“การศึกษาต้องช่วยยกระดับเมือง” พูดคุยกับ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ว่าด้วยการศึกษา ความเหลื่อมล้ำ และแนวคิดการศึกษาละแวกย่าน

07/08/2020

โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตเมืองของผู้คนอย่างพร้อมหน้าในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเดินทาง การจับจ่าย ฯลฯ ดังที่หลายคนกำลังปรับตัวสภาวะดังกล่าวอยู่เสมอ นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค หากประเด็นที่สำคัญไม่แพ้เรื่องใด เหตุเพราะเกี่ยวข้องกับประชากรเมืองนับพันล้านคนทั่วโลกคือเรื่อง การศึกษา ข้อมูลจาก UNESCO ระบุว่า ในช่วงการระบาดอย่างรุนแรงประมาณเดือนเมษายน 2563 มีผู้เรียนในระดับอนุบาล ประถม มัธยม และอุดมศึกษาเกือบ 1,300 ล้านคน จากเกือบ 186 ประเทศทั่วโลก หรือคิดเป็นผู้เรียนกว่า 73.8 % ได้รับผลกระทบจากการปิดการเรียนการสอนในระบบ เฉพาะในประเทศไทยเองมีนักเรียนได้รับผลกระทบกว่า 15 ล้านคน โดยกลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นนักเรียนมัธยมและนักเรียนประถม ตามลำดับ นักเรียนประถมและมัธยมถือเป็นผู้เรียนในระบบการศึกษาภาคบังคับ ที่ต้องปรับรูปแบบการเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรียกได้ว่าเป็น “หนู” ในกระบวนการทดลองอันแสนท้าทาย ด้วยการเรียนออนไลน์และเคเบิลทีวี สลับกับการเข้าเรียนในห้องโดยผลัดกันเป็นกลุ่ม ไม่หยุดวันเสาร์ งดกิจกรรมทางกายที่ต้องปฏิบัติในระยะประชิด ฯลฯ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการปรับตัวดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาในหลายพื้นที่ ดังที่ปรากฏในข่าวแม้จะเปิดเทอมมาแล้วหลายสัปดาห์  The Urbanis พูดคุยกับ ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต […]

สวนป่าเมจิ : วิสัยทัศน์ 150 ปี กับความเขียวที่มนุษย์ร่วมสร้าง

12/06/2020

กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ป่ากลางเมืองก็ไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียวฉันนั้น สวนป่าเมจิ (Meiji Shrine Forest) ภายในพื้นที่ศาลเจ้าเมจิ เป็นหนึ่งในเป้าหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเมื่อไปเยือนกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง การเดินทางที่สะดวกเพียงข้ามฝากถนนจากย่านฮาราจูกุ เขตโยโยกิ นับตั้งแต่ก้าวย่างเข้าไปเขตศาลเจ้าเมจิ ก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากฝากถนนที่เพิ่งเดินข้ามผ่านมา นอกจากความสงบทางใจ แล้วยังมีต้นไม้ใหญ่มากมายที่ยืนต้นให้ความร่มเย็นด้วยพื้นที่กว่า 700,000 ตารางเมตรเป็น “ป่ากลางเมือง” อย่างแท้จริงของชาวโตเกียวอีกด้วย สวนป่าเมจิแห่งนี้เกิดจากการวางแผนกว่า 100 ปีที่แล้ว ภายใต้โครงการวิสัยทัศน์ 150 ปี ด้วยความร่วมมือ ของอาสาสมัครประมาณ 110,000 คน ซึ่งปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น จาก 365 สายพันธุ์ที่ได้รับบริจาคโดยคนจากทั่วประเทศ  การสร้างป่ามาจากพื้นฐานความคิดและแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของญี่ปุ่น ตั้งแต่สมัยโบราณ คนญี่ปุ่นเชื่อว่าเทพเจ้าจะลงมายังพื้นดินจากยอดต้นไม้สูง และวิญญาณจะอาศัยอยู่ในพืช ต้นไม้ หิน น้ำ และวัตถุทางธรรมชาติอื่น ๆ เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างสววรค์และโลกมนุษย์ วิสัยทัศน์ 150 ปี “โครงการป่าเมจิจิงกุ” (Meji jinyo)   นับย้อนไปเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม […]

ป่วยใจ : สึนามิลูกที่ 4 หลังโรคระบาด เมืองจะรับมืออย่างไร? คุยกับ นพ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์

02/06/2020

ผลสำรวจพบว่าประชาชน 51.85% มีความเครียดและความวิตกกังวล และจำนวนผู้ที่โทรมาขอคำปรึกษากับ กรมสุขภาพจิต ทางสายด่วน 1323 เพิ่มขึ้นจาก 20-40 ราย ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.63 เป็น 600 รายในเดือน มี.ค.63  กรมสุขภาพจิต ตัวเลขทางสถิติข้างต้นที่ยังไม่นับรวมความรุนแรงภายในครอบครัว และอัตราการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ความเครียดสะสมจากปัญหาเศรษฐกิจสังคมในประเทศไทยที่เรื้อรังมายาวนานและมาตรการในการควบคุมโรคโควิด-19 ทั้งการรักษาระยะห่าง การปิดสถานประกอบการ การลดการติดต่อทางกายภาพ ล้วนส่งผลให้คนจำนวนมากตกอยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวล ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทุกกลุ่ม ตั้งแต่แม่ค้าในตลาด เด็กนักเรียน ไปจนถึงบุคลากรทางการแพทย์เอง ที่ต่างเจอกับปัญหาทางสุขภาพจิตและอาจถึงขั้นเข้าได้กับอาการผิดปกติทางจิตเวช  จากการถอดบทเรียนในหลายประเทศพบว่าแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจากผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19 นั้น แบ่งได้เป็นคลื่น 4 ลูก คือ คลื่นลูกที่ 1 ในช่วง 1-3 เดือนแรกที่เริ่มมีโรคระบาด และอาจยาวนานถึง 9 เดือนหากมีการกลับมาระบาดซ้ำเป็นช่วงที่สร้างผลกระทบกับสุขภาพของคนและขีดความสามารถของโรงพยาบาล เพราะพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตต่อเนื่อง คลื่นลูกที่ 2 คือ ช่วง 2-4 เดือนหลังเริ่มมีโรคระบาด เป็นช่วงที่ผู้ป่วยเร่งด่วนที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 เช่น ผู้ป่วยผ่าตัดที่รอได้ต้องได้รับการดูแลหลังจากชะลอการพบแพทย์ไปก่อนหน้านี้ และอาจกลับมาสู่หน่วยบริการแบบ […]

คุยเรื่องห้องเรียนในอนาคต กับ ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกเบื้องหลังแนวคิดพื้นที่เรียนรู้แบบไฮบริดในซิลิคอนแวลลีย์

27/05/2020

“ผมมองว่าหลังโควิด-19 คนในแคลิฟอร์เนียก็ยังจะกลับมาเข้าเรียนเหมือนเดิม แต่ที่ไม่เหมือนเดิมคือกรอบคิดของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องการเชื่อมต่อกับผู้คน หลัง COVID-19 แม้เมื่อมียารักษาแล้ว ผู้คนก็ยังไม่ลืมว่าเขาเคยสามารถทำงานที่บ้านได้ เคยเรียนและคุยกับคนทั้งห้องที่บ้านผ่านออนไลน์ได้ และเขาก็จะเริ่มถามว่า ทำไมเราจึงมีห้องว่างและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากมายนัก ทั้งที่บางส่วนสามารถย้ายไปอยู่ Online ได้” ยรรยง บุญ-หลง ผลกระทบที่เกิดขึ้นของโควิด-19 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาแทบทุกประเทศอย่างฉับพลัน ทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย การปรับตัวในระยะสั้นด้วยการเรียนทางไกลส่งผลให้นักเรียนและโรงเรียนต้องเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี นอกจากนี้ วิกฤตโควิด-19 ยังทำให้เกิดความปกติใหม่ ที่ทำลายแนวคิดการเรียนรู้แบบเก่าที่ผูดขาดการเรียนการสอนในระบบไว้ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเท่านั้น  The Urbanis ชวน ยรรยง บุญ-หลง สถาปนิกชุมชนชาวไทย ผู้เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกอเมริกัน (The American Institute of Architects) พูดคุยเรื่องการเรียนรู้ในอนาคต ทั้งรูปแบบการเรียนการสอน คุณภาพการศึกษา รวมไปถึงการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้แห่งอนาคต ที่ยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ปัจจุบัน ยรรยงอาศัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อทำงานวิจัยและออกแบบโรงเรียนของรัฐในเขตซิลิคอนแวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แน่นอนว่าแนวคิดที่ยรรยงให้ความสนใจและทำการศึกษาออกแบบอยู่ อาจถูกเร่งปฏิกิริยากลายเป็นความจริงได้เร็วขึ้นเพราะวิกฤตโควิด-19 ที่สั่นสะเทือนไปทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่แวดวงทางการศึกษา เมื่อพูดถึงซิลิคอนแวลลีย์ หลายคนคิดถึงภาพศูนย์รวมของบริษัทและสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่ต่างแข่งขันกันนำเสนอนวัตกรรมเปลี่ยนโลก เช่นเดียวกัน โรงเรียนในเขตซิลิคอนแวลลีย์ก็ย่อมมีความพิเศษไม่แพ้กัน ซิลิคอนแวลลีย์ การศึกษาส่วนผสมของแพลตฟอร์มการเรียนรู้เป็นอย่างไรบ้าง […]

ขนส่งสาธารณะขั้วตรงข้ามกับเว้นระยะห่าง : When Mass (Transit) Cannot Mass

21/05/2020

จะขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็กลัวการเว้นระยะห่าง จะขับรถไปทำงานก็ต้องเจอกับปัญหารถติด ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ช่างขัดแย้งกับมาตรการรักษาระยะห่างเหลือเกิน แล้วคนเมืองที่ต้องกลับไปทำงานจะทำอย่างไร  ระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีปัญหาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ความแน่นเบียดเสียดและไม่มีการระบุเวลาที่ชัดเจน การวางแผนการเดินทางเป็นไปได้ยากมากสำหรับคนเมือง วันนี้มาชวนคุยกับ รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์การเดินทางที่จะเปลี่ยนไปรวมถึงข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ของภาครัฐและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันแก้โจทย์ทางสังคมอีกข้อที่กำลังจะตามมา นั่นคือ “การเดินทาง” มาตรการที่ต้องใช้อย่างเคร่งครัดหลังเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์เมือง  ทุกคนที่ใช้ขนส่งมวลชนต้องใส่หน้ากากอนามัย ในกรณีสถานีรถไฟฟ้าควรมีการตั้งกล้องเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการเข้าแถวตรวจวัดทีละคน การกำหนดระดับความแออัดที่ระบบขนส่งและพาหนะแต่ละประเภทจะรองรับได้ มีการจัดทำระบบข้อมูลให้แก่คนที่จะเดินทางสามารถเช็คสถานการณ์ในแต่ละสถานี เช่น ความหนาแน่นของผู้ใช้งานในสถานีที่ตนจะขึ้นนั้นมากน้อยขนาดไหน มีตัวช่วยในการวางแผนการเดินทาง คำนวณเวลาหากมีการเลื่อนเวลาการเดินทาง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและวางแผนได้ด้วยตนเอง  เรื่องความแออัดควรมีมาตรการบางอย่างเพื่อดึงดูดให้คนเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ส่วนลดค่าโดยสารที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล ในเรื่องมาตรการเว้นที่นั่ง หรือ สลับที่นั่งเพื่อรักษาระยะห่างค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และยังไม่มีหลักฐานมารองรับว่าสามารถป้องกันโรคได้ มาตรการเว้นที่นั่งยังไม่เหมาะสมกับการเดินทางในเมืองเพราะเมืองมีคนจำนวนมากที่ต้องเดินทางพร้อมกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน  รถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ เช่นเดียวกันกับรถไฟฟ้า แต่เพิ่มเติมเรื่องระบบการเก็บเงินค่าโดยสารที่ยังคงมีการใช้เงินสดอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ปลอดภัย ถ้าหากเป็นไปได้ต้องเปลี่ยนไปใช้ E-payment ในการชำระค่าโดยสาร หรือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุด โดยในช่วงแรกอาจจะมีมาตรการดึงดูดให้คนเปลี่ยนมาใช้โดยการให้ส่วนลดค่าโดยสาร   มาตรการจากกระทรวงคมนาคมตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดฐานองค์ความรู้ที่ใช้ในการวางแผนหรือดำเนินงาน ในต่างประเทศหลายที่ก็ยังเป็นการลองผิดลองถูกเช่นเดียวกัน กระทรวงคมนาคมน่าจะรอการทำงานร่วมกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข สามารถมองเป็นโอกาสที่ภาครัฐ หน่วยงานฝ่ายต่างๆ จะสามารถมาทำงานร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม  จีนมีระบบการจองขึ้นรถไฟฟ้าแล้ว ระบบการจองก่อนใช้ขนส่งมวลชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ประเทศไทยสามารถลองนำมาใช้ได้ […]

อากาศยานไร้คนขับ จากภารกิจช่วยผืนป่าสู่อนาคตขนส่งช่วยคนเมือง

18/05/2020

ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา เกิดกระแสข่าวการถ่ายภาพมุมสูงบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ถึงแม้จะมีการออกมาชี้แจงว่าเป็นการขอความร่วมมือให้ส่งภาพเฉพาะหน่วยงานเฉพาะกิจเท่านั้นด้วยหลายๆ เหตุผลที่มิอาจทราบได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์เป็นวงกว้าง   ก่อนอื่นต้องยอมรับและทำความเข้าใจก่อนว่าเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle) หรือ โดรน (Drone) ถูกพัฒนาและใช้ในต่างประเทศโดยเฉพาะกิจการทางทหารมานานแล้ว นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการใช้อากาศยานไร้คนขับในการโจมตีแต่ยังต้องพึ่งพาการบังคับจากมนุษย์ จนมาถึงปัจจุบันที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในการควบคุมการบินได้ โดยมีขนาดตั้งแต่ 5 เซนติเมตรไปจนถึง 50 เมตร ต่อมาโดรนที่ถูกใช้ในพลเรือนหรือประชาชนทั่วไปถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กและนำมาใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง การสำรวจพันธุ์สัตว์ป่า การลักลอบตัดไม้ การทำแผนที่ และแน่นอนการทำแผนที่ไฟป่าและการดับไฟป่าก็เป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์อย่างในกรณีของทางภาคเหนือนั่นเอง เนื่องจากโดรนสามารถถ่ายภาพมุมสูง ช่วยในการรับรู้ทิศทางของไฟ และความเสียหายของขนาดวงไฟที่กำลังเกิดขึ้น และสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดรน กับโอกาส ที่อาจจะปลดล็อกได้ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นทั้งของเล่นและอุปกรณ์ในการถ่ายภาพประกอบแต่เนื่องด้วยคุณลักษณะในการบินเหนือพื้นดิน โดรนจึงจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับการใช้งานเพราะอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น การสอดแนม การติดอาวุธ และรวมไปถึงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ตามกฎหมายแล้ว โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัม และมีกล้องต้องขึ้นทะเบียน และหากมีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม  การใช้อากาศยานไร้คนขับยังมีข้อกำหนดที่ศึกษาอีกข้อคือ เขตห้ามบิน […]

The Education Next Gen การศึกษานอกห้องสี่เหลี่ยม ผ่านมุมมอง ดร. สรชัย กรณ์เกษม และ อ.ปรารถนา เกลียวปฏินนท์

18/05/2020

เมื่อปี 1918 หรือ 100 ปีที่แล้ว ใครจะคิดว่าห้องเรียนในช่วงที่เกิด Spanish flu กับห้องเรียนในปัจจุบันแทบไม่ได้มีหน้าตาต่างกันเลย การคิดถึงห้องเรียนกับการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ไม่สามารถสร้างได้จากกระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิม ห้องเรียนจะเปลี่ยนไปในรูปแบบไหนเมื่อมนุษย์มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญในยุคของการเกิดโรคระบาดอีกครั้ง  องค์กร World Economic Forum ได้พูดถึงทักษะในศตวรรษที่ 21 ไว้ทั้งหมด 16 ทักษะ โดยแบ่งเป็น 3 หมวด ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องของ ทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้และการใช้ชีวิตให้เหมาะกับบริบทของโลกปัจจุบัน เช่น การคำนวณ การใช้ภาษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การเงิน วัฒนธรรม  ทักษะในการจัดการกับความท้าทายในชีวิต เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการสื่อสาร และทักษะการรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไป เช่น ความริเริ่มสิ่งใหม่ ความพยายาม การปรับตัว ความเป็นผู้นำ โดยกระบวนการที่ใช้ในการสร้างทักษะเหล่านี้ไม่สามารถสร้างได้จากจากกระบวนการที่ใช้ในห้องเรียนแบบเดิมๆ ในช่วงที่ทุกสถานศึกษาต้องหยุดชะงักลง การเรียนออนไลน์เป็นช่องทางเดียวในการแก้ปัญหาระยะสั้นตอนนี้ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ ดร. สรชัย กรณ์เกษม รองผู้อำนวยการสาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม […]

Back to (home-based) school : ในวันที่กลับไปโรงเรียนไม่ได้ คุยกับ อรรถพล อนันตวรสกุล

08/05/2020

เหลือเวลาอีกไม่เกิน 60 วันตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการในการเปิดภาคเรียนประจำปี 2563 ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 หลังจากที่เด็กนักเรียนได้หยุดเรียนตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ณ ตอนนี้การเรียนออนไลน์และการเรียนทางไกลถูกพูดถึงเป็นวงกว้างและเป็นหนทางแก้ปัญหาจากการเว้ยระยะห่าง แต่จริงๆ แล้วสถานการณ์การศึกษาเปรียบเหมือนคลื่นใต้น้ำที่กำลังรอการแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน การเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกทุกเมื่อจะเป็นอย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหนที่จะเข้าถึงเด็กทุกคน วิกฤตที่รออยู่จะเป็นโอกาสในการเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาไทยเลยหรือไม่ วันนี้เรามาชวน ผศ.ดร.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพูดคุยว่าด้วยเรื่อง การปรับตัวระบบการศึกษาหลังจากสถานการณ์โรคระบาด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่อาจารย์ ตั้งมา 12 ปีแล้ว ภารกิจหลักตอนนี้ ทำหน้าที่ติดตามการศึกษาทั่วโลกว่ามีการเคลื่อนไหวยังไงบ้างที่การศึกษาจะมีส่วนในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนและคุณภาพการศึกษาสำหรับทุกคนอย่างผู้ใหญ่จะสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้พลเมืองโลกเป็นอย่างไร เน้นการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ Quality Education For All การศึกษาในประเทศไทยอยู่จุดไหน ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นรัฐราชการรวมศูนย์ การตัดสินใจมีความยืดหยุ่นน้อย ในด้านการศึกษาก็เช่นกัน ปฏิเสธไม่ได้เรื่องความมั่นคงทางการเมืองมีส่วนสำคัญอย่างมาก อย่างเช่น ในอินโดนีเซีย มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ทำให้นโยบายด้านการศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศไทยตรงกันข้าม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการศึกษาในประเทศไทยมีความไม่ต่อเนื่องสูงเปลี่ยนไปตามผู้กำหนดนโยบาย และในช่วง 5 ปีที่ผ่านจะเห็นได้ว่าขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นการบริหารจัดการเชิง top down ถึงแม้ก่อนหน้านั้นจะเป็นในเชิง top down […]

Back to School and Say Hello to New Learning Ecosystem เมืองไทยพร้อมหรือยังกับระบบการศึกษาที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

06/05/2020

#เลื่อนเปิดเทอม กลายเป็นแฮชแท็กที่ชาวทวิตเตอร์พูดถึงมากที่สุด จนขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ในประเทศไทย หลังมีกระแสข่าวว่า ส.ส.อุบลราชธานี เสนอเลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ออกไปเป็นวันที่ 1 สิงหาคม 2563 หรือเลื่อนออกไปจากประกาศเดิมของกระทรวงศึกษาธิการประกาศในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และขยายเวลาให้ทั้งโรงเรียน ผู้ปกครอง และผู้เรียน ได้มีเวลาเตรียมตัวกับการเรียนการสอนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่จะแตกต่างออกไปจากเดิม  แม้สุดท้ายแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจะยังคงประกาศเปิดเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 หรือช้ากว่ากำหนดเดิม 45 วัน แต่กระแส #เลื่อนเปิดเทอม ก็สะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ทางสังคม ที่ให้ความสำคัญในประเด็นการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่แพ้ประเด็นด้านการแพทย์-สาธารณสุข การจับจ่ายใช้สอย และการจัดการเมืองแม้แต่น้อย เหตุการณ์ดังกล่าวก็บอกเราว่า เด็ก-เยาวชนเอง ก็เป็นผู้ส่งเสียงสะท้อนได้ดังก้องไม่แพ้กลุ่มผู้มีปากมีเสียงกลุ่มใดๆ ในสังคมเลย  ชะตากรรมร่วมของผู้เรียนทั่วโลก นอกจากจะเป็นปิดเทอมที่ยาวนาน (และเหงา) ที่สุดของนักเรียนไทย สถานการณ์ที่ผู้เรียนในทุกระดับชั้นกำลังเผชิญในขณะนี้ ยังถือเป็นสถานการณ์ร่วมกันของนักเรียนทั่วโลก เพราะขณะนี้รัฐบาลในหลายประเทศต่างใช้มาตรการปิดสถานศึกษา เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 โดยพร้อมเพรียงกัน ถือเป็นการยุติการเรียนการสอนชั่วคราวพร้อมกันทั่วโลกครั้งแรก นับแต่เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 […]

FOOD PLACE : Please mind the gap between you and me ร้านอาหาร : พื้นที่ระหว่างเรา ที่อาจจะเปลี่ยนไป

29/04/2020

ย้อนกลับไปเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใครจะจินตนาการออกว่า ภาพร้านอาหารที่แน่นขนัดไปด้วยผู้คน ต่อคิว เบียดเสียดเพื่อรับประทานอาหารร้านยอดนิยมนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล การศึกษาและวิจัยมากมายได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาคำตอบและเสนอแนวทางปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 สิ่งหนึ่งที่แน่ชัด คือ กลยุทธ์ทางสาธารณสุขที่นำมาใช้เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากมนุษย์สู่มนุษย์ทั้งผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันทั่วโลกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ชี้เป้าไปที่ ความหนาแน่น (Density) และ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) ร้านอาหาร หนึ่งในธุรกิจฝากท้องของชาวเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายและติดเชื้อโรค ทั้งจากสภาพความหนาแน่น ระยะระหว่างบุคคล (Proximity)  ผนวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรับประทานอาหารที่ล้วนเพิ่มโอกาสในการสัมผัส (Contact) ติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้การดำเนินการธุรกิจด้านร้านอาหารถูกจับตามองไม่ใช่น้อย ร้านอาหารจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ไหม มาตรการอะไรที่ร้านอาหารควรปรับใช้ในช่วงสถานการณ์โควิด ไปจนถึงอะไรคือมาตรฐานใหม่ที่จะสร้างสุขอนามัยให้กับร้านอาหารในระยะยาว วันนี้เราจึงขอเสนอแนวคิดในการปรับตัวของเหล่าร้านอาหารในช่วงสถานการณ์ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นข้อคำนึงใหม่ที่ควรนำมาปรับใช้ในการออกแบบร้านอาหารในอนาคต การกำหนดความหนาแน่นของร้านอาหาร  ร้านอาหาร แหล่งรวมความหนาแน่น และกระจุกตัวของผู้คนโดยเฉพาะในช่วงเวลารอบมื้ออาหาร ด้วยต้นทุนทางการดำเนินธุรกิจ ร้านอาหารต่างมีการออกแบบเพื่อให้มีความจุ (Capacity) ในการรองรับการเข้ารับประทานอาหารในแต่ละรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อตอบโจทย์ด้านผลตอบแทนในการลงทุน จึงไม่แปลกที่ร้านอาหารจะมีความเบียดเสียด และแออัด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ดังกล่าว แนวคิดการออกแบบร้านอาหารในอนาคตอาจจะต้องถูกนำมาประเมินอีกครั้ง ร่วมกับการคำนวนความจุที่เหมาะสมต่อการรองรับลูกค้า ไปถึงค่ามาตรฐาน ตารางเมตรต่อคน ที่เคยอ้างอิงตามตำราเล่มเก่า อาจจะถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  นอกจากความหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายในร้านแล้ว จุดที่สร้างให้เกิดการกระจุกตัวอีกแห่ง […]

1 2