Mobility



ทางเท้าสุขุมวิทเป็นอย่างไร: เสียงของผู้ใช้งานทางเท้าสุขุมวิท

13/03/2024

เมืองเดินได้ทำให้เศรษฐกิจดี? งานวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศได้กล่าวถึงประโยชน์ของการพัฒนาเมืองให้เป็น “เมืองเดินได้-เดินดี” โดยนอกจากประโยชน์ทางตรงอย่างการมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว เมืองที่เอื้อให้ผู้คนเดินเท้าในชีวิตประจำวันยังส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจรายย่อย จากการเพิ่มโอกาสในการแวะจับจ่ายใช้สอยของผู้คน ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่น้อยลง ถนนสุขุมวิท เป็นหนึ่งในถนนเศรษฐกิจสายหลักของประเทศไทย อย่างไรตาม ถึงแม้ว่าบริเวณแกนถนนสุขุมวิทจะเป็นที่ตั้งของแหล่งงาน ที่อยู่อาศัย และพื้นที่พาณิชยกรรม รวมถึงมีโครงการพัฒนาทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทางเดินเท้าริมถนนที่มีปริมาณการใช้งานต่อวันของผู้คนที่สูงนั้น ยังมีสภาพแวดล้อมที่่ไม่น่าเดินและไม่ส่งเสริมให้เกิดการเดิน หากถนนสุขุมวิทที่เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของคนเมือง และมีศักยภาพในการพัฒนา สามารถเดินได้และเดินดีตลอดทั้งเส้น จะเป็นอย่างไร  กรุงเทพมหานคร และคณะทำงานโครงการฯ จึงได้มีการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นต่อการเดินเท้าบริเวณถนนสุขุมวิทซอย 1 ถึงซอย 107 (นานา-แบริ่ง) ของประชาชนผู้ใช้งานพื้นที่ 893 คน เกี่ยวกับข้อมูลพฤติกรรมการเดินเท้าในพื้นที่ ปัญหาที่พบเจอ และความต้องการในการพัฒนา เพื่อร่วมกันเสนอแนวทางการพัฒนาให้ย่านของถนนสุขุมวิทน่าอยู่ และออกแบบทางเท้าให้เดินได้-เดินดี พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของย่านให้ดีมากยิ่งขึ้น ถนนสุขุมวิท พื้นที่ของกลุ่มคนที่หลากหลาย จากการสำรวจข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ใช้งานทางเท้าถนนสุขุมวิท พบว่า มีคนทุกเพศทุกวัยเข้าใช้งานพื้นที่ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 33-34 ปี ผู้ที่ให้ความคิดเห็นที่มีอายุมากที่สุดอยู่ที่ 75 ปี และน้อยที่สุดอายุ 13 ปี ส่วนมากเป็นกลุ่มวัยทำงาน อายุ 26 – […]

“หากราชวิถีจะมีสกายวอล์ค” ผลสำรวจความคิดเห็นต่อการเดินเท้าบริเวณถนนราชวิถีของประชาชนผู้ใช้งานพื้นที่

15/02/2024

“ทางเดินยกระดับ” หรือ “สกายวอล์ค (SKYWALK)” หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่จะช่วยให้เกิดการยกระดับศักยภาพการเดินเท้าในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่บริเวณที่มีข้อจำกัดทางพื้นที่ อาทิ พื้นที่แคบไม่สามารถขยายพื้นที่ทางเท้าได้ พื้นที่ทางเท้าขาดความต่อเนื่องจากการมีทางเข้า-ออกจำนวนมาก พื้นที่ที่มีปริมาณคนเดินเท้าหนาแน่น ฯลฯ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มศักยภาพการเชื่อมต่อการเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะและโครงข่ายการสัญจรระดับอาคาร ถนนราชวิถี เป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ควรมีการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาสกายวอล์ค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสู่การเป็นย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี-ราชวิถี ดังนั้น กรุงเทพมหานคร และคณะทำงานโครงการฯ จึงได้มีการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นต่อการเดินเท้าบริเวณถนนราชวิถี ตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงแยกตึกชัย ของประชาชนผู้ใช้งานพื้นที่กว่าหนึ่งพันคน เกี่ยวกับข้อมูลพฤติกรรมการเดินเท้าในพื้นที่ ปัญหาที่พบเจอ ความต้องการในการพัฒนา รวมถึงความคิดเห็นต่อการพัฒนาสกายวอล์คในพื้นที่ กว่า 82% เห็นด้วยต่อการพัฒนาสกายวอล์คบริเวณถนนราชวิถี จากการสำรวจความเห็นต่อการพัฒนาทางเดินยกระดับ มีผู้ให้ความเห็นทั้งสิ้น 1,236 คน พบว่า 82% “เห็นด้วย” กับการสร้างและพัฒนาให้บนถนนราชวิถีมีทางเดินยกระดับ โดยมีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมที่สนับสนุนความคิดที่เห็นด้วยอย่างหลากหลาย อาทิ การช่วยลดความเสี่ยงเวลาเดินข้ามถนน ความสะดวกสบายในการเดินทาง การมีโครงสร้างกันแดดกันฝน การช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับผู้คนที่เปราะบางในการเดินทาง เช่น คนตาบอด หรือ คนพิการ ลดการจราจรติดในตอนเช้า และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลที่มักจะต่อรถมาจากขนส่งสาธารณะ ผู้ที่ไม่แน่ใจ คิดเป็น 12% ที่ส่วนมากยังมองภาพไม่ออกว่าหากมีการพัฒนาทางเดินยกระดับในพื้นที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบเช่นไรบ้าง ส่วนหนึ่งมีความกังวลในช่วงเวลาการก่อสร้างหากมีการพัฒนาจริง […]

“6 ไอเดียจากประชาชน” ในการออกแบบทางเดินเท้าแบบมีหลังคาคลุม ในพื้นที่กรุงเทพฯ

15/02/2024

ในวันนี้ The Urbanis จะพาชาวเมืองทุกท่านดู 6 ไอเดียที่ได้รับรางวัล จากกิจกรรมประกวดไอเดียออกแบบทางเดินเท้าแบบมีหลังคาคลุม ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยสำนักการโยธา กทม. ร่วมกับ UDDC-CEUS สสส. และภาคีในเครือข่าย กิจกรรมในครั้งนี้เปิดรับสมัคร นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป สมาชิกไม่เกิน 3 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทการประกวด ประกอบด้วย ประเภท A นักเรียน นักศึกษาทุกสาขา (อายุไม่เกิน 25 ปี) และ ประเภท B บุคคลทั่วไป ในทุกสาขาวิชาชีพ จากผู้สมัครเข้ามากว่า 50 ทีมทั่วประเทศ สู่ 10 ทีมสุดท้าย โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในหลายศาสตร์สาขา ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง และภูมิศาสตร์ มาร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินผลงาน ประกอบด้วย – รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน– […]

6 เหตุผล ที่ทำไมราชวิถีควรมี SKYWALK

30/01/2024

ย่านโยธี-ราชวิถี เป็นพื้นที่ศักยภาพในการเป็นย่านนวัตกรรมการแพทย์ของเมือง จากการมีโรงพยาบาล สถาบัน และหน่วยงานการแพทย์ในย่านกว่า 12 หน่วยงาน พร้อมทั้งมีผู้เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก แต่กลับมีปัญหาเรื่องการสัญจร โดยเฉพาะเรื่องการเดินเท้า เนื่องด้วยทางเท้าที่ยังไม่ได้มาตราฐาน และไม่เอื้อต่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม แล้วทำไมแค่ปรับปรุงทางเท้าถึงไม่เพียงพอ? ทำไมย่านนี้จำเป็นต้องมีทางเดินยกระดับ? ในวันนี้ The Urbanis จะมาบอกทุกท่านถึงเหตุผล 6 ข้อ ที่ทำไมราชวิถีควรมี Skywalk 1. คนเดินเยอะ ทางเท้าแคบ แต่ไม่สามารถขยายเพิ่มได้ แม้ทางเท้าราชวิถีในบางช่วงจะมีความกว้าง 3-3.5 เมตร แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อผู้ใช้งานกว่า 120,000 คนต่อวัน สำคัญคือทางเท้าเส้นนี้ยังมีความกว้างที่ไม่สม่ำเสมอกัน โดยเฉพาะทางเท้าหน้าโรงพยาบาลพระมงกุฎ และมูลนิธิคนตาบอดที่มีความกว้างน้อยกว่า 1.5 เมตร ทั้งยังมีต้นไม้อยู่บนทางเท้าในหลายช่วง ถือเป็นอุปสรรคต่อการเดินเท้าของผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย และผู้พิการทางสายตา ทั้งนี้ทางเท้าราชวิถีกลับไม่สามารถขยายเพิ่มได้ เนื่องจากถนนราชวิถีเป็นหนึ่งในถนนของเมืองที่มีค่าดัชนีรถติดมากในแต่ละวัน ความสามารถในการรองรับปริมาณรถของถนนเส้นนี้จึงถึงขีดจำกัด การขยายทางเท้าจะทำให้พื้นที่ถนนลดลงจนส่งผลให้มีรถติดมากขึ้น Skywalk จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินเท้าที่ส่งผลกระทบต่อพื้นผิวถนนราชวิถีน้อยที่สุด 2. รองรับผู้ใช้งานที่จะเข้ามาในย่านมากขึ้น จากโครงการพัฒนาในอนาคต จากข้อมูลของหน่วยงานในพื้นที่ ถนนราชวิถีมีจํานวนผู้ใช้งานริม 2 ฝั่งถนน ประมาณ […]

5 จุดโปรดระวัง!!! ข้างหน้าเกิดอุบัติเหตุบ่อย

26/06/2023

กรุงเทพฯ เมืองที่ครองแชมป์ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในไทย จากบทความกรุงเทพฯ เมือง(อุบัติเหตุ) 15 นาที มีการกล่าวถึงการเดินทางที่เพิ่มขึ้น 40 ล้านเที่ยวคนต่อวัน และมีการใช้ยานพาหนะที่สูงขึ้น เนื่องจากแหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่เฉพาะใจกลางเมือง ทำให้คนจำเป็นต้องเดินทางเข้า-ออกเมืองเป็นประจำทุกวัน ซึ่งหากเมืองไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อย่างจริงจัง แน่นอนว่าในอนาคตผู้คนต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความสูญเสียที่มากขึ้นและถี่ขึ้น ที่มา https://share.traffy.in.th/teamchadchart ยิ่งขับขี่เร็ว การมองเห็นแคบลง ความสูญเสียยิ่งเพิ่มขึ้น นอกจากอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว อุบัติเหตุทางเท้าก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจไม่แพ้กัน ปัจจุบันจึงได้มีการคิดค้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนในเมืองมากขึ้น เช่น Traffy Fondue แพลตฟอร์มรับแจ้งปัญหาของเมือง ที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นของเมือง ตลอดจนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น จากข้อมูลของ Traffy Fondue แสดงให้เห็นว่าประเด็นที่ได้รับแจ้งและได้รับความสนใจจากประชาชนมากเป็นอันดับต้น ๆ คือ “อุบัติเหตุบนทางเท้า” เนื่องจากทางเท้าชำรุด การมีสิ่งกีดขวางบนทางเท้าทำให้คนจำเป็นต้องเดินลงบนถนน การขับรถจักรยานยนต์บนทางเท้า และแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลพื้นที่ 5 จุดเสี่ยงเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดจากในกรุงเทพฯ ปี 2563-2565 โดย Thai RSC ที่มา https://mapdemo.longdo.com/bkk-accidents-clusters 5 จุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในกรุงเทพฯ 1) ถนนเพชรเกษม […]

จริงหรือ? ถ้าเมืองมีทางเท้าที่ดี เราจะมีเงินเก็บ

26/06/2023

กรุงเทพดุจเทพสร้างของเราในปัจจุบันกินเวลาและเงินเราไปเยอะขนาดไหน? หลายคนในกรุงเทพอาศัยอยู่ในย่านใจกลางเมืองที่ถึงแม้จะมีระบบขนส่งสาธารณะอย่าง BTS, MRT, รถเมล์ และอื่นๆอีกมากมาย แต่ยังคงเลือกที่จะใช้รถยนต์ส่วนตัว และเสียเวลาเดินทางเฉลี่ยถึงวันละ 2 ชั่วโมง พร้อมกับจ่ายค่าน้ำมันที่แพงขึ้นทุกวัน แล้วอะไรที่ทำให้คนเหล่านี้เลือกที่จะไม่ใช้การเดินหรือระบบขนส่งสาธารณะ? ที่มาภาพ: TomTom — Mapping and Location Technologytomtom.comhttps://www.tomtom.com เคยคิดเล่นๆไหม ว่าวันนึงเราเสีย “เงินและเวลา” ไปกับการเดินทางเท่าไหร่? นางสาวบีเป็นพนักงานออฟฟิศที่กำลังตัดสินในซื้อรถเป็นของตัวเอง บ้านบีห่างจากที่ทำงาน 5 กิโลเมตร บ้านบีอยู่ฝั่งธน ส่วนที่ทำงานบีอยู่ที่สามย่าน ทุกวันในการเดินทางบีที่อยู่ในซอยลึกจะต้องเรียกวินมอเตอไซค์เพื่อไปหน้าปากซอยเพื่อไปลงที่ BTS ที่มีฝูงชนมหาศาล ซึ่งบีก็ต้องรออีก 10 นาที ถึงจะได้ขึ้นขบวนเพื่อไปลงศาลาแดงแต่ที่ทำงานของบีอยู่ห่างออกไปไกลจากสถานี บีจึงต้องลงมาต่อวินอีกครั้งกว่าจะถึงที่ทำงาน บีที่ตัดสินใจจะซื้อรถจึงได้ทำบัญชีรายจ่ายในการเดินทางต่อเดินเทียบกับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยเริ่มจากการใช้ขนส่งสาธารณะ ผลลัพธ์ที่น่าตกใจคือเมื่อรวมการเดินทางทั้งหมดในระยะเวลา 1 เดือน บีจะต้องเสียค่าใช้จ่ายแค่กับการเดินทางถึงเดือนละ 3,960 บาท ซึ่งถ้าบีเป็นพนักงานเงินเดือนธรรมดาที่มีเงินเดือน 17,000 บาทต่อเดือน แค่ค่าเดินทางนี้จะทำให้เงินเดือนบีหายไปถึง 23% แล้วถ้าบี ตัดสินใจซื้อรถยนต์ 1 คัน ราคาประมาณ […]

มองเมืองจากทางเดินเท้า: กรุงเทพฯ เมืองวุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ

26/06/2023

หากกล่าวถึงกรุงเทพมหานคร เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้คนส่วนใหญ่คงนึกถึงมหานครที่มีกิจกรรมอันหลากหลาย ทว่าคับคั่งไปด้วยความแออัดของผู้คน แม้จะมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะครอบคลุมในหลายพื้นที่ของเมือง แต่ก็มีปัญหาการจราจรที่ติดขัดจากการใช้พาหนะส่วนตัว จนก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศเช่นปัจจุบัน ในอีกแง่มุมหนึ่งกรุงเทพมหานครกลับเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการเดินเท้าด้วยองค์ประกอบและสาธารณูปโภค-สาธารณูปการต่าง ๆ ภายในเมือง เช่น การกระจุกตัวของสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมถึงร้านค้ารายทาง การมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่เข้าถึงได้ การที่มีไฟส่องสว่างที่สร้างความรู้สึกปลอดภัยในช่วงเวลากลางคืน หรือการมีต้นไม้คอยให้ร่มเงาตลอดทางเดินในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย ผู้คนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครไม่นิยมที่จะสัญจรด้วยการเดินเท้า สืบเนื่องจากหลายปัจจัย อาทิสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองที่ไม่เอื้อต่อการเดินทาง เช่น ความปลอดภัยบนทางเท้า สภาพทางเท้าที่ชำรุดทรุดโทรม ทางเท้าที่แคบเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง-หาบเร่แผงลอยที่ไม่เป็นระเบียบ หรือกระทั่งผิวทางที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ทาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้พิการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงลักษณะทางเท้าที่เหมาะสมควรมีลักษณะอย่างไร? ทำไมเราจึงให้นิยามทางเท้าของกรุงเทพฯ ว่า “วุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ” เพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงสภาพปัญหาของทางเท้า กรณีศึกษาในต่างประเทศ และแนวทางแก้ไขปัญหา ให้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเมืองที่ดีได้ในอนาคต กรุงเทพฯ เมืองวุ่นวาย ซับซ้อน และไม่สำคัญ หากนิยามทางเดินเท้ากรุงเทพฯ ด้วย 3 คำสั้นๆ คงหนีไม่พ้นคำว่า “วุ่นวาย ซับซ้อน ไม่สำคัญ” “วุ่นวาย” สภาพปัญหาบนทางเท้าในกรุงเทพมหานครมีความวุ่นวาย จากการที่ กรุงเทพฯ […]

ปฏิวัติจักรยานปารีส

12/06/2023

หลังจากที่ดูสารคดีของนักผังเมืองชาวเนเธอร์แลนด์ที่มาลองปั่นจักรยานบนเลนจักรยานที่วางใหม่เกือบทั้งเมืองของปารีส ก็เห็นว่าเขาทึ่งมาก โดยกล่าวว่า “อัมสเตอร์ดัมใช้เวลากล่า 2 ทศวรรษในการเปลี่ยนเป็นเมืองจักรยาน แต่ปารีสใช้เวลาเพียง 3 ปี แม้ระบบและรายละเอียดทางเทคนิค เช่น ระบบสัญญาณ ทางข้าม และรอยต่อยังไม่เนี้ยบเหมือนอัมสเตอร์ดัม แต่ต้องบอกว่าน่าทึ่ง” ไม่ใช่แค่นักผังเมืองผู้ผลิตสารคดี แต่ผู้เขียนเองก็ทึ่ง เพราะไม่คิดว่าปารีสจะทำและทำได้เร็วขนาดนี้แอนน์ ไฮดาลโก (Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีกรุงปารีส ที่ชนะเลือกตั้งสมัยที่สองด้วยการสนับสนุนของพรรคการเมืองสีเขียว (Green Party) ที่เน้นนโยบายเมืองจักรยานและพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในนโยบายหลัก นโยบายนี้มีกรอบลงทุน 180 ล้านยูโรหรือ 6,000 พันกว่าล้านบาท เพื่อวางโครงข่ายจักรยานใหม่ทั้งเมือง เป็นทั้งเลนแยกและรูปแบบต่างๆ (เช่น ร่วมกับทางเท้า) และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ที่จอด ทางข้าม และสัญญาณไฟ โดยตั้งเป้าว่าปีค.ศ. 2026 จะมีเลนจักรยานในเมืองยาวรวม 180 กิโลเมตร หรือระยะทางประมาณกรุงเทพฯ-ระยอง แน่นอนว่าจะให้ปั่นสะดวก ก็ต้องมีการปรับขนาดช่องทางจราจรใหม่ ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การลดขนาดถนน หรือ “street diet” การปรับทิศทางการจราจรเป็นแบบวิ่งทางเดียว […]

พระโขนง-บางนา สมรภูมิการสัญจร

22/06/2022

หลายคนคงเคยหรือยังประสบกับปัญหาการเดินทางในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน ทั้งการจราจรติดขัด ระบบขนส่งมวลชนที่มีจำกัดและล่าช้า ฯลฯ ซึ่งหากคำนวณแล้ว คนกรุงเทพฯ ต้องเสียโอกาสทางเวลาจากการจราจรที่ติดขัด บนท้องถนน จากการสำรวจของ Uber และ Boston Consulting Group (BCG) พ.ศ. 2561 พบว่า คนกรุงเทพฯ ใช้เวลาอยู่บนท้องถนนนานถึง 96 นาทีต่อวัน หรือ 584 ชั่วโมงต่อปี หรือคิดเป็น 24 วันต่อปี ย่านพระโขนง – บางนา อีกหนึ่งพื้นที่ในสมรภูมิการสัญจรของมหานครกรุงเทพ ที่มีปริมาณการสัญจรคับคั่ง มีปริมาณรถยนต์ที่สัญจรผ่านถึง 7 แสนคันต่อวัน และจากการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ยังพบว่า ปัญหาที่ถูกพูดถึงเป็นอันดับต้น ๆ ประการหนึ่งของชาวย่านคือ “รถติด” โดยเฉพาะบริเวณทางแยกเชื่อมต่อทางด่วน ซอยหลักและพื้นที่โรงเรียน ซึ่งเป็นผลจากสาเหตุสองส่วนสำคัญ คือ สัณฐานเมืองในลักษณะก้างปลา และข้อจำกัดของระบบขนส่งมวลชนรองในย่านที่จะรับส่งผู้โดยสารจากขนส่งมวลหลักชนเข้า-ออกพื้นที่ย่าน ย่านซอยลึกและตันติด 1 ใน 10 อันดับของกรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วนถนนที่เป็นซอยตันกว่า 50% […]

เมื่อการออกจากบ้านไปทำงาน คือการเดินทางไกล

22/03/2022

“บ้านอยู่ฝั่งธนฯ แต่ทำงานอยู่รัชดา” หรือ “บ้านอยู่บางนา แต่ทำงานอยู่สาทร” หลายๆ คน คงได้ยินประโยคบอกเล่าในลักษณะแบบนี้ผ่านๆ หูกันมาบ้าง จากพนักงานออฟฟิศหรือพนักงานประจำตามบริษัท ห้างร้านต่างๆ หลายคนต้องออกจากบ้านตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นพ้นขอบฟ้า เพื่อเดินทางมุ่งหน้าเข้าสู่ตัวเมือง ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเศรษฐกิจและแหล่งงาน ด้วยระยะทางที่ไกลและต้องสู้รบแย่งชิงพื้นที่บนท้องถนนกับคนหมู่มาก เพื่อจะได้ไปถึงที่ทำงานได้ทันเวลา สำหรับบทความ บ้าน ที่ทำงานและการเดินทาง จะบอกกล่าวเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางระหว่างบ้านและที่ทำงาน แท้จริงแล้วแหล่งงานบีบบังคับให้เราต้องเดินทางไกล หรือเพียงเพราะเราไม่สามารถอยู่ใกล้แหล่งงานได้ เพราะการออกจากบ้านคือการเดินทางไกล กรุงเทพมหานคร เมืองที่ผู้คนเลือกที่จะซื้อรถก่อนซื้อบ้าน ซึ่งต่างจากเมืองอื่นๆ ที่ผู้คนมักจะซื้อบ้านก่อนซื้อรถ จากสถิติกรมการขนส่งพบว่า ตลอดระยะเวลา 8 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครมีจำนวนการจดทะเบียนรถยนต์มากถึง 10 ล้านคันในปี 2562 หรือคิดเป็นร้อยละ 63 จากปี 2554 นอกจากนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมการเดินทาง ในปี 2561 ของ Uber พบว่าคนกรุงเทพเสียเวลาไปกับรถติดบนท้องถนนและวนหาที่จอดรถเฉลี่ยวันละ 96 นาที โดยเสียเวลาไปกับรถติดประมาณ 72 นาที และวนหาที่จอดรถอีก 24 นาที หรือหากเทียบใน […]

1 2 3 7