ขยะเมืองลดลงได้ เริ่มต้นได้ที่ ‘ต้นทาง’

17/06/2023

ปัญหาขยะ กับเมืองขนาดใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการขาดการคัดแยกขยะจากต้นทาง การขนย้าย การจัดการขยะ ด้วยความที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากร 5 ล้านกว่าคน ยังไม่นับรวมประชากรแฝงและนักท่องเที่ยวต่างชาติอีก 4 ล้านกว่าคน เมื่อเทียบกับเมืองหลวงในประเทศอื่นๆ จึงไม่แปลกใจเลยที่ปัญหาขยะจะเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของกทม. ทราบกันหรือไม่ว่าเมื่อปลายปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ มีขยะปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บได้จำนวนทั้งหมด 3 ล้านตัน เมื่อเทียบเป็นรถบรรทุกสิบล้อแล้ว ในแต่ละวันเราทิ้งขยะเท่ากับรถบรรทุกสิบล้อกว่า 360 คันเลยทีเดียว และเมื่อดูงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 พบว่ากทม.มีแผนงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล งบประมาณจำนวน 4,639,731,855 บาท อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดการขยะจะต้องอาศัยโครงสร้างในการบริหารจัดการในกระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษี การคัดแยก การเดินรถ การกำจัด แต่สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่นๆ ก็คือการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง วันนี้ The Urbanis จึงอยากพาผู้อ่านมาชมกรณีศึกษาจากประเทศต่างๆ ว่าเขาทำอย่างไรให้ ‘ต้นทาง’ มีการคัดแยกขยะมากขึ้น เพื่อลดภาระปัญหาขยะในกระบวนการต่อๆ ไป The Green Dot ประเทศเยอรมัน ที่มาภาพ Legislation: a final […]

เสียงจากผู้ร่วมกิจกรรมศิลป์ในซอย ครั้งที่ 7

23/09/2022

จบกันไปแล้วกับงานศิลป์ในซอย: แสง-สี-ศิลป์ เชื่อมย่าน เชื่อมการเรียนรู้ เชื่อมเศรษฐกิจชุมชน (ART IN SOI) ครั้งที่ 7 ตอน Plearn in Soi ที่จัดขึ้นในวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2565 นี้ ณ ย่านกะดีจีน-คลองสาน ตรอกดิลกจันทร์ และสวนสานธารณะ เรามาฟังเสียงผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในงานกันสักหน่อยว่าหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมแล้ว พวกเขารู้สึกอย่างไรกันบ้าง “ได้ยินว่าย่านนี้เป็นย่านเก่าแก่ ที่มาความเป็นพหุวัฒนธรรม เลยสนใจมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ หลังจากได้มาร่วมกิจกรรมเล่าย่านคลองสานผ่านโรงน้ำปลาแล้ว รู้สึกว่าได้เรียนรู้เบื้องลึกเบื้องหลังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ย่าน การรักษาอาคารเก่า และความรู้เรื่องการทำน้ำปลาในสมัยก่อน รู้สึกดีที่ได้มาร่วมกิจกรรมในวันนี้” คุณพิชญ์สินีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล่าคลองสานผ่านโรงน้ำปลา “ได้ตามที่คาดหวังและมากกว่าที่คาดหวังไว้ คือได้เข้ามาชมด้านใน แต่ที่มากกว่านั้นคือ การได้รู้เรื่องราวจากท่านวิทยากรที่ดูแลกิจการโรงน้ำปลาด้วย มากกว่าเรื่องราวและความรู้เกี่ยวกับสถานที่แล้ว ยังมีเรื่องราวเกี่ยวพันกับเรื่องพื้นเพเดิมของท่านวิทยากร ทั้งกิจการโรงน้ำปลา ความรู้อื่นๆ ความพิเศษของกิจกรรมในครั้งนี้คือ ที่นี่ไม่ได้เปิดให้คนภายนอกชมได้ตลอด มันเป็นความเฉพาะตัวที่มีแค่บ้างช่วงเวลาเท่านั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้มีโอกาสได้เข้ามาตรงนี้ และได้รับรู้เรื่องราวการบูรณะสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ที่ทำให้เห็นทั้งในเชิงเทคนิคและความในใจจากคนที่เป็นเจ้าของสถานที่โดยตรง” คุณพิชชาพรผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล่าคลองสานผ่านโรงน้ำปลา “ปกติเป็นคนที่คุ้นชินกับการเดินสำรวจต้นไม้ในพื้นที่ธรรมชาติ แต่ยังไม่เคยเดินสำรวจต้นไม้ในเมืองเลย ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมเราถึงรู้สึกเชื่อมโยงกับต้นไม้ในพื้นที่ธรรมชาติได้แตกต่างจากต้นไม้ในเมือง […]

เด็กสร้างเมือง: เด็กกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง

01/04/2022

ว่ากันว่าเด็กและเยาวชนคืออนาคตของชาติและพวกเขาคือคนที่จะเติบโตและอยู่อาศัยในเมืองนี้ต่อไป ฉะนั้นแล้วการพัฒนาเมืองจะไม่ต้องคำนึงถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขาเองก็เป็นส่วนหนึ่งของเมืองเช่นเดียวกัน แล้วในปัจจุบันเมืองของเราได้สร้างอนาคตร่วมกับเด็กมากแค่ไหน  หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า ‘คนสร้างไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้สร้าง’ หลายครั้งที่พื้นที่สาธารณะไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน เพราะผู้ที่เป็นคนสร้างไม่ได้ลงมาใช้จริง หรืออาจไม่เข้าใจความต้องการหรือพฤติกรรมการใช้งานของคนบางกลุ่ม ปัญหาแบบนี้ก็เกิดได้กับกลุ่มเด็กๆ เช่นกัน อาทิ ปุ่มกดไฟข้ามถนนใกล้โรงเรียนอยู่สูงเกินกว่าที่เด็กจะเอื้อมถึง การมีสนามเด็กเล่นที่มีเครื่องเล่นไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเด็กในพื้นที่ ฯลฯ แล้วจะดีกว่าไหมถ้าเด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ที่ตนเองอยู่  ในเมื่อเด็กและเยาวชนก็เป็นผู้ใช้งานพื้นที่ภายในเมือง พวกเขาเหล่านี้ก็ควรมีสิทธิในการร่วมสร้างเช่นกัน วันนี้เราจึงอยากชวนผู้อ่านมารู้จักกับโครงการพัฒนาที่ให้ความสำคัญเด็กๆ ในพื้นที่ และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมด้วยกันกับเด็กๆ ในการพัฒนาเมืองจากตัวอย่างในต่างประเทศ วันนี้เราจะมาเล่าและทําให้เห็นว่าเด็กและเยาวชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและมีเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมืองได้ เพราะเราเชื่อว่าเมืองที่ดีคือเมืองที่เป็นมิตรแม้แต่กับเด็ก แล้วเหตุใดในการออกแบบวางแผนเพื่อพัฒนาเมืองจึงจะไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะในท้ายที่สุดเด็กๆ กลุ่มนี้เองคือกลุ่มที่จะเติบโตและอยู่กับเมืองต่อไป  โครงการ Neighbourhood Nature Play เมืองคิทเชนเนอร์ ประเทศแคนาดา โครงการ Neighbourhood Nature Play ใช้เวลากว่า 2 ปี กับการเปลี่ยนแปลงสวนสาธารณะ Gzowski Park และ Kingsdale Park ที่ทรุดโทรม ให้กลายเป็นพื้นที่ศูนย์กลางชุมชนและเป็นสวนที่สภาพแวดล้อมอุดมไปด้วยธรรมชาติสำหรับเด็กๆ  โครงการนี้จัดทำโดย Evergreen องค์กรพัฒนาเมืองไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศแคนาดา มีเป้าหมายในการให้เด็กๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองผ่านการทำโครงการ […]

เพราะเมืองมีปัญหา จึงเป็นที่มาของ 3 ฮีโร่ ผู้ช่วยเหลือคนเมือง

24/03/2022

“Not All Heroes Wear Capes” เป็นวลีที่มักจะใช้กล่าวชื่นชมผู้คนทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันที่ทำความดี หรือกระทำการที่กล้าหาญหรือน่าประทับใจ เช่นลงไปช่วยลูกหมาที่กำลังจะจมน้ำ ช่วยทำคลอดฉุกเฉินบนรถแท็กซี่ เปรียบเสมือนเป็นฮีโร่ที่เข้ามาช่วยเหลือในยามที่ต้องการ รู้หรือไม่ว่าในเมืองของเราก็มีฮีโร่ไร้ผ้าคลุมไหล่ที่ใครๆ ก็มักจะเจอในชีวิตประจำวัน แต่บางครั้งเราอาจไม่ทันได้นึกถึงพวกเขาในแง่มุมนี้สักเท่าไหร่ เพราะหลายคนคงเคยชินกับปัญหาภายในเมืองและการมีฮีโร่เหล่านี้ไปเสียแล้ว อย่างเวลาที่เรากำลังจะไปทำงานสายเพราะรถติด คนที่เรานึกถึงคงไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากพี่วินมอเตอร์ไซค์ที่จะพาเราไปถึงที่ทำงานได้อย่างฉับไวราวกับมีพลังซุปเปอร์สปีท หรืออย่างเวลาที่เราขี้เกียจออกไปซื้อกับข้าวเพราะตลาดอยู่ไกลเหลือเกิน เรายังมีแม่ค้าพ่อค้ารถกับข้าวหรือรถพุ่งพวงที่มาส่งวัตถุดิบถึงหน้าบ้าน หรืออย่างเวลาที่เราอยากโล๊ะกองกระดาษ เอกสารที่มีอยู่เต็มบ้านเราคงจะนึกถึงซาเล้ง คนรับเก็บของเก่าเป็นแน่  วันนี้ The Urbanis จะพาไปรู้จักกับเหล่าฮีโร่ที่ถือกำเนิดมาจากปัญหาเมืองกัน ยอดมนุษย์วิน ฮีโร่แห่งความเร็ว จากบทความ มหานครซอยตัน ได้กล่าวว่า กว่า 45% ของความยาวถนนทั้งหมดในกรุงเทพฯ เป็นซอยตันแม้แต่ในพื้นที่เขตเมืองชั้นในที่ดูเหมือนว่าโครงข่ายถนนจะมีรูปแบบเป็นตารางกริด แต่กลับมีซอยตันแฝงอยู่เป็นจำนวนมาก และจากผลการสำรวจเกี่ยวกับแนวโน้มการใช้รถยนต์และการจราจรติดขัดในหลายเมืองในภูมิภาคอาเซียนของ Uber ได้กล่าวว่าคนกรุงเทพจะต้องเสียเวลาไปกับรถติดโดยเฉลี่ย 72 นาทีในแต่ละวัน และอีก 24 นาทีเพื่อวนหาที่จอดรถ แทนที่จะมีเวลาไปสังสรรค์หรือใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ คนกรุงฯ กับเรื่องการเดินทางเป็นปัญหาที่แก้ไม่ขาด ตั้งแต่เรื่องของขนส่งสาธารณะที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เราต้องรอเก้อเป็นชั่วโมง ปัญหาที่ทำงานไกลบ้าน  ขนส่งไม่เชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายเดียว ปัญหารถติด ปัญหาซอยลึกซอยแคบ บ้านห่างจากป้ายรถประจำทางมาก ยิ่งตอนกลางคืนหรือซอยเปลี่ยวๆ […]

ร่วมปฎิบัติการนักสังเกตการณ์เมือง

28/02/2022

หนึ่งในวิธีที่เราจะสามารถศึกษาเรื่องเมืองได้ดีที่สุด คือการเป็นคนช่างสังเกต เพราะว่าการสังเกตจะช่วยให้เรารับรู้ถึงข้อมูล ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา แล้วมันสามารถนำมาวิเคราะห์กลั่นกรองออกมาเป็นข้อมูลใหม่ๆ เป็นแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาได้ ตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องราวมาบ้างแล้ว คือ การค้นพบต้นเหตุที่มาของการระบาดของอหิวาตกโรคในลอนดอนในปี 1854 จากการที่ John Snow ได้สังเกตพฤติกรรมและจดบันทึก จนค้นพบว่าผู้ป่วยมีการเดินทางไปใช้น้ำจากแหล่งเดียวกัน วันนี้ The Urbanis จึงอยากชวนผู้อ่านมาร่วมเป็นนักสังเกตการณ์เมือง ร่วมเรียนรู้วิธีการ “Urban Observatory”  การเก็บข้อมูลเมืองในแบบฉบับนักสังเกตการณ์เมืองจะเป็นอย่างไร แล้วการสังเกตการณ์เมืองจะช่วยพัฒนาเมืองของเราได้อย่างไรบ้าง ติดตามกันได้ที่บทความนี้ “เมือง” คืออะไร ก่อนที่จะเป็นนักสังเกตการณ์เมืองเรามาทำความเข้าใจคำว่า “เมือง” กันก่อน คำว่าเมืองนั้นมีนิยามที่หลากหลายทั้งในเชิงกายภาพ ผู้คน เศรษฐกิจ หลายๆ ครั้งก็ทำให้เกิดคำถามที่ว่า ว่าเราจะนิยามเมืองได้ครอบคลุมขนาดนั้นจริงหรือ แต่โดยรวมแล้วเมืองจะสะท้อนให้เห็นถึง ความแตกต่าง ความหลากหลาย โอกาส และความเหลี่ยมล้ำ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ทำให้เมืองมีความซับซ้อน ไม่สามารถจำเพาะเจาะจงหรือจำกัดความได้ว่า เมือง หรือ การศึกษาเรื่องเมือง เป็นเรื่องเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่โดยส่วนตัวแล้วคุณอดิศักดิ์มองว่า เมือง คือ ผู้คน พื้นที่ และการปะทะสังสรรค์ของการใช้ชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายและหนาแน่น […]

พลเมืองกับเมืองน่าอยู่: วิชาพลเมืองสำคัญแค่ไหนกับการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่

17/02/2022

วิชาหน้าที่พลเมือง หรือ Civic/Citizenship Education เป็นวิชาที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ ความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนสู่การมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความรู้เรื่องการเป็นพลเมือง ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักและเข้าใจระบอบประชาธิปไตย การบริหารจัดการของภาครัฐ ตลอดจนวิธีปฏิบัติตามกฎหมาย การสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะและความรู้ในการชั่งน้ำหนักหลักฐาน อภิปราย และให้เหตุผลการสำรวจประเด็นทางการเมืองและสังคมอย่างมีวิจารณญาณ นอกจากนี้ยังควรเตรียมนักเรียนให้พร้อมเข้าสู่สังคมในฐานะพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ หรือหากสรุปให้เข้าใจอย่างง่าย คือที่ปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมนั้นเอง แล้ววิชาหน้าที่พลเมืองสำคัญกับเมืองน่าอยู่อย่างไร? วิชาหน้าที่พลเมืองปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองตื่นรู้ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างให้เกิดเมืองน่าอยู่ หากเรามองในระดับที่เล็กลงอย่างหมู่บ้าน หากผู้คนในหมู่บ้านของเราปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่หมู่บ้านกำหนดไว้ ทุกคนเคารพในสิทธิของกันและกัน รักษาทรัพย์สินส่วนกลาง ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กัน ช่วยเหลือกัน หมู่บ้านคงเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ไม่ใช่น้อย หากเรากลับมามองที่ระดับเมือง การที่ผู้คนภายในเมืองมีความเป็นพลเมือง ทำตามกฎระเบียบ รักษาและหวงแหนทรัพย์สินสาธารณะ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อเลือกผู้แทนที่มีนโยบายการพัฒนาเมืองที่ตรงกับความต้องการของเรา หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโครงการพัฒนาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงการรักษาสิทธิต่างๆ เช่นการเรียกร้องการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ งบประมาณถูกนำไปใช้กับโครงการที่มีความจำเป็นและตอบโจทย์กับคนจำนวนมาก เราคงเข้าใกล้การอาศัยในเมืองน่าอยู่อีกก้าว การจะปลูกฝังพลเมืองให้กลายเป็นพลเมืองตื่นรู้ที่ช่วยเคลื่อนเมืองได้นั้น จำเป็นต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก และขัดเกลาอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนให้กลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ รู้ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและบทบาทหน้าที่ของตนเอง ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเรื่องสิทธิและหน้าที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่ในช่วงหลายปีมานี้ มีความตื่นตัวอย่างมาก วันนี้ The Urbanis จึงอยากพาทุกท่านมาดูและตั้งคำถามผ่านตัวอย่างการเรียนการสอนของต่างประเทศและของไทยกัน นักเรียน โรงเรียน […]

Urban Dataverse เพราะเมืองกำลังขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

15/12/2021

ข้อมูลเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองเป็นอย่างมาก หากเปรียบเมืองเป็นบ้านหนึ่ง การจะสร้าง ออกแบบหรือต่อเติมบ้านให้ออกมาดูดีตรงใจได้นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องรู้ในทุกมิติตั้งแต่ขนาด โครงสร้าง วัสดุที่ใช้ ศึกษาว่าจะมีคนเข้ามาอยู่อาศัยกันกี่คน ห้องไหนจะใช้งบประมาณในการต่อเติมมากหรือห้องไหนจะใช้งบประมาณน้อย และอีกมากมาย หากกลับมาดูในบริบทของเมืองที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลในมิติที่หลากหลาย ข้อมูลเมืองมีหลายประเภท หลายรูปแบบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาการจราจร การแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ การแก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วยในการออกแบบเมืองให้น่าอยู่และมีอัตลักษณ์ ข้อมูลเมืองจะช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจลงทุนหรือกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เองก็จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เมืองพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน The Urbanis สรุปสาระงานเสวนา Urban Dataverse: The verse of data-driving urbanism จากวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา ทีมผู้อยู่เบื้องหลังเพจ “เชียงใหม่ฉันจะดูเเลคุณ” คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ นักภูมิศาสตร์เมือง คนเล่นแร่แปรธาตุข้อมูลเชิงพื้นที่เมือง คุณธนิสรา เรืองเดช ผู้ร่วมก่อตั้ง Punch Up studio กับโครงการเปลี่ยนสังคมด้วย “ดาต้า” และ คุณนิธิกร บุญยกุลเจริญ หนึ่งในนักพัฒนา ทีม […]

รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ: เลือกตั้ง อบต. ครั้งแรกในรอบ 8 ปี สะท้อนอะไรต่อการพัฒนาเมือง

26/11/2021

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564 นับเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญของการเลือกตั้งท้องถิ่นของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ นายก อบต. ครั้งแรกในรอบ 8 ปี แน่นอนว่า 8 ปีก่อน กับ วันนี้ บ้านเมืองเรามีพลวัตและเปลี่ยนแปลงไปหลายมิติ The Urbanis ชวน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ตอกย้ำถึงความสำคัญของ อบต. กับการพัฒนาประเทศในภาพรวม, การกระจายอำนาจ, อำนาจที่ยังไม่ได้ถูกปลดล็อค, ภาคพลเมืองเข้มแข็งกับการตรวจสอบ และ มายาคติว่าด้วยการเมืองท้องถิ่นกับคอร์รัปชัน ความน่าสนใจของการเลือกตั้ง อบต. ครั้งแรกในรอบ 8 ปี  ผมคิดว่ามีความแตกต่างที่น่าสนใจ 2-3 ประเด็น ประการที่หนึ่งแน่นอนเลยไม่พูดคงไม่ได้ คือโดยปกติ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นจะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี แต่ด้วยเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสภาวะการสะดุดหรือว่าหยุดลงของการเลือกตั้งท้องถิ่นมาเป็นเวลาหลายปี แล้วจึงเพิ่งมีการปลดล็อกเมื่อประมาณปีเศษๆ ที่ผ่านมา […]

Biodivers(C)ity เมืองมีส่วนส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร

17/11/2021

รายงานการประเมินทั่วโลก (Global Assessment Report) ปี 2019 ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และนิเวศบริการ (Ecosystem Services) สัตว์และพืชประมาณ 1 ล้านสายพันธุ์กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ รายงานนี้พบว่าระบบนิเวศที่เราพึ่งพาอาศัยอยู่นั้นเสื่อมลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เคย ส่งผลกระทบต่อรากฐานทางเศรษฐกิจ การดำรงชีวิต ความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ และคุณภาพชีวิตในระดับโลก แล้วความหลากหลายทางชีวภาพนั้นส่งผลดีต่อเราอย่างไรบ้าง แล้วการออกแบบและวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง ที่จะทำให้เมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น ความเป็นเมืองส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยมลพิษสู่อากาศและแหล่งน้ำ ฯลฯ และหลายๆ สาเหตุนั้นเกิดขึ้นใน กระบวนการความเป็นเมือง ที่เรามักคุ้นเคยกับการออกแบบเมืองของเราด้วยถนนลาดยางและอาคารขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันต่อผลกระทบต่อความยืดหยุ่น (resilient) ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การกำจัดต้นไม้และพืชพรรณต่างๆ และการใช้วัสดุกันซึมในเขตเมืองทำให้การทำงานของระบบนิเวศตามปกติบกพร่อง เช่น การหมุนเวียนของคาร์บอน น้ำ และสารอาหารที่สำคัญ การขาดพืชพรรณทำให้เราต้องเผชิญกับมลพิษ คลื่นความร้อน โรคที่เกิดจากพาหะนำโรค (vector-borne diseases) และผลกระทบด้านลบอื่นๆ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  นอกจากนี้ยังส่งผลการมีสุขภาพทางกายและจิตใจของผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองอีกด้วย สภาพแวดล้อมในเมืองอาจมีเสียงดังและคุณภาพอากาศต่ำ จากการจราจรหนาแน่นและประชากรหนาแน่น การมีนิเวศบริการและธรรมชาติในบริเวณใกล้เคียงที่มีการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจได้ ถ้าเมืองเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ หากเมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ […]

ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างเเมพวิชวลเมือง กับ อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้

13/09/2021

เรียบเรียงโดย ณิชากร เรียงรุ่งโรจน์ ต้องเกริ่นก่อนว่าบทความในครั้งนี้เกิดจากผู้เขียนได้มีโอกาสได้เข้าไปเรียนในคลาส 154479 : การออกแบบแผนที่ ของนักศึกษาภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งให้เกียรติเชิญ คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence และศิษย์เก่าภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากร แล้วเกิดไอเดียอยากส่งต่อและถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบและไอเดียการสรรค์สร้างแมพวิชวลของเมือง เป็นบทความชิ้นนี้ แมพวิชวลในงานเมือง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแผนที่นั้นมีประโยชน์และถูกนำไปใช้งานได้มากมายหลายศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการทหารที่ต้องอาศัยแผนที่ในการดูจุดยุทธศาสตร์และวางแผนการรบ ด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องการอาศัยแผนที่ในการดูเส้นทางหรือตำแหน่งของสถานที่ท่องเที่ยว ด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่อาศัยแผนที่ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงหรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ เรียกได้ว่าทุกศาสตร์ทุกแขนงต้องอาศัยแผนที่เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยเก็บบันทึก ศึกษาและสื่อสารข้อมูล ในด้านการออกแบบและพัฒนาเมืองเองแผนที่ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่มักจะถูกหยิบมาใช้งาน โดยแผนที่มักจะถูกนำมาใช้ในการแสดงผลของข้อมูลที่ได้มีการเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ นำมาถ่ายทอด หรือ Visualize ให้ข้อมูลเหล่านั้นกลายเป็นเเผนที่เพื่อทำให้ง่ายต่อการเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อไปยังบุคคนทั่วไปที่อาจไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนี้ นอกจากนี้การนำข้อมูลมาแปลงเป็นแผนที่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้  เช่น การนำแผนที่ข้อมูลแต่ละแบบมาทับซ้อนกัน ซึ่งทำให้สามารถเห็นภาพข้อมูลใหม่ๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนได้ ตัวอย่างเช่น แผนที่อุปสงค์ VS อุปทาน เมืองแห่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร ที่มีการนำข้อมูล สาธารณูปการในระบบการศึกษา สาธารณูปการสนับสนุนการเรียนรู้ และสาธารณูปการศักยภาพเพื่อการเรียนรู้ มาทับซ้อนกันเพื่อหาพื้นที่ศักยภาพในการเรียนรู้มากที่สุด รวมถึงสามารถนำไปทับซ้อนกับข้อมูลช่วงวัยของประชากร […]

1 2 3