01/11/2019
Mobility

“Vélo’v” VS “ปันปั่น”

killthecat สุภาพร อินทรภิรมย์
 


/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/csm_offre_tarif_sav_3f1fadc7ec.png?itok=NzQ5Iu_G

หลายเมืองทั่วโลกได้นำเอาแนวคิด Smart City มาใช้ในการพัฒนาเมืองโดยอาศัยการเก็บรวมรวมข้อมูลพื้นฐานของเมืองเพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลโดยอาศัย Big Data มาเป็นตัวช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่พร้อมทั้งสามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ไปพร้อมๆ กันในเวลาอันรวดเร็วผ่านการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID (Radio Frequency Identification) และ Sensors ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิด

ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย ผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงนับเป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้เมืองได้ดึงศักยภาพที่น่าจะมีในพื้นที่ออกมาได้เป็นอย่างดีหากได้รับความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน แต่การพัฒนาเมืองตามแนวทาง Smart City จะเป็นไปในทิศทางใดก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและบทบาทของเมือง 

ยกตัวอย่างการพัฒนาเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวมรดกโลกของฝรั่งเศสที่นอกจากจะเป็นเมืองที่มีบทบาททางการท่องเที่ยว แล้วยังเป็นเมืองที่มีบทบาททางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีโครงการพัฒนาเมืองเกิดขึ้นอย่างมากมาย แนวทางการพัฒนาเมืองด้วยการใช้แนวคิด Smart City ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ลียงนำมาใช้ในการพัฒนาเมือง โดยนำเอา Big Data มาเป็นตัวช่วยในการรวบรวมและจัดการข้อมูลที่ได้จาก IoT มาจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่จนกลายเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถนำมาวิเคราะห์หาความต้องการของคนที่ใช้ชีวิตในเมือง เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ผ่านแผนการพัฒนา 

อาศัยความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน คือภาครัฐ เอกชน และประชาชน เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานตามแนวทางของ Smart City โดยเอกชนจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา มีประชาชนเป็นคนให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเมือง และรัฐเป็นผู้สนับสนุนโดยการกำหนดกรอบการดำเนินงานปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ การบริหารจัดการเมืองให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสนับสนุนการให้บริการของภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งขอมูลที่มีประสิทธิผลที่สามารถยังประโยชน์อย่างยั่งยืนในแง่ของ เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของทุกคน

โดยนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ มารวบรวบในรูปแบบของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ภายใต้ชื่อ Data Grand Lyon ที่เป็นตัวกลางรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของเมืองตลอดจนเป็นหน่วยงานที่กำหนดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อแชร์ให้กับทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึง และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวได้โดยทั่วถึง ภายใต้โครงการ “Lyon Smart City” ลียงได้กำหนดโมเดลพัฒนาที่สัมพันธ์กัน 4 รูปแบบ ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/sthaaniibrikaarcchakryaanainphuuenthiiemuuengliiyng_3.jpg

1. เมืองที่เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว (Easy Agile)

ในที่นี้หมายถึงการเคลื่อนที่ (Smart Mobilities) ที่มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการเดินทางของเมืองให้ง่ายต่อการเข้าถึงบริการส่วนบุคคลและบริการสาธารณะ (Easy and personalised access to urban services) ให้เกิดการทำงานร่วมกัน เช่น การบูรณาการข้อมูลของผู้ใช้ในเวลาจริงเกี่ยวกับการขนส่งในทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งการเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทาง รูปแบบการเดินทาง พร้อมทั้งจุดให้บริการที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับการเดินทางในทุกรูปแบบ ตลอดจนระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเดินโดยการแสดงผลแบบออนไลน์ ผ่านระบบ GPS บนสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่นข้อมูลการจราจร จุดจอดรถจักรยาน จุดชาร์ตพลังงานไฟฟ้าให้กับรถ ป้ายรถ สถานีรถขนส่งสาธารณะ เป็นต้น

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/1_8.jpg

2. การสร้างสมดุลที่มีประสิทธิภาพ (Balanced Efficient)

เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (City Sustainability) โดยการนำเอาหลักการสมาร์ทกริด (Smart grids) ซึ่งเป็นโครงข่ายการบริหารจัดการที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มาบริหารจัดการ ควบคุมการผลิต ส่ง และจ่ายพลังงาน ในส่วนของพลังงานไฟฟ้า น้ำ และการจัดการของเสีย ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาด และระบบบริหารการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

รวมทั้งให้บริการกับผู้เชื่อมต่อกับโครงข่ายผ่านมิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของเมือง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยัง มีความคาดหวังให้เกิดการรวมกลุ่มการพัฒนาในอนาคต โดยใช้แนวคิดชุมชนที่สมาร์ท หรือสังคมที่สมาร์ท (Smart Community or Society) อีกด้วย

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/2_4.jpg

3. ความเป็นอยู่ของประชากร (Human Metropole)

ในแง่ของ สุขภาพ และการดูแลสังคม (Health & care) การศึกษา (Education) และการรวมกลุ่ม (Inclusion) โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในเรื่องของสุขภาพ สังคม การศึกษา และการรวมกลุ่มของกลุ่มคนแต่ละองค์กรต่างๆ ยกตัวอย่างในทางการแพทย์ มีการให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และสมาคมมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงสถานะของสุขภาพของประชากรเพื่อให้เกิดการเข้าถึงการดูแล และให้บริการในอาณาเขตของตนที่ดีกว่า

การดำเนินการหลัก ได้แก่ สะท้อนปัญหาสุขภาพผลการดำเนินการทางการแพทย์ และทางสังคม(ระบบข้อมูลสุขภาพ) และความรู้ที่ดีขึ้นของความต้องการของประชากร ทำให้สามารถรู้และเข้าถึงสถานการที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาใช้ในเชิงการพัฒนาต่างๆ

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/3_6.jpg

4. เมืองความคิดสร้างสรรค์ (Creative Metropole)

ในแง่ของการเป็นศูนย์ข้อมูลในพื้นที่สาธารณะ วัฒนธรรม และสีสันของเมือง โดยให้เมืองเป็นเสมือนพื้นที่ทดลอง (City Testing Ground) ที่จะใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและความคิดริเริ่ม (Innovation & Initiatives) ด้วยการเปิดนวัตกรรมสร้างความเปลี่ยนแปลงในวิธีการคิดที่จะให้อิสระมากขึ้นในการสร้าง และการ “ร่วมก่อสร้าง” โดยให้ “ประดิษฐ์” ของทั้งหมดที่มีเครื่องมือข้อมูลและจินตนาการของพวกเขา 

ที่น่าแปลกใจคือ มีความเติบโตทางวัฒนธรรมจากการโต้ตอบมากขึ้น เพื่อให้มหานครลียงยังเป็นผู้ร่วมสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นกับเมืองที่อยู่อาศัยมืออาชีพของผู้ประกอบการของตน เช่น การพัฒนาแอปปิเคชั่นเพื่อให้คนสามารถได้ประโยชน์ เพลิดเพลินและสามารถเพิ่มข้อมูลให้กับเมืองได้ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น

/var/folders/p2/_4cfnlf97mggf8nhfyzxxj2h0000gn/T/com.microsoft.Word/WebArchiveCopyPasteTempFiles/4_3.jpg

ตัวอย่างการนำเอานวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนตามแนวทาง Smart City นี่เอง เป็นผลให้ผลการวิเคราะห์ Innovation Cities Index ในปี ค.ศ. 2016-2017 ลียงได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองด้านนวัตกรรมอันดับที่ 44 ของโลก ในขณะที่กรุงเทพฯ เป็นอันดับที่ 118 ของโลก ประเด็นความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องของการใช้นวัตกรรมมาช่วยในการพัฒนาเมืองหนึ่งประเด็นก็คือ โครงข่ายและรูปแบบการเคลื่อนที่ (Smart Mobilities) 

โดยตัวอย่างที่น่าสนใจคือ โครงการยืม-เช่าจักรยานซึ่งเป็นโครงการที่มีทั้งในกรุงเทพมหานคร และลียง ที่มีความใกล้เคียงกันของโครงการคือ ความมุ่งหวังให้ประชาชนมีตัวเลือกในการเดินทางเพิ่มมากขึ้นและสะดวกขึ้น ประหยัดพลังงาน อีกทั้งช่วยแก้ปัญหารถติด นอกจากนี้ยังมีวิธีการยืม-เช่า ที่ใกล้เคียงกัน หากแต่ในความเหมือนมีความต่างที่ชัดเจนหลายด้าน เช่น บริบทของพื้นที่ สภาพอากาศ สภาพถนนทางเท้าทางจักรยาน สถานีบริการ แนวคิดเรื่อจุดบริการ เป็นต้น

ในลียงแนวคิดจักรยานยืม-เช่า เป็นหนึ่งโครงการการพัฒนาของเมืองลียงที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ จากความตั้งใจจะทำให้การเดินทางของคนง่ายและสะดวกขึ้น เติมเต็มช่องว่างระหว่างการเดินทาง โดยอาศัยหลักการเดียวกับที่ใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะระบบล้อและระบบราง มาใช้ในการพัฒนาโครงข่ายจักรยานภายใต้ชื่อ “Vélo’v” ในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งเป็นโครงการบริการให้เช่าจักรยาน มีสถานีบริการถึง 348 สถานีครอบคลุมแทบทุกพื้นที่ในเขตเมืองดังภาพ (สถานีบริการจักรยานในพื้นที่เมืองลียง)  โดยสามารถใช้บริการได้ฟรีถึง 30 นาที (อาจปั่นได้ไกลถึง 6 กิโลเมตร)

นอกจากนี้ผู้ใช้บริการยังสามารถตรวจสอบจุดจอดจักรยาน หรือสถานี Vélo’v ได้ผ่านแอพพลิเคชั่น “Description” ที่ทำให้เราทราบถึงที่ตั้งของสถานี จำนวนรถที่มีอยู่ และจุดที่เราสามารถเอารถจักรยานไปจอดได้ และแนวคิดเดียวกันนี่เองถูกนำมาใช้ในกับกรุงเทพมหานคร ในปี ค.ศ. 2013 ภายใต้แนวคิดที่จะเพิ่มตัวเลือกการเดินทาง ช่วยเติมเต็มช่องว่างในการเดินทาง ด้วยรถขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ และการแบ่งปัน ภายใต้ชื่อโครงการ “ปันปั่น”

โดยมีการกำหนดสถานีบริการเพียง 50 สถานี กระจุกตัวอยู่บริเวณถนนเส้นทางหลักดังภาพ (สถานีบริการจักรยานในพื้นที่กรุงเทพฯ) โดยสามารถใช้บริการได้ฟรีเพียง 15 นาที เราสามารถเอารถจักรยานไปจอดที่จุดจอดสถานีไหนก็ได้ที่ใกล้ปลายทางที่เราจะไป แต่ด้วยสถานีบริการที่มีอยู่อย่างจำกัด (พื้นที่ให้บริการค่อนข้างน้อย) สามารถให้บริการได้ในวงแคบไม่สามารถตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองได้นับเป็นอีกโครงการที่การดำเนินการค่อนไปทางความไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการกระจุกตัวของสถานีที่อยู่ในระยะเดินได้ สภาพเส้นทางที่ไม่เอื้ออำนวยนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าในความเหมือนมีความแตกต่าง Vélo’v และ ปันปั่น ต่างเป็นโครงการที่เกิดจากความต้องการที่จะเติมเต็มช่องว่างระหว่างการเดินทาง ที่ใช้เทคโนโลยี RFID มาใช้ในการยืม-เช่า-คืน เหมือนกัน หากแต่ต่างกันที่การบริหารจัดการซึ่ง Vélo’v ลียงสามารถยังผลของการใช้บริการกลับสู่ฐานข้อมูลเพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ผ่าน Big Data ให้เป็นศูนย์ข้อมูลเมืองได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ต่างกับปันปั่นที่แม้จะดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้วยังไม่มีผลการใช้งานที่สามารถบ่งชี้ปริมาณผู้ใช้ หรือความต้องการรายสถานีออกมา

ทั้งที่ความจริงแล้วข้อมูลเหล่านี้น่าจะถูกส่งข้อมูลการยืม-เช่าแบบออนไลน์เช่นเดียวกับลียงได้ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าข้อมูลที่ควรจะมีเหล่านี้หายไปไหน เหตุใดจึงไม่มีการนำมาใช้เพื่อการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินการเพื่อการต่อยอดโครงการ ความแตกต่างและปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับโครงการปันปั่นน่าจะเป็นบทเรียนได้ว่า

การพัฒนาที่เกิดจากความคิดของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลพื้นฐาน ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชากรได้อย่างแท้จริง ในอีกแง่มุมอาจต้องคิดว่าแท้ที่จริงแล้วกรุงเทพฯ ขาดข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเมืองจริงหรือ ทั้งที่ในความเป็นจริงเรามีข้อมูลมากมายที่เป็นข้อมูลที่มากกว่าจุดขึ้นลงระบบขนส่งทางราง เช่น ข้อมูลขนาดทางเท้า ปริมาณการสัญจร กระทั่งข้อมูลเส้นทางจักรยาน ที่สามารถนำมาใช้ได้

แต่ทำไมข้อมูลเหล่านั้นถึงไม่ถูกหยิบมาใช้ในการวิเคราะห์กำหนดทำเลที่ตั้งของสถานีจักรยานปันปั่น  ต่างกับลียงที่ศึกษาและวิเคราะห์ตำแหน่งทำเลที่ตั้งของสถานีจากข้อมูลถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล ทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน ขนาดทางสัญจร รูปแบบการสัญจร ปริมาณทางสัญจร

(ตำแหน่งสถานีบริการจักรยานในพื้นที่เมืองลียง)
(ตำแหน่งสถานีบริการจักรยานในพื้นที่กรุงเทพฯ)

ลียงเป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของเมืองดีดีที่ไม่ได้มาจากความบังเอิญ หากแต่เป็นเมืองดีได้เพราะการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการข้อมูลโดยใช้ Big Data มาช่วยในการรวบรวมวิเคราะห์และประมวลผล  ซึ่งแท้จริงแล้วกรุงเทพฯ เองก็เป็นเมืองที่มีข้อมูลมหาศาล หากแต่ข้อมูลนั้นมีการกระจัดกระจายเนื่องจากยังขาดความร่วมมือกันของคนทุกภาคส่วน อีกทั้งยังขาดแกนกลางในการรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลทั้งข้อมูลทั่วไป และข้อมูลที่เกี่ยวกับเมือง

อาจถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการข้อมูลพื้นฐานของเมืองที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้จริง เพราะหากไม่เริ่มตั้งแต่ตอนนี้อีก 10 ปี 20 ปี ก็ไม่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เราก็จะย่ำอยู่กับที่ภายใต้การทำงานแบบเดิมๆ ที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก

เนื่องจากข้อมูลพื้นฐานไร้ประสิทธิภาพ และไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะใช้เป็นข้อมูลในการอ้างอิงเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อาจจะยังไม่สายเกินไปหากเราจะหันมาให้ความสำคัญกับ Big Data มากกว่าจะปล่อยให้มันเป็นเพียงข้อมูลขยะในโลกของ IoT

 

อ้างอิง:

คลื่นวิทยุมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิด ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย, โดย Innovation Cities™ Program, 2014, retrieved 25 Jun 2019

https://velov.grandlyon.com/fr/mode-demploi.html


Contributor