COVID-19 ชีวิตที่ไม่มีวันเหมือนเดิม

02/04/2020

แปลและเรียบเรียงโดย กัญรัตน์ โภไคยอนันต์ “กินร้อน ช้อนฉัน ห่างกัน 2 เมตร” หรือ “อยู่บ้านเพื่อชาติ”  กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของสังคมไทยในเวลานี้  มนุษย์จะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) กำลังเป็นมาตรการที่จะยาวนานมากกว่าแค่ 2-3 อาทิตย์ แต่กำลังเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ในการร่วมกันหยุดยั้งการแพร่ระบาดของ Corona ไวรัสนั้น รัฐบาล หน่วยงาน กรมควบคุมโรค และสาธารณสุขของทุกประเทศได้ออกมาตราการขอความร่วมมือจากประชาชนในการเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมแทบจะทุกมิติ  นับตั้งแต่การทำงาน การออกกำลังกาย การพบปะสังสรรค์ การซื้อของ การเรียนการสอน ไปจนถึงการดูแลสมาชิกในครอบครัว  ทุกคนเฝ้ารอให้สังคมได้กลับไปใช้ชีวิตปกติแบบเดิม แต่มีสิ่งหนึ่งที่  Gideon Lichfield บรรณาธิการของนิตยสาร MIT Technology Review ได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจว่า หลังจากนี้อีก 2-3 เดือน หรืออาจจะไม่มีทางเกิดขึ้นเลยที่มนุษย์จะกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้  สถานการณ์ตอนนี้ทุกประเทศต่างยอมรับว่าต้องชะลอการระบาดของผู้ป่วยให้มากที่สุดเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบสาธารณะสุข (Healthcare system) เหมือนที่กำลังเกิดขึ้นที่ประเทศอิตาลีตอนนี้ ด้วยการประกาศขอความร่วมมือใช้มาตรการต่างๆ ทั้ง ระยะห่างทางสังคม (Social […]

แรงงานนอกระบบ ชีวิตที่แสนเปราะบาง

24/03/2020

“ทุกเช้าหนี้สินก็เพิ่มไปเรื่อยๆ รายจ่ายก็ยังรออยู่ตอนสิ้นเดือน” สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สังคมได้รับรู้ความเปราะบางของเหล่าคนทำงานนอกระบบมากขึ้น ทั้งคนทำงานรูปแบบเศรษฐกิจกิ๊กเวิร์กเกอร์ (gig worker) ฟรีแลนซ์ คนที่ไม่ได้ทำงานเต็มเวลา (part-time)  คนเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากค่าจ้างขั้นต่ำ การลาป่วย หรือประกันสุขภาพที่จะช่วยได้ในยามวิกฤติ เป็นที่รับรู้กันดีว่า อาชีพคนหาเช้ากินค่ำ ลูกจ้างรายวันที่ได้ค่าจ้างแค่พอประทังชีวิตกำลังเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤติการณ์ครั้งนี้ ด้วยสถานะบุคคลชายขอบของสังคม ทั้งการเป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีหลักประกันสังคมนอกจากบัตรประกับสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ถึงแม้จะมีประกันสังคม ม.40 สำหรับผู้ทำอาชีพอิสระก็ตาม แต่ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดที่องค์การอนามัยโลกประกาศว่าเป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) คือ การะบาดอย่างเป็นวงกว้างไปทั่วโลกนั้น  หน้าที่ของรัฐบาลคือการให้การรักษา และประชาชนมีสิทธิในการป้องกันโรค การคัดกรอง และการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน  แต่ถึงอย่างนั้น นอกเหนือจากการรักษาตามสิทธิที่พึงจะได้ สิ่งที่แรงงานนอกระบกำลังเผชิญคือ รายจ่ายที่ไม่เคยลดน้อยลง ทั้งค่าเช่าบ้าน ค่าอาหารของสมาชิกในครอบครัวไปจนถึง ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการซื้ออุปกรณ์ป้องกันตัวเองที่แสนจะหายาก ณ เวลานี้ อย่าง หน้ากากอนามัย หรือ เจลแอลกกอฮอล์ ทุกอย่างล้วนมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น   นิยามของแรงงานนอกระบบ คือ แรงงานที่ทํางานแต่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทํางาน ดังเช่นแรงงานในระบบ ปัจจุบันแรงงานนอกระบบถือเป็นแรงงานกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ผลจากการสำรวจแรงงานนอกระบบล่าสุดในปี 2562 ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ ระบุว่า […]

10 ที่สุดข่าวเมืองแห่งปี 2019

31/12/2019

นับถอยหลังสู่ปี 2020 ด้วย 10 ข่าวเกี่ยวกับเมือง ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดแห่งปี 2019 รวบรวมโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) เป็น 10 ข่าว ที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง คุณภาพชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวดีๆ ในปีสุดท้ายแห่งทศวรรษนี้ 1.กรุงเทพฯ เมืองจมฝุ่น 3 ฤดู ข่าวเมืองแห่งปีคงหนีไม่พ้น ฝุ่นละออง PM 2.5  ที่เกิดขึ้นเกือบทุกภาคของประเทศ รวมถึงเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุด เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว จากข้อมูล State of Global Air ระบุว่า  PM2.5 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทยประมาณ 37,500 ราย โดยเมื่อวันที่ 30 ก.ย.62 ดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI ที่จากเว็บไซต์ Airvisaul.com ระบุว่า คุณภาพอากาศในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ค่า AQI อยู่ที่ 175 […]

พื้นที่สาธารณะในนามสนามหลวง : จากทุ่งพระเมรุ สนามกอล์ฟ ลานเล่นว่าว สู่พื้นที่สัญลักษณ์

05/12/2019

ใครเกิดทันได้เล่นว่าวที่สนามหลวงบ้าง?  ครั้งหนึ่ง ก่อนที่สนามหลวงจะมีรั้วล้อมรอบ สนามหลวงเคยเป็นพื้นที่สาธารณะผืนใหญ่ใจกลางเมืองที่มีฉากหลังเป็นพระบรมมหาราชวัง วิวสวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่จริงแล้ว สนามหลวงเคยเป็นอะไรต่อมิอะไรมาหลายอย่าง ทั้งลานเล่นว่าว ตลาดนัด ฉายหนังกลางแปลง ท้องนา ยุ้งฉาง ทุ่งพระเมรุ ลานประหาร สนามกอล์ฟ สนามม้า ไฮด์ปาร์ค ลานจอดรถ ห้องนอนชั่วคราวของคนไร้บ้าน และพระราชพิธีสำคัญต่างๆ  กูดเซลล์ นักผังเมือง เคยอธิบายถึงพื้นที่สาธารณะว่า มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างพื้นที่เปิดโล่งทางกายภาพเพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้ที่เป็นสาธารณะและเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนเมือง ดังนั้น สนามหลวงจึงน่าจะเข้าข่ายเป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ แห่งแรกๆ ของมหานครแห่งนี้มาก่อน แต่ถ้าย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ สนามหลวง หรือ ทุ่งพระเมรุ มีการใช้งานครั้งแรกในงานพระเมรุพระบรมอัฐิพระชนกแห่งรัชกาลที่ 1 และเป็นสถานที่เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์มาโดยตลอด  นอกจากกิจกรรมพระราชพิธี สนามหลวงยังเคยเป็นผืนนา แสดงความอุดมสมบูรณ์ของสยามประเทศ ให้สมกับคำว่า อู่ข้าว อู่น้ำ การทำนาที่ท้องสนามหลวงเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำนา เพื่อเป็นการแสดงให้นานาประเทศเห็นว่า เมืองสยามบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าให้ใช้ […]

มหาสมุทร และ หมุดหมายการพัฒนาเมือง

01/11/2019

“ใครสักกี่คนจะรู้ว่าปอดของดาวเคราะห์โลกที่มอบออกซิเจนให้กับพวกเรามากที่สุดนั้นมาจากมหาสมุทร นอกเหนือจากการเป็นแหล่งอาหาร ยาและต้นกำเนิดทางชีวภาพแล้ว” พวกเราทุกคนดำเนินชีวิตโดยไม่รู้ตัวว่าการกระทำของเรามีผลต่อความสมบูรณ์ของมหาสมุทรอย่างไรและความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรมีความสำคัญกับเราอย่างไร  เหตุใดเราถึงต้องเข้าใจอิทธิพลของมหาสมุทรที่มีต่อเราและอิทธิพลของเราต่อมหาสมุทร คนจากพื้นที่ mainland อย่างชั้น เกิดและเติบโตในเขตเมืองหลวงของกรุงเทพมหานคร หากนึกถึงการไปทะเลนั้นคือการไปเที่ยวพักผ่อน ฉันไม่มีทางรู้เลยว่าทุกการกระทำในชีวิตประจำวันส่งผลต่อสภาพของมหาสมุทรเช่นไร จนกระทั่งเกิดการรณรงค์ทั่วโลกเรื่องภาวะโลกร้อนและการลดใช้พลาสติกปรากฎขึ้นพร้อมกับภาพหลอดในรูจมูกของเต่าตัวยักษ์ ขยะส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของคนในเมือง โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล จากผลการสำรวจโดยทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยจอร์เจีย ปี 2558 ระบุว่า ไทยรั้งอันดับ 5 ของประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยอ้างอิงจากผลการสำรวจประเมินจากภาพรวมปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศ ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งมีจำนวนขยะประมาณ 26.85 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นปริมาณขยะ จำนวน 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยมีปริมาณขยะที่ตกค้างเพราะไม่สามารถจำกัดได้ถูกวิธีประมาณ 23 % หรือประมาณ 6.22 ล้านตันต่อปี โดยชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดมีปริมาณขยะประมาณ 10 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนี้มีประมาณ 5 ล้านตันที่ได้รับการจัดการที่ไม่ถูกวิธี ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า ขยะที่ตกค้างจากการจำกัดขยะที่ไม่ถูกวิธีอีก10 % จะไหลลงสู่ทะเลเท่ากับขยะที่ไหลลงสู่ทะเล 50,000-60,000 ตันต่อปี ซึ่งประเมินว่าในแต่ละปีจะมีขยะพลาสติกในทะเล 50,000 […]

1 2