วัด ละลายพื้นที่แช่แข็งทางศาสนาสู่การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเมือง

30/06/2023

ศาสนสถานมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเป็นศูนย์กลางของชุมชน ตลอดจนเป็นพื้นที่ทางสังคมของคนตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน หากมองบริบทของกรุงเทพมหานครจะพบว่า มีศาสนาสถาน ในรูปแบบของ “วัด” มากถึง 461 แห่ง วันนี้ The Urbanis จึงอยากชวนทุกท่านให้ลองคิดดูว่าหากมีการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ของวัดบางส่วนให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะ เพื่อรองรับกิจกรรมทางเลือกสำหรับคน ทุกเพศ ทุกวัยในชุมชน เมืองของเราจะเป็นอย่างไร? วัด: โอกาสในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวสาธารณะ หากพูดถึง pain point ของคนกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน คิดว่าการขาดแคลนพื้นที่สีเขียวสาธารณะใกล้บ้าน ที่ผู้คนสามารถเข้าไปเดินเล่น ออกกำลังกาย หรือพักผ่อนหย่อนใจ คงเป็นหนึ่งในนั้น โดยจากข้อมูลของสำนักสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานครมีพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอยู่ที่ 7.63 ตร.ม./คน ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุไว้ที่ 9 ตร.ม./คน นอกจากนี้ หากดูจากแผนที่แสดงตำแหน่งสวนสาธารณะด้านล่าง จะเห็นได้ว่าบางเขตของกรุงเทพมหานครนั้นไม่มีสวนสาธารณะเลย และมีระยะการเข้าถึงอยู่ที่ 4.5 กิโลเมตรซึ่งถือว่าเป็นระยะที่คนไม่สามารถเดินไปได้ อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลของวัดที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะบริเวณเขตเมืองชั้นในนั้นมีการกระจุกตัวของวัดอยู่มาก ทั้งนี้ หากมีแนวคิดหรือแนวทางในการพัฒนาพื้นที่บางส่วนของวัด ซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะอยู่แล้ว ให้เป็นพื้นที่สีเขียว […]

คนเมือง สนามกีฬา สวนสาธารณะ และการออกกำลังกาย

21/06/2023

“ทำไมปัจจุบันเราต้องจ่ายเงินมากมายเพื่อแลกกับการบริการเพื่อสุขภาพ ทั้งที่เราควรจะมีพื้นที่สวนสาธารณะ สนามกีฬา และสถานที่ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ” การออกกำลังกายในปัจจุบันนั้นมีความนิยมมากขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด ทำให้ผู้คนหันมาสนใจการดูแลตัวเองมากขึ้น แต่จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้คนพบว่าในปี 2564 นั้นผู้คนส่วนใหญ่นั้นมักจะนิยมการออกกำลังที่ฟิตเนส และที่บ้านตนเองเป็นส่วนใหญ่ แต่การออกกำลังกายที่ฟิตเนสนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้เห็นว่าพื้นที่สาธารณะนั้นมีไม่เพียงพอครอบคลุมพื้นที่สำหรับการออกกำลังกาย ทำให้ผู้คนหันไปเลือกการใช้ฟิตเนสและการออกกำลังกายที่บ้านเป็นส่วนมาก ดังนั้นควรจะมองหาโอกาสในการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ เพื่อสร้างทางเลือกในการออกกำลังกายมากขึ้น สถานที่การออกกำลังกับความนิยมในปัจจุบัน? พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่เลือกการออกกำลังกายที่ฟิตเนสมากที่สุด คิดเป็น 63.4% โดยผู้คนส่วนใหญ่นั้นกลับมาสนใจการออกกำลังกายในฟิตเนสสูงจากช่วงก่อนโควิด-19 แพร่ระบาดอีกครั้ง รองลงมาคือบ้าน คิดเป็น 36.6% ซึ่งผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 จากที่เคยไปสวนสาธารณะหรือสนามกีฬาเปลี่ยนมาเป็นการออกกำลังกายที่หน้าบ้านมากขึ้น (การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2564) ข้อดีของการวิ่งที่ฟิตเนส และ สวนสาธารณะ โดยจะเป็นการเปรียบเทียบข้อดีสถานที่ระหว่างที่ฟิตเนสและที่สวนสาธารณะ ซึ่งประเภทของการออกกำลังกายจะเป็นการวิ่ง ซึ่งเป็นเทรนด์ที่มาแรงในปัจจุบัน ข้อดีของการวิ่งในฟิตเนส 1. ความสะดวกสบาย 2. กำหนดการวิ่งได้ 3. ก้าวขาอัตโนมัติ ลดการออกแรง 4. ปลอดภัย ไร้คน เด็ก และรถ 5. บังคับตัวเองให้มีวินัยในการออกกำลังกาย ข้อดีของการวิ่งในสวนสาธารณะ 1. บรรยากาศที่ดีกว่า 2. พื้นที่ในการวิ่งแตกต่างกันไป […]

ปทุมวัน ปทุมWALK: เข้าใจ 5 พฤติกรรมการเดินชาวปทุมวัน

20/06/2023

ปทุมวัน เขตที่เปรียบเสมือนหัวใจอีกดวงหนึ่งของกรุงเทพฯ ด้วยการเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมที่สำคัญ เป็นแหล่งรวมย่านพาณิชยกรรมและพักผ่อนหย่อนใจที่พร้อมรองรับผู้คนทุกเพศทุกวัย เป็นศูนย์กลางแหล่งงานที่สำคัญจากการเป็นที่ตั้งของสำนักงานจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเมืองจากการเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาและสถานที่ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ อีกทั้งเป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนที่หลากหลาย จากการวิเคราะห์ข้อมูลย่านเดินได้ของโครงการเมืองเดินได้-เดินดี (Goodwalk) พบว่า ปทุมวันเป็นเขตที่มีค่าดัชนีเมืองเดินได้สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของกรุงเทพฯ หมายถึง คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ สามารถเข้าถึงสาธารณูปการในชีวิตประจำวันได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพารถยนต์ แล้วเมืองเดินได้นี้ มีคนเดินมากแค่ไหน บทความนี้จะพาทุกท่านมาพบกับ 5 พฤติกรรมการเดินชาวปทุมวัน จากการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ทั้งผู้อยู่อาศัย คนสัญจรผ่านไปมา นิสิต/นักศึกษา และคนทำงาน Fact ที่ 1: ชาวปทุมวันเดินไกลกว่าค่าเฉลี่ย ผลการสำรวจพฤติกรรมการเดินจากโครงการเมืองเดินได้-เดินดี พบว่า ระยะทางเฉลี่ยที่คนกรุงเทพฯ เต็มใจที่จะเดินในแต่ละครับ คือ ประมาณ 800 เมตร แต่สำหรับเขตปทุมวันคนส่วนใหญ่เดินไกลกว่านั้น โดยมีระยะทางเฉลี่ยอยู่ที่ 925 เมตร หรือไกลกว่าระยะทางเฉลี่ยของคนกรุงเทพฯ 15% และสามารถจำแนกคนเดินได้เป็น 3 กลุ่ม ตามระยะทาง คือ คนเดินสั้น คือ คนเดินไม่เกิน 400 […]

ขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ: ฮาร์ดแวร์ (Where?) ที่มีไม่ครบ

18/07/2022

กรุงเทพฯ เมืองใหญ่ที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดจนกลายเป็นภาพจำของทั้งต่อผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยว สภาพการจราจรที่สาหัส ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตคนกรุงมาอย่างยาวนาน โดย TomTom Traffic Index ระบุว่า ในปี 2562 กรุงเทพเป็นเมืองที่มีสภาพการจราจรติดขัดมากเป็นอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็พยายามแก้ปัญหานี้มาทุกยุคสมัย เพื่อหวังจะยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการเดินทางสัญจรในเมือง และไม่ต้องเจอกับปัญหารถติดอีกต่อไป ทั้งการตัดถนนสายใหม่ ขยายถนนสายเดิม หรือการพัฒนาขนส่งสาธารณะ ทำให้กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นเมืองที่มีรูปแบบการเดินทางให้เลือกหลากหลาย ทั้งขนส่งสาธารณะระบบหลัก (mass transport) เช่น รถไฟฟ้า รถเมล์ และเรือ และขนส่งสาธารณะระบบรอง (feeder) เช่น รถตู้ รถสองแถว แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก และวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งในบทความนี้ จะขอกล่าวถึงเฉพาะขนส่งสาธารณะระบบหลักหรือขนส่งมวลชน ซึ่งสามารถขนส่งคนได้ครั้งละมาก ๆ มีการกำหนดเส้นทาง จุดรับ-ส่ง เวลาให้บริการ และค่าโดยสารที่แน่นอน นับตั้งแต่รถไฟฟ้า BTS […]

ส่องทิศทางการพัฒนาย่านพระโขนง-บางนา

28/03/2022

หากถามว่าย่านไหนในกรุงเทพฯ ที่เติบโตเร็วที่สุด มีการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นที่สุด? เชื่อว่าย่านพระโขนง-บางนา คงเป็นหนึ่งในคำตอบของใครหลายคน ทุกวันนี้ เรารู้จักย่านพระโขนง-บางนากันดีในฐานะของย่านที่อยู่อาศัยไม่ไกลจากศูนย์กลางเมืองของกรุงเทพฯ การเดินทางที่สะดวกยิ่งขึ้นจากการมาถึงของรถไฟฟ้า BTS ส่วนต่อขยาย ถือเป็นตัวแปรสำคัญ ที่นำความเจริญและการเปลี่ยนผ่านจากอดีตที่เคยเป็นชานเมืองเงียบเหงา มาสู่การเป็นย่านทำเลทองแห่งใหม่ที่ใคร ๆ ก็ต่างให้ความสนใจ วันนี้ จึงอยากจะพาทุกคนไปส่องอนาคตของย่านพระโขนง-บางนาอันใกล้ ที่จะกลายเป็นศูนย์ชุมชนชานเมือง ด้วยนโยบายจากแผนผังแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพฯ การเป็นย่านนวัตกรรมดิจิทัล จากนโยบายการพัฒนาย่านนวัตกรรมดิจิทัลต้นแบบของไทย โดย NIA ร่วมกับ True Digital Park ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้การเดินทางสัญจรในย่านแห่งนี้สะดวกยิ่งขึ้นด้วยรถไฟฟ้าสายใหม่ 2 สาย การพัฒนาโครงข่ายถนนอีก 10 เส้นทาง และการเป็นย่านสำหรับการใช้ชีวิตตั้งแต่อยู่อาศัย ทำงาน และพักผ่อน จากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ต่าง ๆ กว่า 10 แห่ง ทั้งคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้า ย่านพระโขนง-บางนา จะเป็นศูนย์ชุมชนชานเมือง แผนผังแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพฯ ที่กำลังจะประกาศใช้ในอนาคตอันใกล้ มีแนวคิดกระจายความแออัดของการใช้ประโยชน์ที่ดินออกจากพื้นที่ศูนย์กลางเมืองเดิม (CBD) สู่ศูนย์กลางพาณิชยกรรมรอง และศูนย์ชุมชนย่านชานเมือง ซึ่งแยกบางนาและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์ชุมชนย่านชานเมือง ซึ่งจะทำให้แยกบางนาจะกลายเป็นย่านพาณิชยกรรมขนาดย่อมแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ […]

มองผ่านวิสัยทัศน์การพัฒนา “กรุงเทพฯ มหานครแห่งเอเชีย”

03/03/2022

ศตวรรษที่ 21 คือครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองมากกว่าชนบท และยังมีแนวโน้มการย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมืองขนาดใหญ่หรือเมืองมหานครที่เป็นศูนย์รวมกิจกรรมการบริการต่าง ๆ เต็มไปด้วยโอกาสทางเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต กลายเป็นความท้าทายต่อเมืองทั่วโลก ว่าจะวางแผนเพื่อให้สามารถรองรับการอยู่อาศัยของคนจำนวนมาก พร้อมทั้งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีต่อคนเมืองได้ ศตวรรษที่ 21 นี้ จึงถือเป็นศตวรรษของเมือง วันนี้ เราจึงชวนทุกท่านมาดูว่า เมืองกรุงเทพฯ ที่ว่าใหญ่นั้น ใหญ่แค่ไหน? และการเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ในพ.ศ. 2575 ตามวิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปีนั้น ต้องการอะไรมาเติมเต็มให้สามารถปลดล็อกการบริหารจัดการและพัฒนากรุงเทพฯ ให้ก้าวไปข้างหน้าได้ แค่ไหนเรียกมหานคร? หากมองในบริบทเชิงพื้นที่แล้ว เมืองก็คือพื้นที่ที่มีคนมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ผู้คนในชุมชนก็วิถีชีวิตหรือการประกอบอาชีพที่ต่างไปจากสังคมเกษตรกรรมรูปแบบเดิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การจะบอกว่าเมืองนั้นเป็นเมืองขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ จะพิจารณาจากจำนวนประชากรของเมืองนั้น ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเกณฑ์การจำแนกขนาดของเมืองไว้ 4 ขนาด ได้แก่ นคร (Large city) ประชากร 5 แสน – 1 ล้านคน มหานคร (Metropolis) ประชากร 1 ล้าน […]

กรุงเทพฯ เมือง(อุบัติเหตุ) 15 นาที

15/02/2022

ปี 2561 มีคนกว่า 1.3 ล้านคนทั่วโลก เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และ 93% อยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา ความสูญเสียอันมหาศาลนี้ กลายเป็นประเด็นท้าทายระดับโลก ที่ต้องการลดความสูญเสียนี้ลงให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ภายใต้การรณรงค์ชื่อว่า “Decade of Action for Road Safety 2021-2030” นำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สำหรับประเทศไทยกับอุบัติเหตุจากจราจร คงหนีไม่พ้นคำสุภาษิตที่ว่า “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”เพราะเรามักจะได้เห็นข่าวความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นสนใจที่สังคมให้ความสำคัญเพียงช่วงเวลาที่เกิดความสูญเสียเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปประเด็นเหล่านี้ก็จะถูกลืม วินัยการจราจรก็กลับไปหย่อนยานเช่นเดิมจนกว่าจะมีข่าวใหม่และเหยื่อหน้าใหม่เกิดขึ้นอีกครั้ง ทั้งที่จริงแล้ว ความสูญเสียจากการใช้รถใช้ถนนเกิดขึ้นทุกวัน จนกลายเป็นปัญหาสุดคลาสสิกที่ไม่เคยหายไปจากสังคมไทย กลายเป็นว่า เรายังต้องเห็นโลงศพและหลั่งน้ำตากันอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน แม้ว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนลดลงจาก 38 คนต่อแสนประชากรในปี 2554 เหลือ 32 คนในปี 2562 แต่ก็เป็นการลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้ง ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึง 2 เท่า (องค์การอนามัยโลก, 2563) […]

เชียงใหม่ เมืองมหาวิทยาลัยในสภาวะส่งออกบัณฑิตแต่ไม่ดึงดูดแรงงาน

08/02/2022

เชียงใหม่ถือเป็นเมืองการศึกษา หรือถ้าพูดอีกอย่างคือ การพัฒนาและเติบโตของเมืองทั้งทางกายภาพและเศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างมากจากการมีมหาวิทยาลัย และคงปฎิเสธไม่ได้ว่า หากเมืองใดได้ชื่อว่าเป็นเมืองการศึกษาอย่างน้อยก็ต้องได้รับผลประโยชน์อย่างน้อย 3 ด้าน (1) การเข้ามาของกลุ่มคนวัยเรียนทั้งที่ย้ายถิ่นเข้ามาเพื่อการเรียนหรือเข้ามาเป็นประชากรแฝง เมืองนั้นล้วนได้พลังงานจากกลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้ให้เมืองได้คึกคักและที่ตามมาคือ (2) การคึกคักและเติบโตของเศรษฐกิจในย่านมหาวิทยาลัย ซึ่งก็จะมีย่านที่เรียกกันเป็นชื่อกลางของย่านมหาวิทยาลัยว่า “ย่านหน้ามอ” หรือ “ย่านหลังมอ” ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ (3) การพัฒนาด้านกายภาพของเมืองทั้งจากการพัฒนาของมหาวิทยาลัยและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทหอพักหรืออพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม ที่ตามมาพร้อมกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจเติบโตขึ้น บทความนี้เราจะพาทุกท่านมาสำรวจเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาของภาคเหนือ ว่ามีลักษณะและสิ่งที่น่าสนใจและน่าจับตามองอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะคำถามที่ว่า เมืองเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นเมืองการศึกษากำลังตกอยู่ในภาวะสมองไหล ที่ส่งออกบัณฑิตแต่อาจไม่ดึงดูดเเรงงาน หรือไม่ มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาเมือง มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในสถาบันสำคัญของสังคมปัจจุบัน ทั้งในฐานะแหล่งค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ แหล่งโต้แย้งและถกเถียงแนวคิดเก่า-ใหม่ที่หลากหลาย แหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและธุรกิจ แหล่งสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงแหล่งขับเคลื่อนและผลักดันทางสังคมและการเมือง บทบาทของมหาวิทยาลัยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การเป็นแหล่งความรู้เท่านั้น ด้วยจำนวนนักศึกษาและบุคลากรที่มีอยู่มาก และงบประมาณที่มีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง อย่างเช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้งบประมาณสนับสนุนปี 2563 จากรัฐบาลกว่า 5.5 พันล้านบาท ซึ่งมากเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ มหาวิทยาลัยจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น สังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยไหน พื้นที่รอบมหาวิทยาลัยก็มักมีหอพัก ร้านค้า และร้านกินดื่มรูปแบบต่างๆ มีนักศึกษาเดินขวักไขว่ไปมาอยู่ทั่วไป […]

เมื่อ COVID-19 ก่อให้เกิดเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์

09/04/2020

ณัฐชนน ปราบพล ทุกวันนี้ สื่อบันเทิงกำลังมุ่งสู่รูปแบบออนไลน์ จนกลายเป็นอีกหนึ่งกระแสหลักของทางเลือกในการรับชม แต่ในขณะเดียวกัน เทศกาลภาพยนตร์ทั้งในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค ก็ยังคงมุ่งมั่นในการส่งมอบความรื่นรมย์ในการชมภาพยนตร์ผ่านจอฉายขนาดใหญ่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า “คนรักหนัง” ต่างก็เฝ้ารองานอีเวนท์เช่นนี้ในแต่ละปี เพื่อรับชมภาพยนตร์จากทั่วโลก สิ่งสำคัญนอกเหนือการรับชมภาพยนตร์ คงเป็นการได้มีส่วนร่วม หรือสร้างประสบการณ์ทางสังคมผ่านการวิจารณ์ผลงานภาพยนตร์ สารคดี หรือสื่อบันเทิงประเภทต่าง ๆ งานสังสรรค์และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันของบุคคลในวงการเดียวกัน เพื่อเป็นการต่อยอด หรือถ่ายทอดแนวคิดผ่านผลงานที่นับเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่องค์การอนามัยโลกได้ยกระดับให้อยู่ในสถานะการระบาดใหญ่แล้ว ในขณะนี้ กลับส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบันเทิง โดยเฉพาะกำหนดการจัดงาน อีเวนท์ประจำปีต่าง ๆ ทยอยยกเลิก หรือเลื่อนกำหนดการออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างที่เห็นได้ชัดคือ เทศกาลภาพยนตร์ South by South West (SXSW) ที่จะถูกจัดขึ้นที่เมืองออสติน มลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ต้องหยุดชะงักลง และเทศกาลภาพยนตร์คานส์ (Cannes Film Festival) เทศกาลภาพยนตร์ระดับโลก ที่จะถูกจัดขึ้นที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ก็ถูกเลื่อนออกไปจากกำหนดการเดิม ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อดำรงรักษาให้จิตวิญญาณแห่งภาพยนตร์ยังคงอยู่ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดเช่นนี้ เทศกาลภาพยนตร์หลายแห่งได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อให้การจัดเทศกาลยังคงดำเนินต่อไปได้ และการมุ่งสู่รูปแบบออนไลน์อาจจะเป็นคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับช่วงเวลานี้ ถึงแม้ว่า […]

นิยายแห่งสองชรานคร : เราควรออกแบบเมืองเพื่อคนแก่ หรือเมืองเพื่อเตรียมคนให้แก่อย่างมีคุณภาพ?

27/12/2019

เมื่อพูดถึง “เมือง” เราอาจจะนึกถึงความพลุกพล่านเร่งรีบของผู้คนหนุ่มสาววัยทำงานตามท้องถนน แต่ตัวละครหนึ่งที่เรามักมองข้ามก็คือ “ผู้สูงวัย” แต่ประเด็นคือ ปัจจุบันโครงสร้างจำนวนประชากรที่สูงวัย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ สถิติจาก United Nations Department of Economic and Social Affairs (UNDESA) คาดการณ์ว่าในปี 2030 จำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีราว 1,402 ล้านคน และในปี 2050 จะเพิ่มเป็น 2,092 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไทย   ดังนั้น จึงพูดได้ว่า สังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต และคนไทยสูงวัยในอนาคตที่ว่า – ก็คือพวกเราหนุ่มสาววัยทำงานในปัจจุบันนี่เอง แล้วเมืองของเราได้เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้ไว้แค่ไหน? ลินดา แกรตตัน ศาสตราจารย์แห่ง London Economic School ผู้เขียนหนังสือ The 100-Year Life […]