07/05/2025
Environment
บ้านเจ้าชายผัก: ปลูกเมืองให้เติบโตด้วยภูมิปัญญา และนวัตกรรมเกษตร
ณัฐชนน ปราบพล อภิชยา ชัยชิตามร ปฐมพร เณรยอด วัฒนพงศ์ จัตุมิตร

จากความหลงใหลในเกษตรกรรมได้พัฒนาแนวคิด “บ้านเจ้าชายผัก” สู่การขับเคลื่อนเกษตรในเมือง
บ้านเจ้าชายผัก มีจุดเริ่มต้นมาจากความสนใจในเรื่องการทำเกษตรของคุณนคร ลิมปคุปตถาวร ตั้งแต่ช่วงเรียนด้านการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนเป็นเวลานานระหว่างช่วงเรียนรู้เกษตรกรรมคุณนครอยากทำเกษตรจึงได้ลองเริ่มปลูกผักไว้บริโภคเองจากที่บ้านด้วยเมื่อทำไปสักพัก คุณนครได้ค้นพบตัวเองว่าหลงใหลกับการทำเกษตรโดยได้แนวคิดการทำสวนเกษตรในบ้านมาระหว่างการทำวิทยานิพนธ์และได้เริ่มมีบทบาทในการส่งเสริมการทำสวนเกษตรในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้คุณนคร เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

ย้อนกลับไปในปี 2554 คุณนครเป็นหนึ่งในสมาชิกโครงการสวนผักคนเมือง ช่วยส่งเสริมให้คนเมืองหันมาสนใจการปลูกผัก ทั้งสร้างการตระหนักรู้ให้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกผักและการทำเกษตรในเมือง แม้ในช่วงแรกโครงการจะยังไม่ได้รับความสนใจมากเท่าที่ควร แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนเริ่มหันมาสนใจการทำเกษตรในเมืองมากยิ่งขึ้น ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกของคุณนครในการทำงานด้านเกษตรกรรม
ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเกษตรในเมืองและงานด้านเกษตรทั้งหมด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองกับคนชนบท และเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรสู่การบริโภค เราต้องทำให้ผู้คนเห็นว่าทุกสิ่งที่พวกเขาเลือกนั้น ไม่ใช่เพียงการเลือกสินค้า แต่คือการเลือกวิถีชีวิต หากเลือกแนวทางหนึ่งก็จะนำไปสู่เส้นทางหนึ่ง หากเลือกอีกแนวทางก็จะนำไปสู่อีกเส้นทางหนึ่ง ดังนั้น การตัดสินใจของแต่ละคนล้วนมีความหมาย
นอกจากนี้ เราพยายามเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน เพื่อให้การพัฒนานั้นไม่ขาดรากเหง้าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในภาคเกษตรกรรม แต่สะท้อนให้เห็นในหลายแวดวง รวมถึงด้านสุขภาพ จากการทำงานร่วมกับเพื่อนในสายงานต่าง ๆ เราพบว่าสังคมไทยเผชิญกับภาวะที่ขาดรากฐานทางความคิดอย่างชัดเจน โดยมักมีการแบ่งขั้วอย่างสุดโต่ง หากเป็นแนวอนุรักษ์นิยม ก็ขาดการพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัย ขณะที่ฝั่งหัวก้าวหน้าก็อาจละเลยรากฐานของตนเอง ดังนั้น การสร้างสมดุลระหว่างอดีตและปัจจุบัน คือแนวทางที่เราพยายามผลักดัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีรากฐานที่มั่นคง
จากโครงการปันอยู่ปันกินสู่สหกรณ์เพื่อเกษตรกรในเมือง

ในช่วงโควิด-19 คุณนครได้ทดลองทำตลาดสีเขียวในเมืองอย่างโครงการปันอยู่ปันกิน ซึ่งเป็นตลาดที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีช่องทางในการพบผู้ผลิตรายอื่นเดือนละ 1 ครั้ง โดยโครงการนี้ทำให้ได้เห็นความสำคัญของการช่วยเหลือผู้คนในเวลาที่ยากลำบากอย่างช่วงโควิด-19 และคิดวิธีเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค คุณนครจึงเริ่มทำสหกรณ์เพื่อเกษตรกรในเมืองขนาดย่อม ช่วยเชื่อมโยงผู้บริโภคให้สามารถสั่งสินค้ากับเกษตรกรได้โดยตรง
จากจุดนี้แนวคิด The Living GIFT ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นชุมชนเล็กในโซเชียลที่เปิดโอกาสให้ผู้คนที่สนใจสามารถเข้าร่วมและสั่งซื้อผักอินทรีย์จากกลุ่มสหกรณ์ทุกสัปดาห์จะมีครอบครัวที่มารับผลผลิต ถึงแม้ไม่ใช่แค่การซื้อขาย ก็ยังเป็นการสร้างเครือข่ายของคนที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความยั่งยืนร่วมกัน
เกษตรกรรมแบบไบโอไดนามิก: ทางเลือกแห่งความยั่งยืนของการทำเกษตรเพื่อสุขภาพ

ในปัจจุบัน เกษตรกรที่ทำการเกษตรอินทรีย์บางส่วนยังคงใช้สารธรรมชาติที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสารเคมี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของพืชและสมดุลของระบบนิเวศ ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรรมแบบไบโอไดนามิกจึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นวิธีการทำเกษตรที่ทำงานร่วมกับธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยไม่ใช้สารเคมีหรือปุ๋ยสังเคราะห์ เพื่อให้พืชเติบโตแข็งแรงและมีความสมดุล
การเชื่อมโยงเกษตรกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณนครเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นกับแนวทางเกษตรร่วมสมัย ตัวอย่างเช่น การทำสวนยกร่องแบบโบราณ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันน้ำท่วมและทำให้สามารถทำการเกษตรได้ตลอดปี นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำอย่างเป็นธรรมชาติ ลดปัญหาน้ำเสีย และเพิ่มความหลากหลายของพืชที่สามารถปลูกได้
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่คุณนครทดลองนำเทคนิคจากต่างประเทศมาปรับใช้ พบว่าหลายแนวทางไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และส่งผลให้เกิดปัญหามากกว่าประโยชน์ การต่อยอดจากภูมิปัญญาเดิมและนำมาผสานกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อความยั่งยืนของเกษตรกรรมไทย
อีกเรื่องที่คุณนครให้ความสำคัญคือการเชื่อมโยงเกษตรในเมืองและงานด้านเกษตรทั้งหมด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองกับคนชนบท และเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรสู่การบริโภค คุณนครต้องทำให้ผู้คนเห็นว่าทุกสิ่งที่พวกเขาเลือก ไม่ใช่แค่การเลือกสินค้า มันคือการเลือกวิถีชีวิต หากเลือกแนวทางหนึ่งก็จะนำไปสู่เส้นทางหนึ่ง หากเลือกอีกแนวทางก็จะนำไปสู่อีกเส้นทางหนึ่ง ทุกการตัดสินใจของทุกคนล้วนมีความหมาย
แต่ทว่าคุณนครพยายามพูดถึงอดีตกับปัจจุบัน เพื่อให้การพัฒนาไม่ขาดพื้นฐานทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในเกษตรกรรม พร้อมสะท้อนให้เห็นในหลายแวดวง รวมไปถึงด้านสุขภาพ จากการทำงานร่วมกับเพื่อนในหลายสายงาน คุณนครพบว่าสังคมไทยเผชิญกับภาวะที่ขาดพื้นฐานทางความคิดอย่างชัดเจน โดยมักมีการแบ่งข้าง หากเป็นแนวอนุรักษ์นิยม ก็จะไม่มีการปรับให้เข้ากับยุคสมัย ขณะที่ฝั่งหัวก้าวหน้าก็อาจไม่สนใจรากฐานของตนเอง
ดังนั้น การสร้างสมดุลระหว่างอดีตและปัจจุบัน คือแนวทางที่คุณนครพยายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีรากฐานที่มั่นคง
การเปลี่ยนแปลงของการเกษตรและความท้าทายในอนาคต

เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคการเกษตร เช่น การปลูกพืชในตู้คอนเทนเนอร์ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมด้วย AI และเทคโนโลยี “Artificial Photosynthesis” ที่ช่วยให้พืชเติบโตได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแสงแดดจากธรรมชาติ แนวทางเหล่านี้เหมาะสำหรับพื้นที่เมืองหรือพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากร อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาเรื่องต้นทุนและการบำรุงรักษาที่ต้องพิจารณา
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ การลดลงของคุณค่าทางโภชนาการในอาหารตลอดร้อยปีที่ผ่านมา เนื่องจากระบบเกษตรที่มุ่งเน้นการเร่งโตของพืชด้วยปุ๋ยและสารเคมี ทำให้สารอาหารบางชนิดลดลง และอาจส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ในระยะยาว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการหาสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและวิธีการเกษตรที่ยั่งยืน
เกษตรในเมือง: ความสมดุลระหว่างสังคมและการพัฒนา
การเกษตรในเมืองเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ เพื่อช่วยให้สังคมมีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนเกษตรในเมืองต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน และต้องคำนึงถึงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของประชาชน การศึกษาภูมิปัญญาเกษตรดั้งเดิมและนำมาปรับใช้กับนวัตกรรมใหม่ ๆ จะช่วยให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริงและยั่งยืน
ปัจจุบัน การพัฒนาเกษตรในเมืองยังมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น การขาดทางเลือกในการทดลองแนวทางใหม่ ๆ ดังนั้น การเปิดโอกาสให้เกิดนวัตกรรมและการทดลองหลากหลายแนวทางจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเกษตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ คุณนครมีเป้าหมายในการขยายงานจากภาคการเกษตรและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ไปสู่การส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการที่ดี โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพของตนเองให้เป็นแบบอย่าง การเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสุขภาพที่ดี ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและเป็นแนวทางให้กับผู้อื่นที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
สุดท้ายนี้ เกษตรกรรมและสุขภาพเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน การผสมผสานทั้งสองด้านเข้าด้วยกันอย่างลงตัว จะช่วยสร้างความเข้าใจและนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และสังคมโดยรวม
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะด้วยแนวคิดเกษตรในเมือง: กลไกบูรณาการเชิงนโยบายเพื่อสร้างพื้นที่สุขภาวะ และพื้นที่ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC-CEUS) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)