ชีวิตในเมือง



When the Office is Dead – เมื่อออฟฟิศกำลังจะตาย ในโลกใหม่ของการทำงาน

24/08/2020

ว่ากันว่า ออฟฟิศยุคใหม่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน ให้จับตามองเหล่าบรรดาสตาร์ตอัพและบริษัทเทคโนโลยีในซิลิคอน แวลลีย์ หรือเมืองที่เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั่วโลก Google และ Facebook, สองยักษ์ใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยี, ประกาศอนุญาตให้พนักงานของพวกเขาทำงานจากบ้านได้จนถึงสิ้นปี (BBC, 2020) Twitter เองก็แจ้งในอีเมลถึงพนักงานของบริษัทว่าสามารถทำงานจากบ้านได้ “ตลอดไป” หรือ “ตราบเท่าที่เห็นควร” ออฟฟิศก็ยังพร้อมจะเปิดรับ หรือจะทำงานที่บ้านต่อไปก็แล้วแต่การตัดสินใจของตัวพนักงานเองเพราะที่ผ่านมาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานก็ไม่ได้ลดลง จึงไม่เห็นว่าการเข้าออฟฟิศเป็นเรื่องที่สำคัญเท่าไหร่อีกต่อไป (Techcrunch, 2020) ในทางตรงกันข้าม บริษัทเทคโนโลยีใดที่ไม่มีมาตรการรองรับการทำงานจากที่บ้านกลับถูกวิจารณ์อย่างหนัก เช่น IBM ซึ่งเคยเป็นผู้บุกเบิกการทำงานจากที่บ้านมาก่อนเพื่อน แต่ดันยกเลิกโครงการไปในปี 2017 (Business, 2017) หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เงอะงะในการปรับต่อไปสู่การ work from home เช่น Accenture, ATT, Cognizant, Epic Systems, Tesla, SpaceX และ Wells Fargo (Medium, 2020) ก็ถูกประนามโดย David Heinemeier Hansson ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp (แพลตฟอร์มจัดการโปรเจ็กออนไลน์) […]

วินของคนเมือง ฟันเฟืองที่ขาดไม่ได้

21/07/2020

ภาพ : พี่เขียว (วินมอเตอร์ไซค์) หากเปรียบเมืองเป็นเครื่องจักรใหญ่ๆ สักเครื่อง ระบบขนส่งมวลชนก็คงเป็นฟันเฟืองที่ทำให้คนเมืองสามารถไปทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างบรรลุเป้าหมาย ด้วยผังเมืองที่ไม่ได้ออกแบบให้เราเดินทางได้สะดวกนัก ผู้ช่วยที่ดีที่สุดในยามที่เราต้องเข้าซอยลึกหรือรีบเร่งไปทำงานคงจะหนีไม่พ้น “พี่วินมอเตอร์ไซค์” ที่จะยืนรอผู้โดยสารประจำจุดเดิมในทุกๆ วัน บทบาทของวินมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่แค่เพียงขับรถรับ – ส่งผู้โดยสารเท่านั้น แต่วินบางคนยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการช่วยจัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน จนไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ที่ต้องอาศัยความไว้ใจด้วย ความสัมพันธ์แบบนี้เองที่หาไม่ได้ในขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ จึงไม่แปลกใจที่วินมอเตอร์ไซค์จะได้ใจคนเมือง ชวนคุยและดูภาพถ่ายของ ‘พี่เขียว’ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ทำอาชีพนี้ด้วยหัวใจมายาวนานนับ 10 ปี ตั้งแต่ประสบการณ์ชีวิต มุมมองต่อการทำงาน ไปจนถึงเปิดอกคุยปัญหาและตอบทุกข้อสงสัย  ผลกระทบจากโควิดที่วินมอเตอร์ไซค์ได้เจอ / ทำไมวินต้องมีปัญหากับคนขับบริษัทขนส่งเอกชน / โดนผู้โดยสารผู้ชายคุกคามทางเพศทำอย่างไรได้บ้าง / ชอบชวนคุยตอนขับรถแล้วได้ยินเสียงลูกค้าไหม ฯลฯ ชื่อ : พี่เขียวอายุ : 37 ปีอาชีพ : มอเตอร์ไซค์รับจ้างประสบการณ์ : 10 ปี ตารางประจำวัน5:30 น. รับลูกค้าประจำเจ้าแรก6:00 – 7:00 […]

เมื่อรถยนต์คือแขกรับเชิญ ในเมืองจักรยาน อัมสเตอร์ดัม

21/07/2020

ภาพ : กรกฎ พัลลภรักษา Pete Jordan ผู้แต่งหนังสือเรื่อง City of Bikes กล่าวว่า “พวกเยอรมันเกลียดคนอัมสเตอร์ดัมที่ขี่จักรยานเหลือเกิน” เพราะขวางการเคลื่อนขบวนรถทหารบนถนน แต่ความจริงแล้ว Jordan เขียนว่า “นี่เป็นวิธีการแสดงการขัดขืนต่อพวกนาซี และแสดงความสาแก่ใจ จากสามัญชน ที่สามารถขัดขวางพวกนาซีได้” เพราะการขี่จักรยานนั้น เป็นการคมนาคมหลักของประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงนาซีเข้ามาครอบเมืองในช่วงประมาณ 1940  ถึงวันนี้คนขับรถ หรือคนเดินถนนในอัมสเตอร์ดัมเอง ก็หวั่นเกรงคนขี่จักรยาน เพราะการใช้จักรยานในอัมสเตอร์ดัมคือพาหนะในการเดินทางหลัก และมีมากกว่า 880,000 คัน ขณะที่จำนวนรถยนต์มีน้อยกว่าถึง 4 เท่า   ถ้าใครเคยดูหนังสารคดีเรื่อง Rijksmuseum คงจะจำได้ว่า การซ่อมแซมบูรณะพิพิธภัณฑ์นั้นใช้เวลายาวนานมาก เพราะแต่ละขั้นตอนของการออกแบบและก่อสร้าง จะต้องมีการขอความเห็น และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนใช้จักรยาน นักกิจกรรมจักรยานนั้นเสียงดังเอาเรื่อง เพราะถือว่าเป็นเสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์มากพอกับเสียงส่วนอื่นด้วย ดังนั้น การออกแบบของพิพิธภัณฑ์ไรกส์นั้น จึงจำเป็นที่ต้องทำให้ทุกฝ่ายพอใจ จนในที่สุดผู้ใช้จักรยานก็สามารถขี่ผ่านส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย เพื่อนของเรา เป็นคนแรกที่ขี่จักรยานเข้าพิพิธภัณฑ์ไรกส์เป็นคนแรก Tania มารู้ก็ตอนที่ตัวเองได้ออกเป็นข่าวไปแล้ว! ดูเหมือนจะไม่ได้ใส่ใจ แต่ใช้สิทธิธรรมดาๆ ในการใช้ถนนบนอานจักรยาน  อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่ฉันหลงรักทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ไปพบ และทำให้เป็น loveaffair ระหว่างตัวฉันกับเมือง เพราะคลอง ถนนเล็กๆ จักรยาน และ Dutch Mentality หรือทัศนคติของคนดัตช์ จะเริ่มต้นอธิบายทัศนคติที่ว่าอย่างไรดี? ส่วนมากแล้ว เพื่อนคนดัตช์ในอัมสเตอร์ดัม หรือคนอัมสเตอร์ดัมที่พบและรู้จักนั้น ถ้าเปรียบเป็นดอกไม้เหมือนทานตะวัน มากกว่าทิวลิปที่เป็นเหมือนโลโก้ของประเทศ […]

หมองกลิ่นเมืองเหงา

14/07/2020

ภาพข่าวที่ชวนให้สะเทือนใจเมื่อไม่นานมานี้คือ ภาพแม่ค้าที่ตลาดนั่งลงกับพื้นถนนไหว้อ้อนวอนผอ.เขต กับเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ออกมาไล่รื้อแผงลอยค้าขายที่ตลาดลาวย่านคลองเตยในช่วงเวลาประมาณสามทุ่ม ในขณะที่เวลาสี่ทุ่มคือเวลาเคอร์ฟิว ถ้อยคำร้องทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้าคือ ตอนนี้ก็ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และถูกซ้ำเติมจากมาตรการปิดเมืองเพื่อรับมือกับโควิด 19 ทำไมกทม. ถึงจะมาบีบให้คนทำมาหากินที่ลำบากอยู่แล้วต้องเผชิญกับสภาวะจนตรอกมากขึ้น ส่วนทางกทม. นั้นก็มีคำอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ทวงคืนทางเท้า” ของกทม. โดยอธิบายว่า ทางเท้านี้ถูกยึดไปเป็นตลาดมานานกว่า 30 ปี มีความพยายามไล่รื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เดือนพฤษภาคมพยายามอีกครั้งก็ทำให้เราเห็นภาพชวนสะเทือนใจ นั่นคือ ภาพแม่ค้านั่งกลางถนนยกมือไหว้อ้อนวอนขอพื้นที่สำหรับทำมาหากิน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการปะทะกัน ระหว่างคนค้าขายบนพื้นที่ที่ฉันอยากจะเรียกมันว่าพื้นที่อันกำกวม นั่นคือ พื้นที่ริมถนน และทางเท้า กับเทศกิจและกทม. (และจังหวัดอื่นๆ ด้วย) นอกจากจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ภาพแม่ค้าวิ่งหนีเทศกิจยังกลายเป็นภาพคลาสสิค สถาปนาพล็อตในหนัง ในการ์ตูน ในเรื่องสั้น ในละคร มีชีวิตอยู่ใน pop culture ของไทย จนเรารู้สึกไปโดยปริยายว่า มีทางเท้าก็ต้องมีรถเข็นขายของ มีรถเข็นขายของก็ต้องมีเทศกิจ เป็นเนื้อคู่กระดูกคู่กัน คำถามของฉันคือ ทำไมเราปล่อยให้มันกำกวม? และรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ ดำเนินการอยู่โดยปราศจาก “การจัดการ” จริงๆ […]

เติบโตจากการใช้ชีวิตในต่าง ‘เมือง’ : คุยกับลูกเรือในวันที่ COVID-19 ทำให้ต้องหยุดบิน

15/06/2020

หากนึกดูให้ดี ‘สายการบินระหว่างประเทศ’ แท้จริงแล้วคือ ‘สายการบินระหว่างเมือง’ ไฟลท์บินระหว่างไทย – อังกฤษ ส่วนใหญ่คือ การเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ – ลอนดอน เช่นเดียวกับไฟลท์บินไทย – สิงคโปร์ ย่อมไม่ใช่อะไรอื่นใดระหว่างการเชื่อมสองมหานครหลวงของทั้งสองประเทศ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อาชีพบนเครื่องบินเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน เพราะอาชีพนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็น ‘บ้าน’ และ ‘เมือง’ หลายแบบ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบโดยตรงทุกประเทศทั่วโลก บางสายการบินถึงกับล้มละลาย เนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายโดยไม่มีรายได้เข้ามา การปรับลดต้นทุนและใช้มาตราการฉุกเฉินอาจทำให้รอดจากสภาวะนี้ หากแต่เรายังไม่รู้ว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดจะจบลงตรงไหน นับว่าเป็นอีกวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่อุตสาหกรรมและบุคลากรทางการบินได้เผชิญ ในขณะที่ใครหลายคนสามารถ work from home ได้ แต่ดูเหมือนว่า โอปอล์ – ศศินันท์ บุญเฉียน ลูกเรือสายการบินแห่งหนึ่งไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีอะไรแปลก เพราะเมื่อเครื่องบินบินไม่ได้ ลูกเรือก็ต้องหยุดงาน ทว่าโอปอล์ต้องประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ‘เมือง’ ที่ไม่ใช่ ‘บ้าน’ ของเธอ อย่างผู้อยู่อาศัย แม้จะมีทางเลือกให้เธอกลับ ‘บ้าน’ ได้แต่ก็มีหลายเหตุผลให้โอปอล์เลือกที่จะอยู่ที่นี่ น่าสนใจว่า มุมมองต่อ […]

กว่าจะถึงห้องพักในชั้นที่ 73

04/06/2020

73 จำนวนชั้นของคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดจากย่านที่ถือได้ว่าดีที่สุดของกรุงเทพมหานครด้านหนึ่งของห้องหันหน้าเข้าสู่ผืนน้ำที่สะท้อนแดดระยับตาในเวลากลางวัน และอีกด้านในมุมที่สูงกว่าใครนั้นก็เผยให้เห็นถึงความงดงามจากทิวทัศน์ของเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เมืองที่ความเจริญกำลังแผ่ขยายออกไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยคุณสามารถเป็นเจ้าของห้องพักที่กว้างขวาง สวยงาม และสะดวกสบายที่ว่านี้ ได้ในราคา 336,000 บาทต่อ ‘ตารางเมตร’ มากกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ย ‘ต่อปีต่อครัวเรือน’ ของคนไทยแค่ราว 12,000 บาทเท่านั้น (อ้างอิงข้อมูลโดยเฉลี่ยจากสถิติแห่งชาติในปี 2560) แล้วห้องพักแต่ละชั้นในตึกอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง? ‘พญาไท-ราชเทวี’ พื้นที่ชุมชนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนและแหล่งพักอาศัย หากมองจากสถานีรถไฟฟ้าคุณก็จะเห็นคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่เบียดแน่นอยู่ทั่วบริเวณ แต่หากคุณลองเดินเข้าซอยลึกลงไปอีกหน่อย คุณจะพบว่าที่จริงแล้วคอนโดมิเนียมเหล่านั้นต่างหากที่กำลังแทรกตัวอยู่ระหว่าง ‘ห้องเช่า’ จำนวนมาก ใต้ร่มเงาของคอนโดมิเนียมสูงใหญ่ เราจะพบกับอาคารพาณิชย์หลายคูหาที่ซ้อนตัวติดกันเป็นล็อกๆ ระเบียงของแต่ละชั้นแน่นขนัดไปด้วยเสื้อผ้าที่ถูกซักและตากรายวัน หน้าห้องพักและเสาไฟฟ้าแต่ละต้นมักถูกจับจองด้วยป้าย ‘ว่างให้เช่า’ จากห้องพักบริเวณใกล้เคียงทั้งที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาพม่าและกัมพูชา หลายปีมาแล้วที่ธุรกิจอย่างห้องเช่าในเมืองเกิดขึ้นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เรื่อยมา โดยผู้ที่เข้าพักอาศัยมีตั้งแต่นักศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว ไปจนถึงเหล่าพนักงานออฟฟิศ บันไดชันที่กว้างราวสามกระเบื้องเล็กๆ พาเราขึ้นสู่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงและเปิดเป็นห้องพักให้เช่าในราคาเพียง 3,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น อาคารแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นล่างสุดเปิดเป็นร้านขายของชำ ส่วนอีก 4 ชั้นที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นห้องพักขนาดย่อมราว 8-12 ตารางเมตรพร้อมห้องน้ำในตัว โดยในแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยห้องพัก 3 – 4 […]

How’s it going? : ฟรีแลนซ์ชาวไทยในอเมริกา กับชีวิตในเมืองที่ล็อกดาวน์มากว่า 2 เดือน

28/05/2020

มากกว่า 1,600,000 คือจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในสหรัฐอเมริกา ณ ปลายเดือนพฤษภาคม 2563 ตอนนี้อเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก มียอดผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งแสนคน โดยนิวยอร์กเป็นรัฐที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศ ตามมาด้วยนิวเจอร์ซีย์ อิลลินอยส์ และแมสซาชูเซตส์ ชีวิตของชาวเมืองที่ต้องอยู่ในเมืองที่ผู้ติดเชื้อมากที่สุดอันดับต้นๆ ของประเทศจะเป็นอย่างไร? เราได้พูดคุยกับฟรีแลนซ์ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ‘ส้ม-กันยารัตน์ สุวรรณสุข’ ถึงการใช้ชีวิตในบอสตันในช่วงนี้ จริงๆ แล้ว ส้มบอกกับเราว่ากำลังอยู่ในช่วง gap year และมีแผนจะไปเรียนต่อ แต่ก็มีสถานการณ์โควิดเข้ามาเสียก่อน ตอนนี้เลยได้แต่เตรียมตัวไปพลางๆ และการอาศัยอยู่ในบอสตันที่ล็อกดาวน์มาแล้วกว่า 2 เดือน ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปไม่น้อยเลย ‘โอ้มายก็อด ปิดเมืองมานานขนาดนี้แล้วเหรอ’ ส้มอุทานออกมาเมื่อเราถามว่าบอสตันเริ่มล็อกดาวน์ตั้งแต่เมื่อไหร่ เราคุยกันผ่านทางวิดีโอคอล ส้มเล่าให้เราฟังว่าจากเดิมบอสตันเป็นเมืองแห่งการศึกษา มีนักเรียน นักศึกษาจากหลายชาติทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาเสมอ ยิ่งในช่วงที่เริ่มจะเข้าซัมเมอร์เช่นนี้แล้ว ถ้าเป็นในปีก่อนๆ จะเริ่มเห็นผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งอเมริกัน ยุโรป รวมถึงเอเชีย ออกมาเดินเล่นรับอากาศดีๆ หลังจากหน้าหนาวผ่านพ้นไป แต่ซัมเมอร์ปีนี้เงียบเหงาและเศร้ากว่าทุกปี สถานที่ที่ไม่จำเป็นในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานถูกปิดลง จะเหลือก็แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และร้านขายยาเท่านั้นที่ยังพอมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่ไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่ แม้ว่าอเมริกาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเมืองและรัฐที่ส้มอาศัยอยู่ ทำให้ในช่วงนี้ไม่มีรายได้เลยก็ตาม […]

เสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่จากภัยหมอกควันและ COVID-19

28/05/2020

หากพูดถึงเมืองเชียงใหม่ทุกคนอาจนึกภาพของภูเขา ดอยสูง วัดวาอารามที่คงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้คนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศมากมายมหาศาล  หลายคนเลือกมาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เพราะ ชอบบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของที่นี่ ทุกครั้งที่มองไปรอบๆตัวมักเจอแต่ภูเขาสีเขียวเต็มไปหมด มันทำให้เรารู้สึกสดชื่นและมีความสุขทุกครั้งแม้ในวันที่เหนื่อยล้าจากงานการไปเที่ยวดอยชมธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่ความสวยงามของดอย ป่าเขานั้นในทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นเดิมอีกต่อไป เพราะทุกๆ ปีจะเกิดไฟป่าซึ่งก็ว่ากันว่าเกิดจากธรรมชาติที่แห้งแล้งก่อให้เกิดไฟได้ง่าย อีกทั้งเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เผาป่าเพื่อการหาอาหารเช่นกัน ทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาที่กวนใจชาวเชียงใหม่มานาน ซึ่งมักจะเกิดซ้ำๆ ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ทำให้ชาวเชียงใหม่เคยชินกับการรับมือเมื่อหมอกควันจากไฟป่ามา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือการซื้อเครื่องฟอกอากาศ อีกทั้งนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านกันมากขึ้น เพราะเราทุกคนต่างอยากได้อากาศบริสุทธิ์กลับมา แต่ในปีนี้เหตุการณ์ได้เจอหนักกว่าทุกปี ทั้งไฟป่าครั้งใหญ่และสถานการณ์ COVID-19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงใหม่ไม่น้อย  เมืองเชียงใหม่ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายอย่างโควิดเพียงอย่างเดียว แต่กลับต้องต่อสู้กับหมอกควันไฟป่าที่มาพร้อมๆ กันอีกด้วย แม้ในวันนี้สถานการณ์หมอกควันจะดีขึ้นแล้ว แต่เราก็ยังคงอยากได้ยินเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และมีวิธีรับมือกับผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้นแล้วเราจะมาฟังเสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่กัน ชัยวัฒน์ วุวรรณวิภาต อายุ 35 ปี อาชีพ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค  “กระทบเรื่องของค่าใช้จ่ายในการป้องกันพวก mask ฝุ่นควันมาก็ซื้อเครื่องฟอกอากาศอีกเพราะผมมีลูกยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นโควิดตอนนี้เรื่องงานเรื่องเงินผมไม่เท่าไหร่นะ ผมยังได้ทำงานปกติ ได้รายได้ปกติไม่ได้เดือดร้อน แต่เอาจริงก็กระทบ lifestyle ของผมด้วย ผมทำงานเครียดบางทีการผ่อนคลายของผมคือการไปดูหนังนะ ผมชอบดูหนังมาก ได้ไปเดินห้างผ่อนคลาย แต่พอตอนนี้มันปิดไปหมดเลยไม่รู้จะไปไหนทำอะไรดี” “โควิดเราต้องเข้าใจโรค […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

ขนส่งสาธารณะขั้วตรงข้ามกับเว้นระยะห่าง : When Mass (Transit) Cannot Mass

21/05/2020

จะขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็กลัวการเว้นระยะห่าง จะขับรถไปทำงานก็ต้องเจอกับปัญหารถติด ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ช่างขัดแย้งกับมาตรการรักษาระยะห่างเหลือเกิน แล้วคนเมืองที่ต้องกลับไปทำงานจะทำอย่างไร  ระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีปัญหาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ความแน่นเบียดเสียดและไม่มีการระบุเวลาที่ชัดเจน การวางแผนการเดินทางเป็นไปได้ยากมากสำหรับคนเมือง วันนี้มาชวนคุยกับ รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์การเดินทางที่จะเปลี่ยนไปรวมถึงข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ของภาครัฐและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันแก้โจทย์ทางสังคมอีกข้อที่กำลังจะตามมา นั่นคือ “การเดินทาง” มาตรการที่ต้องใช้อย่างเคร่งครัดหลังเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์เมือง  ทุกคนที่ใช้ขนส่งมวลชนต้องใส่หน้ากากอนามัย ในกรณีสถานีรถไฟฟ้าควรมีการตั้งกล้องเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการเข้าแถวตรวจวัดทีละคน การกำหนดระดับความแออัดที่ระบบขนส่งและพาหนะแต่ละประเภทจะรองรับได้ มีการจัดทำระบบข้อมูลให้แก่คนที่จะเดินทางสามารถเช็คสถานการณ์ในแต่ละสถานี เช่น ความหนาแน่นของผู้ใช้งานในสถานีที่ตนจะขึ้นนั้นมากน้อยขนาดไหน มีตัวช่วยในการวางแผนการเดินทาง คำนวณเวลาหากมีการเลื่อนเวลาการเดินทาง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและวางแผนได้ด้วยตนเอง  เรื่องความแออัดควรมีมาตรการบางอย่างเพื่อดึงดูดให้คนเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ส่วนลดค่าโดยสารที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล ในเรื่องมาตรการเว้นที่นั่ง หรือ สลับที่นั่งเพื่อรักษาระยะห่างค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และยังไม่มีหลักฐานมารองรับว่าสามารถป้องกันโรคได้ มาตรการเว้นที่นั่งยังไม่เหมาะสมกับการเดินทางในเมืองเพราะเมืองมีคนจำนวนมากที่ต้องเดินทางพร้อมกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน  รถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ เช่นเดียวกันกับรถไฟฟ้า แต่เพิ่มเติมเรื่องระบบการเก็บเงินค่าโดยสารที่ยังคงมีการใช้เงินสดอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ปลอดภัย ถ้าหากเป็นไปได้ต้องเปลี่ยนไปใช้ E-payment ในการชำระค่าโดยสาร หรือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุด โดยในช่วงแรกอาจจะมีมาตรการดึงดูดให้คนเปลี่ยนมาใช้โดยการให้ส่วนลดค่าโดยสาร   มาตรการจากกระทรวงคมนาคมตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดฐานองค์ความรู้ที่ใช้ในการวางแผนหรือดำเนินงาน ในต่างประเทศหลายที่ก็ยังเป็นการลองผิดลองถูกเช่นเดียวกัน กระทรวงคมนาคมน่าจะรอการทำงานร่วมกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข สามารถมองเป็นโอกาสที่ภาครัฐ หน่วยงานฝ่ายต่างๆ จะสามารถมาทำงานร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม  จีนมีระบบการจองขึ้นรถไฟฟ้าแล้ว ระบบการจองก่อนใช้ขนส่งมวลชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ประเทศไทยสามารถลองนำมาใช้ได้ […]

1 2