Mobility



เมื่อการเดินกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

10/12/2019

ชยากรณ์ กำโชค เบรนท์ ชเลนเดอร์ เคยเขียนเรื่องราวของ สตีฟ จอบส์ ตีพิมพ์ลงใน Fortune และ The Wall Street Journal เป็นเรื่องราวที่เปิดเผยเบื้องหลังพฤติกรรมบางอย่างที่นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเปลี่ยนโลกมากมายในนาม “แอปเปิ้ล”  พฤติกรรมที่ว่าไม่ใช่เรื่องซับซ้อนหรือลึกลับใดๆ แต่เป็นเรื่องพื้นฐานของพวกเราทุกคน  พฤติกรรมที่ว่าก็คือ – การเดิน เขาเล่าว่า สตีฟ จอบส์ เชิญเขาไปที่บ้านและสร้างบทสนทนาด้วยการเดินคุยกัน สอดคล้องกับที่หลายๆ คนรอบตัวของศาสดาแห่งแอปเปิลผู้นี้ บอกว่า เขามักเชิญให้ทีมงานระดมความคิดใหม่ๆ ด้วยการเดินรอบๆ แอปเปิลแคมปัส เดินไป คุยไป เพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ  เมื่อพูดถึงการเดินและความคิดสร้างสรรค์ก็ชวนให้คิดถึง แมริลี ออพเพซโซ่ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ เธอเคยขึ้นเวที TED Talk ในหัวข้อ “Want to be more creative? Go for a walk” หรือ อยากมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นเหรอ? ออกไปเดินสิ!  […]

ห้องสามมิติของทางเท้า ความผูกพันกับเมืองและเศรษฐกิจ

03/12/2019

ถ้ามีใครสักคนกล่าวโทษว่า สาเหตุของฝุ่นน่าสะพรึงต่างๆ มาจากคนใช้รถยนต์กันเยอะเกินไป ดังนั้นจึงควรโทษตัวเองแล้วกลับมาใช้ขนส่งสาธารณะ หลายคนอาจรู้สึกตะหงิดๆ และเชื่อว่าคนที่พูดแบบนี้ อาจไม่ใช่กลุ่มเดียวกับคนที่เลือกใช้ขนส่งสาธารณะเป็นอันดับแรกก็ได้ ทำไมน่ะหรือ? ก็เพราะนอกจากคำถามที่ว่า – ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์และรถไฟฟ้านั้นเพียงพอ ทั่วถึง และมีปัญหาเรื่องราคาหรือเปล่า ยังมีอีกคำถามหนึ่งก็คือ – ก็แล้วทางเท้าของเรา พร้อมไหมที่จะรองรับฝ่าเท้าของคนจำนวนมากอย่างมีคุณภาพ ที่ต้องคิดให้ครอบไปถึงทางเท้า เพราะการเดินเท้าคือการเชื่อมต่อโหมดของการเดินทางทุกแบบ การเดินทางหนึ่งเที่ยวประกอบไปด้วยการเปลี่ยนยานพาหนะ หรืออย่างน้อยก็เดินเท้าต่อไปถึงปลายทางอีกที ทางเท้าจึงเป็นสิ่งที่สามัญและพื้นฐานที่สุด และอาจดูเป็นของง่ายจนถูกมองข้ามก็ได เหตุผลที่ทำให้คนไม่เดิน หรือเดินไม่ได้ ข้อมูลจากศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ระบุว่า ตัวชี้วัดคุณภาพเมืองอย่างหนึ่งคือสัดส่วนของพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมือง ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 20-25% พื้นที่ถนนที่ว่านี้ ไม่ใช่แค่ถนนที่ให้รถวิ่ง (พื้นผิวจราจร) แต่รวมถึงพื้นผิวทางเท้าที่มีไว้ให้คนเดินถนนด้วย เมื่อกลับมามองความเป็นจริงของกรุงเทพฯ จะพบว่า พื้นที่ถนนคิดเป็น 7.2% ของพื้นที่ทั้งหมด (หรือ 113.06 ตร.กม. ต่อ 1,569 ตร.กม.) ต่ำกว่าค่ามาตรฐานถึงสามเท่า ซึ่งนั่นทำให้รถติด แถมเมื่อระบุแบบแยกย่อยออกมาดูพื้นที่ทางเท้าอย่างเดียว ในเมืองอันหนาแน่นคับคั่งนี้ เราจะเหลือทางไว้ให้คนเดินแค่ 22.55 ตร.กม. หรือคิดเป็นเพียง 1.44% ของพื้นที่กรุงเทพฯ […]

กรุงเทพฯ : เมืองลอยฟ้าที่แสนย้อนแย้ง

27/11/2019

วอลเดน เบลโล อดีต ส.ส. ของฟิลิปปินส์ เคยเอ่ยถึงกรุงเทพฯ ในทศวรรษ 2530s ไว้ในหนังสือชื่อ “โศกนาฏกรรมสยาม” (ดูรายละเอียดของหนังสือได้ที่นี่ https://koha.library.tu.ac.th/bib/290744) หลายอย่าง เช่น กรุงเทพฯ เป็น “อภิมหานครที่เป็นหนึ่งเหนือชุมชนโดยรอบ เป็นเมืองหลวงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีเมืองใดเทียบเคียงได้” “มีความพยายามทำกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นเมือง Los Angeles ด้วยการวางผังเมืองที่อาศัยรถยนต์เป็นหลัก” รวมถึง “ทำกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นดิสนีแลนด์แห่งตะวันออกที่เต็มไปด้วยทางด่วนยกระดับและสะพานข้ามแยก เนื่องจากการไม่ประสานกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การก่อสร้างจึงต้องสูงขึ้นไปบนอากาศและสักวันหนึ่งคงจะเท่าตึก 7 ชั้น” ภาพจำลองเมื่อสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับบริเวณห้าแยกลาดพร้าวแล้วเสร็จ การคาดคะเนถึงตึกเจ็ดชั้นเมื่อ 30 ปี ก่อน กลายเป็นจริงแล้วในวันนี้ ที่จุดตัดห้าแยกลาดพร้าว เพราะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวสร้างสูงขึ้นไปเหนือทางด่วนกว่า 21 เมตร หรือเท่ากับตึก 8 ชั้น! กรุงเทพฯ ในทศวรรษ 2560s เต็มไปด้วยการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดินกว่า 4 สาย 4 สี สร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเดิม 2 สาย มีการสร้างและปรับปรุงสะพานข้ามแยก […]

Why we walk? อะไรที่ทำให้เราเดิน

25/11/2019

หากให้เลือกเส้นทางเดินได้ 3 เส้นทาง 1) เดินจากต้นถนนเยาวราชไปจนสุดถนนเยาวราช (กรุงเทพฯ) 2) เดินจากท่ามหาราชเลาะแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงท่าเตียน (กรุงเทพฯ) 3) เดินจากถนนนิมมานเหมินท์ไปวัดเจ็ดยอด (เชียงใหม่) คุณจะเลือกอะไร ก่อนจะเลือก เราจะขอเพิ่มโจทย์นิดหน่อย ว่าถ้าหากให้คุณเลือกเดินบนเส้นทางเหล่านี้ตอนเวลา 20.00 น. คุณจะเลือกเดินทางใด? หนึ่งกิโลเมตรของเราไม่เท่ากัน “A mile in an American suburb is a lot longer than a mile in Rome” (หนึ่งไมล์ในชานเมืองอเมริกันนั้นยาวไกลกว่าหนึ่งไมล์ในโรมมาก) คำกล่าวข้างต้นนี้เป็นข้อสรุปจากข้อเขียนของ Steve Mouzon ที่ให้เห็นว่าเมื่อสภาพถนนเปลี่ยนไป คนก็มีแนวโน้มจะเดินด้วยระยะทางที่สั้นลงเรื่อยๆ เช่น ในขณะที่ถนนใหญ่ใจกลางเมืองในยุโรปซึ่งมีทางเท้าที่ดี คนสามารถเดินได้มากถึง 2 ไมล์ (ประมาณ 3.2 กิโลเมตร) ในขณะที่พออยู่ย่านชานเมืองอเมริกันแล้วระยะทางลดลงมาเหลือแค่ 1/10 ไมล์ (ประมาณ 160 เมตร)  […]

ออกจาก สุวรรณภูมิ สู่ สมรภูมิ เมืองท่องเที่ยวเดินยาก สู่กับดักรายได้ท่องเที่ยวปานกลาง

20/11/2019

ประเทศไทยเป็นประเทศท่องเที่ยวยอดนิยมที่ติดอันดับโลกเป็นประจำทุกปี ล่าสุดปี 2019 ก็ติดอันดับ 2 แต่คำถามที่ต้องลองถามตัวเองก็คือ ถ้าเราเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนไทย เราจะเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวกแค่ไหน เพราะแค่ออกจาก “สุวรรณภูมิ” ก็เหมือนเข้าสู่ “สมรภูมิ” แล้ว! ไทยเป็นจุดหมายยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงหยุดยาว จึงไม่แปลกที่ภาครัฐพยายามส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการเชื่อมโยง (Connectivity) การเดินทางในประเทศหรือต่างประเทศระดับสเกลใหญ่ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้นักท่องเที่ยวในการเดินทางมายังบ้านเรา เช่น ระบบรถไฟ แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือการเชื่อมโยงเชิงพื้นที่ระดับสเกลเล็ก ๆ ตั้งแต่มิติของการพัฒนาระบบขนส่งภายในเมือง รวมไปถึงการพัฒนาทางเดินเท้า                   เชื่อไหมว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงอำนวยความสะดวกในการเดิน แต่ยังช่วยสร้างเศรษฐกิจของสังคมได้อย่างมีนัยยะสำคัญด้วย ดังนั้นถ้าประเทศไทยปรารถนาจะเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวแล้วละก็ การสร้างเมืองเดินได้-เมืองเดินดี จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เกาะรัตนโกสินทร์ :  แหล่งท่องเที่ยวที่รายได้ยากกระจายสู่ท้องถิ่น กรุงเทพมหานครเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่ต้องมาเยือนสักครั้งในชีวิต ความที่กรุงเทพฯ มีค่าครองชีพถูกสำหรับชาวต่างชาติ สามารถเพลิดเพลินกับหลากหลายแหล่งช็อปปิ้ง ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าสุดหรูไปจนถึงร้านค้าแผงลอย ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนหลงเสน่ห์เมืองนี้ ไม่เท่านั้น กรุงเทพฯ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีสถาปัตยกรรมที่งดงามมากมายให้สำรวจ โดยเฉพาะพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าชมพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 35,000 คน อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่ทางเดินเท้าบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์กลับมีเพียง 54% เท่านั้นที่จัดว่า […]

Seoul Transit : แก้พฤติกรรมคนเมืองด้วยการออกแบบ

18/11/2019

หลายครั้งเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับเมือง นิ้วชี้ทั้งหลายมักรีบระบุความผิดไปที่นิสัยของคน เช่น เพราะคนไม่ยอมใช้รถสาธารณะ เพราะคนมักง่ายไม่ทิ้งขยะให้เป็นที่ เพราะคนชอบจอดรถในช่องรถเมล์ เพราะคนชอบขายของบนทางเท้า ฯลฯ โซลไม่ใช่เมืองที่สะอาดเนี้ยบ และคนในกรุงโซลก็ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย ทั้งนิสัย เชื้อชาติ​ และช่วงอายุ คงเป็นไปไม่ได้ (และไม่ควรเลย) ที่จะเหมารวมว่าคนโซลนิสัยแบบไหน แต่อะไรที่ทำให้การเดินทางในเมืองดูเป็นระเบียบและคล่องตัว แม้มีความระเกะระกะของกองขยะให้เห็นบ้าง ผู้มาเยือนโซลไม่ว่าจะรักหรือชังก็ยังต้องยอมรับว่าภาพรวมของเมืองกลับดูดีและน่าเดิน เราไปสำรวจท้องถนนของโซล ว่าในการเดินทางด้วยเท้านั้น หนึ่งในคีย์เวิร์ดสำคัญคือการเชื่อมต่อ เขาใส่ ‘ความคิด’ อะไรลงไปในการออกแบบเพื่อสู้กับนิสัยคนบ้าง โซลเป็นเมืองหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับคนเดินเท้าอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางเดินเท้ากว้างขวาง เกาะกลางถนนที่ทำหน้าที่เป็นทั้งจุดพักคนข้ามและที่ตั้งป้ายรถเมล์ ออกแบบมาสนับสนุนการเคลื่อนที่อย่างไหลลื่น มีจุดสะดุดน้อยที่สุด และมีสัญญาณหยุดรอ-ข้ามได้ชัดเจน ไม่ต้องรอลุ้นว่าชั่วโมงนี้จะได้ข้ามถนนกันหรือเปล่า ทางข้ามบางแห่งในย่านผู้คนพลุกพล่านจะมีเลนแยกสำหรับจักรยาน และมีร่มคันใหญ่เอาไว้สำหรับคนหลบแดดหรือฝนระหว่างรอสัญญาณไฟ หน้าทางเข้าสถานที่สำคัญๆ มักมีทางข้ามกว้างมากเป็นพิเศษ มองไปบางครั้งจะรู้สึกเหมือนเป็นท่อยักษ์ที่ช่วยพาให้ผู้คนเคลื่อนที่ไหลตามกันไปอย่างไม่ติดขัด ในย่านช็อปปิ้งอย่างฮงแด เราอาจเห็นทางข้ามลักษณะนี้ตามสี่แยก เพราะทิศทางสัญจรของคนเดินเท้านั้นหลากหลายกว่าเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา ช่วยลดระยะเวลาและความวุ่นวายในการเดินข้ามถนน จักรยานสำหรับเช่ามีแท่นจอดอยู่ประจำตามสถานที่ที่คนสัญจรผ่านบ่อยๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า ป้ายรถเมล์ สถานที่ราชการ โรงเรียน ธนาคาร ฯลฯ เป็นทางเลือกการเดินทางในระยะสั้นเกินกว่าจะลงทุนนั่งรถเมล์หรือรถไฟใต้ดิน การมีจุดจอดที่แน่นอนช่วยลดปัญหาการจอดจักรยานผิดที่ผิดทาง กีดขวางทางเดินเท้า พื้นที่ทางเดินเท้าที่กว้าง ทำให้การเดินทางหลากรูปแบบและความเร็วนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กันได้ […]

Crosswalk art ที่ช่วยให้ทางม้าลาย ‘มีไว้ข้าม’ ไม่ใช่ ‘ถูกมองข้าม’

11/11/2019

เคยไหม เวลาต้องข้ามทางม้าลายที่ไม่มีไฟจราจรให้กดปุ่มสัญญาณไฟข้ามถนน แล้วเจ้าสภาวะความรู้สึกเสี่ยงตายมักจะลอยหวิวๆ ขึ้นมาในใจ เพราะรถแต่ละคันขับกันเร็วเหลือเกิน อาจมีหนึ่งในล้านกระมังที่จะใจดีหยุดรถให้          หลายคนตัดสินใจกัดฟันยอมเสี่ยงเดินออกไปเพื่อหวังให้รถหยุด แต่บางครั้งก็ต้องรีบชักเท้ากลับ พอข้ามได้แต่ละครั้ง คนเดินถนนกลับต้องเป็นฝ่ายพยักหน้ายิ้มแทนคำขอบคุณ ทั้งๆ ที่ข้ามอยุ่บนทางม้าลาย          หรือบางที ปัญหาก็เกิดจากทางม้าลายอยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสม อยู่ไกลเกินจุดสัญจร ทำให้คนจำนวนมากเลือกที่จะไม่ไปข้ามทางม้าลาย แต่ข้ามถนนตามใจชอบแทน          นี่เป็นสาเหตุที่นำมาสู่อุบัติเหตุบนท้องถนน          คำถามคือ แล้วเราจะมีทางม้าลายไว้ทำไมกัน?          Crosswalk art หรือศิลปะบนทางม้าลาย คือสิ่งที่จะช่วยทำให้ทางม้าลายไม่ถูกมองข้ามอีกต่อไป เมื่อศิลปะถูกแต่งแต้มลงบนผืนผ้าใบยางมะตอยขนาดมหึมากลายเป็นเรื่องราวดี ๆ ที่ช่วยให้ผู้สัญจรทางเท้าและผู้ขับขี่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นไอเดียนี้อยู่เรื่อย ๆ ในต่างประเทศ          ที่ลองบีช ทางใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย มีทางม้าลายที่มีสีสันสดใสหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ลวดลายเรขาคณิตไปจนถึงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองอย่างสัตว์น้ำเค็ม          ที่นี่ มีการฟื้นฟูถนน Pine Avenue ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรหลักของเมืองด้วยการปรับปรุงไฟจราจร  ม้านั่ง ถนน แต่ส่วนที่น่าสนใจมากของโครงการนี้ คือแรกทีเดียวมีแนวคิดจะลบทางม้าลายแบบเดิมๆ แล้วทาสีทางม้าลายด้วยสีขาวแทน แต่ ฌอน วอร์เนอร์ ผู้จัดการฝ่ายการออกแบบพื้นที่ (Placemaking) […]

เมื่อเมืองรองกำลังเนื้อหอม : โอกาสในการสร้าง ‘เมืองเดินได้เดินดี’ ในเมืองรอง

06/11/2019

“โอ้โฮ นี่หรือบางกอก ผิดกับบ้านนอก ตั้งหลายศอก หลายวา รถราแล่นกันวุ่นวาย มากกว่าฝูงควายฝูงวัวบ้านนา ผู้คนเดินชนหัวไหล่ ไม่รู้ไปไหน เดินไปก็เดินมา…” เคยคิดไหมว่า, ทำไมรถไฟฟ้าถึงมีเฉพาะกรุงเทพมหานครเท่านั้น? ทำไมเเรงงาน พี่น้องชาวอีสาน ชาวปักษ์ใต้ ชาวเหนือ จึงต้องหลั่งไหลเข้ามาทำงานในเมืองกรุง? และทำไมสถานการณ์การพัฒนาเมืองของประเทศไทยตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่มีลักษณะเป็นแบบ “หัวโตขาลีบ”? คุณรู้ไหมว่า – กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าเมืองรองๆ ลงไปถึง 40-100 เท่าเลยทีเดียว ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น –  ลองมาหาคำตอบกัน เมื่อการพัฒนาเมืองทำให้ประเทศหัวโตขาลีบ  กระแสเมืองรองในมิติด้านการท่องเที่ยวของ ททท. และวาทะกรรมท้องถิ่นภิวัฒน์ เป็นกระเเสที่ถูกกล่าวถึงมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ ‘เมืองรอง’ ในแนวทางของการท่องเที่ยว เป็นคนละแนวทางกับ ‘เมืองรอง’ ในความหมายของการพัฒนาเมือง  เนื่องจากถ้าเทียบกับกรุงเทพฯ ในแง่ของขนาดแล้ว แทบไม่มีเมืองไหนอีกเลยในประเทศไทยที่ไม่ใช่เมืองรอง  ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ เคยเขียนบทความหนึ่ง พูดถึงการวางผังเมืองระบบขยายความเจริญของนครหลวง โดยชี้ให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากนโยบายส่งเสริมความเจริญเฉพาะเมืองหลวง อันเป็นนโยบายที่ตอกย้ำความเป็นเมืองโตเดี่ยวของกรุงเทพมหานคร (Bangkok The Primate City) ไว้ว่า […]

บทสำรวจ “กรุงเทพฯ – ความฝัน – การเดินทาง” กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล

01/11/2019

“หากคุณเลือกความฝันได้แค่ฝันเดียว แต่คนละมีความฝันอยากเห็นกรุงเทพฯ เป็นอย่างไรกันบ้าง?” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ตั้งคำถามเปิดการบรรยายพิเศษในงาน “สู่เมืองเดินสบายของทุกคน” ณ Fab Café Bangkok เมื่อวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2560 เพื่อถามหาความฝันของคนกรุง ที่เข้ามาร่วมงานเสวนาในครั้งนี้ หลายคำตอบมีทิศทางเดียวกันว่า ฝันอยากเห็นกรุงเทพฯ เป็น “เมืองรถไม่ติด” เพื่อที่จะเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทว่าความฝันแบบนี้ ดร.นิรมลบอกว่า เป็นความฝันที่ไร้จินตนาการ เพราะกรุงเทพฯ ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่มีจราจรเลวร้ายที่สุดในโลก ความฝันที่มีฐานความคิดอยู่ที่การเคลื่อนที่ด้วยล้อจึงเป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ยากในมหานครแห่งนี้ ปัจจุบันเมืองอื่นทั่วโลก เริ่มไม่พูดถึงการจราจร (Traffic) กันแล้ว แต่มาพูดถึงการพัฒนาการเคลื่อนที่ (Mobility) ที่มีความหมายกว้างกว่าการเคลื่อนที่ด้วยล้อ ทั้งระบบขนส่งมวลชน และการเดินเท้า โดย Urban Mobility หมายถึงความยืดหยุ่นในการเคลื่อนย้าย-เคลื่อนที่ไปมาของผู้คนในเมือง แนวคิดดังกล่าวจึงถูกพัฒนาขึ้น และเป็นกระแสหลักในการพัฒนาเมืองทั่วโลก โดยเฉพาะ ‘การเดินเท้า’ ที่ ผศ.ดร.นิรมล ย้ำว่าเป็น ‘ที่สุดของ Smart Mobility’ ดังนั้นการเดินเท้าจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน […]

แนวคิด TOD กับปรากฏการณ์คอนโดล้อมสถานี

01/11/2019

การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ได้แก่ ระบบราง เป็นการลงทุนสำคัญของภาครัฐในมหานครต่างๆ ที่ใช้ในการอำนวยความสะดวกในการสัญจร แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และเป็นมาตรการเชิงบวกเพื่อกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่ของภาคเอกชนไปพร้อมๆ กัน ในต่างประเทศมีการใช้แนวคิด Transit Oriented Development หรือ TOD ในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ทั่วถึง คุ้มค่าแก่การลงทุน และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยแนวคิดดังกล่าวมีหลักคิดสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกนำมาใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน (Mixed Use Development) โดยในพื้นที่ใกล้สถานีหนึ่งแปลงอาจถูกพัฒนาให้เป็นทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งพาณิชยกรรม และพื้นที่นันทนาการหลากหลายรูปแบบ 2. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาอย่างกระชับ (compact development) ซึ่งเป็นการพัฒนาให้พื้นที่นั้นมีความหนาแน่นสูง กล่าวคือ การใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรเพื่อประโยชน์สูงสุด 3. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาเพื่อให้ผู้คนสามารถเดินสัญจรได้อย่างสะดวก หมายความว่าบริการทุกอย่างในพื้นที่นั้นจะต้องเข้าถึงได้ด้วยการเดิน และพื้นที่นั้นจะต้องมีบรรยากาศที่น่าเดินด้วย 4. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลาย เช่น มีทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ ทางเดินเท้า ทางจักรยานและที่เก็บจักรยานไว้บริการ กล่าวโดยย่อคือ แนวคิด TOD เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับทั้งคุณภาพของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีที่ต้องสามารถให้บริการที่หลากหลายแก่ประชาชน และรวมถึงอำนวยความความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการเข้าถึงบริการเหล่านั้น โดยหลักคิดดังกล่าว […]

1 3 4 5 6 7