Mobility



กรุงเทพฯ: เมืองใหญ่ ถนนน้อย ทางเท้าด้อยคุณภาพ

01/11/2019

กรุงเทพฯ เมืองโตเดี่ยวตลอดกาลของประเทศไทยและจะยังคงเป็นเฉกเช่นนี้ไปอีกนาน ด้วยขนาดของเมืองในระดับมหานคร (Mega Cities) ที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยกว่า 10 ล้านคน หรือ 1 ใน 6 ของคนทั้งประเทศ ไม่แปลกที่กรุงเทพฯ จะมีความพลุกพล่านของผู้คนและการสัญจร เคยมีผลการสำรวจคนกรุงเทพฯ เรื่องของการใช้เวลาในการเดินทางพบว่า เราใช้เวลาอยู่ในรถนานกว่า 800 ชั่วโมงต่อปี (1 เดือนต่อปี) หรือคิดเป็นกว่า 1 ปี ในรอบ 12 ปี และนี่คือ ผลของการจราจรที่ติดขัดและเป็นปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของยอดจดทะเบียนรถยนต์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปี 2558 กว่า 350,000 คัน แต่ทว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมากรุงเทพฯ แทบไม่มีพื้นที่ถนนเพิ่มขึ้นเลย การสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับรถยนต์มากกว่าการเดินเท้าทำให้เรามีทางสัญจรน้อยเช่นนี้คงไม่ใช่ทางออกที่ดีของเมืองกรุงเทพฯ แน่ๆ เพราะฉะนั้น “การสร้างเมืองให้เดินได้-เดินดี” คือคำตอบ!!! สัดส่วนพื้นที่ถนน คือ ดัชนีชี้วัดคุณภาพเมือง มาตรฐานเมืองที่ดีซึ่งจะทำให้เกิดการจราจรที่สะดวกและไม่เกิดปัญหารถติด เราเชื่อว่าต้องมีสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20-25 หลายเมืองจึงใช้เกณฑ์มาตรฐานของสัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองเป็นตัวชี้วัดคุณภาพเมืองด้านโครงสร้างสัณฐานเมือง เพราะนอกจากถนนจะเป็นพื้นที่สำหรับการสัญจรด้วยรถยนต์แล้ว พื้นที่ถนนในที่นี้ยังหมายรวมถึงพื้นที่ในส่วนเขตทางทั้งหมด อันประกอบไปด้วยพื้นผิวจราจรและพื้นผิวทางเท้า […]

“Vélo’v” VS “ปันปั่น”

01/11/2019

หลายเมืองทั่วโลกได้นำเอาแนวคิด Smart City มาใช้ในการพัฒนาเมืองโดยอาศัยการเก็บรวมรวมข้อมูลพื้นฐานของเมืองเพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลโดยอาศัย Big Data มาเป็นตัวช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่พร้อมทั้งสามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ไปพร้อมๆ กันในเวลาอันรวดเร็วผ่านการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID (Radio Frequency Identification) และ Sensors ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิด ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย ผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงนับเป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้เมืองได้ดึงศักยภาพที่น่าจะมีในพื้นที่ออกมาได้เป็นอย่างดีหากได้รับความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน แต่การพัฒนาเมืองตามแนวทาง Smart City จะเป็นไปในทิศทางใดก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและบทบาทของเมือง  ยกตัวอย่างการพัฒนาเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวมรดกโลกของฝรั่งเศสที่นอกจากจะเป็นเมืองที่มีบทบาททางการท่องเที่ยว แล้วยังเป็นเมืองที่มีบทบาททางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีโครงการพัฒนาเมืองเกิดขึ้นอย่างมากมาย แนวทางการพัฒนาเมืองด้วยการใช้แนวคิด Smart City ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ลียงนำมาใช้ในการพัฒนาเมือง โดยนำเอา Big Data มาเป็นตัวช่วยในการรวบรวมและจัดการข้อมูลที่ได้จาก IoT มาจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่จนกลายเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถนำมาวิเคราะห์หาความต้องการของคนที่ใช้ชีวิตในเมือง เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ผ่านแผนการพัฒนา  อาศัยความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน คือภาครัฐ เอกชน และประชาชน เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานตามแนวทางของ Smart City โดยเอกชนจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา มีประชาชนเป็นคนให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเมือง และรัฐเป็นผู้สนับสนุนโดยการกำหนดกรอบการดำเนินงานปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ การบริหารจัดการเมืองให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสนับสนุนการให้บริการของภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งขอมูลที่มีประสิทธิผลที่สามารถยังประโยชน์อย่างยั่งยืนในแง่ของ เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของทุกคน โดยนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ มารวบรวบในรูปแบบของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ภายใต้ชื่อ Data Grand Lyon ที่เป็นตัวกลางรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของเมืองตลอดจนเป็นหน่วยงานที่กำหนดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อแชร์ให้กับทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึง และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวได้โดยทั่วถึง […]

เมื่อการเดินกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

01/11/2019

เบรนท์ ชเลนเดอร์ เคยเขียนเรื่องราวของ สตีฟ จอบส์ ตีพิมพ์ลงใน Fortune และ The Wall Street Journal เป็นเรื่องราวที่เปิดเผยเบื้องหลังพฤติกรรมบางอย่างที่นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเปลี่ยนโลกมากมายในนาม “แอปเปิล” พฤติกรรมที่ว่าไม่ใช่เรื่องซับซ้อน หรือลึกลับใดๆ แต่เป็นเรื่องพื้นฐานของพวกเราทุกคน พฤติกรรมที่ว่าคือ – การเดิน เขาเล่าว่า สตีฟ จอบส์ เชิญเขาไปที่บ้านและสร้างบทสนทนาด้วยการเดินคุยกัน สอดคล้องกับที่หลายๆ คนรอบตัวของศาสดาแห่งแอปเปิลผู้นี้ บอกว่า เขามักเชิญให้ทีมงานระดมความคิดใหม่ๆ ด้วยการเดินรอบๆ แอปเปิลแคมปัส เดินไป คุยไป เพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เมื่อพูดถึงการเดินและความคิดสร้างสรรค์ก็ชวนให้คิดถึง แมริลี ออพเพซโซ่ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ เธอเคยขึ้นเวที TED Talk ในหัวข้อ “Want to be more creative? Go for a walk” หรือ อยากมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเหรอ? ออกไปเดินสิ! แมริลี […]

เมืองเคลื่อนที่ได้ หมุดหมายใหม่ของคนเมือง

01/11/2019

เคยมีคนกล่าวไว้ว่าเมืองก็เหมือนกับคน มีร่างกาย มีการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของเมืองจึงอาจหมายถึงพลวัติของการเลื่อนไหล และการเคลื่อนที่ของผู็คนและกิจกรรมที่อยู่ในเมือง การเลื่อนไหลของผู้คนและกิจกรรมในเมืองมักเริ่มต้นจากจุดหนึ่งไปสิ้นสุดที่อีกจุดหนึ่งหรือไหลไปเรื่อยๆ อีกหลายต่อหลายจุด และนั่นคือ เรื่องราวของการเคลื่อนที่ของเมือง (Urban Mobility) แต่หลายครั้งที่การเลื่อนไหลเหล่านั้นมักจะสะดุดลงและเกิดปัญหา นั่นเป็นพลวัติหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติของเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลก ปัญหาที่ว่านั้นอาจเป็นเรื่องของการจราจรที่คับคั่งและติดขัด ปัญหาฝุ่นควัน เสียงรถยนต์และการบีบแตรล้วนเป็นความปกติของการใช้ชีวิตในเมืองซึ่งในบางเมืองก็อาจเลวร้ายกว่านั้น เมืองต่างๆ เหล่านี้กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่เกี่ยวกับวาทะกรรมของการใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ก็คือ “การเคลื่อนที่และเลื่อนไหลอยู่ในเมือง” เพราะคนกรุงเทพ มีกรรมด้านการเดินทาง กรุงเทพฯ เมืองที่มักติดอันดับสถิติที่ว่าด้วยความคับคั่งของการจราจรเมืองหนึ่งของโลก (ซึ่งคนกรุงเทพฯ อาจจะไม่ได้อยากให้เมืองติดอันดับสถิติอะไรพวกนี้) นี่อาจเป็นคำพาดหัวข่าว หรือบทความที่เราพบเห็นจนชินชามาสักระยะแล้ว ควบคู่ไปกับสถิติที่ว่ากรุงเทพเป็นเมือง “น่าเที่ยว” ที่ดีที่สุดของโลก แต่ใครจะรู้ว่าเมืองน่าเที่ยวนี้ อาจจะไม่ใช่เมืองน่าอยู่อย่างที่เราคิด ปัญหาด้านการเดินทางเป็นปัญหาหลักของเมืองอย่างกรุงเทพฯ เลยก็ว่าได้ และยิ่งไปกว่านั้น การที่เราไปติดอันดับเมืองที่รถติดที่สุดในโลกยิ่งซ้ำเติมเราไปอีก หลังจากที่มีการเปิดเผยรายงานการประเมินสภาพจราจรทั่วโลก ประจำปี 2016 หรือ Global Traffic Scorecard Report บ่งชี้ว่าไทยเป็นประเทศรถติดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยคนไทยในแต่ละเมืองทั่วประเทศเสียเวลาเฉลี่ยราว 61 ชั่วโมงต่อปีไปกับรถติดบนถนน ขณะที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองรถติดอันดับ 12 ของโลก […]

การเดินกับสาธารณูปการของเมือง : เราไม่ชอบหรือเราไม่มี

01/11/2019

ช่วงนี้กระแสความรู้สึกต่อระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการของเมือง มันก็จะเป็นกระแสที่ร้อนแรงอยู่หน่อยๆ ทั้งในสื่อสังคมออนไลน์ และในสื่อกระแสหลัก วันนี้ #GoodWalkThailand จะพาคุณผู้อ่านมารู้จักสาธารณูปการในมุมมองมิติของการเดินเท้าในกรุงเทพมหานครกัน อะไรคือ… สาธารณูปโภค/อะไรคือ… สาธารณูปการ ของเมือง? เราอาจได้ยินบ่อยในแวดวงข่าวสารการบ้านการเมือง แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่า 2 คำนี้ แท้จริงแล้วมีความหมายที่แตกต่างกัน ระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง หมายถึง บริการขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรจะได้รับในชุมชน รัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและรับภาระในการให้บริการ (อาจจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม) บริการดังกล่าวจะปรากฏในเขตเมือง (Urban Area) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถแยกออกเป็น Public Utilities (สาธารณูปโภค) และ Public Facilities (สาธารณูปการ) มีหลักการแยกง่ายๆ สำหรับการแยกสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เข้าใจได้ง่าย คือให้พิจารณาจากรูปแบบและลักษณะของการให้บริการ ดังนี้ “สาธารณูปโภค” [สาธารณะ+อุปโภค] มีรูปแบบการให้บริการเป็นรูปแบบเส้น/สาย และลักษณะของการให้บริการเป็นแบบบริการเป็นฝ่ายเข้าหาผู้รับบริการ หรือพูดกันง่ายๆ ว่าบริการเหล่านั้นจะวิ่งเข้ามาหาเรา สาธารณูปโภคของเมือง จึงได้แก่ ถนน โทรศัพท์ แก๊ส ไฟฟ้า ประปา การระบายน้ำ การกำจัดขยะ ฯลฯ ซึ่งสามารถจะจัดกลุ่มประเภทของสาธารณูปโภคได้ดังนี้คือ […]

Good Walk, Save Cost เมืองไม่จน เพราะคนเดิน

01/11/2019

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบคำนวณค่าใช้จ่ายรายเดือน คุณก็คงสังเกตว่าแต่ละเดือนนั้นคุณจ่ายเงินสำหรับค่าเดินทางไปเท่าไหร่ แน่นอนว่าเราปฏิเสธรายจ่ายส่วนนี้ไม่ได้ หากเรายังต้องเดินทางในเมือง แต่คุณรู้หรือไม่ว่าแต่ละเดือนเราจ่ายค่าเดินทางกันเยอะเกินไป คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง และผู้จัดการโครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี กล่าวว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในแต่ละเดือน เราเสียเงินกับค่าเดินทางประมาณ 20% ของรายได้ ซึ่งถือว่าไม่น้อยเลยหากเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่ใช้จ่ายเงินส่วนนี้เพียง 10% เท่านั้น ซึ่งปัญหาหลักๆ ก็คือเราไม่สามารถพึ่งพาระบบขนส่งสาธารณะของเราได้อย่างเต็มศักยภาพ เช่น การจะมาขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟใต้ดินเอ็มอาร์ทีที่เป็นขนส่งหลัก ในบางพื้นที่ก็ต้องนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างมายังสถานี ซึ่งราคาค่าโดยสายพอๆ กับค่ารถไฟฟ้าในแต่ละเที่ยวด้วยซ้ำ แต่ในต่างประเทศเส้นทางของขนส่งหลักจะครอบคลุมแทบทั้งเมือง และใช้การเดินเป็นระบบขนส่งรองแทน แนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ด้วยตัวเองก็คือ การปรับตัวของเรา ซึ่งหนึ่งในวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด นั่นคือ การเดิน แต่ก็ไม่ง่ายเลยที่เราจะเดินได้อย่างสะดวกในเมืองนี้ เพราะปัญหาหนึ่งที่ถูกเพิกเฉยตลอดมานั่นคือ ทางเท้าที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่ชวนให้อยากเดิน ทางจักรยานที่ใช้ไม่ได้จริง แต่เชื่อหรือไม่ว่าปัญหาอย่างทางเท้าหากได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย  มีหลายเมืองในโลกที่หันมาสนใจพัฒนาทางเท้าให้เอื้อต่อการเดินมากขึ้น จนท้ายที่สุดเศรษฐกิจเมืองดีขึ้น คำถามที่ตามมาก็คือ เมื่อเศรษฐกิจเมืองเติบโตดีขึ้น แล้วสภาพคล่องในกระเป๋าเงินของเราล่ะ จะเป็นอย่างไร? เดินได้เพราะเมืองดี มีงานวิจัยที่บอกว่า ความเร็วของการเคลื่อนที่มีผลต่อการจับจ่าย  นั่นหมายความว่ายิ่งคุณเคลื่อนที่เร็วเท่าไหร่ คุณก็จะแวะซื้อของได้ลำบากมากขึ้น เพราะฉะนั้นหากเมืองไหนที่มีคนใช้แต่รถ การจับจ่ายใช้สอยก็จะไปกระจุกตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือการซื้อของแบบ Drive through ที่ต่างคนต่างซื้อแล้วไปยังจุดหมายปลายทางของตน […]

Boost your health up! : อะไรก็ดีถ้าเมืองเดินได้เมืองเดินดี

01/11/2019

คำถามร่วมสมัยคนเมืองก็คือ เราจะมี “ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว” ได้อย่างไร ท่ามกลางการเติบโตอย่างไม่ค่อยคอยใครของกรุงเทพมหานคร การก้าวข้ามกำแพงของความเหลื่อมล้ำดูจะเป็นเรื่องที่แค่คิดก็ท้อสำหรับใครหลายคน ทำวันนี้ให้อิ่มท้องก่อนดีไหม หรือเช้านี้จะฝ่ารถติดไปทำงานอย่างไรให้ทันก่อนดีกว่า ยิ่งปัจจุบันระบบการสัญจรในกรุงเทพฯ ที่ง่ายที่สุดและช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างผู้คนและละแวกบ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่มากที่สุดอย่าง “การเดิน” กลับถูกลดความสำคัญลงและคนเดินเท้าก็กลายสถานะเป็น “ส่วนเกิน” ของถนนหรือทางเท้าไปได้ซะนี่ สิทธิที่จะเดิน จึงกลายเป็นเรี่องยากยิ่งกว่ายากสำหรับคนเมืองเนื่องจากการออกแบบสาธารณูปการต่างๆ ที่ไม่ได้คำนึงผู้ใช้งานทั้งหมดแต่กลับยกให้คนใช้รถเป็นใหญ่ที่สุดบนท้องถนนภาพฝันสวยๆ อย่างการเดินที่เชื่อมเราเข้ากับกิจกรรมอันหลากหลาย (mixed use) ในเมืองจึงไม่เคยเกิดขึ้นจริงสักที  มาถึงตรงนี้หลายคนคงมีข้อสงสัยกันบ้างว่า การเดินอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวันดูเป็นเรื่องที่เหนื่อยเกินไป ช้าก่อนค่ะ อย่าเพิ่งเอาความเคยชินที่เราอาจจะปรับตัวอยู่ร่วมกับความไม่ปกติบนทางเท้ามาทำให้คุณสิ้นหวัง ลองมาฟังผลพลอยได้สำคัญที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ หากคุณเริ่มเดิน เดินวันนี้ เฮลตี้วันนี้ หลายคนกังขาว่า การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ทำได้เฉพาะชนชั้นกลางขึ้นไป หรืออย่างน้อยก็ทำได้เฉพาะกับคนที่มีเวลา แต่ปัจจุบันแวดวงการศึกษาเรื่องสาธารณสุขเริ่มหันมาสนใจ “การเดิน” ในฐานะการออกกำลังกายวิธีการหนึ่งที่ให้ผลดีต่อสุขภาพหากเดินเป็นประจำอย่างน้อย 20-30 นาที หรือจะลองสร้างนิสัยการเดินในชีวิตประจำวันด้วยการชวนคนรู้จักมาร่วมเป็นเพื่อนเดิน แล้วลองใช้แอปพลิเคชั่นนับก้าวเดินต่างๆ เป็นอุปกรณ์เพิ่มความสนุก ก็อาจกระตุ้นให้คุณยิ่งอยากเดิน อยากสะสมจำนวนก้าวมากขึ้น รู้ตัวอีกที เดินไปครบ 10,000 ก้าวต่อวัน เผาผลาญได้ 280-500 แคลอรี่ มีแต่ได้กับได้ การเดินไม่เพียงแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีผลไปถึงการเปิดพื้นที่ช่องทางการสัญจรที่หลากหลายขึ้นในสังคมที่มีรถเป็นใหญ่กว่าคน เพราะเมื่อเราออกมาเดินกันมากขึ้น การเดินของเรานี่แหละที่จะเป็นการช่วยตรวจสอบความปลอดภัย […]

เดินบ้านเรา เข้าบ้านเธอ อารีย์-ประดิพัทธ์

01/11/2019

หากความงามของศิลปะขึ้นอยู่กับดวงตาของผู้มองฉันใด ความเป็นเมืองก็น่าจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกและประสบการณ์ร่วมของผู้อยู่ฉันนั้น สำหรับ “โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ในระยะที่ 3” ที่กำลังจะมาชวนทุกคนสนุกไปกับวัฒนธรรมการเดินเปลี่ยนเมือง โดยมีพื้นที่นำร่องศึกษาแห่งแรกคือ อารีย์-ประดิพัทธิ์ นอกจากเราจะทำงานกับพื้นที่และคนในย่านผ่านวิสัยทัศน์ของสถาปนิกและผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองอย่างที่เป็นมาในโครงการระยะที่ 1-2 แล้ว กลับมาทั้งทีต้องไฉไลกว่าเดิมด้วยยกระดับการทำงานให้สถาปนิกมามองเมืองร่วมกับนักสังคมศาสตร์ ด้วยความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาพื้นที่ย่อมต้องมาจากรับฟังความเห็นอันรอบด้านและจากทุกคนที่เดินอยู่บนทางเท้าเดียวกันในเมือง เอาล่ะในฐานะนักวิจัยประจำโครงการฯ ฉันขอพาทุกคนไปสำรวจย่านทั้งสองผ่านมิติทางสังคมกันบ้าง อารีย์กับประดิพัทธิ์มีขอบเขตทางพื้นที่ที่ห่างกันแค่ราว 1 กิโลเมตรเท่านั้น แต่กลับมีทั้งกายภาพและเอกลักษณ์เฉพาะย่านแตกต่างกันราวหน้ามือเป็นหลังมือ อารีย์คือ ภาพแทนของความชิคประหนึ่งวัยรุ่นหนุ่มสาวกำลังเริงร่า ขณะที่ประดิพัทธิ์หลากหลายไปด้วยผู้คนจากสารพัดทิศทั่วไทยมารวมตัวกัน เตรียมร่างกายของคุณให้พร้อม แล้วออกเดินส่องย่านไปกับเรา… สาม สี่ เริ่ม! ประดิพัทธิ์: ความม่วนชื่นเป็นกันเองแบบบ้านๆ ประดิพัทธิ์เป็นชื่อของถนนที่ตั้งอยู่ในย่านสะพานควาย กล่าวย่อลงมาหน่อย ประดิพัทธิ์คือ ถนนสายของกินราคาประหยัด แถมยังเนื้อหอมขึ้นทุกวันหากวัดจากจำนวนคอนโดที่ผุดขึ้นโดยรอบมากกว่า 5 เจ้า และยังมีผู้ประกอบกิจการที่สนใจมาเปิดร้านชิคๆ ในพื้นที่ ความน่าสนใจของประดิพัทธิ์ก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งรวบที่พักอาศัยของทั้งคนเมืองและคนที่ย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ยิ่งซอยประดิพัทธิ์ 23-25 ที่หากเดินเข้าไปจะพบว่าซอยทั้งสองนี้เต็มไปด้วยหอพักรายเดือนตั้งแต่หน้าซอยจนถึงท้ายซอย ความเฉพาะตัวเช่นนี้เองที่ช่วยประสานให้ประดิพัทธิ์เต็มไปด้วยความหลากหลายของผู้คน ตัวอย่างอันชัดเจนคือ แรงงานอีสานที่ปักหลักอาศัยและทำกินอยู่ในละแวกนี้ เพราะพวกเขาไม่เพียงแต่เดินทางมาตัวเปล่าเท่านั้น แต่ยังนำวิถีชีวิตจากถิ่นที่เดิมมายังที่อยู่ใหม่นี้อีกด้วย สิ่งบ่งชี้ถึงการเชื่อมโยงความผูกพันของดินแดนที่จากมากับการปรับประสานตนเองเข้ากับพื้นที่ใหม่ได้ดีที่สุดก็คือ อาหารการกิน หากสังเกตหาบเร่แผงลอยในย่านประดิพัทธิ์ เราจะพบว่าของกินส่วนใหญ่คือ อาหารที่คนรับรู้ร่วมกันว่าเป็นอาหารอีสาน ไม่ว่าจะเป็น […]

บทบาทของย่าน La Part-Dieu กับการพา Lyon สู่เมืองชั้นนำในยุโรป

01/11/2019

คงปฏิเสธไม่ได้ว่ายุโรปเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักเดินทางหลายๆคน หรือยิ่งไปกว่านั้นคือความฝันที่จะใช้ชีวิตภายหลังเกษียณ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านสภาพอากาศ ธรรมชาติ ผู้คน ตึกรามบ้านช่องที่ดูสวยงามไปซะหมดเหมือนยกออกมาจากเทพนิยาย หรือหลายคนอาจมองไปถึง “คุณภาพชีวิตที่ดี” ที่หาได้ยากเหลือเกินในบ้านเมืองเรา ที่จริงแล้วใครกันที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างบ้านเมืองให้น่าอยู่ รัฐ เอกชน หรือประชาชนทุกคน อ่านมาถึงจุดนี้อย่าพึ่งด่วนสรุปถอดใจเพราะเมืองที่ดีคงไม่ได้มาเพราะความบังเอิญแน่นอน            จากสถิติปี 2015 องค์กรที่ปรึกษา ชั้นนำอย่าง PwC ได้จัดอันดับให้เมือง Lyon เป็นเมืองที่น่าดึงดูดสำหรับผู้มาเยือนที่สุดในฝรั่งเศสสามารถเอาชนะเมืองคู่แข่งสำคัญอื่นๆ อาทิ Paris Toulouse Bordeaux ยิ่งไปกว่านั้น ในปีเดียวกันการจัดอันดับเมืองที่น่าอยู่อาศัยที่สุดยังจัดอันดับให้ Lyon ติดอันดับที่ 16 ของเมืองในทวีปยุโรปยังไม่นับสถิติด้านเศรษฐกิจและการลงทุนอื่นๆ อีกมากมายที่เมืองนี้ถูกจัดอันดับให้ใกล้เคียงสูสีกับเมืองชั้นนำอื่นๆ ในทวีป หนึ่งในโครงการสำคัญที่สร้างการเติบโตและพัฒนาอย่างก้าวกระโดดให้เมืองคือโครงการพลิกฟื้นย่านเก่าแก่ด้านพาณิชยกรรมอย่างย่าน LaPart-Dieu ที่ริเริ่มครั้งแรกในช่วงปี 2007-2009 ผ่านการผลักดันอย่างต่อเนื่องของนักการเมืองคนสำคัญ Gérard Collomb (ตำแหน่งปัจจุบัน President of the Lyon metropolis) และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ผ่านการทำงานตลอดจนการเกิดขึ้นของบรรษัทพัฒนาเมือง Société Publique Locale (SPL) หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบและบริหารจัดการโครงการโดยตรง           องค์กร Société Publique Locale  หรือเรียกย่อๆ ว่า SPL คือหน่วยงานที่ร่วมกันก่อตั้งในปี 2014 ถือหุ้นโดย Lyon City และ Metropole de Lyon (เทียบกับบ้านเราก็เปรียบกับหน่วยงานระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ทำหน้าที่ที่ปรึกษาและบริหารจัดการด้านการออกแบบวางผัง การลงทุน การประชาสัมพันธ์โครงการต่อสาธารณชน ทั้งเอกชนที่สนใจมาลงทุนในโครงการและที่สำคัญทำความเข้าใจและรับฟังความต้องการของชาวเมืองและประชาชนในพื้นที่ ดูแลพื้นที่สำคัญขนาด 1.77 ตารางกิโลเมตรอย่างโครงการ La Part-Dieu ที่ได้เกริ่นข้างต้น แต่ทำไมต้องพื้นที่นี้ ย่านนี้สำคัญอย่างไร ? บริเวณ La Part-Dieu เป็นย่านพาณิชยกรรมเก่าแก่ที่ถูกพัฒนาฟื้นฟูมาตั้งแต่ช่วงปี 1960-1970 โดยความหาญกล้าของหน่วยงานท้องถิ่นในการนำค่ายทหารเก่าที่อยู่ใจกลางเมืองติดกับสถานีรถไฟกลาง (Gare de Lyon Part-Dieu) และด้วยทำเลที่ห่างจากศูนย์กลางเมืองเพียง 1.8 กิโลเมตรมาพัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยขนาด 2,600 ยูนิตสำหรับประชาชนทั่วไป หลังจากนั้นพื้นที่ขนาด 334 เอเคอร์ หรือ 1.35 ตร.กม. (พื้นที่ก่อนจะเพิ่มขอบเขตและดูแลโดย SPL) ได้ถูกจัดสรรแบ่งโซนและพัฒนาโครงการอื่นๆ […]

WHY WE WALK? – เราเดินเพื่ออะไร?

01/11/2019

เพราะการเดินนับเป็นความสามารถพื้นฐานของมนุษย์ที่จะพาตัวเองไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ ซึ่งนอกเหนือจากการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งแล้ว การเดินยังมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จึงอยากรวบรวมประโยชน์ของการเดินแต่ละอย่าง ว่าเราสามารถเดินเพื่อวัตถุประสงค์อะไรได้บ้าง เดินปลดปล่อยความคิด ฌอง ฌาค รุสโซ นักทฤษฎีการเมืองในยุคแสงสว่างทางปัญญาที่ใครหลายคนรู้จักกล่าวว่า‘สมองหยุดคิดเมื่อเท้าหยุดเดิน’การเดินของเขาจึงเปรียบเสมือนการเดินเพื่อค้นพบ เพื่อทบทวน และเพื่อสื่อสารกับตัวเอง สอดคล้องกับงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในปี 2014 ที่พบว่า 60 % ของความคิดสร้างสรรค์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากออกไปเดิน ฉะนั้นเมื่อคุณสมองตันคิดงานไม่ออก ลองปลีกตัวออกไปเดินเล่นๆ รอบบ้านหรือออฟฟิศดูได้นะ เดินประท้วง ย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 การเดินก็เริ่มมีนัยยะในเชิงการเปลี่ยนแปลงสังคมกันแล้ว มีบันทึกว่า อิมมานูเอล คานท์ นักปรัชญาชาวเยอรมันคนสำคัญของโลก ก็ชอบเดินประท้วงไปรอบๆ ถิ่นที่อยู่อาศัยของเขาแทบทุกวัน ขณะที่ในปัจจุบันการเดินเริ่มเป็นหนึ่งในเครื่องมือของการแสดงพลังทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่า การเดินกลายเป็นเครื่องมือหนึ่งของสัญญะการประท้วง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในมิติเล็กๆ กระทั่งมิติใหญ่อย่างล้มรัฐบาลมาแล้วในหลายประเทศ เดินเพื่อสื่อสารตัวตน ออนอเร เดอ บาลซัก นักประพันธ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสมองเห็นท้องถนนในศตวรรษที่ 19 เป็นแรงบันดาลใจให้เขาหยิบฉวยช่วงขณะย่างเดินมาเป็นแว่นตาในการศึกษาผู้คนในเมืองและเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการเขียนงาน บัลซัค พบว่า การเดินเป็นการสื่อสารตัวตนที่แสดงออกถึงชนชั้นทางสังคม บุคลิก อาชีพ รวมไปถึงมีผลต่อการแต่งกาย ท่วงท่าการเดินของคนเราจึงไม่เหมือนกัน ถนนจึงเต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายและกลายมาเป็นสีสันสำคัญของเมือง […]

1 4 5 6 7