เมือง



“Vélo’v” VS “ปันปั่น”

01/11/2019

หลายเมืองทั่วโลกได้นำเอาแนวคิด Smart City มาใช้ในการพัฒนาเมืองโดยอาศัยการเก็บรวมรวมข้อมูลพื้นฐานของเมืองเพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลโดยอาศัย Big Data มาเป็นตัวช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่พร้อมทั้งสามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ไปพร้อมๆ กันในเวลาอันรวดเร็วผ่านการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID (Radio Frequency Identification) และ Sensors ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิด ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย ผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงนับเป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้เมืองได้ดึงศักยภาพที่น่าจะมีในพื้นที่ออกมาได้เป็นอย่างดีหากได้รับความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน แต่การพัฒนาเมืองตามแนวทาง Smart City จะเป็นไปในทิศทางใดก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและบทบาทของเมือง  ยกตัวอย่างการพัฒนาเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวมรดกโลกของฝรั่งเศสที่นอกจากจะเป็นเมืองที่มีบทบาททางการท่องเที่ยว แล้วยังเป็นเมืองที่มีบทบาททางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีโครงการพัฒนาเมืองเกิดขึ้นอย่างมากมาย แนวทางการพัฒนาเมืองด้วยการใช้แนวคิด Smart City ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ลียงนำมาใช้ในการพัฒนาเมือง โดยนำเอา Big Data มาเป็นตัวช่วยในการรวบรวมและจัดการข้อมูลที่ได้จาก IoT มาจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่จนกลายเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถนำมาวิเคราะห์หาความต้องการของคนที่ใช้ชีวิตในเมือง เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ผ่านแผนการพัฒนา  อาศัยความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน คือภาครัฐ เอกชน และประชาชน เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานตามแนวทางของ Smart City โดยเอกชนจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา มีประชาชนเป็นคนให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเมือง และรัฐเป็นผู้สนับสนุนโดยการกำหนดกรอบการดำเนินงานปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ การบริหารจัดการเมืองให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสนับสนุนการให้บริการของภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งขอมูลที่มีประสิทธิผลที่สามารถยังประโยชน์อย่างยั่งยืนในแง่ของ เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของทุกคน โดยนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ มารวบรวบในรูปแบบของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ภายใต้ชื่อ Data Grand Lyon ที่เป็นตัวกลางรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของเมืองตลอดจนเป็นหน่วยงานที่กำหนดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อแชร์ให้กับทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึง และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวได้โดยทั่วถึง […]

เมื่อการเดินกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

01/11/2019

เบรนท์ ชเลนเดอร์ เคยเขียนเรื่องราวของ สตีฟ จอบส์ ตีพิมพ์ลงใน Fortune และ The Wall Street Journal เป็นเรื่องราวที่เปิดเผยเบื้องหลังพฤติกรรมบางอย่างที่นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเปลี่ยนโลกมากมายในนาม “แอปเปิล” พฤติกรรมที่ว่าไม่ใช่เรื่องซับซ้อน หรือลึกลับใดๆ แต่เป็นเรื่องพื้นฐานของพวกเราทุกคน พฤติกรรมที่ว่าคือ – การเดิน เขาเล่าว่า สตีฟ จอบส์ เชิญเขาไปที่บ้านและสร้างบทสนทนาด้วยการเดินคุยกัน สอดคล้องกับที่หลายๆ คนรอบตัวของศาสดาแห่งแอปเปิลผู้นี้ บอกว่า เขามักเชิญให้ทีมงานระดมความคิดใหม่ๆ ด้วยการเดินรอบๆ แอปเปิลแคมปัส เดินไป คุยไป เพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เมื่อพูดถึงการเดินและความคิดสร้างสรรค์ก็ชวนให้คิดถึง แมริลี ออพเพซโซ่ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ เธอเคยขึ้นเวที TED Talk ในหัวข้อ “Want to be more creative? Go for a walk” หรือ อยากมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเหรอ? ออกไปเดินสิ! แมริลี […]

เมืองเคลื่อนที่ได้ หมุดหมายใหม่ของคนเมือง

01/11/2019

เคยมีคนกล่าวไว้ว่าเมืองก็เหมือนกับคน มีร่างกาย มีการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของเมืองจึงอาจหมายถึงพลวัติของการเลื่อนไหล และการเคลื่อนที่ของผู็คนและกิจกรรมที่อยู่ในเมือง การเลื่อนไหลของผู้คนและกิจกรรมในเมืองมักเริ่มต้นจากจุดหนึ่งไปสิ้นสุดที่อีกจุดหนึ่งหรือไหลไปเรื่อยๆ อีกหลายต่อหลายจุด และนั่นคือ เรื่องราวของการเคลื่อนที่ของเมือง (Urban Mobility) แต่หลายครั้งที่การเลื่อนไหลเหล่านั้นมักจะสะดุดลงและเกิดปัญหา นั่นเป็นพลวัติหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติของเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลก ปัญหาที่ว่านั้นอาจเป็นเรื่องของการจราจรที่คับคั่งและติดขัด ปัญหาฝุ่นควัน เสียงรถยนต์และการบีบแตรล้วนเป็นความปกติของการใช้ชีวิตในเมืองซึ่งในบางเมืองก็อาจเลวร้ายกว่านั้น เมืองต่างๆ เหล่านี้กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่เกี่ยวกับวาทะกรรมของการใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ก็คือ “การเคลื่อนที่และเลื่อนไหลอยู่ในเมือง” เพราะคนกรุงเทพ มีกรรมด้านการเดินทาง กรุงเทพฯ เมืองที่มักติดอันดับสถิติที่ว่าด้วยความคับคั่งของการจราจรเมืองหนึ่งของโลก (ซึ่งคนกรุงเทพฯ อาจจะไม่ได้อยากให้เมืองติดอันดับสถิติอะไรพวกนี้) นี่อาจเป็นคำพาดหัวข่าว หรือบทความที่เราพบเห็นจนชินชามาสักระยะแล้ว ควบคู่ไปกับสถิติที่ว่ากรุงเทพเป็นเมือง “น่าเที่ยว” ที่ดีที่สุดของโลก แต่ใครจะรู้ว่าเมืองน่าเที่ยวนี้ อาจจะไม่ใช่เมืองน่าอยู่อย่างที่เราคิด ปัญหาด้านการเดินทางเป็นปัญหาหลักของเมืองอย่างกรุงเทพฯ เลยก็ว่าได้ และยิ่งไปกว่านั้น การที่เราไปติดอันดับเมืองที่รถติดที่สุดในโลกยิ่งซ้ำเติมเราไปอีก หลังจากที่มีการเปิดเผยรายงานการประเมินสภาพจราจรทั่วโลก ประจำปี 2016 หรือ Global Traffic Scorecard Report บ่งชี้ว่าไทยเป็นประเทศรถติดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยคนไทยในแต่ละเมืองทั่วประเทศเสียเวลาเฉลี่ยราว 61 ชั่วโมงต่อปีไปกับรถติดบนถนน ขณะที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองรถติดอันดับ 12 ของโลก […]

1 2 3