Mobility



Good Walk – Bad Walk จินตนาการเมืองเดินดี

01/11/2019

เรานึกภาพออกกันไหมว่า หากกรุงเทพมหานครมีทางเดินที่ดี แสงสว่างเพียงพอ ไม่มีสิ่งกีดขวาง และมีบรรยากาศริมทางที่น่าเดิน ชีวิตในเมืองกรุงจะน่าอยู่เพียงใด ถ้าเรามีเมืองที่ผู้คนสามารถเข้าถึงจุดหมายต่างๆ ได้ด้วยการเดิน มีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับการเดิน และเป็นเมืองที่ผู้คนเข้าใจความหลากหลาย สะดวกสบาย ปลอดภัย และรื่นรมย์ เราจะได้ประโยชน์จากบ้านเมืองแบบนี้ และสามารถใช้ชีวิตได้ตามแต่ใจมากขึ้น  นอกจากนี้การเดินยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของสังคมให้มีค่าเฉลี่ยที่ดีขึ้นด้วย เมื่อมนุษย์เดินสองเท้า เราสามารถเข้าถึงสิ่งเล็กน้อยริมทาง เห็นรายละเอียดที่เคยมองข้าม ได้ออกกำลังกาย และสื่อสารตัวตน  ผู้คนมีการแต่งตัวที่แตกต่างตามบุคลิกหรืออาชีพที่หลากหลาย กลายเป็นสีสันให้เมือง และทำให้เราเข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้น ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ได้ดำเนิน ‘โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี’ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างกระบวนการและกลไกในการเชื่อมโยง ‘นโยบาย’ เข้ากับ ‘พื้นที่’ โดยมีเป้าหมายคือการส่งเสริมให้ผู้คนออกมาเดินกันในชีวิตประจำวัน มุ่งเน้นการสร้างพื้นที่นำร่องเพื่อเป็นพื้นที่ตัวอย่างการพัฒนาเมืองเดินดีให้เกิดขึ้นในประเทศไทย “การแสดงผลงานสาธารณะโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี” จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน 2561 เวลา 13.00-16.30 น. ณ โกดังอเนกประสงค์ริมน้ำ ล้ง 1919 ท่าน้ำเก่าที่ได้รับการเปลี่ยนให้เป็นคอมมิวนิตี้มอลล์แห่งใหม่  ในงานมีแฟชั่นโชว์ที่นำเสนอ good walk กับ bad walk เปรียบเทียบระหว่างชีวิตของผู้คนบนถนนหนทางที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ มีร่มเงา เป็นทางเดินมาตรฐาน กับทางเดินที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน สิ่งกีดขวาง […]

ปิดเพื่อเปิดกว้าง ไปกับ Rue de la République ถนนคนเดินที่ยาวที่สุด ณ เมืองลียง ฝรั่งเศส

01/11/2019

ในช่วงตอนต้นของคริสต์ทศวรรษที่ 1990 แนวคิดของการฟื้นฟูเมือง (Urban Regeneration) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการวางแผนพัฒนาเมือง และได้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อพื้นที่ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มคนไปตามบริบททางเศรษฐกิจและสังคม โดยแนวคิดพื้นฐานคือ การปรับปรุงสภาพทางกายภาพของเมืองให้มีสภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมร่วมสมัย ปัจจุบันถนนคนเดินตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ กำลังกลายเป็นกระแสนิยม เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวจะเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม เป้าหมายที่มีเพิ่มขึ้นมาคือ การแวะเลือกซื้อสินค้าในท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ถนนคนเดินจึงกลายเป็นตัวเลือกที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับนักท่องเที่ยว โดยได้รับแนวคิดจากความต้องการสร้างจุดขายและเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่ ปรับสภาพให้เข้ากับความต้องการของนักท่องเที่ยว รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนในชุมชน สามารถนำเอาสินค้าของตนออกมาวางจำหน่าย ถือเป็นการรวมกลุ่มของบรรดาผู้ประกอบการสร้างรายได้หมุนเวียนให้กับท้องถิ่น สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน จนบางแห่งกลายเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ มีสินค้าให้เลือกสรรมากมายหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น สินค้าพื้นเมือง หรือแม้กระทั่งอาหารพื้นบ้านที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ยังสามารถกลายมาเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมได้ ทั้งนี้ ถนนคนเดินยังสามารถใช้เป็นพื้นที่จัดแสดง หรือจัดกิจกรรมของท้องถิ่น ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเวทีกลางแจ้ง เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม อัตลักษณ์ เทศกาลและประเพณีของเมืองไปในตัว โดยเดิมพื้นที่ดังกล่าว มีลักษณะผสมผสานระหว่างที่อยู่อาศัย สำนักงาน และพื้นที่สาธารณะ ได้เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของกลุ่มผู้บริหารท้องถิ่นที่จะสร้างสามถนนสายใหม่ นั่นก็คือ ถนน Rue de la République แห่ง Presqu’île เพื่อเชื่อมต่อกับ Place Bellecour ซึ่งเป็นจัตุรัสใจกลางเมืองขนาดใหญ่ของ Presqu’île อันได้แก่ 1. ถนน  Rue Victor Hugo เชื่อมระหว่าง Place Bellecour และPlace Carnot2. ถนน Rue de l’Impératrice และเปลี่ยนเป็นชื่อ Rue de […]

1 5 6 7