษตรกร ซึ่งรวมเรียกได้ว่าเป็นมาตรการด้านการเงินการคลัง เราจะเรียกกว่าเป็น […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: ฟื้นเมืองท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกภูมิคุ้มกันเชิงพื้นที่ เสริมระดับการบริการ และสร้างความเชื่อถือระยะยาว

14/05/2020

เศรษฐกิจโลก การท่องเที่ยว และวิกฤตการณ์โควิด ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภาพรวมในด้านต่างๆ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวนั้น คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของ GPD โลก ได้สร้างงานให้กับคน 1 ใน 10 หรือคิดเป็น 330 ล้านคนทั่วโลก (WTTC, 2020) โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจต่ำ จะมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องมีการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง แค่เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวก็สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างงานให้กับกลุ่มผู้หญิง เยาวชน และคนชายขอบ ประกอบกับนโยบายการลดกำแพงวีซ่า ค่าเดินทางที่ลดลง และค่าครองชีพที่ต่ำ ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา การป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากที่สุด โดยได้นำเอานโยบายและมาตรการป้องกันต่างๆ มาบังคับใช้ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง การระงับสายการบินและโรงแรม เพื่อลดพลวัตการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่แปรผันตรงกับการกระจายเชื้อ เนื่องจากเชื้อโควิดเป็นเชื้อที่ติดจากคนสู่คนผ่านสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าการชะงักตัวเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่แปรผันตรงกับเรื่องของการเดินทางและความไว้วางใจอย่างมาก  ย่อมเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และที่สำคัญวิกฤตินี้ ได้สะท้อนจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งระบบ แนวทางหลักของการฝ่าวิกฤตโควิดของการท่องเที่ยวไทย สำหรับประเทศไทยที่เรียกได้ว่า เป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism […]

จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

โลกใหม่หลังโควิด-19 : เมืองที่ต้องเปลี่ยนไปเพราะไวรัสเข้ามาเปลี่ยนแปลง

22/04/2020

เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ประเด็น “เมืองกับโรคระบาด” ในสำนักข่าว Al Jazeera, รายการ Voice GO ทางวอยซ์ออนไลน์ และรายการ The Secret Sauce: Executive Espresso สำนักข่าวออนไลน์ The Standard การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่บอกอะไรแก่นักวางผังออกแบบเมือง?  สำหรับดิฉัน นักออกแบบวางผังเมืองคือผู้ที่มีวิชาชีพออกแบบสภาพแวดล้อมของเมืองให้เหมาะสมเพื่อให้คนทุกกลุ่ม ให้สามารถ live work play อยู่อาศัย ทำงาน ใช้ชีวิต ได้อย่างมีความสุขในเมือง ซึ่งก็พูดกันว่าตอนนี้ นักผังเมืองเองก็กำลังมีปัญหา Existential crisis เหมือนกำลังวิชาชีพอื่นด้วยคำถามในใจที่ว่า แล้วฉันช่วยอะไรได้บ้าง? ความรู้ที่ฉันมี ณ ตอนนี้ มีประโยชน์กับสถานการณ์นี้อย่างไรบ้าง? การระบาดของ COVID-19 บอกเรา 2 สิ่ง :  หนึ่ง ข้อมูลความรู้ที่มีอยู่ ยังไม่พอจะอธิบายปรากฏการณ์การระบาดของไวรัสกับเมืองได้อย่างชัดเจน นั่นเป็นเพราะ เราเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดแค่สามสี่เดือน คำถามเช่น สภาพแวดล้อมกายภาพมีผลต่อการระบาดอย่างไร? ไวรัสจะส่งผลอย่างไรต่อเมือง ต่อรูปแบบที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน […]

กรุงเทพฯ เขียวได้ แต่อยากเขียวแค่ไหน

10/03/2020

ความเดิมตอนที่แล้ว เราพูดถึงวิกฤติฝุ่นพิษในกรุงเทพฯ ที่แก้ไขได้ผ่านการออกแบบเมืองให้เดินได้เดินดี มีระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดจำนวนรถยนต์บนถนนให้น้อยลง แต่อีกปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะเชื้อเชิญให้คนออกเดิน นั่นคือการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองให้ร่มรื่น เมืองเขียวได้ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้นำ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) กำหนดขนาดพื้นที่สีเขียวในเมืองขั้นต่ำไว้ที่ 9 ตร.ม./คน นับรวมหมดไม่ว่าจะเป็นสวน เกาะกลางถนน ที่นา หรือไม้กระถางสักต้นที่ผลิตออกซิเจนได้  มาดูตัวอย่างคือปารีส เมืองที่มีตัวเลขพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 13.2 ตร.ม./คน เป็นผลมาจากการพัฒนาเมืองตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ด้วยการนำของ Georges-Eugène Haussmann นักผังเมืองผู้ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของคนในเมือง ตัวชี้วัดหนึ่งคือทำยังไงให้คนเดินมาสวนสาธารณะได้ใน 10 นาที ปารีสถูกพัฒนาให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก (Urban Facilities) ครบครันเพื่อดึงให้คนอยู่ในเมืองและออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างสนุกสนาน (Urban Lifestyle) ตั้งแต่แทรกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวไปในทุกมุมเมือง ทวงคืนทางเท้าจากถนนและทางด่วน พัฒนาพื้นที่สาธารณะริมแม่น้ำแซนให้ทุกคนในครอบครัวออกมาใช้เวลาวันหยุดร่วมกันได้ (Holiday in the city) ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะปารีสมีรูปแบบการบริหารเมืองที่กระจายอำนาจตัดสินใจและงบประมาณให้ผู้อำนวยการเขต (Mayor of District) เต็มรูปแบบ สิงคโปร์เป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ตัวเลขพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยของสิงคโปร์คือ 56 ตร.ม./คน เพราะเขามีพื้นที่สีเขียวกว่า […]

นิยายแห่งสองชรานคร : เราควรออกแบบเมืองเพื่อคนแก่ หรือเมืองเพื่อเตรียมคนให้แก่อย่างมีคุณภาพ?

27/12/2019

เมื่อพูดถึง “เมือง” เราอาจจะนึกถึงความพลุกพล่านเร่งรีบของผู้คนหนุ่มสาววัยทำงานตามท้องถนน แต่ตัวละครหนึ่งที่เรามักมองข้ามก็คือ “ผู้สูงวัย” แต่ประเด็นคือ ปัจจุบันโครงสร้างจำนวนประชากรที่สูงวัย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ สถิติจาก United Nations Department of Economic and Social Affairs (UNDESA) คาดการณ์ว่าในปี 2030 จำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีราว 1,402 ล้านคน และในปี 2050 จะเพิ่มเป็น 2,092 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไทย   ดังนั้น จึงพูดได้ว่า สังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต และคนไทยสูงวัยในอนาคตที่ว่า – ก็คือพวกเราหนุ่มสาววัยทำงานในปัจจุบันนี่เอง แล้วเมืองของเราได้เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้ไว้แค่ไหน? ลินดา แกรตตัน ศาสตราจารย์แห่ง London Economic School ผู้เขียนหนังสือ The 100-Year Life […]

สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า อนาคตการเคลื่อนที่ในเมืองกับสิทธิร่วมกันบนท้องถนน

24/12/2019

กรุงปารีสเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรสูงกว่า 20,000 คนต่อตารางกิโลเมตร นับว่าสูงมากเกือบ 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรุงเทพมหานคร  ข้อมูลจากวิกิพีเดียและโครงการกรุงเทพฯ 250 เมื่อปี 2558 ระบุว่า  กทม.  มีความหนาแน่นประชากรกว่า 5,300 คนต่อตารางกิโลเมตร  มีเฉพาะย่านรัตนโกสินทร์เท่านั้น ที่หนาแน่นเพียง  3,800 คนต่อตารางกิโลเมตร ดังนั้น ประเด็นการเคลื่อนที่ในเมือง (Urban Mobility) จึงเป็นเรื่องสำคัญ  หากไม่ต้องการให้เมืองวุ่นวายกลายเป็นนรกบนดิน เป็นที่ทราบกันดีว่า Urban Mobility ขั้นพื้นฐานของคนเมืองทุกคน คือ การเดิน หากประเด็นการเดินในปารีส รวมถึงเมืองใหญ่ทั่วโลก อาจจะไม่ได้ถูกพูดถึงสักเท่าไหร่แล้ว (ต่างจากกรุงเทพฯ) เนื่องจากหลายเมืองเดินได้เดินดีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19-20  ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมการเดินที่เข้มแข็ง และเมืองก็มีสาธารณูปการส่งเสริมการเดินเท้าที่มีคุณภาพดีครอบคลุมทั้งเมือง ดังนั้น จึงขอข้ามช็อตไปกล่าวถึง อนาคตของการเคลื่อนที่ในเมือง (The Future of Urban Mobility) คำถามที่ถูกถามถึงบ่อยครั้งต่อประเด็นดังกล่าว อย่างเช่น คนจะเดินทางได้สะดวกรวดเร็วแต่ใช้พลังงานน้อยลงและปล่อยมลพิษน้อยลงได้อย่างไร คนที่มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว เด็ก คนสูงอายุ จะสามารถเดินทางในเมืองได้อย่างอิสระและปลอดภัยได้อย่างไร หรือจะใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนด้านเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้อย่างไร […]

The Urban Green Jungle หลังคาคือสินทรัพย์ของเมือง

28/11/2019

หลังคาสำคัญกับเมืองอย่างไร เมื่อปี 2015 สำนักข่าว The Guardian ของอังกฤษ เคยนำเสนอข่าวที่มีข้อมูลคลาดเคลื่อนชิ้นหนึ่ง นั่นคือข่าวรัฐสภาฝรั่งเศสผ่านกฎหมาย Green & Solar Roof  โดยกำหนดให้อาคารใหม่และอาคารพาณิชย์ต้องคลุมหลังคาด้วยพืชพรรณหรือแผ่นโซลาร์  ปรากฏว่าคนแชร์ข่าวนี้เยอะมาก (รวมทั้งฉันด้วย) ในความเป็นจริงแล้ว Green & Solar Roof เป็นความพยายามของการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เสนอโดยสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศส แต่โดนตีกลับโดยวุฒิสภาให้ไปศึกษาเพิ่มเติม Laurence Abeille ส.ส. ที่เป็นคณะทำงาน Sustainable Development and Area Management  เป็นผู้เสนอการแก้ไขกฎหมายให้เพิ่มประเด็น Green & Solar Roof นี้ เธอโต้แย้งว่า หลังคาคือโครงสร้างทิ้งร้าง (leftover assets) ของเมือง แต่ถูกปล่อยไม่ได้ใช้งานหรือใช้งานต่ำ (Under-utilized) เป็นลานคอนกรีตแห้งแล้ง ปล่อยความร้อนสู่เมืองปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองหรือ urban heat island แต่ถ้าเราปกคลุมหลังคาและอาคารด้วยพืชพรรณจะช่วยลดความร้อนที่ปล่อยออกสู่เมืองได้ มีการศึกษาของประเทศแคนาดา พบว่า Green […]

1 2 3 4