ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า กับดาต้าเมือง

05/01/2022

“ทำไมคนผิวขาวอย่างคุณถึงพัฒนาสินค้าได้มากมายและส่งมายังนิวกินีแต่พวกเราคนผิวดำมีสินค้าเพียงน้อยนิดเป็นของเราเอง” — จาเร็ด ไดมอนด์ คำถามเมื่อ พ.ศ.2515 ของยาลี นักการเมืองและนักเคลื่อนไหวชาวปาปัวนิวกินี ได้จุดประกายให้จาเรต ไดมอนด์ เขียนหนังสือ “ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า ชะตากรรมของสังคมมนุษย์” ขึ้นใน พ.ศ.2540 ในหนังสือดังกล่าว เขาได้วิพากษ์ถึงเหตุผลในความเหนือกว่าของชาวยูเรเชียและแอฟริกาเหนือ ที่ทำให้พวกเขาสามารถยึดครองผลประโยชน์จากผู้คนที่เหลือบนโลก ไดมอนด์เสนอว่าความเป็นสังคมเกษตรกรรมตั้งแต่สมัยโบราณทำให้กลุ่มอารยธรรมนี้พัฒนาเทคโนโลยีและวิถีชีวิตที่แข็งแกร่ง คนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า ซึ่งต่างก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เอาชนะคนกลุ่มอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยมีปืนอยู่ในฐานะกำลังรบ เชื้อโรคอยู่ในฐานะสิ่งสร้างภูมิคุ้มกัน และเหล็กกล้าอยู่ในฐานะเทคโนโลยีที่สนับสนุนจักรวรรดินิยมในการล่าอาณานิคม จากการบรรยายเรื่อง “ปืน เชื้อโรค เหล็กกล้า กับดาต้าเมือง” เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2564 บรรยายโดยคุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence คุณอดิศักดิ์นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง เชื้อโรค พัฒนาการ และระบบการบริหารจัดการเมือง  พร้อมทั้งชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้ข้อมูลเข้ามาประยุกต์เพื่อการบริหารจัดการเมืองในปัจจุบันที่มีความซับซ้อน ให้เกิดการคลี่คลายและวางแผนแก้ไขปัญหาได้ โรคระบาดอยู่คู่อารยธรรม เชื้อโรค เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือของไดมอนด์ […]

อ.ชัยวุฒิ ตันไชย: อย่าให้เมืองแห่งการเรียนรู้เป็นแค่อีก buzzword ที่เราใช้แล้วทิ้ง

19/11/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ปัญหาของการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในไทยจากมุมมองของอาจารย์ชัยวุฒิ ตันไชย อาจารย์ชัยวุฒิ ตันไชย นักวิชาการอิสระที่มีประสบการณ์ทำงานกับหลายหน่วยงานผ่านการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการขับเคลื่อนด้านนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในฐานแนวคิด และ “กระแส” ที่อาจารย์นิยามว่ามันเป็น buzzword หรือ วาทกรรมที่สวยหรูอยู่หลายๆ ได้เล่าประสบการณ์ของตนเองที่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำแนวความคิดเรื่องเมืองแห่งการจัดการการศึกษาและการสร้าง Learning Ecosystem ในระดับเมือง ผ่านการทำเรื่องเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เนื่องจากว่าหากมองลงไปลึก ๆ เกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะก็จะพบว่า ในหลายๆ เมืองอัจฉริยะทั่วโลก มีมิติของการศึกษาและการเรียนอยู่มาก อาจารย์เลยได้ไปสังเกตการณ์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในหลายประเทศ ต่อมาอาจารย์มีโอกาสได้เริ่มคุยกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  เกี่ยวกับการนำเมืองแห่งการเรียนรู้มาใช้ในบริบทของประเทศไทย ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ และถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องสร้างกระบวนการในการปริวรรตแนวคิดอย่างไร อาจารย์เลยได้ไปศึกษาและพบว่าหน่วยงานที่นำแนวความคิดเกี่ยวกับการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้เข้ามาใช้ในไทยมี 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (บพท.)  สำนักงานหน่วยนโยบายการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่เพิ่งนำเข้ามาใช้เมื่อปีที่แล้ว และที่สำคัญคือท่านมีความเห็นว่า เมืองแห่งการเรียนรู้ยังเป็นไปได้ยากที่จะสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากเหตุผลหลัก […]

MOOC โอกาสใหม่ในการส่งต่อองค์ความรู้ของเมืองด้วยเทคโนโลยี

03/11/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ และคณะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ให้ฝังในตัวคน และในสังคม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้ไปจากการศึกษาในระบบ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นส่วนหนึ่งที่ระบบการศึกษาสมัยใหม่ยึดถือและมุ่งเน้นทำโดยกว้างขวางอยู่แล้ว ไม่ว่าจะผ่านการจัดกิจกรรม ผ่านพื้นที่เปิดสำหรับการเรียนรู้ หรือการศึกษาเฉพาะด้านที่เปิดให้ผู้สนใจทุกคนสามารถเข้ามาเรียนได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คมกริช ธนะเพทย์ ประธานหลักสูตรสถาปัตยกรรมผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ คุณธนพร โอวาทวรวรัญญู คุณมัชชุชาดา เดชาคณีวงศ์ สนทนากับศาสตรจารย์ ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับระบบ MOOC ที่จะส่งเสริมให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งใกล้ตัวทุกคนมากขึ้นกว่าที่เคย ส่งเสริมให้องค์ความรู้ทุก ๆ เรื่องถูกส่งต่อได้อย่างกว้างไกล และคงอยู่ต่อไปคู่กับสังคม รู้จักกับ MOOC MOOC เรียกเต็ม ๆ ได้ว่า Massive Open Online Course เป็นระบบสำหรับการเรียนการสอนทางออนไลน์ ที่เป็นเสมือนพื้นที่ให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถนำวิชา หรือหลักสูตรที่ตนสอนมาวางไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถมาเลือกหยิบไปเรียนรู้ได้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นผ่านทางสื่อที่สามารถใช้งานทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ อินโฟกราฟิก […]

20 ปี สสส. กับ ภารกิจจัดการองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาวะเมือง

30/08/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ชีวิตและสุขภาวะของผู้คนในเมืองต้องดีขึ้นได้ แนวคิดนี้ถูกส่งต่อผ่านการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือที่คุ้นหูกันว่า สสส. แม้ สสส. จะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญหลักในประเด็นเมืองและการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า สสส. คือหน่วยงานสำคัญที่สนับสนุนให้ภาคประชาสังคมต่างๆ ได้ขับเคลื่อนงาน สร้างองค์ความรู้เชิงวิชาการ รวมถึงทำโครงการทดลองมากมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักขององค์กร นอกจากนี้ ปีนี้ยังเป็นปีที่ สสส. ครบรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2544 ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจากความคิดริเริ่มโครงการ สนับสนุน และผลักดัน ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ เพื่อเรียนรู้แนวทางการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับเมืองสุขภาวะ รวมถึงการร่วมผลักดันให้นโยบายเมืองสุขภาวะเกิดขึ้นจริง ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง สสส.มีข้อมูลความรู้เมืองสุขภาวะในมือแบบไหนบ้าง ในภาพรวม สสส. ปัจจุบันน่าจะแบ่งได้เป็น 3 แบบ หนึ่งคือข้อมูลดาต้า ที่เป็นฐานข้อมูลที่ต้องนำไปวิเคราะห์ก่อนนำใช้ เช่น ข้อมูลเมืองเดินได้เดินดีของ UddC ข้อมูลส่วนที่สองคือข้อมูลต้นแบบพื้นที่ซึ่งอันนี้ภาคีเครือข่ายดำเนินการไว้เยอะและมีความหลากหลายในแต่ละบริบท […]

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด: มองเมืองผ่านมุมเศรษฐศาสตร์ และการสร้างมูลค่าจากเมืองแห่งการเรียนรู้

25/01/2021

เรื่อง : สหธร เพชรวิโรจน์ชัย ภาพปก : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) / นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ “ตราบใดที่ยังมองว่าข้าวคือข้าว เราก็ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เมืองก็เช่นกัน ถ้าเรามองเมืองคือเมืองเหมือนกัน มันก็ไม่สามารถสร้างมูลค่าได้” นี่คือคำพูดส่วนหนึ่งของ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเมืองแห่งการเรียนรู้ ในฐานะที่เขาเป็นทั้งนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นทั้งคุณพ่อที่สนใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน เพราะทุกวันนี้การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป แต่ได้ขยับขยายออกมาสู่นอกห้องเรียนอย่างเมืองที่เราอาศัยอยู่ สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้สำหรับทุกคน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจต่อไป แล้วกระบวกการเรียนรู้สำคัญกับเมืองอย่างไร? มีกลไกลอะไรบ้างที่เราสามารถเปลี่ยนเมืองธรรมดาให้กลายเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้? เมืองในประเทศไทยพร้อมไหมกับการเปลี่ยนแปลง? ลองฟังความคิดเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ที่สามารถเข้ามาช่วยออกแบบเมืองให้เกิดมูลค่าได้จากบทสัมภาษณ์นี้ อาจารย์เริ่มสนใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่ตอนไหน จริงๆ สนใจเรื่องการศึกษามานานแล้วเพราะเราเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่นอกเหนือจากหน้าที่การงาน บทบาทสำคัญก็คือการเป็นพ่อครับ เพราะเวลาเป็นอาจารย์ เราจะเห็นการเรียนรู้แค่ในห้องเรียน แต่เวลาเราเป็นพ่อ เราจะเห็นการเรียนรู้ในอีกมุมว่า ลูกสามารถเรียนรู้ได้ในบางโอกาสซึ่งเราไม่คิดว่ามันคือการเรียนรู้ด้วยซ้ำ เช่น การดูนก การเล่นเกม การออกแบบเกม หรือการแต่งกลอน สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่า กระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนถูกจำกัดไปหน่อย ผมก็เลยนำสิ่งที่ได้จากลูกมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน […]

10 ปี BIGTrees Project เครือข่ายที่ทำให้คนเมืองเรียนรู้ที่จะรักต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเมือง

10/12/2020

4 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย แต่เมื่อ 4 ธันวาคมปี 2553 กลับเป็นวันที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ต้นจามจุรีอายุกว่า 100 ปี บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 35 ถูกโค่นลง แม้ว่าจะมีการขอเจรจากับเจ้าของที่ดินไม่ให้ตัดต้นไม้แล้วก็ตาม ความเจ็บช้ำในวันนั้น ทำให้เกิดกลุ่มคนรักต้นไม้รวมตัวกันในนาม BIGTrees Project เพื่อเน้นเรื่องการสื่อสาร สร้างการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้คนในเมืองได้ไปสัมผัสธรรมชาติใกล้ตัว โดยมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในป่าคอนกรีตแห่งนี้ และกลายเป็นศูนย์กลางในการส่งเรื่องร้องเรียน หากมีการตัดต้นไม้ในที่สาธารณะ เพราะการตัดต้นไม้ไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความใหญ่” แต่เป็น “เรื่องใหญ่” ที่ทุกคนควรตระหนักรู้ วันนี้ The Urbanis จึงมาพูดคุยกับคุณ สันติ โอภาสปกรณ์กิจ และคุณ อรยา สูตะบุตร สองผู้ร่วมผู้ก่อตั้งกลุ่ม BIGTrees Project ณ Luka Cafe Siri House คาเฟ่และร้านอาหารท่ามกลางร่มไม้ใหญ่ในซอยสมคิด ย่านเพลินจิต ในวาระครบ 10 ปีที่สนับสนุนให้เมืองรักษาต้นไม้ และอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้งดงามมาถึงปัจจุบัน […]

พื้นที่สาธารณะ เลนจักรยาน อาคารทิ้งร้าง สร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร ชวนศึกษา 5 เมืองทั่วโลกที่อยากเห็นผู้คนฉลาดขึ้น

01/12/2020

บทความดัดแปลงจากรายงานความคืบหน้าโครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต (The Future of Learning City) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล / อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ / ธนพร โอวาทวรวรัญญู / อคัมย์สิริ ล้อมพงษ์ / บุษยา พุทธอินทร์ / พิชนา ดีสารพัด Andrew Harrison และ Les Hotton ได้กล่าวถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพ ภายใต้กรอบแนวคิด ภูมิทัศน์การเรียนรู้ (learning landscape) เพื่อส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้แห่งอนาคตว่า การสร้างภูมิทัศน์การเรียนรู้ตั้งอยู่บนหลักความเชื่อที่ว่า พื้นที่ไม่ได้มีบทบาทเป็นเพียงภาชนะสำหรับการเรียนหรือการทำงาน แต่ยังแสดงออกถึงวัฒนธรรม ตลอดจนเสริมคุณค่าและความเชื่อขององค์กรและบุคคลที่เป็นสมาชิก ดังนั้น หลักการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพจึงไม่ควรเน้นที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่านั้น แต่ยังควรเน้นไปที่การแสดงออกถึงคุณค่าและหลักปรัชญา ความชัดเจนของภูมิทัศน์การเรียนรู้ที่ปรากฏผ่านทั้งในระดับผังและสถาปัตยกรรมจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (sense of belonging) ของกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในองค์รวม และจะเป็นแรงดึงดูดผู้เรียนให้คงอยู่สภาพแวดล้อมกายภาพ องค์ประกอบของเมืองที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ภูมิทัศน์ของการเรียนรู้แห่งอนาคต ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัจจัยที่กระตุ้นทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อน […]

แนวโน้มในการเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย

04/11/2020

ในอดีตการศึกษาเป็นการยกระดับชีวิต เลื่อนสถานะทางสังคม ใบปริญญาหลังจบการศึกษาจึงล้ำค่าเพราะแปลว่าโอกาสที่จะก้าวเท้าสู่การทำงานสว่างไสวในพริบตา แต่ปัจจุบันด้วยจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษามากขึ้น และการจบการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยไม่ได้การันตีการมีงานทำอีกต่อไป แถมกรอบการเรียนรู้แบบเดิมก็มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์จนหลายคนไม่ได้ค้นหาความถนัดของตนเอง เมื่อวันเวลาผ่านไป เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น คุณค่าการศึกษาและการเรียนรู้จึงมีการขยับปรับเปลี่ยน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ทิศทางการเรียนรู้ได้เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ที่ทวีความเข้มข้นขึ้นจากการปฏิวัติเทคโนโลยีและการสื่อสาร โลกได้เคลื่อนออกจาก “ยุคอุตสาหกรรม” เป็น “ยุคหลังอุตสาหกรรม” ที่เศรษฐกิจสังคมตั้งอยู่บน “ฐานของความรู้” ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และนวัตกรรมเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงความต้องการทักษะของทรัพยากรมนุษย์อันพึงประสงค์ที่แตกต่างไปจากเดิม จากการศึกษาเนื้อหาเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถอธิบายสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในองค์กรมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นสถาบันหลักระดับอุดมศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านสาระการเรียนรู้ (substance) ด้านวิธีการและเครื่องมือ (methods and tools) และด้านองค์กร (organization) หมายเหตุ เนื้อหาเรียบเรียงจากโครงการจัดทำผังแม่บทฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. หมวดสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันใน 5 ทิศทาง ได้แก่ 1.1 การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้เชิงกว้างในอนาคต ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และประสบปัญหาเด็กเกิดน้อยลง […]

เมืองแห่งการเรียนรู้คืออะไร เมื่อการเรียนรู้ > การศึกษา

03/11/2020

เรียบเรียงจากการบรรยายวิชาการ โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และข้อเสนอโครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต (The Future of Learning City) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล / อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ / ธนพร โอวาทวรวรัญญู  กิจกรรม การเรียนรู้ > การศึกษา โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ “เมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต” (The Future of Learning City) ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้/พื้นที่เรียนรู้ (Learning Provider) กับผู้เรียนรู้ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนนิยามและกำหนดความหมายของคำว่า “เมืองแห่งการเรียนรู้” (Learning City) ผ่านกระบวนการสนทนากลุ่ม […]

ได้ยินบรรยากาศ ที่มองเห็นในลิสบอนไหม? Can You Hear the Atmosphere Your Eyes See in Lisbon?

06/10/2020

เรื่องและภาพ : กรกฎ พัลลภรักษา เสียงแหบพร่าของหญิงสาว ที่เปล่งลมเป็นเสียงออกมา ราวจะละเลงความเจ็บปวดของอารมณ์โศกให้ออกจากอก ละลายหายไปในความมืด แล้วละล่องท่องไปตามลมของฤดูหนาว ผ่าความสงัดเงียบของราตรีไปตามทางเดินที่เป็นตรอกเล็กซอยน้อย สะท้อนจากกำแพงหนึ่งไปยังกำแพงหนึ่ง คลานคืบแทรกวลี ประโยค และเรื่องครั้งหลัง ไปตามก้อนหินแต่ละก้อนของย่านเมืองเก่าในลิสบอน ฉันยืนเกาะเหล็กดัดที่ริมระเบียง เหมือนกำความเย็น และยอมถูกสะกดให้จมดิ่งลงไปในคลื่นยักษ์ของกาลเวลาด้วยเสียง ที่เต็มไปด้วยความโหยหาในเนื้อร้องของฟาโด เพลงระบายอารมณ์ที่ปล่อยความรู้สึกในกักให้ออกมาโลดแล่นจากบาร์เก่าที่สุดของเมือง ซึ่งไม่ห่างจากที่พักในย่านเมืองเก่า อัลฟามา (Alfama)  ย่านนี้คือ ย่านเดียวของลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกสที่ไม่ถูกทำลายจากมหันตภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ หลังจากที่รอดพ้นมานับสิบครั้ง และเช่นกันในปี ค.ศ. 1755 ขณะที่มีแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่สิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรมกว่า 85% ของเมืองถูกทำลาย ย่านอัลฟามากลับได้รับผลกระทบเล็กน้อย และยังคงเป็นชุมชนและย่านโบราณของลิสบอนจนถึงวันนี้ เสียงครวญเพลงฟาโดคืนนั้น กำลังกำจัดความหลอนร้าย แล้วปลอบประโลมให้ตระหนักถึงเวลาที่มี ในปัจจุบัน  ในวันนี้ลิสบอนคืออัญมณีน้ำงามที่เหมือนเพิ่งมีคนค้นพบอีกทีในยุโรป ทั้งที่ตั้งของเมือง บรรยากาศที่แวดล้อม ความสวยของสถาปัตยกรรม ศิลปะ อากาศ ขนมนมเนยอย่าง pastéis de nata และอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล ยิ่ง Anthony Bourdain ได้ไปค้นพบความลับของรสชาติอาหารจากหลายร้านถึงก้นครัว ลิสบอนจึงเป็นเมืองปลายทางยอดนิยมข้ามคืน ยิ่งเป็นย่านเมืองเก่า ที่ผ่านเรื่องราวมามากมาย […]

1 2 3 8