เชียงใหม่ เมืองมหาวิทยาลัยในสภาวะส่งออกบัณฑิตแต่ไม่ดึงดูดแรงงาน

08/02/2022

เชียงใหม่ถือเป็นเมืองการศึกษา หรือถ้าพูดอีกอย่างคือ การพัฒนาและเติบโตของเมืองทั้งทางกายภาพและเศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างมากจากการมีมหาวิทยาลัย และคงปฎิเสธไม่ได้ว่า หากเมืองใดได้ชื่อว่าเป็นเมืองการศึกษาอย่างน้อยก็ต้องได้รับผลประโยชน์อย่างน้อย 3 ด้าน (1) การเข้ามาของกลุ่มคนวัยเรียนทั้งที่ย้ายถิ่นเข้ามาเพื่อการเรียนหรือเข้ามาเป็นประชากรแฝง เมืองนั้นล้วนได้พลังงานจากกลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้ให้เมืองได้คึกคักและที่ตามมาคือ (2) การคึกคักและเติบโตของเศรษฐกิจในย่านมหาวิทยาลัย ซึ่งก็จะมีย่านที่เรียกกันเป็นชื่อกลางของย่านมหาวิทยาลัยว่า “ย่านหน้ามอ” หรือ “ย่านหลังมอ” ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ (3) การพัฒนาด้านกายภาพของเมืองทั้งจากการพัฒนาของมหาวิทยาลัยและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทหอพักหรืออพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม ที่ตามมาพร้อมกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจเติบโตขึ้น บทความนี้เราจะพาทุกท่านมาสำรวจเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาของภาคเหนือ ว่ามีลักษณะและสิ่งที่น่าสนใจและน่าจับตามองอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะคำถามที่ว่า เมืองเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นเมืองการศึกษากำลังตกอยู่ในภาวะสมองไหล ที่ส่งออกบัณฑิตแต่อาจไม่ดึงดูดเเรงงาน หรือไม่ มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาเมือง มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในสถาบันสำคัญของสังคมปัจจุบัน ทั้งในฐานะแหล่งค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ แหล่งโต้แย้งและถกเถียงแนวคิดเก่า-ใหม่ที่หลากหลาย แหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและธุรกิจ แหล่งสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงแหล่งขับเคลื่อนและผลักดันทางสังคมและการเมือง บทบาทของมหาวิทยาลัยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การเป็นแหล่งความรู้เท่านั้น ด้วยจำนวนนักศึกษาและบุคลากรที่มีอยู่มาก และงบประมาณที่มีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง อย่างเช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้งบประมาณสนับสนุนปี 2563 จากรัฐบาลกว่า 5.5 พันล้านบาท ซึ่งมากเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ มหาวิทยาลัยจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น สังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยไหน พื้นที่รอบมหาวิทยาลัยก็มักมีหอพัก ร้านค้า และร้านกินดื่มรูปแบบต่างๆ มีนักศึกษาเดินขวักไขว่ไปมาอยู่ทั่วไป […]

เมื่อ COVID-19 ก่อให้เกิดเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์

09/04/2020

ณัฐชนน ปราบพล ทุกวันนี้ สื่อบันเทิงกำลังมุ่งสู่รูปแบบออนไลน์ จนกลายเป็นอีกหนึ่งกระแสหลักของทางเลือกในการรับชม แต่ในขณะเดียวกัน เทศกาลภาพยนตร์ทั้งในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค ก็ยังคงมุ่งมั่นในการส่งมอบความรื่นรมย์ในการชมภาพยนตร์ผ่านจอฉายขนาดใหญ่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า “คนรักหนัง” ต่างก็เฝ้ารองานอีเวนท์เช่นนี้ในแต่ละปี เพื่อรับชมภาพยนตร์จากทั่วโลก สิ่งสำคัญนอกเหนือการรับชมภาพยนตร์ คงเป็นการได้มีส่วนร่วม หรือสร้างประสบการณ์ทางสังคมผ่านการวิจารณ์ผลงานภาพยนตร์ สารคดี หรือสื่อบันเทิงประเภทต่าง ๆ งานสังสรรค์และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันของบุคคลในวงการเดียวกัน เพื่อเป็นการต่อยอด หรือถ่ายทอดแนวคิดผ่านผลงานที่นับเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่องค์การอนามัยโลกได้ยกระดับให้อยู่ในสถานะการระบาดใหญ่แล้ว ในขณะนี้ กลับส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบันเทิง โดยเฉพาะกำหนดการจัดงาน อีเวนท์ประจำปีต่าง ๆ ทยอยยกเลิก หรือเลื่อนกำหนดการออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างที่เห็นได้ชัดคือ เทศกาลภาพยนตร์ South by South West (SXSW) ที่จะถูกจัดขึ้นที่เมืองออสติน มลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ต้องหยุดชะงักลง และเทศกาลภาพยนตร์คานส์ (Cannes Film Festival) เทศกาลภาพยนตร์ระดับโลก ที่จะถูกจัดขึ้นที่เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ก็ถูกเลื่อนออกไปจากกำหนดการเดิม ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อดำรงรักษาให้จิตวิญญาณแห่งภาพยนตร์ยังคงอยู่ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดเช่นนี้ เทศกาลภาพยนตร์หลายแห่งได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อให้การจัดเทศกาลยังคงดำเนินต่อไปได้ และการมุ่งสู่รูปแบบออนไลน์อาจจะเป็นคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับช่วงเวลานี้ ถึงแม้ว่า […]

นิยายแห่งสองชรานคร : เราควรออกแบบเมืองเพื่อคนแก่ หรือเมืองเพื่อเตรียมคนให้แก่อย่างมีคุณภาพ?

27/12/2019

เมื่อพูดถึง “เมือง” เราอาจจะนึกถึงความพลุกพล่านเร่งรีบของผู้คนหนุ่มสาววัยทำงานตามท้องถนน แต่ตัวละครหนึ่งที่เรามักมองข้ามก็คือ “ผู้สูงวัย” แต่ประเด็นคือ ปัจจุบันโครงสร้างจำนวนประชากรที่สูงวัย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ สถิติจาก United Nations Department of Economic and Social Affairs (UNDESA) คาดการณ์ว่าในปี 2030 จำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีราว 1,402 ล้านคน และในปี 2050 จะเพิ่มเป็น 2,092 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไทย   ดังนั้น จึงพูดได้ว่า สังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต และคนไทยสูงวัยในอนาคตที่ว่า – ก็คือพวกเราหนุ่มสาววัยทำงานในปัจจุบันนี่เอง แล้วเมืองของเราได้เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้ไว้แค่ไหน? ลินดา แกรตตัน ศาสตราจารย์แห่ง London Economic School ผู้เขียนหนังสือ The 100-Year Life […]

1 2