Mobility



ชวนดูเทรนด์การพัฒนาเมืองด้วยข้อมูลเปิด แก้ปัญหาสาธารณะจากเทคโนโลยีและความร่วมมือของทุกคน

01/09/2020

ปกติเวลาคุณเห็นปัญหาสาธารณะอย่างทางเดินเท้า ไม่ว่าจะเป็นบล็อกแตก ทางเดินขาด ขยะล้น มอเตอร์ไซค์วิ่งข้างบน หรือคนตั้งของขวางทาง ฯลฯ แล้วคุณทำอย่างไร? ปัญหาทางเดินเท้าเรียกได้ว่าเป็นปัญหาคลาสสิกของมนุษย์กรุงเทพฯ ที่ต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งเชื่อได้ว่าหลายคนคงทำได้แค่บ่นกับคนรู้จักหรือทางโซเชียลมีเดียไปวันๆ แต่คุณเคยสังเกตไหมว่าสุดท้ายแล้วปัญหาเหล่านี้ก็ยังอยู่เราและไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ นานวันเข้าก็กลายเป็นความ ‘เคยชิน’ ในการอยู่ร่วมกับปัญหาเหล่านั้นเสียแล้ว แต่เดิมการแก้ปัญหาเมืองคือการที่หน่วยงานของรัฐลงพื้นที่ในชุมชนด้วยตนเอง สิ่งนี้เป็นกระบวนการที่ล่าช้าใช้งบประมาณจำนวนมากและไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ ฉะนั้นปัญหาต่างๆ ก็จะถูกแก้ไขเพียงบางส่วนเท่าที่ผู้ดูแลสำรวจเห็น ครั้นเกิดการปฏิวัติเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตที่ทำให้เราเชื่อมต่อกับข้อมูลสรรพสิ่งจำนวนมาก Big data จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในแวดวงต่างๆ หนึ่งในนั้นคือบริบทการฟื้นฟูและการบริหารจัดการเมือง ทำให้เกิดแนวคิดการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ หรือ Open Data ที่นำความรวดเร็วของเทคโนโลยีบวกกับความร่วมมือของประชาชนมาสร้างช่องทางในการแจ้งปัญหา เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพชีวิตในเมืองให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาสาธารณะเป็นปัญหาที่ทั่วโลกประสบเหมือนกัน แต่หลายประเทศเริ่มนำแนวคิด Open Data มาใช้พัฒนาเมืองกันบ้างแล้ว เราไปดูตัวอย่างจากต่างประเทศกันหน่อยว่าเขาประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการข้อมูลมาสร้างช่องทางหรือแพลตฟอร์ม Open Data ในการปรับปรุงและพัฒนาเมืองอย่างไรกันบ้าง? Fix My Street เป็นแพลตฟอร์มของประเทศอังกฤษที่จัดทำโดยวิสาหกิจเพื่อสังคม mySociety โดยมีจุดประสงค์เป็นช่องทางกลางให้ประชาชนสามารถเข้าไปปักหมุดแจ้งปัญหา รายงาน หรือพูดคุยเกี่ยวกับถนนและทางเดินเท้าทั่วทั้งประเทศ ซึ่งปัญหาต่างๆ จะส่งไปยังผู้รับผิดชอบโดยตรง (เข้าไปดูตัวอย่างการแจ้งปัญหาได้ที่ >>> Fix My Street) Qlue แพลตฟอร์มเพื่อนบ้านอาเซียนจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นแพลตฟอร์มที่ให้ประชาชนกลายเป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการทำงานของส่วนบริหารท้องถิ่น สามารถร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเมือง เช่น ปัญหาทางเดินเท้า พื้นถนน ขยะ ไฟจราจร กระทั่งถึงอาชญากรรม โดยปัญหาต่างๆ จะส่งตรงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกัน (เข้าไปดูตัวอย่างการแจ้งปัญหาได้ที่ >>> Qlue) The Clean Streets L.A. แพลตฟอร์มในสหรัฐ […]

เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมเมืองด้วยเรือไฟฟ้าแห่งแรกของอาเซียน

07/08/2020

“ค้ำจุนบ้านเมืองให้มั่นคงและมั่งคั่ง” คือความหมายของคำว่า ผดุงกรุงเกษม ชื่อคลองแสนไพเราะที่เชื่อว่าหลายคนคุ้นหู คลองเส้นนี้ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ในปี พ.ศ. 2394 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2395 ด้วยทรงมีพระราชดำริว่าควรขยายพระนครออกไป เนื่องจากขอบเขตเมืองเดิมเริ่มคับแคบ และคลองยังมีประโยชน์เป็นเส้นทางสัญจรทางเรือของชาวพระนคร ซึ่งขณะนั้นมีประชากรย้ายมาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางการขยายตัวกรุงเทพฯ อย่างไม่หยุดยั้ง ในช่วงกว่า 100 ปีที่ผ่านมา  คลองผดุงกรุงเกษมถูกลดบทบาทจากคลองเชื่อมเมืองด้วยการสัญจรทางน้ำ จากย่านเทเวศไปยังย่านหัวลำโพงและแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเพียงคลองที่มีสะพานสำหรับรถยนต์ข้ามผ่านหลายสะพาน กระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2558 คลองผดุงกรุงเกษมได้กลับมามีบทบาทอีกครั้งในฐานะตลาดน้ำ และต่อมาในปี พ.ศ.2560 กรุงเทพมหานครได้ทดลองเดินเรือโดยสารอีกด้วย ตามลำดับ ล่าสุดต้นปี พ.ศ.2563 ได้ทดลองให้บริการเรือโดยสารไฟฟ้าลำแรก และเตรียมขยายจำนวนเป็น 8 ลำในเดือนพฤศจิกายน 2563  เรือโดยสารไฟฟ้าแห่งแรกของอาเซียน   นิตยสาร Monocle ฉบับเดือนกรกฎาคม ได้รวบรวมนวัตกรรมที่ทำให้เมืองน่าอยู่จากทั่วโลก กรุงเทพมหานครเป็น 1 ในเมืองที่ถูกกล่าวถึง ผ่านโครงการเรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม เส้นทางสัญจรทางน้ำกลางเมืองที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ เช่น รถโดยสาร รถไฟฟ้า ฯลฯ ที่สำคัญคือเป็นเมืองแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ให้บริการเรือโดยสารไฟฟ้าที่ไร้มลภาวะทั้งกลิ่นและควัน คุณมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม […]

โบกมือลารถรา Net City ออกแบบเมืองใหม่ในเซินเจิ้นให้คนเดินถนนเป็นศูนย์กลาง

07/08/2020

“โอ้โฮ นี่หรือบางกอกผิดกับบ้านนอกตั้งหลายศอก หลายวารถราแล่นกันวุ่นวายมากกว่าฝูงควายฝูงวัวบ้านนา” เพลงโอ้โฮบางกอกเป็นอีกหนึ่งเพลงที่สะท้อนอิทธิพลของรถยนต์ในเมืองกรุงได้เป็นอย่างดี ในอดีตรถหรือถนนอาจจะเป็นหลักฐานของความเจริญที่เข้ามาถึง แต่ปัจจุบันและอนาคตอาจไม่ใช่อีกต่อไป หลายประเทศเริ่มออกแบบให้เมืองปราศจากถนนขนาดใหญ่ จำกัดจำนวนรถยนต์ด้วยเหตุผลทั้งทางสิ่งแวดล้อม และเหตุผลเรื่องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เหมือนอย่าง Net City เมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเซินเจิ้นที่ออกแบบให้คนเดินถนนและนักปั่นจักรยานเป็นศูนย์กลางของเมือง เนื้อที่กว่า 2 ล้านตารางเมตร ส่วนหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น หนึ่งในมหานครชื่อดังของโลกถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทั้งที่ตั้งสำนักงานของ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ในจีน ผู้อยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชัน Wechat และบริการรับ-ส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ตอย่าง QQ รวมไปถึงออกแบบให้มีที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เพื่อรองรับคนกว่า 80,000 คน โดยปกติในหลายเมืองใหญ่ พื้นที่มากกว่าครึ่งจะถูกใช้ไปกับถนนและลานจอดรถยนต์ แต่โจนาธาน วาร์ด พาร์ตเนอร์ผู้ออกแบบจาก NBBJ บริษัทที่ชนะการแข่งขันบอกเล่าว่าเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับคนเดินเท้า คนปั่นจักรยาน เต็มไปด้วยสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวที่คนสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ง่ายขึ้น และยังเป็นแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงมรสุม  สำหรับคอนเซปต์พื้นฐานการจำกัดการจราจรในท้องถนนที่จะหยิบมาใช้ในการออกแบบนั้นคล้ายกับซูเปอร์บล็อกในเมืองบาร์เซโลนา “ถ้าคุณแยกส่วนมันจะมองเป็น 6 บล็อก แต่ละบล็อกจะล้อมไปด้วยถนนใหญ่อย่างที่คุณจะเห็นเป็นปกติในเซินเจิ้น แต่พวกเราจะรวมทั้ง 6 บล็อกเข้าด้วยกันเพื่อให้มีพื้นที่ถนนใหญ่เฉพาะรอบนอก ส่วนถนนด้านในจะเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินแทน” วาร์ดบอกเล่าว่าตึกยังคงสามารถเขาถึงโดยรถยนต์ในรอบนอก ส่วนที่จอดรถจะอยู่ใต้ใต้ดิน ทำให้การขับรถไม่จำเป็นอีกต่อไป  เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ใหม่แห่งนวัตกรรมและพื้นที่แห่งความสุขเพื่อใช้ชีวิตและทำงาน “สิ่งหนึ่งที่จะต้องจำกัดคือจำนวนของรถยนต์” […]

จากโควิด-19 สู่งบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท สร้างเมืองเดิน-ปั่นเพื่อสุขภาพของคนอังกฤษ

05/08/2020

ขณะที่กราฟอัปเดตยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก กำลังพุ่งพะยานอย่างต่อเนื่องในเดือนเมษายน 2563 ประเทศอังกฤษมีผู้ติดเชื้อนับแสนคนอย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นคือนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษและอดีตนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน วัย 56 ปี  ผู้ซึ่งต้องพักรักษาตัวในห้องไอซียูนานนับสัปดาห์ และถือเป็นผู้นำประเทศคนแรกของโลกที่ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่  ที่ผ่านมา นายบอริส จอห์นสัน ได้พยายามผลักดันนโยบายส่งเสริมสุขภาพประชากรอย่างต่อเนื่อง เช่น ความพยายามแก้ปัญหาโรคอ้วน ผ่านร่างกฎหมายขึ้นภาษีน้ำตาล และมาตรการห้ามโฆษณาหรือทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในกลุ่มอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเป็นผู้ประสบชะตากรรมในห้องไอซียูเพื่อรักษาโรคโควิด-19 เมื่อเมษายน หลายฝ่ายมองว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้นายกฯอังกฤษ ผลักดันนโยบายด้านสุขภาพครั้งใหญ่ ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางในเมือง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนอังกฤษหันมาเดินและปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น  โครงการดังกล่าวเรียกว่า Active Travel England ด้วยวิสัยทัศน์ เร่งเกียร์ : วิสัยทัศน์ที่หาญกล้าเพื่อการปั่นและเดิน (Gear Change: A bold vision for cycling and walking) เมกะโปรเจกต์ Active Travel England ได้รับการแถลงอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นโครงการภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมอังกฤษ และคณะกรรมการการปั่นจักรยานและเดินเท้าแห่งชาติ มีเป้าหมายเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางในเมือง […]

โอกาส ‘Smart City’ และความท้าทายของเมืองข้างหน้า

04/08/2020

คำว่า ‘Smart City’ กลายเป็นเทรนด์ยักษ์ (Mega-Trends) ที่หลายเมืองทั่วโลกกำลังเดินหน้าพัฒนาอย่างเต็มตัว ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้อย่างชาญฉลาด พร้อมการบริหารจัดการเมืองอย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการยกระดับคุณภาพชีวิตพลเมืองให้ดีขึ้น เพียงแต่ปัจจุบันเวลาพูดถึงการ ‘พัฒนาเมือง’ หลายคนกลับสนใจแค่การพัฒนาเชิงกายภาพอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเมือง หรือเทคโนโลยีล้ำสมัย  ทว่าแท้จริงแล้ว มิติของการพัฒนาเมืองมีความซับซ้อนมากกว่านั้น  ในงานเสวนา City Talk: Thammasat City Futures and TDS Exhibition 2020 ณ ลาน EDEN ชั้น 3 ศูนย์การค้า Central World มีการพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสู่การเป็น Smart City กับ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ นิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา สองวิทยากรที่มีบทบาทในการพัฒนาเมืองมาอย่างเข้มข้น ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อโอกาสและความท้าทายของเมืองอนาคต Satellite Town อาจเป็นคำตอบของเมืองอนาคต งานเสวนาเริ่มต้นด้วยการแนะนำวิทยากรทั้งสองท่าน ที่สามารถเป็นตัวแทนเมืองในประเทศได้สองแบบสองสไตล์  กล่าวคือ นิพิฐ อรุณวงษ์ ณ […]

ฉัน สามล้อ และความสงบในซอย

24/07/2020

นอกจากจะเป็นจังหวัดที่ติดกับกรุงเทพแบบแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ฉันว่าเมืองนนท์ (หรือหากจะเรียกอย่างเต็มยศก็คือ จังหวัดนนทบุรี) ยังมีความกึ่งเมือง กึ่งต่างจังหวัดอยู่ในตัว ยังมีเขตบ้านดั้งเดิมที่เชื่อมต่อแทบจะเป็นเนื้อเดียวกับชุมชน เช่นซอยบ้านฉัน หรือซอยเพื่อนบ้านอย่างเรวดี ที่แค่ซอยเดียวก็อัดแน่นไปด้วยสารพัดสิ่ง เป็นทุกอย่างให้แล้ว ตั้งแต่หน้าสงกรานต์ที่เปลี่ยนซอยธรรมดาๆ เป็นเขตมิคสัญญีระดับมีคนตายกันทุกปี จนในที่สุด จังหวัดต้องออกมาห้าม -ไม่ใช่ห้ามเล่นสงกรานต์- แต่ห้ามคนนอกเข้าไปใช้ถนนในนั้นเป็นทางลัด คือให้เล่นกันอยู่แต่ในซอย วนหัววนท้ายกันให้หนำ แล้วทันทีที่หมดสามวันอันครื้นเครงของเทศกาล ก็กลับมาเป็นชุมชน ตลาดสด อู่ซ่อมรถ ร้านกาแฟ ร้านสเต็กกันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งมีแค่ซอยเล็กๆ แคบๆ ซอยเดียวเท่านั้น ที่กั้นซอยบ้านฉันออกจากเรวดี ซึ่งไอ้ซอยบ้านฉันนี่ ก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนดูแล ยังจำได้ว่าเมื่อตอนยังเยาว์ ดึกๆ จะยังได้ยินเสียงแก๊งๆ ของแผ่นเหล็ก ที่มีคนมาคอยเคาะบอกเวลาสองยาม กับให้ระวังฟืนไฟ เดินเวียนเที่ยวไปทุกซอยและได้ยินแต่เสียงโดยไม่เคยเห็นหน้าตา เขาเล่ากันมาว่า (เขานี่คือใคร ฉันก็ไม่รู้อีกเหมือนกัน) มีคณะกรรมการบริหารซอย หรือผู้มีอำนาจอะไรสักอย่าง ที่ปลูกบ้านอยู่ในซอยนี้ เป็นคนสั่งการและควบคุมว่าจะทำอะไรยังไงกับซอย คล้ายๆ กลุ่มนิติบุคคลของคอนโด หรือส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรร ทั้งที่บ้านในนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่กันมาแต่เดิม อย่างบ้านฉันนี่ก็อยู่กันมาสี่สิบปี ฉันก็ไม่เคยเห็นกลุ่มบุคคล หรือใครที่ทรงอิทธิพลแบบนั้นมาถามอะไรบ้านฉัน วันดีคืนดีถนนในซอยก็ถูกปรับให้สูงขึ้น กว้างขึ้น สะอาดขึ้น […]

เมื่อรถยนต์คือแขกรับเชิญ ในเมืองจักรยาน อัมสเตอร์ดัม

21/07/2020

ภาพ : กรกฎ พัลลภรักษา Pete Jordan ผู้แต่งหนังสือเรื่อง City of Bikes กล่าวว่า “พวกเยอรมันเกลียดคนอัมสเตอร์ดัมที่ขี่จักรยานเหลือเกิน” เพราะขวางการเคลื่อนขบวนรถทหารบนถนน แต่ความจริงแล้ว Jordan เขียนว่า “นี่เป็นวิธีการแสดงการขัดขืนต่อพวกนาซี และแสดงความสาแก่ใจ จากสามัญชน ที่สามารถขัดขวางพวกนาซีได้” เพราะการขี่จักรยานนั้น เป็นการคมนาคมหลักของประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงนาซีเข้ามาครอบเมืองในช่วงประมาณ 1940  ถึงวันนี้คนขับรถ หรือคนเดินถนนในอัมสเตอร์ดัมเอง ก็หวั่นเกรงคนขี่จักรยาน เพราะการใช้จักรยานในอัมสเตอร์ดัมคือพาหนะในการเดินทางหลัก และมีมากกว่า 880,000 คัน ขณะที่จำนวนรถยนต์มีน้อยกว่าถึง 4 เท่า   ถ้าใครเคยดูหนังสารคดีเรื่อง Rijksmuseum คงจะจำได้ว่า การซ่อมแซมบูรณะพิพิธภัณฑ์นั้นใช้เวลายาวนานมาก เพราะแต่ละขั้นตอนของการออกแบบและก่อสร้าง จะต้องมีการขอความเห็น และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนใช้จักรยาน นักกิจกรรมจักรยานนั้นเสียงดังเอาเรื่อง เพราะถือว่าเป็นเสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์มากพอกับเสียงส่วนอื่นด้วย ดังนั้น การออกแบบของพิพิธภัณฑ์ไรกส์นั้น จึงจำเป็นที่ต้องทำให้ทุกฝ่ายพอใจ จนในที่สุดผู้ใช้จักรยานก็สามารถขี่ผ่านส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย เพื่อนของเรา เป็นคนแรกที่ขี่จักรยานเข้าพิพิธภัณฑ์ไรกส์เป็นคนแรก Tania มารู้ก็ตอนที่ตัวเองได้ออกเป็นข่าวไปแล้ว! ดูเหมือนจะไม่ได้ใส่ใจ แต่ใช้สิทธิธรรมดาๆ ในการใช้ถนนบนอานจักรยาน  อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่ฉันหลงรักทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ไปพบ และทำให้เป็น loveaffair ระหว่างตัวฉันกับเมือง เพราะคลอง ถนนเล็กๆ จักรยาน และ Dutch Mentality หรือทัศนคติของคนดัตช์ จะเริ่มต้นอธิบายทัศนคติที่ว่าอย่างไรดี? ส่วนมากแล้ว เพื่อนคนดัตช์ในอัมสเตอร์ดัม หรือคนอัมสเตอร์ดัมที่พบและรู้จักนั้น ถ้าเปรียบเป็นดอกไม้เหมือนทานตะวัน มากกว่าทิวลิปที่เป็นเหมือนโลโก้ของประเทศ […]

BRIDGES THAT CONNECT OUR CITIES: สะพานที่เชื่อมเมืองของเราเข้าด้วยกัน

23/06/2020

สะพานในสายธารประวัติศาสตร์ สะพานที่เราสัญจรข้ามแม่น้ำไปทำงานและข้ามกลับบ้านอยู่ทุกวัน สิ่งใดก็ตาม หากเราเห็นทุกวัน บางทีสิ่งนั้นอาจกลายเป็น “The Invisible” เป็นสิ่งที่เราอาจมองข้ามความสำคัญหรือความหมายเดิมของสิ่งนั้นไป แท้จริงแล้ว ตลอดสายธารแห่งประวัติศาสตร์ สะพานเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของเมือง เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมือง รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ภาพจำของเมือง เป็นสถานที่ที่มีความหมายในเชิงสังคมและผู้คน นิยามของสะพานในเชิงผังเมืองคือ “โครงสร้างที่ทอดยาวเพื่อเป็นทางสัญจรผ่านสิ่งกีดขวางเชิงภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำลำคลองหรือถนน” เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ตั้งแต่อดีตกาล หากเลือกได้ มนุษย์จะตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ เพื่ออรรถประโยชน์ในเชิงการคมนาคมขนส่ง การใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตรกรรม และการอุตสาหกรรม ดังนั้น สิ่งที่มีคู่กับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ทั่วโลกคือสะพานนั่นเอง สะพานจึงเป็นสาธารณูปโภคของเมืองที่ได้รับการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของเมือง เกณฑ์ในการพิจารณาสร้างสะพาน คือ ความมั่นคงแข็งแรงและความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจในการรองรับการสัญจรผ่าน ในยุคแรกสะพานสร้างไว้เพื่อรองรับการเดินเท้าของคน และได้วิวัฒน์ไปตามการพัฒนาของการสัญจรในเมือง (urban mobility) สู่รถม้า รถยนต์ และรถราง ในกาลต่อมา ความงามและความหมายเชิงสัญลักษณ์ได้กลายเป็นเกณฑ์ในการออกแบบสะพานในยุคหลังสงครามโลก อาทิ สะพานโกลเดนเกต (Golden Gate Bridge) ที่ได้รับการออกแบบด้วยวิสัยทัศน์ของตัวแทนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการก่อสร้าง หรือสะพานบรูคลิน (Brooklyn Bridge) ที่เชื่อมแมนฮัตตันกับบรูคลินซึ่งเป็นย่านการพัฒนาใหม่ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางวิศวกรรมแห่งศตวรรษที่ 19 นอกจากมิติในเชิงวิศวกรรมและการพัฒนาเมืองแล้ว สะพานยังมีความหมายในเชิงสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย […]

FOOD DELIVERY : รัก Food เท่าฟ้า

16/06/2020

ธุรกิจ Delivery ในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2532 โดยบริษัท ไมเนอร์ ฟู๊ด กรุ๊ป และหลังจากนั้นก็มีการเปิดตัวการให้บริการผ่านคอลเซ็นเตอร์และเว็บไซต์เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2540 และ 2550 ตามลำดับ โดยภาพจำในอดีตของการส่งสินค้าเดลิเวอรี่นั้นก็มักจะเป็นอาหารประเภทพิซซ่าหรือไก่ทอดเจ้าดังที่ปรากฏขึ้นบ่อยครั้งทางโฆษณาโทรทัศน์ แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมากขึ้น ทำให้ธุรกิจประเภท Delivery นี้สามารถเข้าถึงร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และไม่มีขีดจำกัดด้านขนาดของร้านค้าอีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะมีร้านขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือแม้แต่ไม่มีหน้าร้านสำหรับนั่งทานอาหาร คุณก็ยังคงสามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือของลูกค้าได้อยู่ตลอดเวลา ในช่วงของการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้คนส่วนใหญ่จำต้องทำงานแบบ work from home ร้านอาหารก็งดการนั่งรับประทานที่ร้าน และท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวของเดือนเมษายนทำให้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Food Delivery กลายมาเป็นทางเลือกที่สำคัญและอาจจะจำเป็นอย่างมากสำหรับใครหลาย ๆ คน  วันนี้เราจึงชวนคุณมาคุยกับ คุณธนกฤต, คุณวีระ, คุณอมรพล และคุณพิยดา กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับรถรับส่งอาหารในกรุงเทพมหานครกันว่า ในแต่ละวันที่ต้อง Work from everywhere นั้นการทำงานและวิถีชีวิตของแต่ละคนเป็นเปลี่ยนไปแค่ไหนและเป็นอย่างไรกันบ้าง (ในบทสัมภาษณ์นี้ทางผู้สัมภาษณ์ขออนุญาตใช้นามสมมติเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์) ทำ Food  Delivery มานานหรือยัง ? ธนกฤต : “เพิ่งเริ่มทำเมื่ออาทิตย์ที่แล้วครับ ปกติทำตัดต่อกับโปรดิวเซอร์ที่โปรดักชั่น เฮ้าส์ […]

ขนส่งสาธารณะขั้วตรงข้ามกับเว้นระยะห่าง : When Mass (Transit) Cannot Mass

21/05/2020

จะขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็กลัวการเว้นระยะห่าง จะขับรถไปทำงานก็ต้องเจอกับปัญหารถติด ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ช่างขัดแย้งกับมาตรการรักษาระยะห่างเหลือเกิน แล้วคนเมืองที่ต้องกลับไปทำงานจะทำอย่างไร  ระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีปัญหาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ความแน่นเบียดเสียดและไม่มีการระบุเวลาที่ชัดเจน การวางแผนการเดินทางเป็นไปได้ยากมากสำหรับคนเมือง วันนี้มาชวนคุยกับ รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์การเดินทางที่จะเปลี่ยนไปรวมถึงข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ของภาครัฐและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันแก้โจทย์ทางสังคมอีกข้อที่กำลังจะตามมา นั่นคือ “การเดินทาง” มาตรการที่ต้องใช้อย่างเคร่งครัดหลังเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์เมือง  ทุกคนที่ใช้ขนส่งมวลชนต้องใส่หน้ากากอนามัย ในกรณีสถานีรถไฟฟ้าควรมีการตั้งกล้องเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการเข้าแถวตรวจวัดทีละคน การกำหนดระดับความแออัดที่ระบบขนส่งและพาหนะแต่ละประเภทจะรองรับได้ มีการจัดทำระบบข้อมูลให้แก่คนที่จะเดินทางสามารถเช็คสถานการณ์ในแต่ละสถานี เช่น ความหนาแน่นของผู้ใช้งานในสถานีที่ตนจะขึ้นนั้นมากน้อยขนาดไหน มีตัวช่วยในการวางแผนการเดินทาง คำนวณเวลาหากมีการเลื่อนเวลาการเดินทาง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและวางแผนได้ด้วยตนเอง  เรื่องความแออัดควรมีมาตรการบางอย่างเพื่อดึงดูดให้คนเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ส่วนลดค่าโดยสารที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล ในเรื่องมาตรการเว้นที่นั่ง หรือ สลับที่นั่งเพื่อรักษาระยะห่างค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และยังไม่มีหลักฐานมารองรับว่าสามารถป้องกันโรคได้ มาตรการเว้นที่นั่งยังไม่เหมาะสมกับการเดินทางในเมืองเพราะเมืองมีคนจำนวนมากที่ต้องเดินทางพร้อมกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน  รถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ เช่นเดียวกันกับรถไฟฟ้า แต่เพิ่มเติมเรื่องระบบการเก็บเงินค่าโดยสารที่ยังคงมีการใช้เงินสดอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ปลอดภัย ถ้าหากเป็นไปได้ต้องเปลี่ยนไปใช้ E-payment ในการชำระค่าโดยสาร หรือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุด โดยในช่วงแรกอาจจะมีมาตรการดึงดูดให้คนเปลี่ยนมาใช้โดยการให้ส่วนลดค่าโดยสาร   มาตรการจากกระทรวงคมนาคมตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดฐานองค์ความรู้ที่ใช้ในการวางแผนหรือดำเนินงาน ในต่างประเทศหลายที่ก็ยังเป็นการลองผิดลองถูกเช่นเดียวกัน กระทรวงคมนาคมน่าจะรอการทำงานร่วมกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข สามารถมองเป็นโอกาสที่ภาครัฐ หน่วยงานฝ่ายต่างๆ จะสามารถมาทำงานร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม  จีนมีระบบการจองขึ้นรถไฟฟ้าแล้ว ระบบการจองก่อนใช้ขนส่งมวลชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ประเทศไทยสามารถลองนำมาใช้ได้ […]

1 2 3 4 5 7