เมือง



สร้าง ‘เมือง’ เพื่อสร้าง ‘หนัง’ … ศิลปะสุดทะเยอทะยานหรืออีกหนึ่งเผด็จการในโซเวียตรัสเซีย?

22/05/2020

บ่อยครั้งที่ ‘เมือง’ (Urban) หรือแม้แต่ ‘ความเป็นเมือง’ (Urbanization) มักถูกนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์ในฐานะของ ‘ฉากหลัง’ ที่ช่วยส่งเสริมเรื่องเล่าให้ออกมาเปี่ยมเสน่ห์จนสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้ ทว่าไม่บ่อยนักที่พวกมันจะถูกก่อร่างสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยเฉพาะในฐานะของอีกหนึ่ง ‘ตัวละคร’ ที่มีความสำคัญต่อการเล่าเรื่องไม่แพ้บรรดาตัวละครมนุษย์ กรณีศึกษาที่โดดเด่นที่สุดแห่งยุคสมัยคงหนีไม่พ้น DAU โปรเจ็กต์หนังศิลปะสุดทะเยอทะยานที่ผู้กำกับชาวรัสเซียอย่าง อีล์ยา คาร์ซานอฟสกี (Ilya Khrzhanovsky) ลงทุนปลูกสร้างฉาก ‘สถาบัน’ (The Institute) อันเป็นภาพแทนของสังคมเผด็จการสหภาพโซเวียตระหว่างยุค 30-60 บนโลเคชั่นถ่ายทำขนาดใหญ่ในยูเครน รวมถึงใช้เวลาปลุกปั้นผลงานภายใต้กฎกองถ่ายอันแสนเข้มงวดเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ! ที่สำคัญ, ตัวหนังและวิธีการ ‘สร้างเมือง’ ของคนทำหนังอย่างคาร์ซานอฟสกียังนำเราไปสู่ประเด็นถกเถียงทางสังคมอันเผ็ดร้อน ทั้งการตั้งคำถามถึงจริยธรรมการทำงาน และการส่องสังเกตพฤติกรรมเผด็จการของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยลับอันน่าเกรงขามที่มีขนาดเทียบเท่าเมืองจริงๆ รวมถึงความเป็นเมืองที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในกองถ่าย DAU จึงก้าวไปไกลกว่าการเป็น ‘แค่ฉากหลัง’ ดาษดื่นในหนังทั่วไป และกลายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าศึกษาต่อยอดในหลากหลายมิติอย่างไม่ต้องสงสัย  1 ในแวดวงนักดูหนัง คาร์ซานอฟสกีคือคนทำหนังที่ถูกพะยี่ห้อด้วยคำว่า ‘เฮี้ยน’ มาตั้งแต่ผลงานเรื่องแรกอย่าง 4 เมื่อปี 2004 สืบเนื่องจากพล็อตที่เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่านอันเกี่ยวพันกับหนุ่มสาวสี่คนในบาร์เหล้า แผนการโคลนนิ่งมนุษย์ และรัฐบาลอันไม่น่าไว้วางใจของ วลาดิเมียร์ ปูติน […]

Redesigning the Covid-19 city : 8 แนวโน้มที่เป็นไปได้

19/05/2020

การระบาดของ Covid-19 ทำให้หลายเมืองที่มีสีสันพลันเงียบเหงาลง วิกฤตครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเป็นทั้งด่านหน้าและด่านสุดท้ายของการควบคุมโรคระบาดทั้งในระดับประเทศและระดับโลก Covid-19 ส่งผลร้ายแรงต่อบางเมืองมากกว่าเมืองอื่นและสร้างรอยร้าวขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเหลื่อมล้ำของรายได้ เพศสภาพ ชาติพันธุ์และโอกาสในชีวิต มาตรการรับมือต่างๆที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีกหลายช่วงรุ่น บางเมืองจะกลับมารุ่งเรืองและมีประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่บางเมืองจะค่อยๆ โรยราและเหี่ยวเฉาลงไป ความรุนแรงของวิกฤตในครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากวิธีการบริหารจัดการ ในโคเปนเฮเกน โซล หรือไทเป ภาครัฐเป็นผู้นำ ขณะที่ภาคประชาสังคมให้ความร่วมมือจึงสามารถจำกัดการแพร่ระบาดลงได้ Covid-19 ทำให้เราย้อนกลับไปคิดและตั้งคำถามกับสัญญาประชาคมที่แตกต่างกันในประเทศที่ยากจนและร่ำรวยเลยทีเดียว ในอนาคตเมื่อเมืองทุกเมืองผ่อนคลายและยุติมาตรการ Lockdown จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจขนาดเรียกได้ว่าเป็นการทดลองครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แรงงานทั่วโลกกว่า 81% ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว คนส่วนมากมีภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายแต่ไม่สามารถจ่ายได้ กระนั้น สถานการณ์เพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในระยะอันใกล้อาจมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ จนกว่าจะคิดค้นวัคซีนหรือมีวิธีการจัดการไวรัสที่ชะงัดกว่านี้ เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเมืองไม่สามารถ Lockdown ได้ตลอดไป ในระยะสั้น หน้ากากอนามัย ชุดตรวจโรค การติดตามผู้ติดเชื้อ (Digital contact tracing) และมาตรการ Social Distancing ควรทำอย่างต่อเนื่อง แต่ละมาตรการแปรเปลี่ยนไปตามความรุนแรงและขอบเขตการแพร่กระจายของแต่ละเมือง ยกตัวอย่างเช่น ในจีนใช้โทรศัพท์มือถือติดตามผู้ติดเชื้อโดยในแต่ละระดับความเสี่ยงมีสี (Color-coded) แตกต่างกันประกอบป้องกันไม่ให้ชาวบ้านจากหมู่บ้านนอกเมืองเดินทางเข้าเมือง เป็นต้น เมืองในยุโรปหลายเมืองเริ่มคิดที่จะผ่อนปรนมาตรการ Social […]

อากาศยานไร้คนขับ จากภารกิจช่วยผืนป่าสู่อนาคตขนส่งช่วยคนเมือง

18/05/2020

ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา เกิดกระแสข่าวการถ่ายภาพมุมสูงบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ถึงแม้จะมีการออกมาชี้แจงว่าเป็นการขอความร่วมมือให้ส่งภาพเฉพาะหน่วยงานเฉพาะกิจเท่านั้นด้วยหลายๆ เหตุผลที่มิอาจทราบได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์เป็นวงกว้าง   ก่อนอื่นต้องยอมรับและทำความเข้าใจก่อนว่าเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle) หรือ โดรน (Drone) ถูกพัฒนาและใช้ในต่างประเทศโดยเฉพาะกิจการทางทหารมานานแล้ว นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการใช้อากาศยานไร้คนขับในการโจมตีแต่ยังต้องพึ่งพาการบังคับจากมนุษย์ จนมาถึงปัจจุบันที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในการควบคุมการบินได้ โดยมีขนาดตั้งแต่ 5 เซนติเมตรไปจนถึง 50 เมตร ต่อมาโดรนที่ถูกใช้ในพลเรือนหรือประชาชนทั่วไปถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กและนำมาใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง การสำรวจพันธุ์สัตว์ป่า การลักลอบตัดไม้ การทำแผนที่ และแน่นอนการทำแผนที่ไฟป่าและการดับไฟป่าก็เป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์อย่างในกรณีของทางภาคเหนือนั่นเอง เนื่องจากโดรนสามารถถ่ายภาพมุมสูง ช่วยในการรับรู้ทิศทางของไฟ และความเสียหายของขนาดวงไฟที่กำลังเกิดขึ้น และสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดรน กับโอกาส ที่อาจจะปลดล็อกได้ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นทั้งของเล่นและอุปกรณ์ในการถ่ายภาพประกอบแต่เนื่องด้วยคุณลักษณะในการบินเหนือพื้นดิน โดรนจึงจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับการใช้งานเพราะอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น การสอดแนม การติดอาวุธ และรวมไปถึงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ตามกฎหมายแล้ว โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัม และมีกล้องต้องขึ้นทะเบียน และหากมีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม  การใช้อากาศยานไร้คนขับยังมีข้อกำหนดที่ศึกษาอีกข้อคือ เขตห้ามบิน […]

Our common (safe) future ?

07/05/2020

ผมและเรียวเป็นนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัย KU Leuven ในเบลเยียม เรามาถึงเบลเยียมกันในเดือนกันยายน 2019 ทุกอย่างสวยงามเพราะเบลเยียมกำลังก้าวเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง แสงแดดที่มีมากกว่าฤดูอื่นๆ ทำให้เบลเยียมดูสวยงามเป็นพิเศษ โรงเรียนของผมอยู่ในปราสาทอเรนแบร์ก ซึ่งเป็นอาคารเก่าตั้งอยู่นอกเมืองเลอเวิน ส่วนโรงเรียนของเรียวมีชื่อที่เรียกกันติดปากว่า Sint-Lucas Gent เป็นโรงเรียนที่มีการสอนสถาปัตยกรรมยาวนานมาตั้งแต่ปี 1862 ชีวิตเราดำเนินแบบนี้มาเรื่อยๆ จนผ่านฤดูใบไม้ร่วงเข้าสู่ฤดูหนาวจนแดดเริ่มออกอีกครั้งในเดือนมีนาคม แต่เราก็มีเรื่องชวนปวดหัวเล็กน้อยในวันที่ประเทศเริ่มมีการประกาศว่าประชาชนเริ่มติดไวรัสโคโรนา วันที่มีคนติดกันคนสองคน ผมยังคุยกับเรียวว่ามันไกลตัวมาก แต่ที่ไหนได้ วันนี้มีมากกว่าสามหมื่นคนแล้ว เมื่อเริ่ม lockdown ผมเดินทางไปหาเรียว แต่เพราะรัฐบาลสั่งห้ามการเดินทางที่ไม่จำเป็น บรรยากาศบนรถไฟจึงดูแปลกตาไป การนั่งรถไฟจากเลอเวินมาเกนต์นั้น ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ซึ่งหากใครเคยดูหนังเรื่อง Train to Busan บรรยากาศบนรถไฟช่างเหมือนหนังเรื่องนั้น เพียงแค่ไม่มีซอมบี้เท่านั้นเอง ผมแทบจะเป็นผู้โดยสารเพียงคนเดียวบนรถไฟ พนักงานไม่กล้าเดินมาตรวจตั๋ว ที่สถานีรถไฟเองก็ปลอดผู้คนจนน่าใจหาย เมืองมาถึงที่เกนต์ หนึ่งในเมืองท่องเที่ยวที่โด่งดังที่สุดของเบลเยียมก็ช่างเงียบเหงาอย่างแปลกตา เรียวเป็นนักเรียนปริญญาโท ในโรงเรียนสถาปัตย์ (Sint-Lucas Gent, Faculteit Architectuur) ในหลักสูตร Sustainable Architecture การมาหาเรียวในช่วงนี้น่าสนุกกว่าเคย เพราะในฐานะที่เรียวเป็นนักเรียนสถาปัตย์และกำลังทำโปรเจ็กต์เรื่องสวนสาธารณะในเมือง Brussels ผมเลยชวนเรียวนั่งคุยและถามว่าเขามีมุมมองที่เปลี่ยนไปกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างไร ชีวิตปกติก่อน […]

ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ โลกการทำงานหลังยุคโควิด-19 เมื่อ ‘งาน’ ไม่ได้ติดอยู่กับ ‘เมือง’ อีกต่อไป

05/05/2020

โลกหลังวิกฤตโควิด-19 จะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ทุกคนอยากรู้ หนึ่งในเรื่องที่หลายคนอยากรู้ก็คือ โฉมหน้าของการทำงานในเมืองนับจากนี้ ซึ่งหนึ่งใน New Normal ยุคโควิด-19 ก็คือการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home  เราอยากรู้ว่าหลังจากนี้ บริษัทต่างๆ จะมีทิศทางในการทำงานอย่างไร ความจำเป็นของการมีออฟฟิศจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะไหน เพราะทำงานที่ไหนก็ได้ หรือวิถีเช่นนี้จะไปกระตุ้น Gig Economy ซึ่งก่อนหน้านี้กำลังมีบทบาทอย่างมากอย่างไร นี่เป็นเรื่องของคนทำงานในเมืองจำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกันไม่ใช่ทุกคนจะย้ายตัวเองไปทำมาหากินบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ดังที่เราเห็นว่า คนที่อาศัยอยู่ในเมืองอีกจำนวนมากต้องตกงานและระเห็จกลับภูมิลำเนา สิ่งนี้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับเมืองบ้าง และในเมื่อเมืองไม่มีงานไม่มีเงินอีกต่อไป คนเหล่านี้ยังมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองอีกหรือไม่   เราชวน อ.ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ หนึ่งในนักวิจัยจากโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 : อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ พูดคุยถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการทำงานในเมืองในยุคโควิด-19 และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางแอปพลิเคชัน Zoom ซึ่งน่าจะกลายเป็น New Normal ของการสัมภาษณ์เช่นกัน หลังจากเกิดโควิด-19 ผลกระทบกับตัวคุณเองในแง่การทำงานเป็นอย่างไรบ้าง และมีประสบการณ์ต่อการ Work from home อย่างไร ส่วนตัวไม่ได้ประสบปัญหามาก […]

เมือง (ลอนดอน) กับมาตรการรับมือ Covid-19

24/04/2020

อังกฤษกลายเป็นที่โด่งดังหลังจากออกมาตรการ Herd Immunity เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มาตรการนี้เหมือนจะเป็นแนวคิดใหม่ แลดูท้าทาย ผสมผสานความเสียดสีว่ารัฐบาลไม่ใส่ใจ ปล่อยให้แต่ละคนแบกรับชีวิตตนเอง แต่ก็เป็นวิธีที่มีใช้กันมานาน ได้ผลและมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ ตั้งแต่ Boris Johnson นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรประกาศ Lock Down และเริ่ม Social Distancing เมื่อ 23 มีนาคม ลอนดอนที่เป็นเมืองศูนย์กลางเมืองหนึ่งของโลกก็เริ่มเงียบเหงาลง ชาวต่างชาติทยอยเดินทางกลับบ้าน คนที่ยังอยู่ก็เริ่มทำงานจากบ้าน (Work from home : WFH) ไม่ต่างจากเมืองไทย จากที่เคยออกจากบ้านวันละหลายครั้ง กลายเป็นหลายวันต่อหนึ่งครั้ง คนในเมืองใหญ่อย่างลอนดอนต่างผูกชีวิตไว้กับซุปเปอร์มาร์เก็ตซึ่งแม้จะสั่งออนไลน์ให้มาส่งได้แต่หากเป็นของสดก็จำเป็นต้องออกไปเลือกซื้อด้วยตัวเอง หลายมาตรการรับมือ Covid-19 ในสหราชอาณาจักรและลอนดอนเป็นที่รับรู้กันดี และใช้กันตามเมืองที่มีผู้คนพลุกพล่านทั่วโลก ทั้งการรักษาระยะห่าง 2 เมตร และอยู่รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน ในที่สาธารณะ ภาคเอกชนให้ความร่วมมือกับภาครัฐด้วยการทำสัญลักษณ์ตามทางเดินและฝากำแพงเพื่อบอกให้รู้ว่าระยะ 2 เมตร คือระยะประมาณนี้นะ รวมถึงมีการแบ่งเวลาเข้าซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตชัดเจนว่าให้ความสำคัญ (Priority) กับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง (Vulnerable people) กับคนที่ทำงานให้ […]

Wonderfruit Festival ดนตรี ศิลปะ ความยั่งยืน และเมืองในอุดมคติของพีท-ประณิธาน และ เจ-มณฑล

30/12/2019

‘วันเดอร์ฟรุตไม่ใช่แค่เทศกาลดนตรี แต่เป็นเทศกาลศิลปะ’ พีท-ประณิธาน พรประภา และ เจ-มณฑล จิรา ผู้ก่อตั้งทั้งสองของงานวันเดอร์ฟรุตได้กล่าวไว้ เมื่อเราค้นหาคำว่า “Wonderfruit Festival” ภาพผู้คนแต่งตัวจัดๆ สีสันฉูดฉาด หลากหลายสไตล์โผล่ขึ้นมาในหน้าอินเทอร์เน็ตมากมาย แต่ไม่ใช่แค่ดนตรี ศิลปะ การแต่งตัวเท่านั้น จากที่ผ่านๆ มา Wonderfruit Festival เป็นงานที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมาตลอด และปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ pop-up city ซึ่งจะใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ใช้เวลาขับรถประมาณครึ่งชั่วโมงจากพัทยากลาง ถนนคดเคี้ยวก็พาเรามาถึงสถานที่จัดงานวันเดอร์ฟรุต พื้นดินลูกรังฝุ่นตลบจนต้องมีรถคอยฉีดน้ำลงพื้น เป็นสัญญาณบอกว่าเราอยู่ห่างจากตัวเมืองพอสมควร ยิ่งเข้าไปใกล้กับบริเวณงาน ยิ่งเหมือนเราหลุดเข้าไปอยู่ใน ‘อีกเมืองหนึ่ง’ เมื่อเดินผ่านโครงสร้างไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยผ้าหลากหลายสีสัน มีตัวอักษรเขียนว่า ‘WONDERFRUIT’ ซึ่งเป็นประตูทางเข้าหลักของงาน บรรยากาศโดยรอบก็ครึกครื้นไปด้วยผู้คน เคล้าคลอเสียงเพลงหลากหลายแนวจากหลายเวที ซุ้มอาหารที่มีอยู่รายรอบ ไม่ต้องกลัวว่าจะท้องร้อง มีซุ้มเวิร์คช็อปศิลปะที่น่าสนใจมากมาย มีจุดให้นั่งพักผ่อน มีโต๊ะ เก้าอี้ ไปจนถึงเปลที่ผูกอยู่กับต้นไม้ใหญ่ หรือกระทั่งศาลาพักผ่อนกลางน้ำ นอกจากส่วนหลักๆ เหล่านั้นแล้ว เราแอบสังเกตถึงเรื่อง Sustainability ที่เป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของงาน รอบงานมีถังขยะที่แยกเป็นส่วนๆ ทั้งขยะรีไซเคิล […]

The Better City ของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ “เราคือเมือง เมืองคือประชาชน”

29/11/2019

แม้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ยังมาไม่ถึง แต่คนที่เรารู้อย่างแน่ชัดแล้วว่าจะลงแข่งขันในศึกชิงตำแหน่งครั้งนี้แน่นอนก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ อดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมผู้ได้รับสมญานามว่า ‘รัฐมนตรีผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี’  บ่อยครั้งที่ใครๆ ก็พบเห็นชายผู้แข็งแกร่งที่สดในปฐพีคนนี้ไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนลุมฯ และถ้าเข้าไปทักทายของถ่ายรูปด้วย ก็จะได้รับปฏิกิริยาตอบกลับแบบยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรเสมอ ไลฟ์สไตล์ติดดิน เข้าถึงง่าย ชัชชาติเป็นหนึ่งในนักการเมืองไม่กี่คนที่ประชาชนรู้สึกคุ้นเคย รวมไปถึงพื้นที่โซเชียลมีเดียด้วย ดังนั้น ชัชชาติจึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับผู้ท้าชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. โดยเฉพาะเมื่อเขาตัดสินใจลงในนามอิสระ ด้วยเหตุผลที่ว่า ‘สามารถทำงานกับทุกภาคส่วนได้มากกว่าลงสมัครในนามพรรคการเมือง’  ว่าแต่ว่า วิสัยทัศน์ในเรื่อง ‘เมือง’ ของผู้ชายคนนี้จะเป็นอย่างไร The Urbanis อยากชวนคุณไปพูดคุยกับเขาหลังการบรรยายครั้งสำคัญในหัวข้อ “Better City จะทำเมืองให้ดีขึ้นได้อย่างไร”  การบรรยายนี้จัดขึ้นโดย ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง (CUURP) คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ซึ่งนอกจากจะเปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาเมืองให้แก่นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ยังทำให้เรา ‘เห็น’ ชัดเจนอีกด้วย ว่าชัชชาติมีวิสัยทัศน์ต่อกรุงเทพฯ อย่างไร รวมทั้งเขาอยากทำอะไรบ้าง – เพื่อให้กรุงเทพฯ ดีขึ้น ชัชชาติเริ่มการบรรยายด้วยการตั้งคำถามว่า ‘เมืองที่ดีคืออะไร’ เพราะการจะวัดผลว่าดีหรือไม่ดีนั้น […]

กรุงเทพฯ: เมืองใหญ่ ถนนน้อย ทางเท้าด้อยคุณภาพ

01/11/2019

กรุงเทพฯ เมืองโตเดี่ยวตลอดกาลของประเทศไทยและจะยังคงเป็นเฉกเช่นนี้ไปอีกนาน ด้วยขนาดของเมืองในระดับมหานคร (Mega Cities) ที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยกว่า 10 ล้านคน หรือ 1 ใน 6 ของคนทั้งประเทศ ไม่แปลกที่กรุงเทพฯ จะมีความพลุกพล่านของผู้คนและการสัญจร เคยมีผลการสำรวจคนกรุงเทพฯ เรื่องของการใช้เวลาในการเดินทางพบว่า เราใช้เวลาอยู่ในรถนานกว่า 800 ชั่วโมงต่อปี (1 เดือนต่อปี) หรือคิดเป็นกว่า 1 ปี ในรอบ 12 ปี และนี่คือ ผลของการจราจรที่ติดขัดและเป็นปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของยอดจดทะเบียนรถยนต์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปี 2558 กว่า 350,000 คัน แต่ทว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมากรุงเทพฯ แทบไม่มีพื้นที่ถนนเพิ่มขึ้นเลย การสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับรถยนต์มากกว่าการเดินเท้าทำให้เรามีทางสัญจรน้อยเช่นนี้คงไม่ใช่ทางออกที่ดีของเมืองกรุงเทพฯ แน่ๆ เพราะฉะนั้น “การสร้างเมืองให้เดินได้-เดินดี” คือคำตอบ!!! สัดส่วนพื้นที่ถนน คือ ดัชนีชี้วัดคุณภาพเมือง มาตรฐานเมืองที่ดีซึ่งจะทำให้เกิดการจราจรที่สะดวกและไม่เกิดปัญหารถติด เราเชื่อว่าต้องมีสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20-25 หลายเมืองจึงใช้เกณฑ์มาตรฐานของสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองเป็นตัวชี้วัดคุณภาพเมืองด้านโครงสร้างสัณฐานเมือง เพราะนอกจากถนนจะเป็นพื้นที่สำหรับการสัญจรด้วยรถยนต์แล้ว พื้นที่ถนนในที่นี้ยังหมายรวมถึงพื้นที่ในส่วนเขตทางทั้งหมด อันประกอบไปด้วยพื้นผิวจราจรและพื้นผิวทางเท้า […]

Urban design ทำให้กรุงเทพฯ เย็นลง 2°C ได้อย่างไร

01/11/2019

ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัดที่เราต่างรู้สึกว่าอากาศร้อนๆ เป็นของคู่กับกรุงเทพฯ ความร้อนของชนบทที่มากกว่าในเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องที่คิดกันไปเอง เพราะ เซน – กิตติณัฐ พิมพขันธ์ นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนงานวิจัยที่ผ่านๆ มาแล้วพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นที่กลางเมืองกับพื้นที่ชนบทนั้นต่างกันมากกว่า 6 องศาเซลเซียส สภาวะแบบนี้มีชื่อเรียกว่า เกาะความร้อนเมือง (urban heat island)  ซึ่งมีสาเหตุหลักอยู่ 2 ปัจจัย คือ การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินจากการพัฒนาเมือง อีกส่วนหนึ่งความร้อนที่ปล่อยออกจากการใช้พลังงานอาคาร กิจกรรมการสัญจรโดยรถยนต์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงระดับการเพิ่มของก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global heating) เมื่อดูข้อมูลเจาะจงในพื้นที่เมืองช่วง 30 ปีย้อนหลัง ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 0.6 องศาเซลเซียส “สภาวะน่าสบาย” ของเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ นั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 28-31 องศาเซลเซียส แต่หากดูค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิในเมืองหลวงเกินสภาวะน่าสบายไปที่ 2-3 องศาเซลเซียส นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงรู้สึกร้อนสุมทรวง ต้องหามุมหลบในซอกหลืบเงาร่มของอาคาร งาน Thesis ของเซนจึงพยายามใช้ความรู้ด้าน Urban design และ […]

1 2 3