Bangkok



“ขนมฝรั่ง โบสถ์ซางตาครู้ส ชุมชนกุฎีจีน” เทศกาลคริสต์มาสฉบับชาวย่านกะดีจีน-คลองสาน

07/12/2020

ลมหนาวพัดมาเป็นสัญญาณว่าเริ่มเข้าฤดูเทศกาล และหนึ่งในเทศกาลสำคัญของชาวคริสต์ทั่วโลกคงหนีไม่พ้น ‘คริสต์มาส’ ที่เต็มไปด้วยสีสันทั้งมิติวัฒนธรรม ความเชื่อ รวมถึงสิ่งละอันพันละน้อยตลอดช่วงเวลามงคล แน่นอนว่า ‘กะดีจีน-คลองสาน’ ย่านเก่าแก่ที่เป็นสถานพำนักของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกซึ่งเก่าแก่และใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของไทยจึงย่อมมีสีสันน่าสนใจไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะในชุมชนกุฎีจีนที่มีโบสถ์เก่าอย่างซางตาครู้สเป็นศูนย์รวมศรัทธาและสานสัมพันธ์ของชาวย่านมานานหลายร้อยปี คราวนี้เราจึงอยากชวนมาชมสีสันวันคริสต์มาสในย่านเก่า ผ่านรสชาติของอาหารที่มีต้นทางมาจากชาวคาทอลิกเชื้อสายโปรตุเกส ที่พิเศษทั้งเรื่องของรสชาติและเรื่องราว เริ่มจาก ‘ขนมฝรั่งกุฎีจีน’ ที่หลายคนคงคุ้นชื่อและรส ทว่าบางคนอาจยังไม่รู้ว่าต้นทางของขนมฝรั่งนั้นเกี่ยวพันกับเทศกาลคริสต์มาสอย่างน่าสนใจ เพราะมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์สายหนึ่งระบุว่าขนมฝรั่งกุฎีจีนมีพัฒนาการมาจาก ‘King’s Cake’ ขนมเค้กโรยน้ำตาลเชื่อมที่ชาวยุโรปนิยมทำกินกันช่วงหลังเทศกาลคริสต์มาส มีกิมมิคน่าสนใจอยู่ตรงเนื้อขนมจะซ่อนสัญลักษณ์เกี่ยวข้องกับพระราชาเล็กๆ เอาไว้ให้ผู้ร่วมล้อมวงกินเค้กลุ้นกันว่าให้จะได้ไป และได้เป็นพระราชาในงานฉลองวันนั้น เมื่อรสนิยมการกินเค้กติดสอยห้อยตามพ่อค้าชาวโปรตุเกสมาถึงสยาม จากขนมเค้กโรยน้ำตาลเชื่อมก็ปรับเป็นขนมเค้กเนื้อร่วนทำจากแป้งสาลี ไข่เป็ด และน้ำตาลทราย กลายเป็นขนมฝรั่งที่อบด้วยเตาถ่านโบราณที่ให้กลิ่นหอมเป็นพิเศษ และเป็นขนมที่จะปรากฎตัวบ่อยครั้งในหน้าเทศกาลงานมงคลของคริสตชนชาวย่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ นอกจากขนมฝรั่ง สีสันของย่านกะดีจีน-คลองสานช่วงเทศกาลคริสมาสต์ยังรวมถึงการตกแต่งประดับประดาบ้านเรือนบริเวณใกล้กับโบสซางตาครู้สด้วยรูปพระคริสต์หรือพระแม่มารี รวมถึงต้นคริสมาสต์สีสดใสที่ช่วยให้บรรยากาศชุมชนเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาคึกคักเป็นพิเศษ โดยเฉพาะวันคริสต์มาสอีพ ที่โบสถ์ซางตาครู้สจะมีกิจกรรมให้ชาวย่านได้ร่วมทั้งในแง่พิธีกรรมทางศาสนา รวมถึงกิจกรรมสนุกๆ อย่างการสอยดาว จับสลาก และแน่นอนว่าต้องมีขนมฝรั่งกุฎีจีนเป็นหนึ่งในพระเอกประจำงานด้วยเช่นกัน หมายเหตุ: ภาพและข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของโครงการตำราอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน โดย มูลนิธิประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน ไอคอนสยาม และศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)

เมื่อโลกไม่แน่นอน เมืองจะพัฒนาอย่างไร ภาพอนาคตย่านกะดีจีน-คลองสานปี 2030 มีคำตอบ

02/12/2020

“ไม่มีฮีโร่คนเดียวในการขับเคลื่อนผลักดัน” เสียงของ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หรือ “อาจารย์แดง” ของเหล่าลูกศิษย์วิชาสตูดิโอวางผังชุมชนเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คุ้นเคยกันดีมาตลอดภาคการศึกษาที่ผ่านมา พยายามเน้นย้ำ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน ‘การนำเสนอสาธารณะร่างผังยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน’ ได้เข้าใจการทำงานของนักออกแบบผังเมือง ที่ต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชน เพราะพวกเขาไม่ใช่แค่เพียงผู้อยู่อาศัยและใช้งานเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะนักออกแบบเองก็อาจจะตกหล่นหรือลืมบางไอเดียที่อาจนำมาต่อยอดได้ เช่น โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ริเริ่มมาจากความคิดอันตรงไปตรงมาของ “ลุงประดิษฐ์ ห้วยหงส์ทอง” ประธานชุมชนวัดบุปผาราม ย่านกะดีจีน จนพัฒนามาเป็นสวนลอยฟ้าที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน และทำให้ดัชนีเมืองเดินได้สูงขึ้นมาทันตา อ้างอิงจากผลการศึกษาของ โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) โดย UddC-CEUS และ สสส. พบว่า ดัชนีเมืองเดินได้ในพื้นที่โดยรอบโครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นจาก 49 เป็น 76 คะแนนเต็มร้อย 12 ปีแห่งความร่วมมือฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน 12 ปีผ่านไปนับตั้งแต่ริเริ่มโครงการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน วันนี้การพัฒนายังไม่สิ้นสุด ไอเดียจากนิสิตได้เข้ามาต่อยอดความร่วมมือของทั้ง UddC-CEUS กรุงเทพมหานคร และชุมชนชาวกะดีจีน-คลองสานที่เข้ามาร่วมชมนิทรรศการและแสดงความคิดเห็นต่อผลงานของนิสิต ณ สุราลัยฮอลล์ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม […]

พื้นที่สาธารณะ เลนจักรยาน อาคารทิ้งร้าง สร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร ชวนศึกษา 5 เมืองทั่วโลกที่อยากเห็นผู้คนฉลาดขึ้น

01/12/2020

บทความดัดแปลงจากรายงานความคืบหน้าโครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต (The Future of Learning City) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล / อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ / ธนพร โอวาทวรวรัญญู / อคัมย์สิริ ล้อมพงษ์ / บุษยา พุทธอินทร์ / พิชนา ดีสารพัด Andrew Harrison และ Les Hotton ได้กล่าวถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพ ภายใต้กรอบแนวคิด ภูมิทัศน์การเรียนรู้ (learning landscape) เพื่อส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้แห่งอนาคตว่า การสร้างภูมิทัศน์การเรียนรู้ตั้งอยู่บนหลักความเชื่อที่ว่า พื้นที่ไม่ได้มีบทบาทเป็นเพียงภาชนะสำหรับการเรียนหรือการทำงาน แต่ยังแสดงออกถึงวัฒนธรรม ตลอดจนเสริมคุณค่าและความเชื่อขององค์กรและบุคคลที่เป็นสมาชิก ดังนั้น หลักการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพจึงไม่ควรเน้นที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่านั้น แต่ยังควรเน้นไปที่การแสดงออกถึงคุณค่าและหลักปรัชญา ความชัดเจนของภูมิทัศน์การเรียนรู้ที่ปรากฏผ่านทั้งในระดับผังและสถาปัตยกรรมจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (sense of belonging) ของกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในองค์รวม และจะเป็นแรงดึงดูดผู้เรียนให้คงอยู่สภาพแวดล้อมกายภาพ องค์ประกอบของเมืองที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ภูมิทัศน์ของการเรียนรู้แห่งอนาคต ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัจจัยที่กระตุ้นทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อน […]

มารู้จัก Interaction Design และทำไม Google Maps ถึงรับมือรถเมล์ไทยไม่ได้

25/11/2020

เมื่อพูดถึง Interaction Design หรือ การออกแบบที่เน้นปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่ออกแบบและผู้ใช้งาน ฟังดูกว้าง และจับจุดได้ยากหากเราไม่ใช่นักออกแบบเสียเอง จริงๆ แล้ว Interaction Design ก็คลุมความหมายที่กว้างจริงๆ แต่ถ้ายกตัวอย่างที่ใกล้ตัวอย่างเช่นแอปพลิเคชันต่างๆ หลายคนคงร้องอ๋อ ด้วยความหมายที่กว้างทำให้ศาสตร์ของ Interaction Design เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการออกแบบอื่นๆ อย่างที่ Einar Sneve Martinussen ผู้เชี่ยวชาญด้าน Interaction Design จาก Oslo School of Architecture and Design บอกกับเรา อย่างไรก็ตาม Einar ชี้ให้เราเห็นว่าหัวใจหลักของ Interaction Design ที่กลายเป็นความแตกต่างจากการออกแบบโดยทั่วไป คือการออกแบบที่อยู่บนพื้นฐานว่าผู้ใช้งานจะมีปฏิกิริยาอย่างไร และวัตถุหรือผลงานการออกแบบนั้นจะโต้ตอบอย่างไร การสื่อสารไปมาระหว่างกันและกัน ดังนั้นคงจะไม่ผิดนักหากเมื่อเรามองในภาพกว้าง Interaction Design และ Urban Design หรือ การออกแบบเมือง จึงหนีกันไม่พ้น และต้องการการพัฒนาไปควบคู่กัน เพราะหากเราต้องการการออกแบบที่มุ่งตอบสนองผู้ใช้ในระดับเมือง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผู้คนที่พร้อมใช้งาน […]

เมืองแห่งการเรียนรู้คืออะไร เมื่อการเรียนรู้ > การศึกษา

03/11/2020

เรียบเรียงจากการบรรยายวิชาการ โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และข้อเสนอโครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต (The Future of Learning City) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล / อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ / ธนพร โอวาทวรวรัญญู  กิจกรรม การเรียนรู้ > การศึกษา โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ “เมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต” (The Future of Learning City) ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้/พื้นที่เรียนรู้ (Learning Provider) กับผู้เรียนรู้ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนนิยามและกำหนดความหมายของคำว่า “เมืองแห่งการเรียนรู้” (Learning City) ผ่านกระบวนการสนทนากลุ่ม […]

จากบาซูก้าการคลัง สู่บาซูก้าผังเมือง ข้อเสนอฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

05/06/2020

บอล 3 ลูกในเมืองหลัง COVID-19 บทความชิ้นนี้เป็นข้อเสนอเชิงออกแบบและบริหารจัดการพื้นที่เมือง โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เพื่อเน้นย้ำว่า ในเมืองกรุงเทพฯนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสและโอกาสนั้นมีอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมให้ทุกคน โดยเฉพาะโอกาสในการทำกินและการประกอบสัมมาอาชีพ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งคงปฎิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงในความเสี่ยงสุขภาพ ความหวาดระแวงว่าจะติดโรคระบาดหรือไม่ นี่คือผลกระทบด้านด้านสาธารณสุข ตลอดจนการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิต และผลกระทบสืบเนื่องสำคัญที่ตามมาคือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจในระดับปากท้องซึ่งกำลังปรากฎชัดและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากช่วงเวลาที่แน่นิ่งของเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับการการกักตัวที่ยาวนานกว่าครึ่งปี ดังนั้น จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่าเรากำลังจะต้องเผชิญรวมถึงตระเตรียมวิธีการจัดการกับลูกบอล 3 ลูกที่จะตามมาหลังการผ่านพ้นไปของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในครั้งนี้ ประกอบด้วย หนึ่ง-สาธารณสุข สอง-การเงินการคลัง และสาม-ปากท้อง อาชีพ และรายได้ แม้ว่าสถานการณ์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในบ้านเราจะดีขึ้นตามลำดับ และอยู่ในอันดับต้นๆ ที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นที่น่าพอใจ ทำให้มีอัตราผู้ติดเชื้อต่อแสนประชากรที่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าเราจะเป็นประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อนอกพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่ และนี่คือความสำเร็จขั้นที่ 1 ในมาตรการด้านสาธารณสุข หากแต่สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงหลังจากนี้ นอกเหนือไปจากการเยียวยาจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายระดับมหาภาคในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเยียวยาในระดับครัวเรือน ในมาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท และเงินเยียวยาเกษตรกร ซึ่งรวมเรียกได้ว่าเป็นมาตรการด้านการเงินการคลัง เราจะเรียกกว่าเป็น […]

กว่าจะถึงห้องพักในชั้นที่ 73

04/06/2020

73 จำนวนชั้นของคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดจากย่านที่ถือได้ว่าดีที่สุดของกรุงเทพมหานครด้านหนึ่งของห้องหันหน้าเข้าสู่ผืนน้ำที่สะท้อนแดดระยับตาในเวลากลางวัน และอีกด้านในมุมที่สูงกว่าใครนั้นก็เผยให้เห็นถึงความงดงามจากทิวทัศน์ของเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เมืองที่ความเจริญกำลังแผ่ขยายออกไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยคุณสามารถเป็นเจ้าของห้องพักที่กว้างขวาง สวยงาม และสะดวกสบายที่ว่านี้ ได้ในราคา 336,000 บาทต่อ ‘ตารางเมตร’ มากกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ย ‘ต่อปีต่อครัวเรือน’ ของคนไทยแค่ราว 12,000 บาทเท่านั้น (อ้างอิงข้อมูลโดยเฉลี่ยจากสถิติแห่งชาติในปี 2560) แล้วห้องพักแต่ละชั้นในตึกอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง? ‘พญาไท-ราชเทวี’ พื้นที่ชุมชนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนและแหล่งพักอาศัย หากมองจากสถานีรถไฟฟ้าคุณก็จะเห็นคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่เบียดแน่นอยู่ทั่วบริเวณ แต่หากคุณลองเดินเข้าซอยลึกลงไปอีกหน่อย คุณจะพบว่าที่จริงแล้วคอนโดมิเนียมเหล่านั้นต่างหากที่กำลังแทรกตัวอยู่ระหว่าง ‘ห้องเช่า’ จำนวนมาก ใต้ร่มเงาของคอนโดมิเนียมสูงใหญ่ เราจะพบกับอาคารพาณิชย์หลายคูหาที่ซ้อนตัวติดกันเป็นล็อกๆ ระเบียงของแต่ละชั้นแน่นขนัดไปด้วยเสื้อผ้าที่ถูกซักและตากรายวัน หน้าห้องพักและเสาไฟฟ้าแต่ละต้นมักถูกจับจองด้วยป้าย ‘ว่างให้เช่า’ จากห้องพักบริเวณใกล้เคียงทั้งที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาพม่าและกัมพูชา หลายปีมาแล้วที่ธุรกิจอย่างห้องเช่าในเมืองเกิดขึ้นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เรื่อยมา โดยผู้ที่เข้าพักอาศัยมีตั้งแต่นักศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว ไปจนถึงเหล่าพนักงานออฟฟิศ บันไดชันที่กว้างราวสามกระเบื้องเล็กๆ พาเราขึ้นสู่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงและเปิดเป็นห้องพักให้เช่าในราคาเพียง 3,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น อาคารแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นล่างสุดเปิดเป็นร้านขายของชำ ส่วนอีก 4 ชั้นที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นห้องพักขนาดย่อมราว 8-12 ตารางเมตรพร้อมห้องน้ำในตัว โดยในแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยห้องพัก 3 – 4 […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน คุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท ในวันที่ถนนของเมืองเต็มไปด้วยมอเตอร์ไซค์

15/05/2020

ถ้าย้อนเวลากลับไปก่อนหน้าที่ Covid-19 จะเข้ามามีส่วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา ลองหลับตาแล้วนึกถึงปัญหาของการเดินทางในกรุงเทพมหานครดูหน่อยสิว่า คุณนึกถึงอะไรบ้าง? การจราจรแออัดแบบติดท็อป 10 ของโลก, รถไฟฟ้าแพง, รถเมล์ไม่เคยพอ, มอเตอร์ไซค์ย้อนศรเรื่องปกติ หรือบางทีก็วิ่งบนทางที่คนควรจะได้เดิน, จากบ้านไปที่ทำงานต้องขึ้นวิน โหนรถเมล์ ลงเรือ แล้วต่อแท็กซี่ และยังมีอีกมากมายที่เอ่ยได้ไม่รู้จบสำหรับปัญหาการเดินทางในเมือง ซึ่งดูสวนทางกับป้ายใต้ราง BTS ที่เงยหน้ามองอยู่ทุกวัน ในประโยคที่ว่า ‘กรุงเทพฯ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว’ ภาพของการเดินทางในเมืองแบบสภาวะปกติ เชื่อว่าทุกคนน่าจะจดจำปัญหาที่ต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี แต่ทว่าตั้งแต่มีเหตุการณ์ Covid-19 ระบาด การเดินทางในเมืองและวิถีชีวิตที่จำต้องยอมเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับวิกฤตหนักหน่วง เราอาจจะนึกไม่ออกว่าอนาคตจะเปลี่ยนโฉมออกมาหน้าตาแบบไหน ในวันที่ต้องอยู่บ้านและเดินทางไปไหนก็ลำบาก จึงอยากชวนทุกคนไปคุยกับ อ.ดร.เปี่ยมสุข สนิท อาจารย์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ชื่อว่า ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในเรื่องของ ‘การเดินทางในเมือง’ กรุงเทพมหานคร: เมืองมอเตอร์ไซค์ชั่วกาลปาวสาน, มอเตอร์ไซค์รับจ้าง: เส้นเลือดฝอยของคนเมือง,มอเตอร์ไซค์รุ่งโรจน์ในยุคอีคอมเมิร์ซ ทั้งหมดคือบางส่วนในหัวข้อที่อาจารย์ใช้ในงานวิจัย ชี้ให้เห็นว่า มอเตอร์ไซค์ถูกยกให้มีบทบาทสำคัญสำหรับการเดินทางในเมือง และอาจารย์ยังบอกอีกว่า […]

จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

1 2 3