17/11/2021
Environment

Biodivers(C)ity เมืองมีส่วนส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร

ณิชากร เรียงรุ่งโรจน์
 


รายงานการประเมินทั่วโลก (Global Assessment Report) ปี 2019 ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และนิเวศบริการ (Ecosystem Services) สัตว์และพืชประมาณ 1 ล้านสายพันธุ์กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ รายงานนี้พบว่าระบบนิเวศที่เราพึ่งพาอาศัยอยู่นั้นเสื่อมลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เคย ส่งผลกระทบต่อรากฐานทางเศรษฐกิจ การดำรงชีวิต ความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ และคุณภาพชีวิตในระดับโลก แล้วความหลากหลายทางชีวภาพนั้นส่งผลดีต่อเราอย่างไรบ้าง แล้วการออกแบบและวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง ที่จะทำให้เมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น

ความเป็นเมืองส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร?

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยมลพิษสู่อากาศและแหล่งน้ำ ฯลฯ และหลายๆ สาเหตุนั้นเกิดขึ้นใน กระบวนการความเป็นเมือง ที่เรามักคุ้นเคยกับการออกแบบเมืองของเราด้วยถนนลาดยางและอาคารขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันต่อผลกระทบต่อความยืดหยุ่น (resilient) ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

การกำจัดต้นไม้และพืชพรรณต่างๆ และการใช้วัสดุกันซึมในเขตเมืองทำให้การทำงานของระบบนิเวศตามปกติบกพร่อง เช่น การหมุนเวียนของคาร์บอน น้ำ และสารอาหารที่สำคัญ การขาดพืชพรรณทำให้เราต้องเผชิญกับมลพิษ คลื่นความร้อน โรคที่เกิดจากพาหะนำโรค (vector-borne diseases) และผลกระทบด้านลบอื่นๆ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

นอกจากนี้ยังส่งผลการมีสุขภาพทางกายและจิตใจของผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองอีกด้วย สภาพแวดล้อมในเมืองอาจมีเสียงดังและคุณภาพอากาศต่ำ จากการจราจรหนาแน่นและประชากรหนาแน่น การมีนิเวศบริการและธรรมชาติในบริเวณใกล้เคียงที่มีการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจได้

ถ้าเมืองเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ

หากเมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และนิเวศบริการ (Ecosystem Services) หรือ ผลประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากระบบนิเวศ เช่นทรัพยากรป่าไม้ น้ำ อาหาร ความสามารถในการควบคุมสภาพภูมิอากาศและป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น การป้องกันการกัดเซาะของดิน การรองรับมลพิษ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

1.ส่งเสริมด้านสุขภาวะและความยืดหยุ่น (providing health and resilience)

นิเวศบริการเป็นประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากระบบนิเวศทางธรรมชาติที่สนับสนุนโดยความหลากหลายทางชีวภาพ นิเวศบริการแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก:

  • การจัดหา (Provisioning) – การจัดหาอาหาร อากาศบริสุทธิ์ น้ำ และวัสดุ
  • การควบคุม (Regulating) – การควบคุมน้ำและสภาพอากาศ (water and climate regulation การหมุนเวียนของสารอาหาร (nutrient cycling) การผสมเกสร (pollination) หรือการก่อตัวของดินที่อุดมสมบูรณ์ (the formation of fertile soils)
  • การสนับสนุน (Supporting) – การก่อตัวของดิน (soil formation) การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)
  • วัฒนธรรม (Cultural) – นันทนาการ

2. ประโยชน์จากต้นไม้และพืชพันธุ์ (how trees and vegetation help)

ต้นไม้และพืชพันธุ์ในเมืองมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนสุขภาพของมนุษย์และความเป็นอยู่ที่ดีตลอดจนในการบรรเทาและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2.1 ประโยชน์จากต้นไม้และพืชพันธุ์บนดิน (Trees and vegetation – above ground)

  • ป่าไม้กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศประมาณ 430 ล้านตันและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก 13% ของยุโรป
  • ต้นไม้ที่จัดวางอย่างเหมาะสมรอบๆ อาคารสามารถลดการใช้เครื่องปรับอากาศได้ถึง 30% และประหยัดพลังงานที่ใช้สำหรับทำความร้อนได้ 20–50%
  • ต้นไม้และพืชพรรณช่วยลดการไหลบ่าของน้ำฝน (stormwater) โดยการดักจับและกักเก็บปริมาณน้ำฝนไว้และปล่อยน้ำสู่ชั้นบรรยากาศผ่านการคายระเหย (evapotranspiration)

2.2 ประโยชน์จากต้นไม้และพืชพันธุ์ใต้ดิน (Trees and vegetation – below ground)

  • หนึ่งในสามของชีวมวล (biomass) ของต้นไม้อยู่ในรากใต้พื้นดิน
  • คาร์บอนถูกเก็บไว้ในดิน: คาร์บอนประมาณ 75 พันล้านตันในสหภาพยุโรปอยู่ในดิน ในรูปของวัสดุจากพืชและสัตว์อยู่ในระยะต่างๆ ของการสลายตัว
  • ดินมีศักยภาพในการหักล้าง 5–15% ของการปล่อยมลพิษทั่วโลก

2.3 ประโยชน์จากต้นไม้ พืชพันธุ์ และความหลากหลายทางชีวภาพ (Trees, vegetation and biodiversity)

  • สวนสาธารณะและป่าในเมือง (urban forests) ช่วยรักษาและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองต่างๆ
  • ความหลากหลายของพันธุ์ไม้และการมีอยู่ของไม้ที่ตายแล้วเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับพืชและสัตว์หลากหลายชนิด
  • มีต้นไม้พื้นเมือง 454 สายพันธุ์ในยุโรป ซึ่งมากกว่า 58% มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป และ 42% ของสายพันธุ์เหล่านี้กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ 
  • เกือบหนึ่งในห้า (18%) ของสายพันธุ์ด้วง dead wood beetle ในยุโรปมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เนื่องจากการลดลงอย่างต่อเนื่องของต้นไม้แก่ขนาดใหญ่ทั่วยุโรป

2.4 ประโยชน์จากต้นไม้และธรรมชาติต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต (Trees and nature – health and well-being)

  • การใช้เวลาใกล้ต้นไม้และธรรมชาติทำให้สุขภาพกายและใจดีขึ้น จากการเพิ่มระดับพลังงานและความเร็วในการฟื้นตัว ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดความดันโลหิตและความเครียด
  • ต้นไม้ใบที่โตเต็มที่จะผลิตออกซิเจนได้มากในหนึ่งฤดูกาลเท่ากับที่คนหายใจเข้า 10 คนในหนึ่งปี A mature leafy tree produces as much oxygen in a season as 10 people inhale in a year
  • ต้นสนมีประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคขนาดเล็กจากอากาศมากกว่าต้นไม้ผลัดใบ
  • กลยุทธ์การวางตำแหน่งของต้นไม้ในเขตเมืองสามารถทำให้อากาศเย็นลงได้ 2-8°C ซึ่งลดผลกระทบจากเกาะความร้อนในเมืองได้ 

3. ด้านสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ

3.1 ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย Vital body – benefits for physical health

การสัมผัสกับจุลินทรีย์ในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกจะเป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์และสามารถป้องกันเราจากโรคต่างๆ เช่น โรคหอบหืดและภาวะภูมิแพ้ (atopy) (มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคภูมิแพ้) ความหลากหลายทางชีวภาพยังมีบทบาทในการปรับและควบคุมโรคติดเชื้อ (infectious diseases) และเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับการวิจัยทางการแพทย์ ทั้งในด้านการแพทย์แผนโบราณและการแพทย์แผนปัจจุบัน

3.2 ประโยชน์ต่อสุขภาพจิต Balanced mind – benefits for mental health

มีหลักฐานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเวลาที่เราอยู่กับธรรมชาติช่วยเพิ่มความผาสุกทางจิตและลดผลกระทบของความเครียด ไม่ว่าจะเป็น ทำให้สุขภาพจิตทั่วไปดีขึ้น ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออารมณ์และพฤติกรรม ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการทำงานขั้นสูงของสมอง (cognitive function)

เพิ่มความสามารถในการทำงานที่ท้าทายจิตใจ (Increased ability to perform mentally challenging tasks) มีความเครียดน้อยลง และส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

สร้างเมืองให้ความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร

Tarja Ojala นักนิเวศวิทยาและวิศวกรป่าไม้ชาวฟินแลนด์ กล่าวว่า การเชื่อมโยงการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน สถาปัตยกรรมและอาคารเข้าด้วยกัน เพื่อค้นหาศักยภาพสูงสุดในการเพิ่มนิเวศบริการในโครงสร้างเมือง จะช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและความเป็นอยู่ที่ดีได้

กระบวนการเป็นเมือง (Urbanisation) เป็นหนึ่งในความท้าทายอันยิ่งใหญ่ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะทำให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้การตั้งถิ่นฐานของเมืองยังกระจุกตัวอยู่ในจุดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น บริเวณชายฝั่ง สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ แม่น้ำ ฯลฯ ที่มีแนวโน้มทำให้สภาพแวดล้อมดังกล่าวถูกคุกคามมากขึ้น นอกจากนี้ สัตว์ที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตอาหารของโลกอย่าง ผึ้ง ก็มีแนวโน้มลดลงหรือเสี่ยงจะสูญพันธุ์ ไปพร้อมกับสิ่งมีชีวิตกว่า 1,700 สายพันธุ์ในยุโรป ขณะที่ 36 สปีชีส์ได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี 2558

ดังนั้น การออกแบบและวางแผนเมืองที่ดีจึงเป็นวิธีการช่วยให้เมืองมีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้นและยังคงรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดีได้ ด้วยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบให้มนุษย์เกิดการปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติมากขึ้น

หากเมืองมีโครงสร้างพื้นฐานที่บูรณาการร่วมกับระบบ บริการ และทรัพยากรของธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น มีพื้นผิวที่ซึมผ่านได้ มีหลังคาของต้นไม้ (tree canopies) และพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมการไหลของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าโครงสร้างที่ประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับธรรมชาติจะทำให้มีความความยืดหยุ่น (resilience) มากขึ้น 

นักวางผังเมืองควรรวมความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในท้องถิ่นและพื้นเมือง ซึ่งเป็นองค์ประกอบทางธรรมชาติที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ไม้พุ่มและพืชพรรณอื่นๆ แหล่งน้ำ สวนสาธารณะและสวน พืชพรรณเหล่านี้จะช่วยเป็นสถานที่ทำรังและที่พักสำหรับสัตว์ บัพเฟอร์กันเสียง (buffers noise) ให้ร่มเงา ลดผลกระทบของเกาะความร้อน ดักจับอนุภาคและสารมลพิษในอากาศอื่น ๆ ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์และบรรเทาภาวะโลกร้อน สวนสาธารณะและพื้นที่ธรรมชาติอื่นๆ สามารถกรองน้ำบาดาลและลดการไหลบ่าของ Stormwater และสนับสนุนความปลอดภัยสาธารณะ เมื่อนักวางผังเมืองสามารถเลือกมาตรการที่สนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเมือง สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองด้วย

Anni Sinnemäki รองนายกเทศมนตรีเมืองเฮลซิงกิ กล่าวว่า พลเมืองต้องการความหลากหลายของสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสีเขียว (built green environment) และเราผู้นำเมืองเฮลซิงกิต้องให้ความสนใจกับสภาพแวดล้อมแบบองค์รวม: มีทุ่งหญ้าตามธรรมชาติ (meadows) มากกว่าแทนที่จะเป็นสนามหญ้าที่เป็นเนื้อเดียวกัน (homogenous grass fields) มีหลังคาสีเขียว (green roof) สำหรับให้แมลงมาผสมเกสร ในสวนสาธารณะมีความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายของสายพันธุ์ที่มากขึ้น โครงสร้างในเมืองและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (built environment) นั้นมีส่วนสำคัญมากในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

แล้วคนทั่วไปสามารถทำอะไรได้บ้าง

มนุษย์สามารถสร้างถิ่นที่อยู่อาศัยที่ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์และพันธุ์พืชได้ วิธีหนึ่งที่ช่วยในการช่วยให้ความหลากหลายทางชีวภาพเจริญเติบโตในเมืองใหญ่ คือ การทำให้พื้นที่สวนหลังบ้านหรือสวนของชุมชนให้ตอบสนองความต้องการของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัย ตลอดจนสร้างมาตรการป้องกันการรุกรานพืชและสัตว์ พร้อมกับปลูกพืชให้เป็นแหล่งอาหาร กักเก็บคาร์บอน เป็นที่ผสมเกสรของฝูงผึ้ง ผีเสื้อ และแมลงผสมเกสรอื่นๆ อาทิ ยังมีอีกหลายแนวทางที่เมืองหลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญ อาทิ ทำหลังคาและผนังสีเขียว (green roofs and walls) รังผึ้งในเมือง (urban beehives) และพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetlands) สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการเลียนแบบระบบนิเวศในภูมิทัศน์เมืองทั้งสิ้น

แหล่งข้อมูล

Building in biodiversity For climate, for health

TISS: การทบทวนบริการของระบบนิเวศ (Ecosystem Service Review: ESR)

มูลนิธิโลกสีเขียว: ศัพท์สิ่งแวดล้อม

ภาพปก City photo created by tawatchai07 – www.freepik.com


Contributor