ESPACE CANIN สวนเพื่อสุขภาวะน้องหมา

23/06/2023

กลุ่มผู้ใช้งานสวนสาธารณะในเมืองปารีสให้ความสำคัญกับนโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียว ไม่เพียงแต่เรื่องความเพียงพอต่อความต้องการของประชากรกว่า 2.1 ล้านคน แต่ให้เพียงพอสำหรับประชากรน้องหมา 200,000 ตัวด้วย บางคนเวลาเลือกอะพาร์ตเมนต์ จะมองหาที่ที่สามารถพาน้องหมาไปเดินเล่นในสวนใกล้บ้านได้ด้วยเพราะว่าสงสารที่น้องหมาของเธอต้องเดินเล่นบนทางเท้าแข็งๆ เท่านั้น ไม่ใช่แค่คน แต่น้องหมาก็ต้องการพื้นที่สีเขียว หญ้า ต้นไม้ ให้วิ่งเล่น ดมอะไรเพลินๆ รวมทั้งต้องการ พื้นที่สำหรับพบปะและวิ่งเล่นกับหมาตัวอื่นๆ ในอดีต สวนสาธารณะปารีสห้ามน้องหมาเข้า แต่ในปัจจุบันสวนส่วนใหญ่เริ่มอนุญาตให้น้องหมาเข้าได้ แต่ต้องมีเจ้าของจูง และห้ามเข้าไปเล่นในพื้นที่ที่มีความเปราะบาง เช่น Biodiversity Space แต่กระนั้น ก็ยังไม่พอใจเจ้าของ เพราะน้องหมาต้องการพื้นที่สำหรับเล่นกับน้องหมาตัวอื่นๆ ได้อย่างอิสระ เมืองปารีสจึงออกแบบ Espace Canin (Dog Space) หรือ “สนามหมาเล่น” ที่เจ้าของสามารถปล่อยน้องหมาให้วิ่งเล่นได้ เช่น สวน Square Jacques Antoine เขต 14 หนึ่งในสนามหมาเล่นโดยไม่ต้องมีสายจูง สวนนี้ตั้งอยู่ระหว่างสวนใหญ่ 3 สวน คือ Luxembourg, Montsouris, Plantes และสุสาน Montparnasse […]

ปฏิวัติจักรยานปารีส

12/06/2023

หลังจากที่ดูสารคดีของนักผังเมืองชาวเนเธอร์แลนด์ที่มาลองปั่นจักรยานบนเลนจักรยานที่วางใหม่เกือบทั้งเมืองของปารีส ก็เห็นว่าเขาทึ่งมาก โดยกล่าวว่า “อัมสเตอร์ดัมใช้เวลากล่า 2 ทศวรรษในการเปลี่ยนเป็นเมืองจักรยาน แต่ปารีสใช้เวลาเพียง 3 ปี แม้ระบบและรายละเอียดทางเทคนิค เช่น ระบบสัญญาณ ทางข้าม และรอยต่อยังไม่เนี้ยบเหมือนอัมสเตอร์ดัม แต่ต้องบอกว่าน่าทึ่ง” ไม่ใช่แค่นักผังเมืองผู้ผลิตสารคดี แต่ผู้เขียนเองก็ทึ่ง เพราะไม่คิดว่าปารีสจะทำและทำได้เร็วขนาดนี้แอนน์ ไฮดาลโก (Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีกรุงปารีส ที่ชนะเลือกตั้งสมัยที่สองด้วยการสนับสนุนของพรรคการเมืองสีเขียว (Green Party) ที่เน้นนโยบายเมืองจักรยานและพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในนโยบายหลัก นโยบายนี้มีกรอบลงทุน 180 ล้านยูโรหรือ 6,000 พันกว่าล้านบาท เพื่อวางโครงข่ายจักรยานใหม่ทั้งเมือง เป็นทั้งเลนแยกและรูปแบบต่างๆ (เช่น ร่วมกับทางเท้า) และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ที่จอด ทางข้าม และสัญญาณไฟ โดยตั้งเป้าว่าปีค.ศ. 2026 จะมีเลนจักรยานในเมืองยาวรวม 180 กิโลเมตร หรือระยะทางประมาณกรุงเทพฯ-ระยอง แน่นอนว่าจะให้ปั่นสะดวก ก็ต้องมีการปรับขนาดช่องทางจราจรใหม่ ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การลดขนาดถนน หรือ “street diet” การปรับทิศทางการจราจรเป็นแบบวิ่งทางเดียว […]

Massena Nord พลิกฟื้นย่านชายขอบสู่ย่านนวัตกรรมน่าอยู่ที่มีชีวิตชีวา

11/06/2023

Massena Nord ย่านชายขอบที่ถูกพลิกฟื้น ที่มาภาพ https://i.pinimg.com/originals/73/9a/2e/739a2e374386c4c598ce70a259fefb3c.jpg ย่านมาเซนานอร์ท (Massena Nord) ตั้งอยู่ในเขตที่ 13 บริเวณชายขอบทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปารีส ก่อนออกนอกถนนวงแหวน แต่เดิมย่านนี้ถูกจดจำเป็น “ย่านชาวเอเชียและแอฟริกัน” เลยไปอีกเล็กน้อยก็จะเป็นย่าน Place d’Italie, Tolbiac และ Olympiade ย่านที่พักอาศัยที่ภาครัฐจัดขึ้น (social housing) และยังคงแบบอาคารสูงยุคหลังสงครามไว้ ย่านเหล่านี้ถูกตัดขาดจากเนื้อเมืองโดยมีแม่น้ำเซนน์และลานรถไฟ (rail yard) ขนาดยักษ์ขวางกั้นไว้ รวมทั้งย่านเองก็เต็มไปด้วยอาคารประเภทโกดัง คลังสินค้า และโรงซ่อมบำรุง ส่งผลให้ย่านนี้แลดูเงียบเหงาทั้งที่อยู่ไม่ห่างจากตัวเมือง ปัจจุบัน ย่านมาเซนานอร์ทกลายเป็น A NEW QUARTIER LATIN แหล่งปัญญาชนฝั่งซ้ายแม่น้ำเซนน์แห่งใหม่ที่มีชีวิตชีวา ที่เชื่อมโยงเนื้อเมืองจากแม่น้ำเซนน์เข้าสู่ย่านชาวเอเชีย-แอฟริกัน โดยการสร้างพื้นที่สาธารณะพาดผ่านไปบนลานรถไฟ และการเกิดขึ้นของ Start-Up Village หรือรู้จักในนาม “STATION F” PALAIS DE START-UP ที่เกิดใหม่โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณอาคารโรงซ่อมบำรุงหลังเก่า การฟื้นฟูย่านมาเซนานอร์ทนอกจากจะเป็นความพยายามในการผสานกับเนื้อเมืองของย่านอุตสาหกรรมชายขอบเดิมที่กระจัดกระจายแล้ว วัตถุประสงค์สำคัญคือการกระจายความหนาแน่นของแหล่งงานและแหล่งวัฒนธรรมออกไปจากพื้นที่ศูนย์กลางปารีส รวมทั้งย่านนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อระบบรางที่สำคัญ ที่เชื่อมปารีสกับเมืองใหญ่ภูมิภาคทางตอนกลางและใต้ของประเทศ […]

แผงลอยปารีส LES MARCHES DE PARIS และตลาดแผงลอยในชนบท

10/06/2023

ปารีสก็เหมือนกับเมืองอื่นๆ ที่มีตลาดเป็นหัวใจของเมือง ตลาดแผงลอยเป็นหนึ่งในตลาดที่เทศบาลปารีสให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจัง เมืองปารีสมีขนาดเล็กกว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 150 เท่า แบ่งเป็น 20 เขต ปัจจุบันนี้มีแผงลอยกว่า 72 แห่ง เขตละ 3-4 แห่ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ โดยปกติแล้วแผงลอยในปารีสจะเปิดเป็นตลาดเช้า เวลาเจ็ดโมงจนถึงช่วงบ่ายโมงที่ตลาดเริ่มวาย แต่ด้วยการเติบโตของตลาดที่มากขึ้น เทศบาลปารีสจึงได้ริเริ่มตลาดบ่ายขึ้นในหลายย่าน เพื่อเป็น “เครื่องยนต์เสริม” ในการเพิ่มพลวัติให้กับเมือง แผงลอยที่ไม่ล่องลอยอีกต่อไป กลับมาปารีสครั้งนี้ สิ่งที่สังเกตเห็นคือ ในบางย่านและบนทางเท้าของถนนบางเส้น จะมีโครงสร้างร้านติดตั้งไว้ เป็นโครงสร้างเสาเล็กโปร่งเบา หลังคาผ้าใบสีแดงสีขาวม้วนเก็บได้ นี่คือโครงสร้างของตลาดแผงลอยที่ติดตั้งถาวรไว้เลย จากที่แต่ก่อนรื้อเก็บหลังตลาดเลิก ที่เปลี่ยนมาทำแบบนี้ อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นบริเวณที่ทางเท้ามีความกว้างพอที่โครงสร้างเหล่านี้จะไม่เกะกะคนเดิน หรือเป็นตลาดที่มีชื่อเสียงและคนติดแล้ว (เช่น ในเขต 14 เป็นตลาดขายอาหารที่มีความยาวที่สุดในปารีส คนประมาณมดรุมน้ำตาลก้อน) รวมทั้งความถี่ของตลาดมีบ่อยขึ้น จากอดีตมีแค่สัปดาห์ละครั้ง ตอนนี้ตลาดในบางย่านมีสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จะมาเดี๋ยวติดเดี๋ยวรื้อก็ไม่ไหว จึงออกแบบให้อยู่ร่วมกับทางเท้าหรือลานสาธารณะ การขยายตัวของตลาดแผงลอยทั่วกรุงปารีส ด้วยความนิยมของผู้บริโภคชาวปารีสที่นิยมอาหารออแกนิคหรืออาหารที่มีห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) สั้น รวมทั้งต้องการความหลากหลายของสินค้าที่ซูเปอร์มาร์เก็ตอาจจะให้ไม่ได้ […]

PLACE DE LA BASTILLE พื้นที่สาธารณะใหม่ ที่ผู้พิการทางสายตาร่วมออกแบบ

10/06/2023

ลานบาสตีย์ (Place de la Bastille) ที่มีอนุสาวรีย์แห่งความทรงจำของการปฏิวัติฝรั่งเศส อดีตเคยเป็นที่ตั้งของคุกบาสตีย์อันเป็นสัญลักษณ์ของระบบการเมืองและสังคมของฝรั่งเศสก่อนการปฏิวัติ (Ancien Régime) มาก่อน แต่มันได้ถูกทำลายลงเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 1789 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชาติฝรั่งเศส ทำให้ลานนี้คือหนึ่งในลานยอดนิยมในปราศัยและการเรียกร้องทางการเมือง อนุสาวรีย์นี้ออกแบบมาหลายเวอร์ชัน เช่น รูปช้างในสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 (Napoleon I) ที่ปรากฏในวรรณกรรม เล มิเซราบล์ (Les Misérables) โดยวิกตอร์ อูว์โก (Victor Hugo) แต่ที่สร้างจริงที่เราเห็นทุกวันนี้คือออกแบบในสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 (Napoleon III) เป็นเสาบรอนซ์สีเขียวขนาดใหญ่ บนยอดประดับด้วยรูปปั้น “จิตวิญญาณอิสระ” (Le Génie de la Liberté) ที่มาภาพ APUR อนุสาวรีย์นี้เดิมเป็นวงเวียนรถยนต์ธรรมดา หากเราอยากศึกษาอนุสารีย์ประวัติศาสตร์ แต่ก่อนต้องเดินข้ามถนนไป ซึ่งข้ามยากเพราะถนนมีขนาดใหญ่ อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ปลายถนน Rivoli (เส้นตะวันออก-ตก) ที่วิ่งมาเชื่อมกับย่านบาสตีย์ ย่านกินดื่มและย่านวัฒนธรรม เป็นที่ตั้งของ […]

LUXURY FOR ALL เมืองเขียว: ความหรูหราสำหรับทุกคน

10/06/2023

นอกเหนือจากความน่าทึ่งที่นายกเทศมนตรีกรุงปารีสเปลี่ยนพื้นที่เมืองส่วนใหญ่ของปารีสให้เป็นมิตรกับจักรยานภายใน 3 ปี การกลับมาปารีสแต่ละปีจะเห็นว่า “ปารีสเขียวขึ้น” เดินไปที่ไหนก็มีแต่สวนสาธารณะใหญ่ เล็ก ทางเท้าก็เขียวร่มรื่น เดินได้ทั้งเมือง แม้แต่ละเขตมีความเขียวและคุณภาพที่แตกต่างกันบ้าง แต่ต้องบอกว่า “เขียวทุกเขต” เรียกได้ว่าเดินหลบให้พ้นยากกว่าหาให้เจอ ยืนยันโดยชาวปารีส เขาบอกว่าตอนเขาเป็นนักศึกษา (ช่วง 70-80s) ปารีสไม่เขียวแบบนี้ สวนสาธารณะไม่เยอะมากมายเเบบนี้ และเป็นสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นความสำเร็จของเมืองปารีส สวนสาธารณะของปารีสเข้าถึงได้ทุกเขตในระยะเดิน มีหลากหลายทั้ง สวนโดยเทศบาล สวนโดยเอกชน สวนป่า สวนสุสาน สวนผัก สวนดาดฟ้า สร้างในหลากหลายยุคสมัย โดยทั่วไปมีมาตรฐานใกล้เคียงกันคือ ต้นไม้ใหญ่ ดูแลต้นไม้ดี ออกแบบดี มีพื้นที่รองรับกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งออกกำลัง ลานเปตอง สนามเด็กเล่น สนามหญ้าสำหรับปิคนิค นั่งอ่านหนังสือหรือทำงานเงียบๆ เรียกได้ว่า แม้อาศัยในอะพาร์ตเมนต์เล็กๆ แต่ก็พอจะมีพื้นที่สาธารณะสวยๆ ให้ผ่อนคลายใกล้บ้าน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด ที่ผู้คนโหยหาสวนใกล้บ้านสำหรับผ่อนคลายจิตใจ สิ่งหนึ่งที่ประทับใจมากคือสวนที่นี่ “เงียบ” ซึ่งอาจเป็นเพราะที่ปารีสมีสวนจำนวนมาก คนมีทางเลือก สวนจึงไม่แออัด หรืออาจจะเพราะคนที่นี่ใช้เมืองและที่สาธารณะเป็น ค่อนข้างมีมารยาทในการใช้พื้นที่ส่วนรวม ไม่ส่งเสียงดังรบกวน แต่กว่าที่ปารีสจะเขียวแบบนี้ได้ ไม่ใช่ความสำเร็จของนายกเทศมนตรีท่านใดท่านหนึ่ง […]

TEMPORARY EDIBLE GARDEN URBANISM: จะทำเกษตรในปารีสได้อย่างไร หากไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง?

10/06/2023

เกษตรในเมือง (Urban Agriculture) เป็นหนึ่งในนโยบายที่ปารีสและเมืองใหญ่อื่นๆ ในฝรั่งเศส เช่น เมืองลียง (Lyon) เมืองบอร์โด (Bordeaux) ใช้ตอบโจทย์ความท้าทายของเมือง เมื่อเกิดการกลายเป็นเมือง การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมคือสิ่งแรกๆ ที่หายไป ด้วยราคาที่ดินที่สูงขึ้น อันตรายจากการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง รวมทั้งสิ่งรบกวนเช่น เสียงสัตว์ กลิ่น ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไป เกษตรในเมืองได้ถูกนำกลับมาใหม่เพื่อตอบโจทย์หลายอย่างในปัจจุบัน เช่น โจทย์สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน (global warming) พื้นที่ซึมน้ำ ภูมิทัศน์ดาดอ่อน (softscape) ระยะทางอาหาร (food miles) รวมทั้ง ความปลอดภัยในอาหาร (food safety) และความมั่นคงทางอาหาร (food security) ที่มา https://www.parisculteurs.paris/en/about/urban-agriculture-in-paris/ จากตัวเลขสถิติของเทศบาลกรุงปารีส ในปีหนึ่งปารีสต้องการอาหาร 30 ล้านมื้อ (รวมนักท่องเที่ยวและคนนอกเมืองที่เข้ามาทำงาน) 70% ของผักผลไม้มาจากการนำเข้าทั้งรอบเมืองและในประเทศ และระยะทางเฉลี่ยในการขนส่งอาหารคือ 660 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 20% ของ […]

โจทย์ 4 ข้อ สู่การสร้างเมืองบนฐานความรู้ จากมุมมองจากนักสังคมศาสตร์ อนรรฆ พิทักษ์ธานิน

12/10/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เมื่อนิยามเมืองแห่งการเรียนรู้ไม่ใช่แค่การสร้างห้องสมุดหรือการพัฒนาการศึกษาในระบบ แต่ยังหมายถึงบริบทที่เกี่ยวข้องกับผู้คนและการจัดการองค์ความรู้ของเมือง ดังนั้น มุมมองทางสังคมศาสตร์จึงเป็นมุมมองที่สำคัญของการพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ (knowledge-based city making) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ได้รับเกียรติจาก อ.อนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิจัยศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้จัดการแผนงานสนับสนุนองค์ความรู้ฯ คนไร้บ้านและคนจนเมือง สสส. ให้สัมภาษณ์ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เสนอโจทย์ 4 ข้อของการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ในประเทศไทยจากการนำองค์ความรู้ของผู้คนมาพัฒนาเมือง  โจทย์ที่ 1: การสร้าง common place and sense of common โจทย์ใหญ่ของการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในไทยคือการมีพื้นที่ส่วนรวม ในหลายประเทศแถบยุโรปจะมีจัตุรัสตามเมืองต่าง ๆ มากมาย ผมเลยเกิดคำถามที่ว่า ที่ดินของจัตุรัสเหล่านี้นั้นเป็นของใคร ใครเป็นผู้ถือโฉนด ผมได้คำตอบว่าพื้นที่ดินของจัตุรัสนี้เป็นของเมือง ไม่ใช่ของรัฐ ซึ่งผมว่าการที่ประชาชนมีสิทธิในการถือครองทรัพย์สินส่วนกลางมันทำให้คนในเมืองเขามีความรู้สึกของพื้นที่ส่วนรวมหรือความเป็นส่วนรวมของเมือง  เมื่อกลับมามองที่ประเทศไทย พบว่าเรายังไม่มีพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งผมมองว่าเมืองแห่งการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งจะต้องมีการสร้าง […]

อธิปัตย์ บำรุง: การกระจายอำนาจ และ การบริหารท้องถิ่น เครื่องมือเปลี่ยนท้องถิ่นสู่เมืองแห่งการเรียนรู้

30/09/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หากพูดถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ในประเทศไทย หน่วยงานที่มีบทบาทโดดเด่นหน่วยงานหนึ่งต้องยกให้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD ผู้ผลักดันให้เกิดแหล่งเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่าง มิวเซียมสยาม และอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ห้องสมุดและพื้นที่จัดกิจกรรมภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ก่อนกระจายไปสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ทั่วประเทศในเวลาต่อมา ภารกิจตลอดระยะเวลา 15 ปีของ OKMD ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ พบปัญหาและอุปสรรคหลายประการ อาทิ กฎหมายและกฎระเบียบที่ตีกรอบให้ท้องถิ่นไม่สามารถพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนปัญหาด้านงบประมาณและการบริหารจัดการท้องถิ่น ดร.อธิปัตย์ บำรุง ผู้อำนวยการ OKMD ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในประเทศไทย แก่ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เมืองที่มีศักยภาพเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ในประเทศไทย ตามมุมมอง OKMD ขอแยกกรุงเทพฯออกไปก่อน เนื่องจากมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างพิเศษมาก จึงขอเปรียบเทียบท้องถิ่นกับท้องถิ่น ยกตัวอย่างโครงการที่ OKMD โดย TK Park (อุทยานการเรียนรู้) เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ต่างจังหวัด เช่น ยะลา ความโดดเด่นที่พบคือผู้นำเทศบาล หรือ ท่านนายกเทศมนตรีนครยะลามีบทบาทสูงมาก […]

“เพราะเรารอต่อไปไม่ได้อีกแล้ว” ขอนแก่นพัฒนาเมือง บริษัทเอกชนที่ลุกขึ้นเปลี่ยนโฉมบ้านเกิด

27/09/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น เป็นหนึ่งในโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางโครงการแรกๆ  ในประวัติศาสตร์ไทย ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่เพียงเท่านั้น โครงการนี้ยังมีชื่อเสียง อย่างมาก ในแง่ที่เป็นการร่วมลงทุนของภาคเอกชน โดยไม่ต้องรองบประมาณจากภาครัฐอีกด้วย โครงการที่โดดเด่นและเต็มไปด้วยความหวังนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร อะไรที่ทำให้โครงการชะลอมาแสนนาน และอะไรที่แสดงว่าการพัฒนาท้องถิ่นตาม “ขอนแก่นโมเดล” นี้ ยังคงเต็มไปด้วยความหวังเพื่ออนาคตของเมือง ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ได้พูดคุยกับ คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการรถไฟฟ้านี้มาตั้งแต่ปี 2558 ที่จะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการพัฒนาในขอนแก่น และแบ่งปันบทเรียนให้กับนักพัฒนาท้องถิ่นที่อื่นๆ ในประเทศไทย   อะไรบันดาลใจ และอยากเห็นอะไรในขอนแก่น คุณสุรเดชชี้ให้เห็นปัญหาการพัฒนาในโครงสร้างแบบเดิมๆ ในประเทศไทยทันทีที่ถามถึงประเด็นนี้ กล่าวว่าโครงสร้างแบบเดิมนั้นไม่ค่อยมีกลุ่มในพื้นที่เข้ามาลงมือพัฒนาเมือง และภูมิภาคของตนมากเท่าใดนัก ลักษณะเช่นนี้ทำให้หน้าที่หลักตกไปอยู่ในมือของภาครัฐ กลายเป็นว่างานพัฒนาหลายๆ อย่างมักจะถูก “ทำให้จบๆ ไป” การถูกกดทับด้วยโครงสร้างอำนาจต่อกันลงมาเป็นทอดจากส่วนกลาง มากกว่าจากท้องถิ่น อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานของหน่วยงานรัฐในภูมิภาคเช่นนี้ด้วย หากมองดูจากชื่อเต็มของ KKTT หรือคือ Khon Kaen […]

1 2 3 4