คุณภาพชีวิต



When the Office is Dead – เมื่อออฟฟิศกำลังจะตาย ในโลกใหม่ของการทำงาน

24/08/2020

ว่ากันว่า ออฟฟิศยุคใหม่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน ให้จับตามองเหล่าบรรดาสตาร์ตอัพและบริษัทเทคโนโลยีในซิลิคอน แวลลีย์ หรือเมืองที่เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั่วโลก Google และ Facebook, สองยักษ์ใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยี, ประกาศอนุญาตให้พนักงานของพวกเขาทำงานจากบ้านได้จนถึงสิ้นปี (BBC, 2020) Twitter เองก็แจ้งในอีเมลถึงพนักงานของบริษัทว่าสามารถทำงานจากบ้านได้ “ตลอดไป” หรือ “ตราบเท่าที่เห็นควร” ออฟฟิศก็ยังพร้อมจะเปิดรับ หรือจะทำงานที่บ้านต่อไปก็แล้วแต่การตัดสินใจของตัวพนักงานเองเพราะที่ผ่านมาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานก็ไม่ได้ลดลง จึงไม่เห็นว่าการเข้าออฟฟิศเป็นเรื่องที่สำคัญเท่าไหร่อีกต่อไป (Techcrunch, 2020) ในทางตรงกันข้าม บริษัทเทคโนโลยีใดที่ไม่มีมาตรการรองรับการทำงานจากที่บ้านกลับถูกวิจารณ์อย่างหนัก เช่น IBM ซึ่งเคยเป็นผู้บุกเบิกการทำงานจากที่บ้านมาก่อนเพื่อน แต่ดันยกเลิกโครงการไปในปี 2017 (Business, 2017) หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เงอะงะในการปรับต่อไปสู่การ work from home เช่น Accenture, ATT, Cognizant, Epic Systems, Tesla, SpaceX และ Wells Fargo (Medium, 2020) ก็ถูกประนามโดย David Heinemeier Hansson ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp (แพลตฟอร์มจัดการโปรเจ็กออนไลน์) […]

วินของคนเมือง ฟันเฟืองที่ขาดไม่ได้

21/07/2020

ภาพ : พี่เขียว (วินมอเตอร์ไซค์) หากเปรียบเมืองเป็นเครื่องจักรใหญ่ๆ สักเครื่อง ระบบขนส่งมวลชนก็คงเป็นฟันเฟืองที่ทำให้คนเมืองสามารถไปทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างบรรลุเป้าหมาย ด้วยผังเมืองที่ไม่ได้ออกแบบให้เราเดินทางได้สะดวกนัก ผู้ช่วยที่ดีที่สุดในยามที่เราต้องเข้าซอยลึกหรือรีบเร่งไปทำงานคงจะหนีไม่พ้น “พี่วินมอเตอร์ไซค์” ที่จะยืนรอผู้โดยสารประจำจุดเดิมในทุกๆ วัน บทบาทของวินมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่แค่เพียงขับรถรับ – ส่งผู้โดยสารเท่านั้น แต่วินบางคนยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการช่วยจัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน จนไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ที่ต้องอาศัยความไว้ใจด้วย ความสัมพันธ์แบบนี้เองที่หาไม่ได้ในขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ จึงไม่แปลกใจที่วินมอเตอร์ไซค์จะได้ใจคนเมือง ชวนคุยและดูภาพถ่ายของ ‘พี่เขียว’ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ทำอาชีพนี้ด้วยหัวใจมายาวนานนับ 10 ปี ตั้งแต่ประสบการณ์ชีวิต มุมมองต่อการทำงาน ไปจนถึงเปิดอกคุยปัญหาและตอบทุกข้อสงสัย  ผลกระทบจากโควิดที่วินมอเตอร์ไซค์ได้เจอ / ทำไมวินต้องมีปัญหากับคนขับบริษัทขนส่งเอกชน / โดนผู้โดยสารผู้ชายคุกคามทางเพศทำอย่างไรได้บ้าง / ชอบชวนคุยตอนขับรถแล้วได้ยินเสียงลูกค้าไหม ฯลฯ ชื่อ : พี่เขียวอายุ : 37 ปีอาชีพ : มอเตอร์ไซค์รับจ้างประสบการณ์ : 10 ปี ตารางประจำวัน5:30 น. รับลูกค้าประจำเจ้าแรก6:00 – 7:00 […]

หมองกลิ่นเมืองเหงา

14/07/2020

ภาพข่าวที่ชวนให้สะเทือนใจเมื่อไม่นานมานี้คือ ภาพแม่ค้าที่ตลาดนั่งลงกับพื้นถนนไหว้อ้อนวอนผอ.เขต กับเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ออกมาไล่รื้อแผงลอยค้าขายที่ตลาดลาวย่านคลองเตยในช่วงเวลาประมาณสามทุ่ม ในขณะที่เวลาสี่ทุ่มคือเวลาเคอร์ฟิว ถ้อยคำร้องทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้าคือ ตอนนี้ก็ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และถูกซ้ำเติมจากมาตรการปิดเมืองเพื่อรับมือกับโควิด 19 ทำไมกทม. ถึงจะมาบีบให้คนทำมาหากินที่ลำบากอยู่แล้วต้องเผชิญกับสภาวะจนตรอกมากขึ้น ส่วนทางกทม. นั้นก็มีคำอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ทวงคืนทางเท้า” ของกทม. โดยอธิบายว่า ทางเท้านี้ถูกยึดไปเป็นตลาดมานานกว่า 30 ปี มีความพยายามไล่รื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เดือนพฤษภาคมพยายามอีกครั้งก็ทำให้เราเห็นภาพชวนสะเทือนใจ นั่นคือ ภาพแม่ค้านั่งกลางถนนยกมือไหว้อ้อนวอนขอพื้นที่สำหรับทำมาหากิน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการปะทะกัน ระหว่างคนค้าขายบนพื้นที่ที่ฉันอยากจะเรียกมันว่าพื้นที่อันกำกวม นั่นคือ พื้นที่ริมถนน และทางเท้า กับเทศกิจและกทม. (และจังหวัดอื่นๆ ด้วย) นอกจากจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ภาพแม่ค้าวิ่งหนีเทศกิจยังกลายเป็นภาพคลาสสิค สถาปนาพล็อตในหนัง ในการ์ตูน ในเรื่องสั้น ในละคร มีชีวิตอยู่ใน pop culture ของไทย จนเรารู้สึกไปโดยปริยายว่า มีทางเท้าก็ต้องมีรถเข็นขายของ มีรถเข็นขายของก็ต้องมีเทศกิจ เป็นเนื้อคู่กระดูกคู่กัน คำถามของฉันคือ ทำไมเราปล่อยให้มันกำกวม? และรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ ดำเนินการอยู่โดยปราศจาก “การจัดการ” จริงๆ […]

เติบโตจากการใช้ชีวิตในต่าง ‘เมือง’ : คุยกับลูกเรือในวันที่ COVID-19 ทำให้ต้องหยุดบิน

15/06/2020

หากนึกดูให้ดี ‘สายการบินระหว่างประเทศ’ แท้จริงแล้วคือ ‘สายการบินระหว่างเมือง’ ไฟลท์บินระหว่างไทย – อังกฤษ ส่วนใหญ่คือ การเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ – ลอนดอน เช่นเดียวกับไฟลท์บินไทย – สิงคโปร์ ย่อมไม่ใช่อะไรอื่นใดระหว่างการเชื่อมสองมหานครหลวงของทั้งสองประเทศ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อาชีพบนเครื่องบินเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน เพราะอาชีพนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็น ‘บ้าน’ และ ‘เมือง’ หลายแบบ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบโดยตรงทุกประเทศทั่วโลก บางสายการบินถึงกับล้มละลาย เนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายโดยไม่มีรายได้เข้ามา การปรับลดต้นทุนและใช้มาตราการฉุกเฉินอาจทำให้รอดจากสภาวะนี้ หากแต่เรายังไม่รู้ว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดจะจบลงตรงไหน นับว่าเป็นอีกวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่อุตสาหกรรมและบุคลากรทางการบินได้เผชิญ ในขณะที่ใครหลายคนสามารถ work from home ได้ แต่ดูเหมือนว่า โอปอล์ – ศศินันท์ บุญเฉียน ลูกเรือสายการบินแห่งหนึ่งไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีอะไรแปลก เพราะเมื่อเครื่องบินบินไม่ได้ ลูกเรือก็ต้องหยุดงาน ทว่าโอปอล์ต้องประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ‘เมือง’ ที่ไม่ใช่ ‘บ้าน’ ของเธอ อย่างผู้อยู่อาศัย แม้จะมีทางเลือกให้เธอกลับ ‘บ้าน’ ได้แต่ก็มีหลายเหตุผลให้โอปอล์เลือกที่จะอยู่ที่นี่ น่าสนใจว่า มุมมองต่อ […]

กว่าจะถึงห้องพักในชั้นที่ 73

04/06/2020

73 จำนวนชั้นของคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดจากย่านที่ถือได้ว่าดีที่สุดของกรุงเทพมหานครด้านหนึ่งของห้องหันหน้าเข้าสู่ผืนน้ำที่สะท้อนแดดระยับตาในเวลากลางวัน และอีกด้านในมุมที่สูงกว่าใครนั้นก็เผยให้เห็นถึงความงดงามจากทิวทัศน์ของเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เมืองที่ความเจริญกำลังแผ่ขยายออกไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยคุณสามารถเป็นเจ้าของห้องพักที่กว้างขวาง สวยงาม และสะดวกสบายที่ว่านี้ ได้ในราคา 336,000 บาทต่อ ‘ตารางเมตร’ มากกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ย ‘ต่อปีต่อครัวเรือน’ ของคนไทยแค่ราว 12,000 บาทเท่านั้น (อ้างอิงข้อมูลโดยเฉลี่ยจากสถิติแห่งชาติในปี 2560) แล้วห้องพักแต่ละชั้นในตึกอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง? ‘พญาไท-ราชเทวี’ พื้นที่ชุมชนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนและแหล่งพักอาศัย หากมองจากสถานีรถไฟฟ้าคุณก็จะเห็นคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่เบียดแน่นอยู่ทั่วบริเวณ แต่หากคุณลองเดินเข้าซอยลึกลงไปอีกหน่อย คุณจะพบว่าที่จริงแล้วคอนโดมิเนียมเหล่านั้นต่างหากที่กำลังแทรกตัวอยู่ระหว่าง ‘ห้องเช่า’ จำนวนมาก ใต้ร่มเงาของคอนโดมิเนียมสูงใหญ่ เราจะพบกับอาคารพาณิชย์หลายคูหาที่ซ้อนตัวติดกันเป็นล็อกๆ ระเบียงของแต่ละชั้นแน่นขนัดไปด้วยเสื้อผ้าที่ถูกซักและตากรายวัน หน้าห้องพักและเสาไฟฟ้าแต่ละต้นมักถูกจับจองด้วยป้าย ‘ว่างให้เช่า’ จากห้องพักบริเวณใกล้เคียงทั้งที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาพม่าและกัมพูชา หลายปีมาแล้วที่ธุรกิจอย่างห้องเช่าในเมืองเกิดขึ้นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เรื่อยมา โดยผู้ที่เข้าพักอาศัยมีตั้งแต่นักศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว ไปจนถึงเหล่าพนักงานออฟฟิศ บันไดชันที่กว้างราวสามกระเบื้องเล็กๆ พาเราขึ้นสู่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงและเปิดเป็นห้องพักให้เช่าในราคาเพียง 3,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น อาคารแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นล่างสุดเปิดเป็นร้านขายของชำ ส่วนอีก 4 ชั้นที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นห้องพักขนาดย่อมราว 8-12 ตารางเมตรพร้อมห้องน้ำในตัว โดยในแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยห้องพัก 3 – 4 […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน คุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท ในวันที่ถนนของเมืองเต็มไปด้วยมอเตอร์ไซค์

15/05/2020

ถ้าย้อนเวลากลับไปก่อนหน้าที่ Covid-19 จะเข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา ลองหลับตาแล้วนึกถึงปัญหาของการเดินทางในกรุงเทพมหานครดูหน่อยสิว่า คุณนึกถึงอะไรบ้าง? การจราจรแออัดแบบติดท็อป 10 ของโลก, รถไฟฟ้าแพง, รถเมล์ไม่เคยพอ, มอเตอร์ไซค์ย้อนศรเรื่องปกติ หรือบางทีก็วิ่งบนทางที่คนควรจะได้เดิน, จากบ้านไปที่ทำงานต้องขึ้นวิน โหนรถเมล์ ลงเรือ แล้วต่อแท็กซี่ และยังมีอีกมากมายที่เอ่ยได้ไม่รู้จบสำหรับปัญหาการเดินทางในเมือง ซึ่งดูสวนทางกับป้ายใต้ราง BTS ที่เงยหน้ามองอยู่ทุกวัน ในประโยคที่ว่า ‘กรุงเทพฯ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ ภาพของการเดินทางในเมืองแบบสภาวะปกติ เชื่อว่าทุกคนน่าจะจดจำปัญหาที่ต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี แต่ทว่าตั้งแต่มีเหตุการณ์ Covid-19 ระบาด การเดินทางในเมืองและวิถีชีวิตที่จำต้องยอมเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับวิกฤตหนักหน่วง เราอาจจะนึกไม่ออกว่าอนาคตจะเปลี่ยนโฉมออกมาหน้าตาแบบไหน ในวันที่ต้องอยู่บ้านและเดินทางไปไหนก็ลำบาก จึงอยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท อาจารย์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ชื่อว่า ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในเรื่องของ ‘การเดินทางในเมือง’ กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน, มอเตอร์ไซค์รับจ้าง: เส้นเลือดฝอยของคนเมือง,มอเตอร์ไซค์รุ่งโรจน์ในยุคอีคอมเมิร์ซ ทั้งหมดคือบางส่วนในหัวข้อที่อาจารย์ใช้ในงานวิจัย ชี้ให้เห็นว่า มอเตอร์ไซค์ถูกยกให้มีบทบาทสำคัญสำหรับการเดินทางในเมือง และอาจารย์ยังบอกอีกว่า […]

ว่าด้วยการซื้อของในเมืองเบื้องต้น คุยกับ อ.ดร. พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ ในช่วงที่การเดินทางเป็นเรื่องลำบาก

13/05/2020

ลองนึกถึงสินค้าชิ้นล่าสุดที่คุณเพิ่งซื้อ คุณซื้อจากที่ไหน แล้วถ้าหากเป็นช่วงก่อนโควิด-19 จะระบาด ของชิ้นที่ว่า เดิมทีคุณจะซื้อจากที่ไหน คำตอบสำหรับภาพการซื้อของในเมืองมีได้หลากหลาย ทั้งจากซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขามากมายมหาศาล ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตมหึมา หรือใช้นิ้วสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ก็มีให้เลื่อนให้ไถกันไม่หยุด รวมถึง ตลาดนัด และอื่นๆ  แต่การมาของโควิด-19 โรคระบาดครั้งใหญ่ที่ถูกทั้งโลกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ได้เปลี่ยนภาพการซื้อของในเมืองไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ผู้คนไม่สามารถไปกินข้าวที่ร้านประจำได้ ถูกงดช็อปปิ้งในห้าง อยู่บ้านมากขึ้นกักตัวพร้อมกักตุนอาหาร และอีกหลายๆ อย่างที่ทำให้พฤติกรรมการซื้อของต้องเปลี่ยนไป  ในวันที่ทุกอย่างไม่เหมือนเดิม อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือ โครงการย่อยที่ 5 ซึ่งพูดถึงเรื่อง ‘อนาคตของการซื้อของในเมือง’ การมาเยือนของโควิด-19 ส่งผลให้อนาคตการซื้อของของคนเมืองในงานวิจัยนั้นเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร สมมติฐานถึงอนาคตทั้งใกล้ไกลจะเบนเข็มไปในทิศทางไหน ทุกๆ อย่างกำลังเปลี่ยน เปลี่ยนไปจากความคุ้นชิน เปลี่ยนไปในทิศทางบังคับที่ทุกคนต้องปรับตัวตาม และยังไม่รู้เลยว่า คลื่นลมของการเปลี่ยนแปลงที่เรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ จะสงบลงได้ในวันไหน การพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ในช่วงเวลาแบบนี้ เมืองควรมีร้านสะดวกซื้อเพราะอะไร เมืองเกิดจากตลาดแล้วก็วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ร้านค้าจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองมาตั้งแต่ต้น การค้าในเมืองในยุค 1.0 […]

The Better City ของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ “เราคือเมือง เมืองคือประชาชน”

29/11/2019

แม้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ยังมาไม่ถึง แต่คนที่เรารู้อย่างแน่ชัดแล้วว่าจะลงแข่งขันในศึกชิงตำแหน่งครั้งนี้แน่นอนก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ อดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมผู้ได้รับสมญานามว่า ‘รัฐมนตรีผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี’  บ่อยครั้งที่ใครๆ ก็พบเห็นชายผู้แข็งแกร่งที่สดในปฐพีคนนี้ไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนลุมฯ และถ้าเข้าไปทักทายของถ่ายรูปด้วย ก็จะได้รับปฏิกิริยาตอบกลับแบบยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรเสมอ ไลฟ์สไตล์ติดดิน เข้าถึงง่าย ชัชชาติเป็นหนึ่งในนักการเมืองไม่กี่คนที่ประชาชนรู้สึกคุ้นเคย รวมไปถึงพื้นที่โซเชียลมีเดียด้วย ดังนั้น ชัชชาติจึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับผู้ท้าชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. โดยเฉพาะเมื่อเขาตัดสินใจลงในนามอิสระ ด้วยเหตุผลที่ว่า ‘สามารถทำงานกับทุกภาคส่วนได้มากกว่าลงสมัครในนามพรรคการเมือง’  ว่าแต่ว่า วิสัยทัศน์ในเรื่อง ‘เมือง’ ของผู้ชายคนนี้จะเป็นอย่างไร The Urbanis อยากชวนคุณไปพูดคุยกับเขาหลังการบรรยายครั้งสำคัญในหัวข้อ “Better City จะทำเมืองให้ดีขึ้นได้อย่างไร”  การบรรยายนี้จัดขึ้นโดย ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง (CUURP) คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ซึ่งนอกจากจะเปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาเมืองให้แก่นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ยังทำให้เรา ‘เห็น’ ชัดเจนอีกด้วย ว่าชัชชาติมีวิสัยทัศน์ต่อกรุงเทพฯ อย่างไร รวมทั้งเขาอยากทำอะไรบ้าง – เพื่อให้กรุงเทพฯ ดีขึ้น ชัชชาติเริ่มการบรรยายด้วยการตั้งคำถามว่า ‘เมืองที่ดีคืออะไร’ เพราะการจะวัดผลว่าดีหรือไม่ดีนั้น […]

เมืองเคลื่อนที่ได้ หมุดหมายใหม่ของคนเมือง

01/11/2019

เคยมีคนกล่าวไว้ว่าเมืองก็เหมือนกับคน มีร่างกาย มีการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของเมืองจึงอาจหมายถึงพลวัติของการเลื่อนไหล และการเคลื่อนที่ของผู็คนและกิจกรรมที่อยู่ในเมือง การเลื่อนไหลของผู้คนและกิจกรรมในเมืองมักเริ่มต้นจากจุดหนึ่งไปสิ้นสุดที่อีกจุดหนึ่งหรือไหลไปเรื่อยๆ อีกหลายต่อหลายจุด และนั่นคือ เรื่องราวของการเคลื่อนที่ของเมือง (Urban Mobility) แต่หลายครั้งที่การเลื่อนไหลเหล่านั้นมักจะสะดุดลงและเกิดปัญหา นั่นเป็นพลวัติหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติของเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลก ปัญหาที่ว่านั้นอาจเป็นเรื่องของการจราจรที่คับคั่งและติดขัด ปัญหาฝุ่นควัน เสียงรถยนต์และการบีบแตรล้วนเป็นความปกติของการใช้ชีวิตในเมืองซึ่งในบางเมืองก็อาจเลวร้ายกว่านั้น เมืองต่างๆ เหล่านี้กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่เกี่ยวกับวาทะกรรมของการใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ก็คือ “การเคลื่อนที่และเลื่อนไหลอยู่ในเมือง” เพราะคนกรุงเทพ มีกรรมด้านการเดินทาง กรุงเทพฯ เมืองที่มักติดอันดับสถิติที่ว่าด้วยความคับคั่งของการจราจรเมืองหนึ่งของโลก (ซึ่งคนกรุงเทพฯ อาจจะไม่ได้อยากให้เมืองติดอันดับสถิติอะไรพวกนี้) นี่อาจเป็นคำพาดหัวข่าว หรือบทความที่เราพบเห็นจนชินชามาสักระยะแล้ว ควบคู่ไปกับสถิติที่ว่ากรุงเทพเป็นเมือง “น่าเที่ยว” ที่ดีที่สุดของโลก แต่ใครจะรู้ว่าเมืองน่าเที่ยวนี้ อาจจะไม่ใช่เมืองน่าอยู่อย่างที่เราคิด ปัญหาด้านการเดินทางเป็นปัญหาหลักของเมืองอย่างกรุงเทพฯ เลยก็ว่าได้ และยิ่งไปกว่านั้น การที่เราไปติดอันดับเมืองที่รถติดที่สุดในโลกยิ่งซ้ำเติมเราไปอีก หลังจากที่มีการเปิดเผยรายงานการประเมินสภาพจราจรทั่วโลก ประจำปี 2016 หรือ Global Traffic Scorecard Report บ่งชี้ว่าไทยเป็นประเทศรถติดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยคนไทยในแต่ละเมืองทั่วประเทศเสียเวลาเฉลี่ยราว 61 ชั่วโมงต่อปีไปกับรถติดบนถนน ขณะที่กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองรถติดอันดับ 12 ของโลก […]