เมืองฟองน้ำ: แนวคิดที่ทำให้เมืองกับน้ำเป็นมิตรของกันและกัน

01/09/2021

บ่อยครั้งที่ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในฤดูฝน หลายเมืองของประเทศไทยมักประสบปัญหาด้านน้ำ ไม่ว่าจะน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก น้ำรอการระบาย ฯลฯ เฉพาะปัญหาน้ำรอการระบายในพื้นที่กรุงเทพมหานครก็นำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ จนเกิดวลีอย่าง “ฝนตก รถติด” ทว่าปัญหาด้านการจัดการน้ำของเมืองในอนาคตมีแนวโน้มจะรุนแรงกว่าน้ำรอการระบาย หากคือความเสี่ยงเมืองจมน้ำ ตามที่หน่วยงานแหล่งได้คาดการณ์ไว้ว่า กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 11 เมืองทั่วโลก ที่มีความเสี่ยงจมใต้บาดาล อันเป็นมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การทรุดตัวลงของแผ่นดิน และการขยายตัวของเมือง คำถามคือคนกรุงเทพฯ จะยอมรับชะตากรรมดังกล่าว หรือใช้องค์ความรู้หลากหลายศาสตร์สร้างแผนรับมือ กระทั่งปรับวิถีคิดในการใช้ชีวิตร่วมกับน้ำให้ได้  อย่างไรก็ตาม ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ประสบปัญหาด้านน้ำในเมือง ด้านประเทศจีนเองก็ประสบปัญหาเรื่องน้ำอย่างรุนแรงเช่นกัน ทั้งในแง่ของการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และคุณภาพน้ำ เนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของการพัฒนาอุตสาหกรรมและการขยายตัวของเมือง ตลอดจนความถี่ที่เพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ส่งผลให้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ความเสียหายจากอุทกภัยเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ท่ามกลางปัญหาเหล่านี้น้ำท่วมจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของภัยธรรมชาติที่ทำลายล้างมากที่สุดของจีน ปี 2013 รัฐบาลจีน ประกาศใช้แนวทาง เมืองฟองน้ำ (sponge city) อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และได้เปิดตัวโครงการเพื่อให้การสนับสนุนทางการเงิน เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามแนวทางนี้ในเมืองนำร่องที่ได้รับการคัดเลือก  ทั้งนี้ด้วยจุดมุ่งหมายในการเพิ่มการแทรกซึม (infiltration) การคายระเหย (evapotranspiration) และการดักจับและการนำน้ำฝนกลับมาใช้ใหม่ในสภาพแวดล้อมเมือง […]

สัปเหร่อนอกสายตา เมรุแตก พิธีกรรมการจากลาที่หายไป ฯลฯ : บทสนทนาว่าด้วยโควิดกับการตายและการจัดการร่าง กับ รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์

02/08/2021

ไอซียูใกล้แตก เมรุใกล้เต็ม คนวงการแพทย์ไม่ไหวจะแฉ ย่ำแย่มานาน แต่ไม่มีการแก้ไข (ผู้จัดการ, 24 มิ.ย. 64) อลหม่านงานศพตาวัย 85 พระกำลังสวดวงแตก เจ้าหน้าที่ขออายัดหลังพบติดโควิด (ไทยรัฐ, 5 ก.ค. 64) ศพโควิดล้น หลวงพี่ควบหน้าที่สัปเหร่อ สวดเองเผาเอง (อมรินทร์ทีวี, 14 ก.ค. 64) สลด! ดับ 3 ราย นอนตายข้างถนน-คาบ้าน รอ จนท. เก็บศพนานหลายชั่วโมง (กรุงเทพธุรกิจ, 21 ก.ค. 64) เผาจนเมรุถล่ม! วัดบางน้ำชนวอนบริจาคสร้างใหม่ (ทีเอ็นเอ็น24, 23 กรกฎาคม 64) บางส่วนของพาดหัวข่าวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกปี 2564 ของประเทศไทย ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับความตายและเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่าในภาวะโรคระบาด ความตายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนอย่างยากจะหลีกเลี่ยง อย่างเช่นข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่กลายเป็นการเริ่มต้นบทสนทนาระหว่างครอบครัว เพื่อนฝูง และบุคคลใกล้ชิด เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่ […]

เปิดตำรา Better Bangkok กับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สร้างเมืองที่ดีกว่าจากโครงข่ายผู้คน องค์ความรู้ และความผูกพันด้วยการทำงาน ทำงาน ทำงาน

29/07/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค / ณิชากร เรียงรุ่งโรจน์ ในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบทบาทในด้านการพัฒนาเมืองผ่านการมีส่วนร่วมของผู้คนหลายภาคส่วน ด้วยการจัดตั้งกลุ่ม Better Bangkok โดยคิกออฟที่ชุมชนโรงหมู คลองเตย ไปเมื่อปลายปี 2562 ก่อนจะตะลุยพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ รับรู้ปัญหาและความต้องการของชุมชน ทั้งในเชิงคุณภาพชีวิตและด้านกายภาพ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาดก็ได้เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะนำอาหารและสิ่งจำเป็นที่ภาคเอกชน และกลุ่มต่างๆ ได้ร่วมสมทบไปแจกให้แก่ชุมชนต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสพิเศษอีกครั้งที่อาจารย์ชัชชาติให้เกียรติศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis ถอดบทเรียนการทำงานของกลุ่ม Better Bangkok และ กลุ่มเพื่อนชัชชาติ ที่มีเป้าหมายสร้างเมืองที่ดีกว่าจากโครงข่ายผู้คนและองค์ความรู้ เชิญอ่านตำรา Better Bangkok ว่าด้วย จุดเริ่มต้นและโครงสร้างการทำงาน, โอกาส ปัญหา และอุปสรรค ในการผลักดันการพัฒนาเมืองบนฐานความรู้ของผู้คน, […]

เมืองกับศักยภาพการเป็นโรงพยาบาลสนามในภาวะฉุกเฉิน ย้อนมองไทย สหรัฐฯ และอินเดีย

30/06/2021

ภาพปกบทความ โดย สำนักประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร สถานการณ์ฉุกเฉินอย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนมองเห็นคุณค่าของพื้นที่สาธารณะและพื้นที่กึ่งสาธารณะของเมืองในมุมมองที่แตกต่างจากภาวะปกติ ดังเห็นว่าพื้นที่บางประเภท เช่น หอประชุม สนามกีฬาในร่ม อาคารเรียน ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานเพื่อรองรับความต้องการของเมืองในยามคับขัน เช่น ถูกปรับเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเเบ่งเบาภาระของสถานพยาบาลที่มีจำนวนไม่เพียงพอกับผู้ติดเชื้อ ไทยกับปรากฏการณ์เตียงผู้ป่วย ห้อง ICU ที่ไม่เพียงพอ ข้อมูลจากสำนักข่าวบีบีซีไทย (28 เมษายน 2564) พูดถึงประเด็นน่ากังวลเรื่องการจัดหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด-19 และจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยไอซียูห้องความดันลบเริ่มจะเต็มกำลังการรองรับของระบบสาธารณสุข ภายหลังเกิดการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานยอดผู้ป่วยสูงขึ้นสู่ระดับ 2,000 คนต่อวัน โดยระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 25644 ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นจาก 418 ราย เป็น 695 ทำให้สถานการณ์เตียงสำหรับผู้ป่วยอาการหนักหรือไอซียู เกิดสภาวะที่เรียกว่า “เตียงตึง” โดยกรมการแพทย์ให้ข้อมูลว่า มีผู้ป่วยครองเตียงไปแล้ว 70-80% ทั่วประเทศ ไม่เพียงเตียงผู้ป่วยและเตียงผู้ป่วยไอซียูที่ไม่เพียงพอ แต่เครื่องช่วยหายใจและระบบความดันลบก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากมีผู้ป่วยหนักย่อมแสดงว่าความต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจก็มีมากขึ้น ขณะนี้เครื่องช่วยหายใจที่ต้องมีระบบออกซิเจนเริ่มมีไม่เพียงพอ อีกทั้งการที่มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นยังทำให้พื้นที่โรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างเพียงพอ สถานการณ์ไทยเทียบกับอินเดียแล้วหรือไม่? สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 […]

ทำไมอยู่ในเมืองถึง “เปราะบาง” กว่าอยู่ในชนบท คุยปัญหาคนสูงอายุในวิกฤตโควิด-19 กับ ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ

28/06/2021

หลายคนทราบดีว่ากลุ่มคนเปราะบาง เช่น คนพิการ คนไร้บ้าน คนสูงอายุ ฯลฯ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 มากที่สุด ไม่ว่าผลกระทบด้านการทำงาน สุขภาพและปากท้อง และเชื่อหรือไม่ว่า คนสูงอายุที่อยู่อาศัยในเขตเมืองประสบปัญหามากกว่าผู้สูงอายุในเขตชนบท  การศึกษาผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อประชากรสูงอายุในประเทศไทย โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) พบข้อมูล อาทิ ผู้สูงอายุที่ทำแบบสำรวจประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจมากกว่าด้านสุขภาพ  1 ใน 3 ระบุว่ามีรายได้ไม่เพียงพอในช่วงวิกฤตโควิด-19 ขณะที่สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีรายได้หลักจากการทำงานลดลงจาก 40% เหลือเพียง 22% จากผลการสำรวจผู้สูงอายุที่ทำงานพบว่า 81% เจออุปสรรคในการทำงานที่เป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของโควิค-19 และในสัดส่วนดังกล่าว 36% สูญเสียอาชีพ พื้นที่ค้าขาย หรือถูกปรับลดเงินเดือน นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีรายได้จากการทำงานและดอกเบี้ยเงินออมลดลงในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 อีกด้วย ในด้านสุขภาพร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุระบุว่าตนเองมีอาการทางสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 อาการเป็นบางครั้งหรือตลอดเวลา ได้แก้ วิตกกังวล ไม่อยากอาหาร เหงาและไม่มีความสุข สัดส่วนดังกล่าวทั้งหมดแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างผู้สูงอายุชายและหญิง แต่มีค่าสูงกว่าสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยในเขตเมืองเปรียบเทียบกับเขตชนบท นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังมีแนวโน้มที่จะมีอาการเหงามากกว่าผู้สูงอายุที่มีลักษณะการอยู่อาศัยในรูปแบบอื่นๆ  ศาสตราจารย์ ดร. […]

The Underline Miami เพราะเห็นคุณค่าพื้นที่ร้าง ประชาชนจึงอยากสร้างความเปลี่ยนแปลง

31/05/2021

ใต้เส้นทางรถไฟฟ้าเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนมักมองข้าม ความเป็นจริงแล้วพื้นที่ประเภทนี้สามารถฟื้นฟูให้เกิดประโยชน์กับเมืองได้ หลายคนอาจจะเคยเห็นการเปลี่ยนพื้นที่ว่างใต้ทางด่วนเป็นสนามกีฬา บูธจำหน่ายสินค้า หรือเป็นพื้นที่จอดรถกันมาบ้าง จริง ๆ แล้วพื้นที่ว่างเหล่านี้ อาจมีศักยภาพที่จะเป็นได้มากกว่านั้น ยกตัวอย่างเช่นโครงการ The Underline โครงการเปลี่ยนแปลงพื้นที่รกร้างใต้เส้นทางรถไฟฟ้า ที่ล่าสุดเพิ่งได้รับรางวัล The Monocle Design Awards 2021 ในสาขาสุดยอดนวัตกรรมเมือง (Best Urban Intervention) ไปสด ๆ ร้อนๆ The Underline โครงการเปลี่ยนพื้นที่รกร้างสู่การใช้งานที่หลากหลาย The Underline คือ โครงการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะรกร้างว่างเปล่ากว่า 120 เอเคอร์ ใต้เส้นทางรถไฟฟ้าเส้นยาว 10 ไมล์ ให้เป็นสวนสาธารณะเส้นตรง (linear park) เพื่อเป็นทางสาธารณะของเมือง (urban trail) ที่มีการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางปั่นจักรยาน ทางเดินในเมือง สนามบาสเก็ตบอล สนามฟุตบอล ยิมกลางแจ้ง สวนผีเสื้อ พื้นที่นั่งเล่น ทั้งยังเพื่อเป็นจุดหมายปลายทางของศิลปะมีที่มีชีวิต และเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ กิจกรรมที่เกิดขึ้นล้วนส่งเสริมสุขภาวะของคนเมือง […]

ส่อง 6 ฮอตสปอต นครโฮจิมินห์ซิตี เครื่องมือสร้างเมืองนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

20/05/2021

ภาพปกโดย Photo by Q.U.I on Unsplash รู้หรือไม่ กรุงเทพฯ มีแผนการพัฒนาย่านนวัตกรรมมากมายหลายพื้นที่ อาทิ ย่านรัตนโกสินทร์ ราชเทวี กล้วยน้ำไท ลาดกระบัง ปุณณวิถี ฯลฯ โดยมีเป้าหมายสำคัญให้ย่านนวัตกรรมเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองและประเทศ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเวียดนาม ที่มีแนวคิดในการพัฒนาย่านนวัตกรรมเช่นเดียวกัน วันนี้เราจะพาไปดูการสร้างย่านนวัตกรรมในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามอย่าง “นครโฮจิมินห์ซิตี้” (Ho Chi Minh City) หลายคนอาจสงสัยว่าย่านนวัตกรรมมันคืออะไร? ข้อมูลของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ระบุว่า ย่านนวัตกรรม (Innovation District) เป็นแนวคิดใหม่ของการวางแผนและออกแบบพื้นที่และสังคมเมืองบนหลักการของการพัฒนาเมือง หรือย่านที่ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมให้รวมกันเป็นคลัสเตอร์ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและผู้ดำเนินกิจกรรมในย่าน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อผู้คนและไอเดียภายในย่าน (connecting) รวมถึงการมีกลไกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกัน (co-creation) แบ่งปันความรู้ระหว่างกัน (knowledge sharing) ของชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานในพื้นที่  โมเดลย่านนวัตกรรมแบบเกลียว 3 สาย (triple helix model of innovation […]

สำรวจ 5 พื้นที่และสถาปัตยกรรมสร้างสรรค์เพื่อสรรสร้างแหล่งเรียนรู้ของเมือง

18/05/2021

ภาพโครงการ Weiliu Wetland Park จาก http://landezine.com/ เมืองของเรามีพื้นที่หรืออาคารสาธารณะที่ช่วยส่งเสริมให้คนในเมืองเกิดการเรียนรู้อยู่บ้าง แต่ก็เรียกได้ว่ายังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้อาศัยนอกพื้นที่เขตเมืองชั้นในที่ยากจะเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งมักจะกระจายในเมืองชั้นใน จากข้อมูลของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) โดยโครงการอนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ (The Future of Learning City) พบว่า กรุงเทพฯมีสาธารณูปการสนับสนุนการเรียนรู้เฉลี่ยเพียง 35 % เท่านั้น จากบทความ กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้ อ่านต่อ เป็นไปได้หรือไม่ว่า พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ศาลากลางจังหวัด ห้องสมุด แม้แต่สนามเด็กเล่น พื้นที่หรืออาคารสาธารณะเหล่านี้ จะมีบทบาทที่มากกว่าและหลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ วันนี้เราจะพาไปดูเหล่าโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะที่ช่วยส่งเสริมให้คนเกิดการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับฟังก์ชันการใช้งานอื่นๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีวภาพและวิถีชีวิตของชุมชน พิพิธภัณฑ์ที่เป็นทั้งที่แสดงผลงานศิลปะ วัฒนธรรมและเป็นทั้งแหล่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาวแอฟริกัน-อเมริกันในพื้นที่ไปพร้อมๆกัน อาคารศูนย์การเรียนพุทธศาสนาที่เปิดให้คนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน ศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนที่เป็นทั้งโรงเรียนและพื้นที่สาธารณะ และการเปลี่ยนแปลงอาคารประวัติศาสตร์สู่ศูนย์วัฒนธรรมครบวงจร Weiliu Wetland Park โครงสร้างสีเขียวเชื่อมโยงชุมชนกับธรรมชาติ Weiliu Wetland Park เป็นพื้นที่สวนสาธารณะ สร้างขึ้นบนพื้นที่ราบลุ่มของแม่น้ำ Wei […]

ครึ่งศตวรรษของการเปลี่ยนเมืองโคเปนเฮเกน จากเมืองแห่งรถยนต์สู่เมืองเดินเท้าที่มีชีวิตชีวา

11/05/2021

ถนน Strøget เป็นถนนเก่าแก่สายสำคัญของเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และเป็นถนนทางเดินเท้า (pedestrian streets) สายยาวที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ปัจจุบันถนนสายนี้มีชื่อเสียง เต็มไปด้วยร้านค้ามากมาย และยังเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนมาแฮงค์เอาท์ นั่งกินดื่มชมการแสดงบนท้องถนน เช่น ดนตรีสด มายากล และกายกรรม ฯลฯ แต่กว่า Strøget จะมีชีวิตชีวาเหมือนทุกวันนี้ ถนนเส้นนี้ผ่านอะไรมาบ้าง? ราว 60 ปีก่อน เมืองโคเปนเฮเกนก็ประสบปัญหาเดียวกับหลายเมืองทั่วโลก นั่นคือ เมืองเต็มไปด้วยรถยนต์ กระทั่งปี 1962 ถนนและจัตุรัสกลางกรุงโคเปนเฮเกนทั้งหมด กลายเป็นเส้นทางสัญจรของยานพาหนะและเป็นพื้นที่จอดรถ จากความนิยมใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และในปีเดียวกันก็เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการสร้างถนนคนเดินในเมืองโคเปนเฮเกน (The Pedestrianization of Copenhagen) โครงการเริ่มต้นทดลองที่ถนน Strøget แน่นอนว่าการเปลี่ยจากถนนรถวิ่งเป็นถนนคนเดินระยะทาง 1.15 กม. เป็นความพยายามเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายมาก และก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย เช่น “ถนนคนเดินไม่มีทางสำเร็จในสแกนดิเนเวีย” “ไม่มีรถยนต์หมายความว่าไม่มีลูกค้าและไม่มีลูกค้าหมายความว่าไม่มีธุรกิจ” “สภาพอากาศที่ชื้นของเดนมาร์กนั้นจะทำให้การจราจรปิดถนนเป็นหายนะ อีกทั้งด้วยการเดินเท้าออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งนั้นไม่เข้ากับวัฒนธรรมของเดนมาร์ก” “เราไม่ใช่คนอิตาลี เราไม่อยากจะเดิน” อย่างไรก็ตาม the City of […]

สำรวจ 5 เมืองเดินได้ เปลี่ยนถนนเป็นพื้นที่สาธารณะ จากโครงการทดลองที่ชวนคนเมืองมีส่วนร่วม

05/05/2021

ภาพปกจาก https://www.publicspace.org/works/-/project/k081-poblenou-s-superblock เมืองเราที่อยู่อาศัยประสบกับปัญหามากมาย ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม ผู้คนจึงเริ่มให้ความสำคัญกับแนวคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนมากขึ้น การเคลื่อนที่ในเมือง (urban mobility) ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนภายในเมืองดีขึ้น หันมามองประเทศไทยที่ยังคงให้ความสำคัญกับการใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหามลภาวะทางเสียง ปัญหามลภาวะทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 ฯลฯ ส่วนหนึ่งที่จะสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้คือการสนับสนุนรูปแบบการเดินทางทางเลือก เช่น การใช้ขนส่งสารธารณะ การเดินเท้า การปั่นจักรยาน ทว่า กรณีประเทศไทย ถนนและผิวจราจรถูกสร้างมาโดยให้ความสำคัญกับรถยนต์เป็นอันดับแรก และลืมที่จะออกแบบเพื่อผู้คนที่เดินเท้า ปั่นจักรยาน หรือคนใช้งานวีลแชร์ เราจึงขอยกตัวอย่างโครงการทดลองใน 5 เมืองทั่วโลก ที่ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองการใช้ถนนว่าไม่ใช่แค่เป็นพื้นที่สำหรับรถยนต์เท่านั้น แต่เป็นได้มากกว่านั้น เมืองเคปทาวน์: ปิดถนนวันหยุดแล้วออกมาเล่นสนุกในเมือง เริ่มต้นที่ เมืองเคปทาวน์ (Cape Town) ประเทศแอฟริกาใต้ กับโครงการ Open Streets Day จัดตั้งโดยองค์กร Open Streets Cape Town (OSCT) […]

1 2 3