urban



Biodivers(C)ity เมืองมีส่วนส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร

17/11/2021

รายงานการประเมินทั่วโลก (Global Assessment Report) ปี 2019 ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และนิเวศบริการ (Ecosystem Services) สัตว์และพืชประมาณ 1 ล้านสายพันธุ์กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ รายงานนี้พบว่าระบบนิเวศที่เราพึ่งพาอาศัยอยู่นั้นเสื่อมลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เคย ส่งผลกระทบต่อรากฐานทางเศรษฐกิจ การดำรงชีวิต ความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ และคุณภาพชีวิตในระดับโลก แล้วความหลากหลายทางชีวภาพนั้นส่งผลดีต่อเราอย่างไรบ้าง แล้วการออกแบบและวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง ที่จะทำให้เมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น ความเป็นเมืองส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยมลพิษสู่อากาศและแหล่งน้ำ ฯลฯ และหลายๆ สาเหตุนั้นเกิดขึ้นใน กระบวนการความเป็นเมือง ที่เรามักคุ้นเคยกับการออกแบบเมืองของเราด้วยถนนลาดยางและอาคารขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันต่อผลกระทบต่อความยืดหยุ่น (resilient) ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การกำจัดต้นไม้และพืชพรรณต่างๆ และการใช้วัสดุกันซึมในเขตเมืองทำให้การทำงานของระบบนิเวศตามปกติบกพร่อง เช่น การหมุนเวียนของคาร์บอน น้ำ และสารอาหารที่สำคัญ การขาดพืชพรรณทำให้เราต้องเผชิญกับมลพิษ คลื่นความร้อน โรคที่เกิดจากพาหะนำโรค (vector-borne diseases) และผลกระทบด้านลบอื่นๆ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  นอกจากนี้ยังส่งผลการมีสุขภาพทางกายและจิตใจของผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองอีกด้วย สภาพแวดล้อมในเมืองอาจมีเสียงดังและคุณภาพอากาศต่ำ จากการจราจรหนาแน่นและประชากรหนาแน่น การมีนิเวศบริการและธรรมชาติในบริเวณใกล้เคียงที่มีการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจได้ ถ้าเมืองเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ หากเมืองของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ […]

ก้าวข้ามวังวนและมายาคติ การขับเคลื่อนเมืองด้วยข้อมูล

19/08/2021

เรียบเรียงโดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence จากการนำเสนอสาธารณะ ฟื้นเมืองบนฐานความรู้ (Knowledge-based City Remaking) ภายใต้โครงการเมืองกับบทบาทและศักยภาพในการขับเคลื่อนนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้ จากข้อสังเกต ประสบการณ์การทำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองด้วยฐานความรู้และประสบการณ์การทำงานเรื่องของการพัฒนาพื้นที่โดยใช้ข้อมูลและความรู้เป็นฐานผ่านโครงการเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง เน้นย้ำให้เห็นว่า แต่ละเมืองมีเอกลักษณ์ความเฉพาะตัว ที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือ (VUCA: volatility, uncertainty, complexity, ambiguity) ซึ่งทำให้การพัฒนาเมืองหรือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมืองแต่ทางกายภาพเป็นไปไม่ได้ ที่จะปราสจากมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม หรือเศรษฐกิจ ยิ่งบริบทของความเป็นเมืองในปัจจุบันที่เป็นสังคมของการเรียนรู้หรือการพัฒนาบนฐานความรู้ก็ยิ่งเป็นไปได้ยากหากมองเพียงมิติกายภาพเพียงอย่างเดียว ความท้าทายในการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่นั้น เป็นเรื่องของกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการเมืองที่เปลี่ยนไป จากรูปแบบของการสั่งการและการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจ (hierarchic government-based modes of urban decision-making with command logic) แต่ฝ่ายเดียวนั้น ไม่สามารถใช้การได้ในสภาพสังคมและเมืองที่มีลักษณะข้างต้น แนวคิดการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่จึงให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ของเครือข่ายผ่านกระบวนการเจรจาต่อรอง (hierarchic governance network-based modes with negotiation logic) อีกประเด็นสำคัญของเมืองในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (economic […]

ส่อง 6 ฮอตสปอต นครโฮจิมินห์ซิตี เครื่องมือสร้างเมืองนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

20/05/2021

ภาพปกโดย Photo by Q.U.I on Unsplash รู้หรือไม่ กรุงเทพฯ มีแผนการพัฒนาย่านนวัตกรรมมากมายหลายพื้นที่ อาทิ ย่านรัตนโกสินทร์ ราชเทวี กล้วยน้ำไท ลาดกระบัง ปุณณวิถี ฯลฯ โดยมีเป้าหมายสำคัญให้ย่านนวัตกรรมเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองและประเทศ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเวียดนาม ที่มีแนวคิดในการพัฒนาย่านนวัตกรรมเช่นเดียวกัน วันนี้เราจะพาไปดูการสร้างย่านนวัตกรรมในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามอย่าง “นครโฮจิมินห์ซิตี้” (Ho Chi Minh City) หลายคนอาจสงสัยว่าย่านนวัตกรรมมันคืออะไร? ข้อมูลของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ระบุว่า ย่านนวัตกรรม (Innovation District) เป็นแนวคิดใหม่ของการวางแผนและออกแบบพื้นที่และสังคมเมืองบนหลักการของการพัฒนาเมือง หรือย่านที่ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมให้รวมกันเป็นคลัสเตอร์ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและผู้ดำเนินกิจกรรมในย่าน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อผู้คนและไอเดียภายในย่าน (connecting) รวมถึงการมีกลไกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกัน (co-creation) แบ่งปันความรู้ระหว่างกัน (knowledge sharing) ของชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานในพื้นที่  โมเดลย่านนวัตกรรมแบบเกลียว 3 สาย (triple helix model of innovation […]

มหาวิทยาลัยสิงคโปร์รับมือโควิด-19 อย่างไรให้ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์มาแล้วเกือบ 1 ปี

19/01/2021

เมื่อปีที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินคำพูดคุ้นหูที่ว่า “อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ในปี 2020” การระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของผู้คนและเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเดินทางสัญจรที่ทำได้ยาก และผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การดำเนินชีวิตของผู้คนจึงตั้งอยู่ความปกติใหม่ (New Normal) สิ่งนี้นับเป็นการเรียนรู้ครั้งสำคัญของสังคมโดยรวม การปิดทำการของสถานที่หลายแห่งเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ โดยเฉพาะสถานศึกษา โรงเรียน และมหาวิทยาลัย พื้นที่การเรียนรู้หลักของผู้คนในเมือง ก่อให้เกิดวิธีการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างการเรียนการสอนออนไลน์ นับเป็นปรับตัวครั้งใหญ่ของทั้งผู้เรียนและผู้จัดการศึกษา อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ล่าสุดได้ประกาศปิดที่ทำการทั้งในและนอกเขตกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3-31 มกราคม 2564 และให้มีการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาในรูปแบบออนไลน์ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 (ตามประกาศวันที่ 2 มกราคม 2564) ตัวอย่างมาตรการรับมือกับโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา ที่สำนักข่าว The New York Times ยกเป็นให้กรณีศึกษา คือมหาวิทยาลัยหลักทั้งสามแห่งของประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management […]

เมืองเนเธอร์แลนด์แข่งรื้อพื้นกระเบื้องเพื่อปลูกต้นไม้ สู่เป้าหมายลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เมือง

11/01/2021

เมืองกับความเป็นพลวัตเป็นของคู่กัน ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของเมืองล้วนเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมุมมอง ตัวอย่างของการปรับมุมมองต่อเมืองเกิดขึ้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ “ประเทศแห่งกระเบื้อง” เห็นได้จากสวนสาธารณะของเมืองหลายแห่งมักปูพื้นด้วยกระเบื้องรูปแบบต่าง ๆ ทว่า ล่าสุดเมืองหลายแห่งในเนเธอร์แลนด์มีโครงการรื้อพื้นกระเบื้อง แล้วแทนที่ด้วยต้นไม้และพืชพรรณธรรมชาติ เช่น เมืองรอตเทอร์ดัม (Rotterdam) หรือที่ใคร ๆ หลายคนขนานนามเมืองนี้กันว่าเป็นเสมือน “ประตูสู่ยุโรป” (Gateway to Europe) เริ่มเพิ่มความเขียวด้วยการรื้อกระเบื้องในพื้นที่สวนรอบบ้านเรือน อาคาร และสำนักงาน และแทนที่ด้วยพุ่มไม้และต้นไม้ แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ แต่ก็เป็นที่สะดุดตาไม่น้อย การรื้อกระเบื้องที่ปูพื้นที่เรียงรายล้อมรอบตัวเป็นการปูทางไปสู่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง และทำให้เมืองรอตเทอร์ดัมมีความ “เขียว” มากขึ้น  หลายคนเคยได้ยินว่า ปัจจุบันไม่ใช่ยุคสมัยที่ประเทศแข่งประเทศ หากเป็นเมืองแข่งกับเมือง เกิดการแข่งขันรื้อกระเบื้องอย่างดุเดือดในสองเมืองใหญ่ระหว่าง รอตเทอร์ดัม กับ อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เมืองหลวงแห่งประเทศกังหันลม แม้ช่วงแรกพี่ใหญ่อย่างอัมสเตอร์ดัมจะเอาชนะได้ก่อนก็ตาม แต่ไม่นาน รอตเทอร์ดัมก็ตามมาชิงชนะได้ จากการรื้อกระเบื้องทิ้งไป 47,942 แผ่น ซึ่งมากกว่าพี่ใหญ่ที่ทำได้ทั้งสิ้น 46,484 แผ่น การแข่งขันสร้างผลกระทบทางบวกต่อทั้งสองเมืองอย่างเห็นได้ชัด แต่ละวันสมาชิกสภาท้องถิ่นของทั้งสองเมืองจะได้รับรายงานผลการแข่งขัน และเผยแพร่ต่อไปยังพลเมืองของพวกเขาผ่านช่องทางโซเชียล เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในการปรับเปลี่ยนเมืองให้เขียวขึ้นได้อย่างน่าสนใจ ก่อนหน้านี้ […]

10 ปี BIGTrees Project เครือข่ายที่ทำให้คนเมืองเรียนรู้ที่จะรักต้นไม้และสิ่งแวดล้อมเมือง

10/12/2020

4 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย แต่เมื่อ 4 ธันวาคมปี 2553 กลับเป็นวันที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เมื่อเกิดเหตุการณ์ต้นจามจุรีอายุกว่า 100 ปี บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 35 ถูกโค่นลง แม้ว่าจะมีการขอเจรจากับเจ้าของที่ดินไม่ให้ตัดต้นไม้แล้วก็ตาม ความเจ็บช้ำในวันนั้น ทำให้เกิดกลุ่มคนรักต้นไม้รวมตัวกันในนาม BIGTrees Project เพื่อเน้นเรื่องการสื่อสาร สร้างการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมให้คนในเมืองได้ไปสัมผัสธรรมชาติใกล้ตัว โดยมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในป่าคอนกรีตแห่งนี้ และกลายเป็นศูนย์กลางในการส่งเรื่องร้องเรียน หากมีการตัดต้นไม้ในที่สาธารณะ เพราะการตัดต้นไม้ไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความใหญ่” แต่เป็น “เรื่องใหญ่” ที่ทุกคนควรตระหนักรู้ วันนี้ The Urbanis จึงมาพูดคุยกับคุณ สันติ โอภาสปกรณ์กิจ และคุณ อรยา สูตะบุตร สองผู้ร่วมผู้ก่อตั้งกลุ่ม BIGTrees Project ณ Luka Cafe Siri House คาเฟ่และร้านอาหารท่ามกลางร่มไม้ใหญ่ในซอยสมคิด ย่านเพลินจิต ในวาระครบ 10 ปีที่สนับสนุนให้เมืองรักษาต้นไม้ และอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้งดงามมาถึงปัจจุบัน […]

คุยกับศศิน เฉลิมลาภ: จากเมืองถึงป่า จากป่าถึงเมือง

09/09/2020

ในช่วงให้หลังมาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ผู้คนตื่นตัว ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากภัยพิบัติและผลกระทบที่เห็นเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ภัยแล้ง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งล้วนสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของคนทั่วโลก มาวันนี้หลากหลายองค์กรทำงานเพื่อรณรงค์สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ทั้งการรณรงค์เรื่องการกำจัดขยะให้ถูกต้อง การหันมาใส่เสื้อผ้าแบบยั่งยืนที่ขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ ยังมีอีกองค์กรที่ทำงานเพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าและสัตว์น้อยใหญ่ด้วยหัวใจมาอย่างยาวนาน อย่างมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร เพิ่งครบรอบการก่อตั้งมูลนิธิสืบฯ 30 ปี เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา The Urbanis พูดคุยกับศศิน เฉลิมลาภ  ประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียรคนปัจจุบันถึงเรื่องป่ากับเมือง และความท้าท้ายของมูลนิธิในการทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำไมถึงสนใจเรื่องป่า ทั้งที่ตัวเองก็ใช้ชีวิตในเมือง ก็เพราะมันไม่มีป่าไง เราเรียนหนังสือในเมือง เด็กๆ ผมเกิดกลางทุ่งนา มีแม่น้ำ มีทุ่ง แล้วก็ไม่เคยเห็นป่า ป่าเป็นเรื่องไกลๆ เรื่องลึกลับ เรื่องบนภูเขา ผมอยู่บนที่ราบภาคกลางแล้วก็รู้สึกว่ามันต้องมีหุบเขา มันต้องมีทะเล มันถึงจะเป็นที่ไกลๆ บ้าน ที่ๆ เราไม่รู้ ไอ้ความไม่รู้เนี่ยแหละถึงทำให้เราอยากเรียนรู้ อยากสัมผัส พอไปเรียนรู้ถึงรู้ว่ามันสำคัญนี่นา ก็ไปเรื่อยๆ ความรู้สึกอยากเรียนรู้แบบนี้เริ่มต้นเมื่อไหร่ มันบอกไม่ถูกว่าเริ่มเมื่อไหร่ เริ่มเมื่อวันที่เราเริ่มมีความรู้ อย่างเช่นก่อนอายุ 20 ที่มันเริ่มมีกระแสสิ่งแวดล้อมเข้ามา มีการเรียนรู้ว่าป่ามันมีคุณค่ายังไง มีรุ่นพี่ๆ เขาประท้วงเขื่อนน้ำโจนก็จะมีข้อมูลมา […]

โบกมือลารถรา Net City ออกแบบเมืองใหม่ในเซินเจิ้นให้คนเดินถนนเป็นศูนย์กลาง

07/08/2020

“โอ้โฮ นี่หรือบางกอกผิดกับบ้านนอกตั้งหลายศอก หลายวารถราแล่นกันวุ่นวายมากกว่าฝูงควายฝูงวัวบ้านนา” เพลงโอ้โฮบางกอกเป็นอีกหนึ่งเพลงที่สะท้อนอิทธิพลของรถยนต์ในเมืองกรุงได้เป็นอย่างดี ในอดีตรถหรือถนนอาจจะเป็นหลักฐานของความเจริญที่เข้ามาถึง แต่ปัจจุบันและอนาคตอาจไม่ใช่อีกต่อไป หลายประเทศเริ่มออกแบบให้เมืองปราศจากถนนขนาดใหญ่ จำกัดจำนวนรถยนต์ด้วยเหตุผลทั้งทางสิ่งแวดล้อม และเหตุผลเรื่องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เหมือนอย่าง Net City เมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเซินเจิ้นที่ออกแบบให้คนเดินถนนและนักปั่นจักรยานเป็นศูนย์กลางของเมือง เนื้อที่กว่า 2 ล้านตารางเมตร ส่วนหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น หนึ่งในมหานครชื่อดังของโลกถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทั้งที่ตั้งสำนักงานของ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ในจีน ผู้อยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชัน Wechat และบริการรับ-ส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ตอย่าง QQ รวมไปถึงออกแบบให้มีที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เพื่อรองรับคนกว่า 80,000 คน โดยปกติในหลายเมืองใหญ่ พื้นที่มากกว่าครึ่งจะถูกใช้ไปกับถนนและลานจอดรถยนต์ แต่โจนาธาน วาร์ด พาร์ตเนอร์ผู้ออกแบบจาก NBBJ บริษัทที่ชนะการแข่งขันบอกเล่าว่าเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับคนเดินเท้า คนปั่นจักรยาน เต็มไปด้วยสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวที่คนสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ง่ายขึ้น และยังเป็นแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงมรสุม  สำหรับคอนเซปต์พื้นฐานการจำกัดการจราจรในท้องถนนที่จะหยิบมาใช้ในการออกแบบนั้นคล้ายกับซูเปอร์บล็อกในเมืองบาร์เซโลนา “ถ้าคุณแยกส่วนมันจะมองเป็น 6 บล็อก แต่ละบล็อกจะล้อมไปด้วยถนนใหญ่อย่างที่คุณจะเห็นเป็นปกติในเซินเจิ้น แต่พวกเราจะรวมทั้ง 6 บล็อกเข้าด้วยกันเพื่อให้มีพื้นที่ถนนใหญ่เฉพาะรอบนอก ส่วนถนนด้านในจะเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินแทน” วาร์ดบอกเล่าว่าตึกยังคงสามารถเขาถึงโดยรถยนต์ในรอบนอก ส่วนที่จอดรถจะอยู่ใต้ใต้ดิน ทำให้การขับรถไม่จำเป็นอีกต่อไป  เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ใหม่แห่งนวัตกรรมและพื้นที่แห่งความสุขเพื่อใช้ชีวิตและทำงาน “สิ่งหนึ่งที่จะต้องจำกัดคือจำนวนของรถยนต์” […]

How’s it going? : ฟรีแลนซ์ชาวไทยในอเมริกา กับชีวิตในเมืองที่ล็อกดาวน์มากว่า 2 เดือน

28/05/2020

มากกว่า 1,600,000 คือจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในสหรัฐอเมริกา ณ ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ตอนนี้อเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก มียอดผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งแสนคน โดยนิวยอร์กเป็นรัฐที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยนิวเจอร์ซีย์ อิลลินอยส์ และแมสซาชูเซตส์ ชีวิตของชาวเมืองที่ต้องอยู่ในเมืองที่ผู้ติดเชื้อมากที่สุดอันดับต้นๆ ของประเทศจะเป็นอย่างไร? เราได้พูดคุยกับฟรีแลนซ์ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ‘ส้ม-กันยารัตน์ สุวรรณสุข’ ถึงการใช้ชีวิตในบอสตันในช่วงนี้ จริงๆ แล้ว ส้มบอกกับเราว่ากำลังอยู่ในช่วง gap year และมีแผนจะไปเรียนต่อ แต่ก็มีสถานการณ์โควิดเข้ามาเสียก่อน ตอนนี้เลยได้แต่เตรียมตัวไปพลางๆ และการอาศัยอยู่ในบอสตันที่ล็อกดาวน์มาแล้วกว่า 2 เดือน ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปไม่น้อยเลย ‘โอ้มายก็อด ปิดเมืองมานานขนาดนี้แล้วเหรอ’ ส้มอุทานออกมาเมื่อเราถามว่าบอสตันเริ่มล็อกดาวน์ตั้งแต่เมื่อไหร่ เราคุยกันผ่านทางวิดีโอคอล ส้มเล่าให้เราฟังว่าจากเดิมบอสตันเป็นเมืองแห่งการศึกษา มีนักเรียน นักศึกษาจากหลายชาติทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาเสมอ ยิ่งในช่วงที่เริ่มจะเข้าซัมเมอร์เช่นนี้แล้ว ถ้าเป็นในปีก่อนๆ จะเริ่มเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งอเมริกัน ยุโรป รวมถึงเอเชีย ออกมาเดินเล่นรับอากาศดีๆ หลังจากหน้าหนาวผ่านพ้นไป แต่ซัมเมอร์ปีนี้เงียบเหงาและเศร้ากว่าทุกปี สถานที่ที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานถูกปิดลง จะเหลือก็แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และร้านขายยาเท่านั้นที่ยังพอมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่ไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แม้ว่าอเมริกาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเมืองและรัฐที่ส้มอาศัยอยู่ ทำให้ในช่วงนี้ไม่มีรายได้เลยก็ตาม […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

1 2