Economy



เมืองสร้างยูนิคอร์น ยูนิคอร์นสร้างเมือง: เกาหลีใต้ผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างไรให้สำเร็จเป็นอันดับ 4 ของโลก

11/11/2020

“วงการสตาร์ทอัพ ถ้าเป็นพื้นทรายแทนพื้นคอนกรีตก็คงจะดี ถ้าเป็นงั้นทุกคนคงทำธุรกิจได้ดีขึ้น” หนึ่งในตัวละครจากซีรีส์เกาหลี Start-Up ที่กำลังเป็นที่นิยม พูดออกมาเพื่อสะท้อนถึงความลำบากในการเริ่มและเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเปรียบว่าหากต้องล้มลงบนพื้นคอนกรีต ผู้ประกอบการหน้าใหม่ทั้งหลายคงต้องเจ็บตัว และหวาดกลัว ไม่กล้าลงแรงทำธุรกิจเต็มที่ แต่หากเป็นพื้นทรายที่ช่วยซับแรง ผู้ประกอบการคงไม่กลัวล้ม และเต็มที่ไปกับการทำธุรกิจมากขึ้น แม้จะไม่ใช่คำพูดของตัวละครหลักของเรื่อง แต่ก็สะท้อนมุมมองของธุรกิจสตาร์ทอัพได้เป็นอย่างดี ซีรีส์ทางเน็ตฟลิกซ์ Start-Up บอกเล่าเรื่องราวของคนหนุ่มสาวที่แข่งขันกันเพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยตัวเอง แต่การเริ่มต้นธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกเหนือจากไอเดียที่แปลกใหม่ ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และทำเงินได้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นได้คือเงินทุนและทรัพยากรสนับสนุน หลายครั้งที่แฟนๆ ซีรีส์เกาหลีอาจพอจับสังเกตได้ว่า เรื่องราวในซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องพยายามกระตุ้นผู้ชมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น การสร้างภาพผู้ชายที่อบอุ่นเป็นสุภาพบุรุษเพื่อเสริมสร้างค่านิยมที่ดี การสร้างภาพระบบยุติธรรมที่เที่ยงตรงผ่านซีรีส์สืบสวนสอบสวน หรือการกระตุ้นให้ผู้ชมอยากผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการด้วยตัวเอง อย่างเช่นที่ซีรีส์เรื่อง Start-Up กำลังได้รับความนิยม แล้วทำไมเกาหลีใต้ถึงต้องการผลักดันเรื่องสตาร์ทอัพ ในเมื่อมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุง ฮุนได และ แอลจี ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งประเทศอยู่แล้ว? คำตอบก็คือ เกาหลีใต้มองว่าการพึ่งพาธุรกิจขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายถือเป็นความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว และธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้เติบโตช้าลงทุกที ปี 2017 ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีมุนแจอิน เกาหลีใต้ตั้งกระทรวงเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ (Startup (Ministry of SMEs and Startups) เพื่อให้การสนับสนุนโดยตรงแก่ผู้ประกอบการรายย่อย […]

พิตต์สเบิร์ก (Pittsburgh) ฟื้นฟูเมืองอุตสาหกรรมอันถดถอย สู่เมืองวัฒนธรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ

16/10/2020

ที่ริมฝั่งแม่น้ำ Allegheny แสงไฟจากโรงละคร Byham ยามค่ำคืน เสียงพูดคุยจากผู้คนที่ยืนต่อแถวเข้าโรงละครอย่างไม่มีท่าทีร้อนใจ เวลาเกือบสามทุ่มเข้าไปแล้วแต่บรรยากาศในเมืองเล็กๆ ของรัฐเพนซิลเวเนียดูครึกครื้นเกินกว่าหลายคนคาดคิด ร้านรวงที่ยังคงเปิดให้บริการ พนักงานโรงละครยิ้มแย้มยามเอ่ยทักทายกับแขกของโรงละครอย่างคุ้นเคย ราวกับว่าเป็นเพื่อนที่คบกันมานาน แสงสีและความคึกคักทำให้ยากจะเชื่อว่า ครั้งหนึ่งที่เมืองนี้ เคยประสบกับภาวะภาคอุตสาหกรรมถดถอยจนทำให้ประชากรหายไปเกือบครึ่งเมือง พิตต์สเบิร์ก (Pittsburgh) เคยเป็นที่รู้จักในนาม Steel City (เมืองเหล็กกล้า) เนื่องด้วยอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่รุ่งเรืองในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ของสหรัฐอเมริกา ทำให้ Pittsburgh ผงาดขึ้นเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเต็มไปด้วยโรงงานการผลิตในปลายปี 1860  Pittsburgh กลายเป็นแหล่งอาชีพทั้งชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นกลาง ตึกสูงใจกลางเมือง สัญลักษณ์แห่งศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ตั้งตระหง่านหลัง Point state park ที่เป็นจุดบรรจบของ สองแม่น้ำสายหลักของรัฐเพนซิลเวเนีย แม่น้ำ Allegheny และแม่น้ำ Monongahela  ความรุ่งเรืองของ Pittsburgh ที่ยาวนานต่อเนื่องมากว่า 100 ปีก็ถึงคราวล่มสลายในช่วงปี 1970 ที่สหรัฐอเมริกาประสบกับภาวะภาคอุตสาหกรรมถดถอย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่ Pittsburgh ได้รับผลกระทบโดยตรง เกิดการปลดพนักงานทั้งชนชั้นแรงงานและพนักงานบริษัท บริษัทพากันเลิกกิจการ ฐานการผลิตย้ายถูกออกจากเมือง ส่งผลให้ประชากรที่เคยมีถึง […]

ทำไมเมืองเดินได้ถึงทำให้เศรษฐกิจดี

14/10/2020

เมืองคือพื้นที่แห่งโอกาสที่คนจำนวนมากเข้ามาแสวงหาโชค กระโจนเข้ามาแหวกว่ายในสายพานการทำงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเองและคนที่อยู่ด้านหลังให้ดีขึ้น และเมื่อคนหนาแน่นก็มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นมากมาย โครงสร้างของเมือง ผังเมืองจึงส่งผลอีกหลากมิติต่อเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ ในการดำรงชีวิต ผศ.ดร นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองได้ร่วมสะท้อนมุมมองในงาน BOT SYMPOSIUM 2020 ในหัวข้อใหญ่ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง – Restructuring the Thai Economy ในงานวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา โดยผศ.ดร. นิรมล เสนอว่าการเดินดีในเมืองนอกจากจะกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต แล้วยังกระตุ้นเศรษฐกิจให้ไหลเวียนด้วย ยิ่งกับชุมชนและย่านโดยรอบ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ แถมยังทำให้ “ร้านค้ารายเล็กรายน้อยสามารถเข้าถึงโอกาสแห่งความมั่งคั่งพอๆ กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่” “ร้านค้ารายเล็กรายน้อยสามารถเข้าถึงโอกาสแห่งความมั่งคั่งพอๆ กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่” เพราะเมืองเดินได้ถึงทำให้เศรษฐกิจดี “งานวิจัยหลายชิ้นบอกว่ายิ่งเคลื่อนที่ช้า ยิ่งมีโอกาสในการบริโภคมาก ลองหลับตาจินตนาการถึงความเร็วของการเดินของคนด้วยความเร็ว 3-5 กิโลเมตร/ชั่วโมง นั่นคือการเดินกับเมืองที่คนเคลื่อนที่ 80-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง นั่นคือรถยนต์ โอกาสในการที่จะแวะพัก ความสะดวกที่จะหยุดจับจ่ายใช้สอยมันแตกต่างกันมาก เพราะฉะนั้นท่านจะเห็นว่าเมืองทั่วโลกลงทุน (invest, reinvest) กับทางเท้า เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งโดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมือง หรือว่าเป็นเมืองแบบนี้ที่ต่อแรก (first mile) […]

From the Financial Bazooka to the City Planning Bazooka: Proposal to Restore a Sustainable Economic Foundation

16/09/2020

Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Guntamuanglee, Parisa Musigakama, Preechaya Nawarat, Thanaporn Ovatvoravarunyou 3 dimensions of the urban response to COVID-19 This article is a proposal for urban design and management, produced by the Urban Design and Development Center (UddC) to emphasize that, for Bangkok, the present time is an ​​opportunity to advance equality and […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: Revive the Thai tourism sustainably by cultivating spatial immunity: Extra service level and build long-term trust

16/09/2020

Asst. Prof. Komkrit Thanapat, Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Kantamuangli, Manchu chada Dechaniwong, Preechaya Nawarat, Thanaporn Owat Worawaranyu The global economy, tourism and Covid-19 Over the past decades the global tourist sector had been steadily growing. As a result, tourism was one of the fastest growing and largest sectors of the world economy. Tourism […]

When the Office is Dead – เมื่อออฟฟิศกำลังจะตาย ในโลกใหม่ของการทำงาน

24/08/2020

ว่ากันว่า ออฟฟิศยุคใหม่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน ให้จับตามองเหล่าบรรดาสตาร์ตอัพและบริษัทเทคโนโลยีในซิลิคอน แวลลีย์ หรือเมืองที่เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั่วโลก Google และ Facebook, สองยักษ์ใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยี, ประกาศอนุญาตให้พนักงานของพวกเขาทำงานจากบ้านได้จนถึงสิ้นปี (BBC, 2020) Twitter เองก็แจ้งในอีเมลถึงพนักงานของบริษัทว่าสามารถทำงานจากบ้านได้ “ตลอดไป” หรือ “ตราบเท่าที่เห็นควร” ออฟฟิศก็ยังพร้อมจะเปิดรับ หรือจะทำงานที่บ้านต่อไปก็แล้วแต่การตัดสินใจของตัวพนักงานเองเพราะที่ผ่านมาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานก็ไม่ได้ลดลง จึงไม่เห็นว่าการเข้าออฟฟิศเป็นเรื่องที่สำคัญเท่าไหร่อีกต่อไป (Techcrunch, 2020) ในทางตรงกันข้าม บริษัทเทคโนโลยีใดที่ไม่มีมาตรการรองรับการทำงานจากที่บ้านกลับถูกวิจารณ์อย่างหนัก เช่น IBM ซึ่งเคยเป็นผู้บุกเบิกการทำงานจากที่บ้านมาก่อนเพื่อน แต่ดันยกเลิกโครงการไปในปี 2017 (Business, 2017) หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เงอะงะในการปรับต่อไปสู่การ work from home เช่น Accenture, ATT, Cognizant, Epic Systems, Tesla, SpaceX และ Wells Fargo (Medium, 2020) ก็ถูกประนามโดย David Heinemeier Hansson ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp (แพลตฟอร์มจัดการโปรเจ็กออนไลน์) […]

3 ย่าน: เยาวราช/เพลินจิต/พระประแดง ในความนึกคิดของนิสิตผังเมือง

20/08/2020

ย่านแต่ละย่านต่างมีรสชาติเป็นของตัวเอง มีทั้งเรื่องราว เรื่องเล่า การออกแบบที่สะท้อนบุคลิกของผู้คนที่อาศัยอยู่ The Urbanis ชวนสำรวจ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเยาวราช ย่านเก่าแก่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก, เพลินจิต ย่านธุรกิจใจกลางเมือง และพระประแดง ย่านที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองของนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ทั้ง 3 คน เตรียมผูกเชือกรองเท้าให้พร้อมแล้วเดินสำรวจพร้อมกันในบทความนี้ได้เลย… A neighborhood/ศุภิฌา สุวรรณลักษณ์ ว่าด้วยความเป็นย่าน ย่านเปรียบเสมือนหน่วยย่อยของพื้นที่ทางสังคมของเมือง การเกิดย่านของมนุษย์นั้นเกิดจากกระบวนการที่ประกอบสร้างขึ้นตามความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้คนในย่าน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสาธารณะ แต่ทั้งนี้การจะพัฒนาเมืองไปสู่สิ่งที่สร้างความสุขในการใช้ชีวิตได้จริงนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย หากในกระบวนการวางผังเมืองหรือการก่อสร้างตึกอาคารละเลยที่จะคำนึงถึงหนึ่งในหัวใจสำคัญที่สุดของเมือง นั่นคือ การกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเมือง ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่สำนึกของชุมชนจนถึงระดับย่านที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่านที่ดีประกอบไปด้วยผู้คน กิจกรรม และเวลาอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างในแต่ละพื้นที๋สภาพแวดล้อมทางกายภาพของย่าน ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน เช่น สถาปัตยกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ระบบเศรฐกิจ-สังคม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา อาหาร เป็นต้น โดยย่านเยาวราชนั้น มีองค์ประกอบดังที่กล่าวข้างต้นที่ทำให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกย่านนี้สามารถที่จะรับรู้ได้ถึงการเข้าย่าน-ออกย่านหรือความเป็นย่านได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงการทำให้ผู้คนมีความรู้สึกและรับรู้ได้ถึงการ ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของย่านเยาวราชได้อย่างชัดเจน […]

สุขภาพหรือเสรีภาพ? เมื่อ Covid-19 ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันต้องแลกมาด้วยข้อมูลส่วนตัว

10/07/2020

“ไทยชนะ” ชื่อนี้นำมาซึ่งความรู้สึกที่ป่วนหัวใจ ไม่ใช่เพราะชื่อที่กำกวม เต็มไปด้วยคำถาม เราชนะใคร? ชนะอะไร? เรากำลังแข่งอะไรเหรอ? แต่เป็นความรู้สึกที่ไม่ว่าเดินไปที่ไหนในตอนนี้ก็ต้องเห็น QR Code ที่ต้องสแกนก่อนเข้าไปใช้บริการในสถานที่ต่างๆ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านตัดผม ร้านขนม ร้านกาแฟ ร้านขายยา ร้านข้าวแกง ถ้าอีกหน่อยมีติดหน้าหมู่บ้านให้สแกนก่อนเข้าก็คงไม่แปลกใจสักเท่าไหร่ ปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องของความวุ่นวาย ควานหาสมาร์ตโฟนในกระเป๋าสะพายออกมาตลอดเวลา แต่มันเป็นการตั้งคำถามต่อเรื่องของข้อมูลความเป็นส่วนตัวซะมากกว่า เพราะหลายครั้งที่เข้าไปสถานที่เหล่านี้ถ้าไม่อยากยุ่งยากสแกน QR ก็ต้องเขียนชื่อและเบอร์ติดต่อ ซึ่งในมุมมองของความปลอดภัยแล้วข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น แต่ในมุมมองของธุรกิจแล้วมันเป็นขุมทองมีมูลค่ามหาศาลเลยทีเดียว แถมยังมีเรื่องของความเป็นส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ข่าวที่ออกไปเมื่อไม่นานมานี้ที่พนักงานร้านสะดวกซื้อถือวิสาสะนำเบอร์ส่วนตัวของลูกค้าที่เขียนตอนเข้าร้านมาเพิ่มเพื่อนแล้วทักไปจีบเชิงชู้สาวนั้นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของเรื่องนี้ มันเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานที่ไม่ควรเกิดขึ้น หลายคนอาจจะบอกว่านี่มันเป็นการกระทำส่วนบุคคลและไม่ได้บ่งบอกถึงภาพใหญ่ทั้งหมด แต่สิ่งสำคัญที่อยากสื่อก็คือเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยง่าย ขนาดพนักงานสะดวกซื้อก็ยังเอาไปได้ แล้วนับประสาอะไรกับผู้มีอำนาจทั้งภาครัฐและเอกชนถ้าพวกเขาต้องการข้อมูลเหล่านี้?  แล้วเราจะเชื่อได้ยังไงว่ามันจะปลอดภัยในอนาคต? สิ่งหนึ่งที่เราไม่มีทางรู้เลยก็คือตอนจบของ Covid-19 ว่าจะมาเมื่อไหร่และจะมาในรูปแบบไหน คงเป็นไปได้อย่างที่ทุกอย่างจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมโดยไร้วัคซีน (ซึ่งก็ไม่รู้อีกนั่นแหละว่าเมื่อไหร่จะมา) แต่จากที่เห็นในตอนนี้วิธีการที่ดีที่สุดในการต่อกรกับไวรัสร้ายก็คือการติดตามว่ามันมีโอกาสแพร่กระจายไปไหนบ้างและในบางกรณีก็ต้องบังคับให้ประชาชนบางส่วนกักตัวลำพังในพื้นที่ที่จัดเตรียมเอาไว้ให้ ช่วงที่ผ่านมาเราได้ยินคำว่า “Contact Tracing” บ่อยขึ้นตามบทความและเนื้อข่าวต่างๆ ซึ่งไอเดียของมันก็คือการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยว่าไปเจอใครมาบ้าง ที่ผ่านมาเดินทางไปที่ไหน ฯลฯ แต่ว่ามันก็เป็นเรื่องยากเพราะขึ้นอยู่กับความจำของคนคนนั้นว่าจดจำรายละเอียดได้มากขนาดไหนและความเชี่ยวชาญของผู้สอบถามอีกด้วย เพราะฉะนั้นด้วยขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และงานที่หนัก การทำ Contact Tracing โดยมนุษย์นั้นจึงเป็นเรื่องยาก จึงนำมาซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้สมาร์ตโฟนเพื่อตรวจสอบว่าแต่ละคนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขนาดไหน ไปเจอใครที่มีความเสี่ยงมาบ้างรึเปล่า ซึ่งไอเดียนี้ก็เริ่มถูกนำไปใช้ในหลายๆ ที่และก็มีประสิทธิภาพในระดับที่เป็นเรื่องน่าพอใจ ตัวอย่างของบ้านเราที่เพิ่งเกิดขึ้นก็คือแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เป็นแอปฯ เก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อประเมินความเสี่ยงได้ว่า ในบริเวณนั้นมีผู้ป่วย Covid-19 หรือไม่ โดยเก็บข้อมูลจาก GPS และ Bluetooth โดยจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือหนึ่งส่วนประเมินความเสี่ยงของตัวเองและสองคือแจ้งเตือนเมื่อผู้ใช้งานนั้นเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดเชื้อ Covid-19 หลังจากโหลดแอปฯ แล้วก็สามารถทำแบบสอบถาม แอปฯ ก็จะจัดหมวดหมู่ให้ผู้ใช้งาน (เขียว, เหลือง, ส้ม, แดง ตามความเสี่ยงและคำตอบที่ให้) โดยการประมวลผลส่งไปยังระบบ ผู้ใช้คนอื่นๆ จะมองไม่เห็นว่าแต่ละคนอยู่ที่ไหนบ้าง แต่จะมีการแจ้งเตือนหากเข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเพียงเท่านั้น การใช้งานเบื้องต้นคือถ่ายรูปของตัวเองแล้วก็เปิดให้แอปฯ เข้าใช้โลเคชั่นของโทรศัพท์ พร้อมกับเปิด Bluetooth เพียงแค่นี้ […]

BRIDGES THAT CONNECT OUR CITIES: สะพานที่เชื่อมเมืองของเราเข้าด้วยกัน

23/06/2020

สะพานในสายธารประวัติศาสตร์ สะพานที่เราสัญจรข้ามแม่น้ำไปทำงานและข้ามกลับบ้านอยู่ทุกวัน สิ่งใดก็ตาม หากเราเห็นทุกวัน บางทีสิ่งนั้นอาจกลายเป็น “The Invisible” เป็นสิ่งที่เราอาจมองข้ามความสำคัญหรือความหมายเดิมของสิ่งนั้นไป แท้จริงแล้ว ตลอดสายธารแห่งประวัติศาสตร์ สะพานเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของเมือง เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมือง รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ภาพจำของเมือง เป็นสถานที่ที่มีความหมายในเชิงสังคมและผู้คน นิยามของสะพานในเชิงผังเมืองคือ “โครงสร้างที่ทอดยาวเพื่อเป็นทางสัญจรผ่านสิ่งกีดขวางเชิงภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำลำคลองหรือถนน” เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ตั้งแต่อดีตกาล หากเลือกได้ มนุษย์จะตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ เพื่ออรรถประโยชน์ในเชิงการคมนาคมขนส่ง การใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตรกรรม และการอุตสาหกรรม ดังนั้น สิ่งที่มีคู่กับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ทั่วโลกคือสะพานนั่นเอง สะพานจึงเป็นสาธารณูปโภคของเมืองที่ได้รับการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของเมือง เกณฑ์ในการพิจารณาสร้างสะพาน คือ ความมั่นคงแข็งแรงและความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจในการรองรับการสัญจรผ่าน ในยุคแรกสะพานสร้างไว้เพื่อรองรับการเดินเท้าของคน และได้วิวัฒน์ไปตามการพัฒนาของการสัญจรในเมือง (urban mobility) สู่รถม้า รถยนต์ และรถราง ในกาลต่อมา ความงามและความหมายเชิงสัญลักษณ์ได้กลายเป็นเกณฑ์ในการออกแบบสะพานในยุคหลังสงครามโลก อาทิ สะพานโกลเดนเกต (Golden Gate Bridge) ที่ได้รับการออกแบบด้วยวิสัยทัศน์ของตัวแทนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการก่อสร้าง หรือสะพานบรูคลิน (Brooklyn Bridge) ที่เชื่อมแมนฮัตตันกับบรูคลินซึ่งเป็นย่านการพัฒนาใหม่ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางวิศวกรรมแห่งศตวรรษที่ 19 นอกจากมิติในเชิงวิศวกรรมและการพัฒนาเมืองแล้ว สะพานยังมีความหมายในเชิงสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย […]

จากบาซูก้าการคลัง สู่บาซูก้าผังเมือง ข้อเสนอฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

05/06/2020

บอล 3 ลูกในเมืองหลัง COVID-19 บทความชิ้นนี้เป็นข้อเสนอเชิงออกแบบและบริหารจัดการพื้นที่เมือง โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เพื่อเน้นย้ำว่า ในเมืองกรุงเทพฯนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสและโอกาสนั้นมีอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมให้ทุกคน โดยเฉพาะโอกาสในการทำกินและการประกอบสัมมาอาชีพ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งคงปฎิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงในความเสี่ยงสุขภาพ ความหวาดระแวงว่าจะติดโรคระบาดหรือไม่ นี่คือผลกระทบด้านด้านสาธารณสุข ตลอดจนการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิต และผลกระทบสืบเนื่องสำคัญที่ตามมาคือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจในระดับปากท้องซึ่งกำลังปรากฎชัดและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากช่วงเวลาที่แน่นิ่งของเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับการการกักตัวที่ยาวนานกว่าครึ่งปี ดังนั้น จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่าเรากำลังจะต้องเผชิญรวมถึงตระเตรียมวิธีการจัดการกับลูกบอล 3 ลูกที่จะตามมาหลังการผ่านพ้นไปของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในครั้งนี้ ประกอบด้วย หนึ่ง-สาธารณสุข สอง-การเงินการคลัง และสาม-ปากท้อง อาชีพ และรายได้ แม้ว่าสถานการณ์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในบ้านเราจะดีขึ้นตามลำดับ และอยู่ในอันดับต้นๆ ที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นที่น่าพอใจ ทำให้มีอัตราผู้ติดเชื้อต่อแสนประชากรที่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าเราจะเป็นประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อนอกพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่ และนี่คือความสำเร็จขั้นที่ 1 ในมาตรการด้านสาธารณสุข หากแต่สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงหลังจากนี้ นอกเหนือไปจากการเยียวยาจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายระดับมหาภาคในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเยียวยาในระดับครัวเรือน ในมาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท และเงินเยียวยาเกษตรกร ซึ่งรวมเรียกได้ว่าเป็นมาตรการด้านการเงินการคลัง เราจะเรียกกว่าเป็น […]

1 2 3 4