Economy



Redesigning the Covid-19 city : 8 แนวโน้มที่เป็นไปได้

19/05/2020

การระบาดของ Covid-19 ทำให้หลายเมืองที่มีสีสันพลันเงียบเหงาลง วิกฤตครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเป็นทั้งด่านหน้าและด่านสุดท้ายของการควบคุมโรคระบาดทั้งในระดับประเทศและระดับโลก Covid-19 ส่งผลร้ายแรงต่อบางเมืองมากกว่าเมืองอื่นและสร้างรอยร้าวขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเหลื่อมล้ำของรายได้ เพศสภาพ ชาติพันธุ์และโอกาสในชีวิต มาตรการรับมือต่างๆที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีกหลายช่วงรุ่น บางเมืองจะกลับมารุ่งเรืองและมีประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่บางเมืองจะค่อยๆ โรยราและเหี่ยวเฉาลงไป ความรุนแรงของวิกฤตในครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากวิธีการบริหารจัดการ ในโคเปนเฮเกน โซล หรือไทเป ภาครัฐเป็นผู้นำ ขณะที่ภาคประชาสังคมให้ความร่วมมือจึงสามารถจำกัดการแพร่ระบาดลงได้ Covid-19 ทำให้เราย้อนกลับไปคิดและตั้งคำถามกับสัญญาประชาคมที่แตกต่างกันในประเทศที่ยากจนและร่ำรวยเลยทีเดียว ในอนาคตเมื่อเมืองทุกเมืองผ่อนคลายและยุติมาตรการ Lockdown จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจขนาดเรียกได้ว่าเป็นการทดลองครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แรงงานทั่วโลกกว่า 81% ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว คนส่วนมากมีภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายแต่ไม่สามารถจ่ายได้ กระนั้น สถานการณ์เพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในระยะอันใกล้อาจมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ จนกว่าจะคิดค้นวัคซีนหรือมีวิธีการจัดการไวรัสที่ชะงัดกว่านี้ เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเมืองไม่สามารถ Lockdown ได้ตลอดไป ในระยะสั้น หน้ากากอนามัย ชุดตรวจโรค การติดตามผู้ติดเชื้อ (Digital contact tracing) และมาตรการ Social Distancing ควรทำอย่างต่อเนื่อง แต่ละมาตรการแปรเปลี่ยนไปตามความรุนแรงและขอบเขตการแพร่กระจายของแต่ละเมือง ยกตัวอย่างเช่น ในจีนใช้โทรศัพท์มือถือติดตามผู้ติดเชื้อโดยในแต่ละระดับความเสี่ยงมีสี (Color-coded) แตกต่างกันประกอบป้องกันไม่ให้ชาวบ้านจากหมู่บ้านนอกเมืองเดินทางเข้าเมือง เป็นต้น เมืองในยุโรปหลายเมืองเริ่มคิดที่จะผ่อนปรนมาตรการ Social […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: ฟื้นเมืองท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกภูมิคุ้มกันเชิงพื้นที่ เสริมระดับการบริการ และสร้างความเชื่อถือระยะยาว

14/05/2020

เศรษฐกิจโลก การท่องเที่ยว และวิกฤตการณ์โควิด ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภาพรวมในด้านต่างๆ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวนั้น คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของ GPD โลก ได้สร้างงานให้กับคน 1 ใน 10 หรือคิดเป็น 330 ล้านคนทั่วโลก (WTTC, 2020) โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจต่ำ จะมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องมีการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง แค่เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวก็สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างงานให้กับกลุ่มผู้หญิง เยาวชน และคนชายขอบ ประกอบกับนโยบายการลดกำแพงวีซ่า ค่าเดินทางที่ลดลง และค่าครองชีพที่ต่ำ ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา การป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากที่สุด โดยได้นำเอานโยบายและมาตรการป้องกันต่างๆ มาบังคับใช้ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง การระงับสายการบินและโรงแรม เพื่อลดพลวัตการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่แปรผันตรงกับการกระจายเชื้อ เนื่องจากเชื้อโควิดเป็นเชื้อที่ติดจากคนสู่คนผ่านสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าการชะงักตัวเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่แปรผันตรงกับเรื่องของการเดินทางและความไว้วางใจอย่างมาก  ย่อมเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และที่สำคัญวิกฤตินี้ ได้สะท้อนจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งระบบ แนวทางหลักของการฝ่าวิกฤตโควิดของการท่องเที่ยวไทย สำหรับประเทศไทยที่เรียกได้ว่า เป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism […]

Shannon: การสร้างเมืองด้วย Airport Duty-Free แห่งแรกของโลก

11/05/2020

การเดินทางไปต่างประเทศของหลายๆ คน มักแวะซื้อของที่ Duty-Free Shops หรือ ร้านค้าปลอดภาษีในสนามบิน จนทำให้ผู้รับสัมปทานร้านค้าปลอดภาษีในสนามบินกลายเป็นมหาเศรษฐีในระดับโลก และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ให้สิทธิการงดเว้นภาษีบางอย่าง เพื่อจูงใจนักลงทุนกลายเป็นโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจยอดฮิต เราขอพาย้อนกลับไปสู่การเกิดขึ้นของเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีร้านค้าปลอดภาษีและพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมในเขตสนามบินแห่งแรกของโลก  สภาพเศรษฐกิจการเมืองไอร์แลนด์หลังประกาศอิสรภาพ หลังจากที่ไอร์แลนด์ได้ประกาศอิสรภาพแยกตัวจากสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1922 เศรษฐกิจการเมืองโลกก็เข้าสู่การถดถอย สายพานการผลิตหยุดชะงัก แรงงานถูกเลิกจ้าง สินค้าที่ผลิตก็ขายไม่ได้   การว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกกระทบถึงไอร์แลนด์อย่างมาก รัฐบาลพยายามหารายได้เพื่อนำงบประมาณมากระตุ้นการจ้างงานอย่างเร่งด่วน เพราะเกรงว่าชาวไอร์แลนด์จะอพยพไปตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาจนเป็นกระแสทิ้งประเทศ  แต่ก็ดูเหมือนนโยบายการกระตุ้นการจ้างงานของรัฐบาลไม่ได้ผล จึงเป็นโอกาสให้กลุ่มทุนเข้ามามีบทบาทการพัฒนาเศรษฐกิจโดยตรงมากขึ้น ในการผลักดันโครงการที่หลุดไปจากกรอบคิดเดิมๆ จาก Seaplane สู่ Airport  ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การเดินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมักใช้ Seaplanes หรือ เครื่องบินแบบสะเทินน้ำสะเทินบก บินจากฝั่งอเมริกาลงแวะจอดเติมน้ำมันที่ชายฝั่งตะวันตกของไอร์แลนด์ จึงจะเดินทางต่อไปยังเกาะอังกฤษหรือยุโรปภาคพื้นทวีปได้  ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการบินที่ต้องการสร้างเครื่องบินขนาดใหญ่ สามารถบรรทุกผู้โดยสารและสิ่งของได้มากกว่าเดิม ทำให้ต้องการ Runway ที่รองรับน้ำหนักเครื่องบินขนาดใหญ่และได้มาตรฐานองค์กรการบินพลเรือน (ICAO)  รัฐบาลไอร์แลนด์ได้อนุมัติงบก่อสร้าง Shannon Airport จนแล้วเสร็จในปี 1942 แน่นอนว่าสนามบินไม่ได้เป็นเพียงที่แวะจอดเครื่องบินอีกต่อไป เพราะตระกูล O’Regan ได้รับเหมาจัดทำห้องอาหารสำหรับรับรองผู้โดยสารและลูกเรือจนเป็นที่กล่าวขานถึงการบริการชั้นเยี่ยม อาหารรสเลิศ จนทำให้สนามบินชันเนนเป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินทาง Brendan O’Regan เจ้าพ่อร้านค้าปลอดภาษี […]

Marketplace is coming (back) to town โอกาสของธุรกิจรายย่อย ตู้กับข้าวของชาวเมือง

27/04/2020

ใครจะนึกว่าวันนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ ได้พลิกวิกฤติของผู้เล่นรายย่อยในละแวกบ้าน สู่โอกาสในการทำมาหากิน จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนเมืองที่หันกลับมาพึ่งพาการจับจ่ายใช้สอยในละแวกมากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยจากแผงลอยหน้าหมู่บ้าน ตลาดสดท้ายซอย และร้านรถเข็นเจ้าเก่า ได้กลับมาเป็นคำตอบให้กับคนเมืองอีกครั้ง แน่นอนว่าธุรกิจรายย่อย หรือเหล่าพ่อค้าแม่ขายจาก Informal Sector นั้นได้รับความสนใจอย่างมากต่อเหล่าผู้ถูกกักตัว ซึ่งได้ยึดร้านรวงเหล่านั้นเป็นเหมือนปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต โอกาสของเหล่าธุรกิจรายย่อย นั้นมาพร้อมกับความท้าทายในการพิสูจน์ให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ที่มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัย สุขอนามัยที่ดี ในขณะเดียวกัน วิกฤติในครั้งนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืน และการประนีประนอมที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างโอกาสในการทำมาหากินของเหล่า Informal Sector ที่ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของเหล่าคนเมือง  วันนี้ เราจะชวนคุณไปชมกรณีศึกษาจากทั่วโลก ก่อนจะมาร่วมหาคำตอบของการออกแบบและปรับตัวทางกายภาพของเหล่า Informal Sector ผ่านพื้นฐานทางกายภาพของการออกแบบ จุด เส้น ระนาบ จุดศูนย์กลาง สู่ละแวกบ้าน ภาพด้านบนแสดงรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองก่อนสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบรวมศูนย์ คนเดินทางเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง ภาพที่ 2 แสดงข้อเสนอของรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองหลังสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบกระจายตัวไปตามละแวกบ้าน คนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง แต่เลือกที่จะไปจับจ่ายที่ตลาดขนาดเล็กในละแวกบ้านแทน […]

เมื่อ COVID-19 ก่อให้เกิดเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์

09/04/2020

ณัฐชนน ปราบพล ทุกวันนี้ สื่อบันเทิงกำลังมุ่งสู่รูปแบบออนไลน์ จนกลายเป็นอีกหนึ่งกระแสหลักของทางเลือกในการรับชม แต่ในขณะเดียวกัน เทศกาลภาพยนตร์ทั้งในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค ก็ยังคงมุ่งมั่นในการส่งมอบความรื่นรมย์ในการชมภาพยนตร์ผ่านจอฉายขนาดใหญ่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า “คนรักหนัง” ต่างก็เฝ้ารองานอีเวนท์เช่นนี้ในแต่ละปี เพื่อรับชมภาพยนตร์จากทั่วโลก สิ่งสำคัญนอกเหนือการรับชมภาพยนตร์ คงเป็นการได้มีส่วนร่วม หรือสร้างประสบการณ์ทางสังคมผ่านการวิจารณ์ผลงานภาพยนตร์ สารคดี หรือสื่อบันเทิงประเภทต่าง ๆ งานสังสรรค์และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันของบุคคลในวงการเดียวกัน เพื่อเป็นการต่อยอด หรือถ่ายทอดแนวคิดผ่านผลงานที่นับเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่องค์การอนามัยโลกได้ยกระดับให้อยู่ในสถานะการระบาดใหญ่แล้ว ในขณะนี้ กลับส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบันเทิง โดยเฉพาะกำหนดการจัดงาน อีเวนท์ประจำปีต่าง ๆ ทยอยยกเลิก หรือเลื่อนกำหนดการออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างที่เห็นได้ชัดคือ เทศกาลภาพยนตร์ South by South West (SXSW) ที่จะถูกจัดขึ้นที่เมืองออสติน มลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ต้องหยุดชะงักลง และเทศกาลภาพยนตร์คานส์ (Cannes Film Festival) เทศกาลภาพยนตร์ระดับโลก ที่จะถูกจัดขึ้นที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ก็ถูกเลื่อนออกไปจากกำหนดการเดิม ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อดำรงรักษาให้จิตวิญญาณแห่งภาพยนตร์ยังคงอยู่ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดเช่นนี้ เทศกาลภาพยนตร์หลายแห่งได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อให้การจัดเทศกาลยังคงดำเนินต่อไปได้ และการมุ่งสู่รูปแบบออนไลน์อาจจะเป็นคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับช่วงเวลานี้ ถึงแม้ว่า […]

แรงงานนอกระบบ ชีวิตที่แสนเปราะบาง

24/03/2020

“ทุกเช้าหนี้สินก็เพิ่มไปเรื่อยๆ รายจ่ายก็ยังรออยู่ตอนสิ้นเดือน” สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สังคมได้รับรู้ความเปราะบางของเหล่าคนทำงานนอกระบบมากขึ้น ทั้งคนทำงานรูปแบบเศรษฐกิจกิ๊กเวิร์กเกอร์ (gig worker) ฟรีแลนซ์ คนที่ไม่ได้ทำงานเต็มเวลา (part-time)  คนเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากค่าจ้างขั้นต่ำ การลาป่วย หรือประกันสุขภาพที่จะช่วยได้ในยามวิกฤติ เป็นที่รับรู้กันดีว่า อาชีพคนหาเช้ากินค่ำ ลูกจ้างรายวันที่ได้ค่าจ้างแค่พอประทังชีวิตกำลังเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤติการณ์ครั้งนี้ ด้วยสถานะบุคคลชายขอบของสังคม ทั้งการเป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีหลักประกันสังคมนอกจากบัตรประกับสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ถึงแม้จะมีประกันสังคม ม.40 สำหรับผู้ทำอาชีพอิสระก็ตาม แต่ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดที่องค์การอนามัยโลกประกาศว่าเป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) คือ การะบาดอย่างเป็นวงกว้างไปทั่วโลกนั้น  หน้าที่ของรัฐบาลคือการให้การรักษา และประชาชนมีสิทธิในการป้องกันโรค การคัดกรอง และการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน  แต่ถึงอย่างนั้น นอกเหนือจากการรักษาตามสิทธิที่พึงจะได้ สิ่งที่แรงงานนอกระบกำลังเผชิญคือ รายจ่ายที่ไม่เคยลดน้อยลง ทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าอาหารของสมาชิกในครอบครัวไปจนถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการซื้ออุปกรณ์ป้องกันตัวเองที่แสนจะหายาก ณ เวลานี้ อย่าง หน้ากากอนามัย หรือ เจลแอลกกอฮอล์ ทุกอย่างล้วนมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น   นิยามของแรงงานนอกระบบ คือ แรงงานที่ทํางานแต่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทํางาน ดังเช่นแรงงานในระบบ ปัจจุบันแรงงานนอกระบบถือเป็นแรงงานกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ผลจากการสำรวจแรงงานนอกระบบล่าสุดในปี 2562 ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ ระบุว่า […]

care economy เศรษฐกิจของเมืองผู้สูงอายุและการเตรียมตัวแก่

13/03/2020

จากสถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ของกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่า มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ 16.73 ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นหมายความว่า ประเทศไทยในตอนนี้กำลังก้าวสู่ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ และมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่การเป็น สังคมสูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) ในอีกไม่ช้า เมื่อกลับมาดูสัดส่วนผู้สูงอายุในเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร พบว่า กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด คือ ร้อยละ 18.78 ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดในจังหวัด นั่นหมายความว่า หากเปรียบเทียบกรุงเทพฯเป็นหนึ่งประเทศย่อม ๆ พลเมืองชาวกรุงเทพก็กำลังเผชิญการเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์เช่นกัน  แล้วจำนวนผู้สูงอายุส่งผลอย่างไรต่อเมือง? ผู้สูงอายุก็นับว่าเป็นหนึ่งในประชากรของเมือง ซึ่งก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกล แต่ก็คือ พี่ ป้า น้า อา ลุงข้างบ้าน อากงที่เราเจอในสวนสาธารณะ หรือคุณยายที่รอรถสาย 40 […]

มาลเมอในสวีเดน และชุมชนหลากฐานะในอเมริกา : พัฒนาอย่างไร ให้คนยังมีที่ยืนในพื้นที่เดิมของตัวเอง

02/01/2020

“ที่อยู่อาศัยที่ดีไม่ใช่แค่สิ่งอำนวยความสะดวก แต่เป็นสิทธิมนุษยชน” แอนเดรียส คอนสตรอม (Andreas Schönström) รองนายกเทศมนตรี เมืองมาลเมอ (Malmö) ในสวีเดน กล่าวในงานประชุมนานาชาติว่าด้วยการเคหะและการเงินในเขตเมือง ครั้งที่ 7 (The 7th International Forum on Housing and Urban Finance) ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ หลังจากช่วงที่ 1 ของงาน วิทยากรได้พูดถึงโจทย์ในการร่างนโยบายการเคหะที่ครอบคลุมคนทุกประเภทให้ยังมีที่อยู่อาศัยในเมืองได้ผ่านโครงการ social housing ในช่วงที่ 2 นี้ โจทย์คือการมองภาพกว้างออกมาว่า ในเมื่อเมืองต้องผ่านการ ‘ผ่าตัด’ พัฒนาและฟื้นฟูให้กระปรี้กระเปร่าทางเศรษฐกิจอยู่เสมอๆ ในขั้นตอนเหล่านี้ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนควรเป็นไปในทิศทางใดและมีอะไรที่ต้องระวังบ้าง มาลเมอ จากเมืองท่าเรือสู่เมืองสีเขียว ตัวอย่างที่มาลเมอ อดีตเมืองอู่เรือที่อยู่ข้างช่องแคบเออเรซุน (Öresund) ซึ่งคั่นระหว่างเมืองนี้ของสวีเดนกับโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ภาพปี 1986 มาลเมอยังเป็นเมืองท่าจอดเรือทางตะวันตก ที่ประชากรส่วนใหญ่พึ่งพาธุรกิจอู่เรือ มี Kockums เป็นอู่จอดเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงรุ่งโรจน์ ราวทศวรรษ 1950s-1960s แต่เมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันในทศวรรษ […]

ที่อยู่อาศัยและวัยของเมือง ข้อคิดจากการประชุมว่าด้วยการเคหะในกรุงโซล

23/12/2019

ภาพยนตร์เรื่อง Parasite ที่กำลังเข้าชิงออสการ์อยู่นี้ อาจทำให้หลายคนรู้สึกขยะแขยงบ้านกึ่งใต้ดินที่ตัวละครครอบครัวคิมอาศัยอยู่  ที่อยู่ที่เลือกได้เท่าที่ความจนและความเหลื่อมล้ำจะอนุญาต พื้นที่อยู่ในระดับต่ำกว่าครึ่งชั้น พอทำให้มองเห็นโอกาสผ่านหน้าต่างแคบๆ เพื่อขึ้นไปอยู่ชั้นต่อไป แต่เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ท่อน้ำชักโครกของคนเหล่านี้คือความพินาศที่ส่งกลิ่นความจนอบอวลติดตัวไปอีกขั้น  ปัญหาที่อยู่อาศัยจำกัดคือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในโซล (แต่จะเลวร้ายเท่าที่ปรากฏในภาพยนตร์หรือไม่นั้นคงแล้วแต่ครัวเรือน) มุมกลับของเมืองที่ร่ำรวยรวดเร็ว คือคนบางกลุ่มกลับกลายเป็นคนรายได้น้อยเกินกว่าจะอยู่อาศัยในเมืองได้อย่างมีคุณภาพ เนื่องจากราคาบ้านและมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น  “แล้วทำไมไม่ไปอยู่ที่อื่น” คำถามแบบนี้อาจจะฟังดูตรงประเด็น แต่กลับมองข้ามปัญหาหลายๆ อย่าง เช่น การกระจุกตัวของงานในเมือง และการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อการพัฒนาชีวิตที่เมืองเท่านั้นที่ให้ได้ มองข้ามไปถึงขั้นว่าหน้าตาของเมืองจะเปลี่ยนไปอย่างไรหากคนเหล่านี้ตัดสินใจเดินทางออกไปจริงๆ  เมื่อเป็นอย่างนี้ ภาครัฐก็ต้องเข้ามามีบทบาทสร้างนโยบายหรือผสานความร่วมมือเพื่อแก้ไจ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคมแห่งเกาหลี จึงจัดงานการประชุมนานาชาติว่าด้วยการเคหะและการเงินในเขตเมือง ครั้งที่ 7 (The 7th International Forum on Housing and Urban Finance) ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศมานำเสนอแนวทางแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง เช่น เดนมาร์ก มาเลเซีย ไต้หวัน อเมริกา ฯลฯ รวมทั้งข้อควรระวังจากบทเรียนที่ผ่านมา โดยเน้นไปที่คำว่า inclusiveness และ mutual prosperity แกรี่ เพนเทอร์ […]

Made in Yaowarat ออกแบบสตรีทฟู้ด เป็นมิตรกับคนสัญจร คนขาย คนกิน

12/12/2019

เขียนโดย ปาลิตา จันทร์ทวีทรัพย์ ภาพประกอบบทความจากผลงานของ ปาลิตา จันทร์ทวีทรัพย์ คุณคิดว่า ‘เยาวราช’ มีปัญหาการจัดการอย่างไรบ้าง? รถเข็นอยู่บนทางเท้า-คนเดินบนถนนคนเดินบนถนน-รถเข็นอยู่บนทางเท้าทั้งคนและรถเข็นอยู่บนทางเท้า เราจะเห็นภาพสามแบบนี้บนถนนสตรีทฟู้ดชื่อดังอย่างเยาวราชได้คุ้นตา  แต่ไม่ว่าจะแบบไหน สุดท้ายถนนสายนี้ก็หนีไม่พ้นสภาพการจราจรไม่คล่องตัวอยู่ดี นี่คือปัญหาที่ซับซ้อน เกี่ยวพันตั้งแต่เรื่องของ ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety), การแก้ไขปรับปรุงพื้นที่ (Rehabilitation) และเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal Economy) นิเวศแผงลอย จากการสำรวจ พบว่านิเวศของบรรดารถเข็นมีองค์ประกอบต่อไปนี้ จุดรวมขยะ: จุดรวมขยะใหญ่ 2 จุด สาธารณูปโภค: น้ำ ไฟ ที่มักเชื่อมต่อมาจากร้านในตึกแถวหรือโรงแรมและจ่ายเป็นรายเดือน พื้นที่จัดเก็บรถเข็น: บ้างจัดเก็บในที่พักอาศัย บ้างจอดไว้ในตรอกซอกซอยไม่ไกลกับจุดขาย พื้นที่ซักล้าง: มีทั้งแบบรวมและแบบแยก โดยตำแหน่งที่ตั้งมีทั้งริมถนนและเข้าซอย ปัจจุบันนอกจากเยาวราชถนนหลักแล้ว บนถนนย่อยบางสาย อย่างซอยเหล่งป๋วยเอี๊ยะ ซอยผดุงด้าวและซอยเยาวราช 11 ก็มีการกระจุกตัวของแผงลอยที่ค่อนข้างหนาแน่นเช่นกัน เป็นไปได้ไหมว่า หากมีการแบ่งโซนบริการและจัดเก็บแผงลอยให้เป็นที่เป็นทาง จะทำให้ลดปัญหาจราจรได้ ทั้งยังเพิ่มความเป็นระเบียบให้สตรีทฟู้ดอยู่คู่กับเมืองได้อย่างลงตัวยิ่งขึ้นด้วย ด้านคนขายก็ขายง่ายขายคล่อง ส่วนคนซื้อก็เดินเที่ยวได้สะดวก จัดกลุ่มแผงลอย พบว่าประเภทของแผงลอยแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ สองแบบ […]

1 2 3 4