การวางแผนเมือง



เมื่อรถยนต์คือแขกรับเชิญ ในเมืองจักรยาน อัมสเตอร์ดัม

21/07/2020

ภาพ : กรกฎ พัลลภรักษา Pete Jordan ผู้แต่งหนังสือเรื่อง City of Bikes กล่าวว่า “พวกเยอรมันเกลียดคนอัมสเตอร์ดัมที่ขี่จักรยานเหลือเกิน” เพราะขวางการเคลื่อนขบวนรถทหารบนถนน แต่ความจริงแล้ว Jordan เขียนว่า “นี่เป็นวิธีการแสดงการขัดขืนต่อพวกนาซี และแสดงความสาแก่ใจ จากสามัญชน ที่สามารถขัดขวางพวกนาซีได้” เพราะการขี่จักรยานนั้น เป็นการคมนาคมหลักของประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงนาซีเข้ามาครอบเมืองในช่วงประมาณ 1940  ถึงวันนี้คนขับรถ หรือคนเดินถนนในอัมสเตอร์ดัมเอง ก็หวั่นเกรงคนขี่จักรยาน เพราะการใช้จักรยานในอัมสเตอร์ดัมคือพาหนะในการเดินทางหลัก และมีมากกว่า 880,000 คัน ขณะที่จำนวนรถยนต์มีน้อยกว่าถึง 4 เท่า   ถ้าใครเคยดูหนังสารคดีเรื่อง Rijksmuseum คงจะจำได้ว่า การซ่อมแซมบูรณะพิพิธภัณฑ์นั้นใช้เวลายาวนานมาก เพราะแต่ละขั้นตอนของการออกแบบและก่อสร้าง จะต้องมีการขอความเห็น และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนใช้จักรยาน นักกิจกรรมจักรยานนั้นเสียงดังเอาเรื่อง เพราะถือว่าเป็นเสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์มากพอกับเสียงส่วนอื่นด้วย ดังนั้น การออกแบบของพิพิธภัณฑ์ไรกส์นั้น จึงจำเป็นที่ต้องทำให้ทุกฝ่ายพอใจ จนในที่สุดผู้ใช้จักรยานก็สามารถขี่ผ่านส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย เพื่อนของเรา เป็นคนแรกที่ขี่จักรยานเข้าพิพิธภัณฑ์ไรกส์เป็นคนแรก Tania มารู้ก็ตอนที่ตัวเองได้ออกเป็นข่าวไปแล้ว! ดูเหมือนจะไม่ได้ใส่ใจ แต่ใช้สิทธิธรรมดาๆ ในการใช้ถนนบนอานจักรยาน  อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่ฉันหลงรักทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ไปพบ และทำให้เป็น loveaffair ระหว่างตัวฉันกับเมือง เพราะคลอง ถนนเล็กๆ จักรยาน และ Dutch Mentality หรือทัศนคติของคนดัตช์ จะเริ่มต้นอธิบายทัศนคติที่ว่าอย่างไรดี? ส่วนมากแล้ว เพื่อนคนดัตช์ในอัมสเตอร์ดัม หรือคนอัมสเตอร์ดัมที่พบและรู้จักนั้น ถ้าเปรียบเป็นดอกไม้เหมือนทานตะวัน มากกว่าทิวลิปที่เป็นเหมือนโลโก้ของประเทศ […]

Globalization of suffering โลกาภิวัตน์ของความทุกข์ทรมาน โรคระบาด และการปลดเปลื้องมายาคติแห่งความตาย

16/07/2020

เรื่อง: ผศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ เป็นเวลานับเดือนที่เรื่องราวและเรื่องเล่าว่าด้วยการตาย ความตาย และการจัดการร่างผู้วายชนม์จากโรคระบาด COVID-19 ทั่วโลก ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบข่าวโทรทัศน์ ข่าวหนังสือพิมพ์ และอีกมากมายในสื่อกระแสหลักแนวใหม่อย่างโซเชียลมีเดีย  เรายังได้ทำความรู้จักโฉมหน้าที่เราไม่ค่อยได้จินตนาการถึงเกี่ยวกับความตาย และการจัดการกับร่างผู้วายชนม์ผ่านภาพนิ่งหรือวีดิโอคลิป ที่มีพลังสื่อสารได้ชัดและแรงพอทำให้เราทุกคนปลดปล่อยพลังแห่งความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของคนมากมายในโลกนี่ ผู้กำลังสะเทือนใจจากการได้รับรู้ถึงการตายอย่างโดดเดี่ยว และไม่ทันตั้งเนื้อตั้งตัว นอกจากการตายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล หรือแม้แต่ในบ้านท่ามกลางผู้คนมากมาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังทำให้เราได้เห็นศพจำนวนมากถูกลำเลียงออกจากโรงพยาบาลไปพักในตู้เก็บศพเฉพาะกิจที่จอดเรียงรายบนถนนสาธารณะ ศพจำนวนมากถูกนำมาวางซ้อนๆ กันอย่างรีบร้อนและผิดที่ผิดทางอย่างไม่มีทางเลือก เพราะพื้นที่สำหรับความตาย – ห้องเก็บศพในโรงพยาบาล สุสาน วัด และที่เผาศพ มีไม่เพียงพอที่จะจัดการกับความตายได้อย่างทันท่วงที และในวิถีที่อ่อนโยนกว่าที่เป็น     คงไม่เกินจริงนักหากจะกล่าวว่า โรคระบาดอย่าง COVID-19 มีพลังในการเปลี่ยนโลก ตีแผ่สัจธรรมแห่งชีวิตและสรรพสิ่ง ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ผุพังระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติออกมาอย่างคมชัด  นักคิด นักวิชาการชั้นนำของโลกต่างออกมาชี้ชัดว่า COVID-19 ได้ทำลายโลกาภิวัตน์ในฐานะระเบียบโลกลงแล้ว โลกจะแคบลง ยากจนขึ้น ชีวิตจะดำรงอยู่อย่างยากลำบาก ทุกคนต้องปรับตัวเข้ากับวิถีใหม่ หรือ New normal (บ้างเรียกความปกติใหม่ ความปกติที่เคยไม่ปกติ และนววิถี เป็นต้น)  ให้ได้เร็วที่สุด แม้จะมีทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่แตกต่างกันลิบลับก็ตาม แน่นอนว่าสิ่งแวดล้อมและขนบใหม่เช่นนี้ย่อมต้องส่งผลโดยตรงต่อชีวิตเราทุกคน นับตั้งแต่การอยู่อาศัย การดำรงชีวิต […]

หมองกลิ่นเมืองเหงา

14/07/2020

ภาพข่าวที่ชวนให้สะเทือนใจเมื่อไม่นานมานี้คือ ภาพแม่ค้าที่ตลาดนั่งลงกับพื้นถนนไหว้อ้อนวอนผอ.เขต กับเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ออกมาไล่รื้อแผงลอยค้าขายที่ตลาดลาวย่านคลองเตยในช่วงเวลาประมาณสามทุ่ม ในขณะที่เวลาสี่ทุ่มคือเวลาเคอร์ฟิว ถ้อยคำร้องทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้าคือ ตอนนี้ก็ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และถูกซ้ำเติมจากมาตรการปิดเมืองเพื่อรับมือกับโควิด 19 ทำไมกทม. ถึงจะมาบีบให้คนทำมาหากินที่ลำบากอยู่แล้วต้องเผชิญกับสภาวะจนตรอกมากขึ้น ส่วนทางกทม. นั้นก็มีคำอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ทวงคืนทางเท้า” ของกทม. โดยอธิบายว่า ทางเท้านี้ถูกยึดไปเป็นตลาดมานานกว่า 30 ปี มีความพยายามไล่รื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เดือนพฤษภาคมพยายามอีกครั้งก็ทำให้เราเห็นภาพชวนสะเทือนใจ นั่นคือ ภาพแม่ค้านั่งกลางถนนยกมือไหว้อ้อนวอนขอพื้นที่สำหรับทำมาหากิน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการปะทะกัน ระหว่างคนค้าขายบนพื้นที่ที่ฉันอยากจะเรียกมันว่าพื้นที่อันกำกวม นั่นคือ พื้นที่ริมถนน และทางเท้า กับเทศกิจและกทม. (และจังหวัดอื่นๆ ด้วย) นอกจากจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ภาพแม่ค้าวิ่งหนีเทศกิจยังกลายเป็นภาพคลาสสิค สถาปนาพล็อตในหนัง ในการ์ตูน ในเรื่องสั้น ในละคร มีชีวิตอยู่ใน pop culture ของไทย จนเรารู้สึกไปโดยปริยายว่า มีทางเท้าก็ต้องมีรถเข็นขายของ มีรถเข็นขายของก็ต้องมีเทศกิจ เป็นเนื้อคู่กระดูกคู่กัน คำถามของฉันคือ ทำไมเราปล่อยให้มันกำกวม? และรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ ดำเนินการอยู่โดยปราศจาก “การจัดการ” จริงๆ […]

‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ : ความหวังและความเป็นไปได้ใหม่ ในการเติมสีเขียวให้เมือง เชื่อมเมือง เชื่อมชุมชน ให้ผู้คนเดินได้

09/06/2020

กรุงเทพมหานคร เมืองที่แออัด รถติด ขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง ฝุ่นควัน ความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาค และอื่นๆ อีกมากเรื่อง พูดกันได้ไม่รู้จบ แม้เราจะบ่นถึงปัญหาสารพัดของเมืองได้ทุกวัน แต่การค้นหาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้ดียิ่งขึ้นก็กำลังเดินหน้าทำงานขนานกันไป ล่าสุดหนึ่งในโครงการปรับเปลี่ยนสะพานด้วนให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าก็สำเร็จลุล่วง เปิดให้ผู้คนได้ใช้บริการแล้ว  โครงการ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (Chao Phraya Sky Park) เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงจากโครงการผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองชั้นใน ที่มีชื่อเล่นว่า ‘โครงการกรุงเทพฯ 250’ ด้วยความร่วมมือจากภาคีพัฒนาสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่น หัวเรี่ยวหัวแรงประสานความร่วมมือ สนับสนุนงบประมาณในการศึกษา ออกแบบวางผัง และดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ในฐานะเจ้าของโครงสร้างสะพานและผู้ดูแลพื้นที่ ที่เปิดไฟเขียวสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะส่งเสริมการสัญจรของเมือง พร้อมด้วย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ในฐานะหัวหน้าทีมศึกษาออกแบบวางผังและเสนอความเป็นไปได้ใหม่ในการพัฒนาฟื้นฟูเมือง สร้างพื้นที่สาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่ผู้คนในเมืองสามารถเดินได้เดินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  วันนี้อยากชวนทุกคนมาเดินทอดน่องชมวิวพระอาทิตย์ตกบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาแห่งนี้ พร้อมกับฟังแนวคิดและการวางแผนดำเนินการ อุปสรรค รวมถึงข้อจำกัดที่ท้าทาย กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ […]

เสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่จากภัยหมอกควันและ COVID-19

28/05/2020

หากพูดถึงเมืองเชียงใหม่ทุกคนอาจนึกภาพของภูเขา ดอยสูง วัดวาอารามที่คงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้คนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ที่สำคัญเมืองเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศมากมายมหาศาล  หลายคนเลือกมาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เพราะ ชอบบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของที่นี่ ทุกครั้งที่มองไปรอบๆตัวมักเจอแต่ภูเขาสีเขียวเต็มไปหมด มันทำให้เรารู้สึกสดชื่นและมีความสุขทุกครั้งแม้ในวันที่เหนื่อยล้าจากงานการไปเที่ยวดอยชมธรรมชาติก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่ความสวยงามของดอย ป่าเขานั้นในทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นเดิมอีกต่อไป เพราะทุกๆ ปีจะเกิดไฟป่าซึ่งก็ว่ากันว่าเกิดจากธรรมชาติที่แห้งแล้งก่อให้เกิดไฟได้ง่าย อีกทั้งเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เผาป่าเพื่อการหาอาหารเช่นกัน ทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาที่กวนใจชาวเชียงใหม่มานาน ซึ่งมักจะเกิดซ้ำๆ ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ทำให้ชาวเชียงใหม่เคยชินกับการรับมือเมื่อหมอกควันจากไฟป่ามา ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรือการซื้อเครื่องฟอกอากาศ อีกทั้งนิยมปลูกต้นไม้ในบ้านกันมากขึ้น เพราะเราทุกคนต่างอยากได้อากาศบริสุทธิ์กลับมา แต่ในปีนี้เหตุการณ์ได้เจอหนักกว่าทุกปี ทั้งไฟป่าครั้งใหญ่และสถานการณ์ COVID-19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเชียงใหม่ไม่น้อย  เมืองเชียงใหม่ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายอย่างโควิดเพียงอย่างเดียว แต่กลับต้องต่อสู้กับหมอกควันไฟป่าที่มาพร้อมๆ กันอีกด้วย แม้ในวันนี้สถานการณ์หมอกควันจะดีขึ้นแล้ว แต่เราก็ยังคงอยากได้ยินเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร และมีวิธีรับมือกับผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้นแล้วเราจะมาฟังเสียงสะท้อนของชาวเชียงใหม่กัน ชัยวัฒน์ วุวรรณวิภาต อายุ 35 ปี อาชีพ เจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค  “กระทบเรื่องของค่าใช้จ่ายในการป้องกันพวก mask ฝุ่นควันมาก็ซื้อเครื่องฟอกอากาศอีกเพราะผมมีลูกยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นโควิดตอนนี้เรื่องงานเรื่องเงินผมไม่เท่าไหร่นะ ผมยังได้ทำงานปกติ ได้รายได้ปกติไม่ได้เดือดร้อน แต่เอาจริงก็กระทบ lifestyle ของผมด้วย ผมทำงานเครียดบางทีการผ่อนคลายของผมคือการไปดูหนังนะ ผมชอบดูหนังมาก ได้ไปเดินห้างผ่อนคลาย แต่พอตอนนี้มันปิดไปหมดเลยไม่รู้จะไปไหนทำอะไรดี” “โควิดเราต้องเข้าใจโรค […]

การอยู่อาศัยแนวตั้งในเมืองชั่วคราว เมื่อ Covid-19 ทำให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น

25/05/2020

2020 ถือเป็นปีที่ทำให้ใครหลายคนได้หยุดการทำงานและกลับไปอยู่บ้านนานกว่าปีไหนๆ เพราะการเข้ามาของโรคระบาดอย่างไวรัส Covid-19 ทำให้โลกทั้งโลกที่เคยหมุนปกติ สะดุดเสียจังหวะ วิถีชีวิตที่เคยดำเนินมานั้นต้องพลิกผันยากควบคุม  จากวิกฤตนี้ทำให้คนต่างจังหวัดที่ต้องมาทำงานและอาศัยในเมืองกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดได้นานขึ้น ใกล้ชิดกับครอบครัว มีเวลาทำอย่างอื่น อาจได้มองเห็นเส้นทางตัวเลือกใหม่ที่จะต่อยอดให้ชีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี แต่ยังมีอีกหลายคนที่กลับบ้านไม่ได้ และยังต้อง work from home ผ่านหน้าจออยู่ในห้องพักอาศัยสี่เหลี่ยมอย่างคอนโดหรืออพาร์ตเมนต์ สถานที่ที่เป็นดั่งที่อยู่อาศัยของชีวิต แม้จะเป็นการเช่าอยู่ก็ตาม  กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองที่มีผู้คนมากมายทั้งไทยและต่างชาติ เข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต วนเวียนและจากไป ในช่วงที่เกิดการระบาดของ Covid-19 ก็ทำให้ได้เห็นว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองชั่วคราวมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในวันที่กรุงเทพฯ เพิ่งปลดล็อกดาวน์ อยากชวนทุกคนไปคุยกับ อาจารย์ภัณฑิรา จูละยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ ด้วยความสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยงานในส่วนที่อาจารย์เป็นผู้วิจัยคือโครงการย่อยที่ 2 พูดถึงเรื่อง ‘การอยู่อาศัย’ ชวนไปคุยกันถึงบ้านอาจารย์ แต่ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ปรับเปลี่ยนไปกับวิถีชีวิตใหม่ที่เราทุกคนกำลังเผชิญ มีการคาดเดามากมายว่าหลัง Covid-19 ผ่านพ้นไป ผู้คนจะย้ายออกจากเมืองมากขึ้น […]

ขนส่งสาธารณะขั้วตรงข้ามกับเว้นระยะห่าง : When Mass (Transit) Cannot Mass

21/05/2020

จะขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ก็กลัวการเว้นระยะห่าง จะขับรถไปทำงานก็ต้องเจอกับปัญหารถติด ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ช่างขัดแย้งกับมาตรการรักษาระยะห่างเหลือเกิน แล้วคนเมืองที่ต้องกลับไปทำงานจะทำอย่างไร  ระบบขนส่งมวลชนในเมืองที่มีปัญหาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 ทั้งไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ความแน่นเบียดเสียดและไม่มีการระบุเวลาที่ชัดเจน การวางแผนการเดินทางเป็นไปได้ยากมากสำหรับคนเมือง วันนี้มาชวนคุยกับ รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์การเดินทางที่จะเปลี่ยนไปรวมถึงข้อเสนอแนะถึงมาตรการต่างๆ ของภาครัฐและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันแก้โจทย์ทางสังคมอีกข้อที่กำลังจะตามมา นั่นคือ “การเดินทาง” มาตรการที่ต้องใช้อย่างเคร่งครัดหลังเริ่มมีการคลายล็อกดาวน์เมือง  ทุกคนที่ใช้ขนส่งมวลชนต้องใส่หน้ากากอนามัย ในกรณีสถานีรถไฟฟ้าควรมีการตั้งกล้องเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการเข้าแถวตรวจวัดทีละคน การกำหนดระดับความแออัดที่ระบบขนส่งและพาหนะแต่ละประเภทจะรองรับได้ มีการจัดทำระบบข้อมูลให้แก่คนที่จะเดินทางสามารถเช็คสถานการณ์ในแต่ละสถานี เช่น ความหนาแน่นของผู้ใช้งานในสถานีที่ตนจะขึ้นนั้นมากน้อยขนาดไหน มีตัวช่วยในการวางแผนการเดินทาง คำนวณเวลาหากมีการเลื่อนเวลาการเดินทาง ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและวางแผนได้ด้วยตนเอง  เรื่องความแออัดควรมีมาตรการบางอย่างเพื่อดึงดูดให้คนเดินทางนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ส่วนลดค่าโดยสารที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล ในเรื่องมาตรการเว้นที่นั่ง หรือ สลับที่นั่งเพื่อรักษาระยะห่างค่อนข้างเป็นไปได้ยาก และยังไม่มีหลักฐานมารองรับว่าสามารถป้องกันโรคได้ มาตรการเว้นที่นั่งยังไม่เหมาะสมกับการเดินทางในเมืองเพราะเมืองมีคนจำนวนมากที่ต้องเดินทางพร้อมกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน  รถโดยสารประจำทาง หรือรถเมล์ เช่นเดียวกันกับรถไฟฟ้า แต่เพิ่มเติมเรื่องระบบการเก็บเงินค่าโดยสารที่ยังคงมีการใช้เงินสดอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งไม่ปลอดภัย ถ้าหากเป็นไปได้ต้องเปลี่ยนไปใช้ E-payment ในการชำระค่าโดยสาร หรือลดการใช้เงินสดให้มากที่สุด โดยในช่วงแรกอาจจะมีมาตรการดึงดูดให้คนเปลี่ยนมาใช้โดยการให้ส่วนลดค่าโดยสาร   มาตรการจากกระทรวงคมนาคมตอนนี้เป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดฐานองค์ความรู้ที่ใช้ในการวางแผนหรือดำเนินงาน ในต่างประเทศหลายที่ก็ยังเป็นการลองผิดลองถูกเช่นเดียวกัน กระทรวงคมนาคมน่าจะรอการทำงานร่วมกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข สามารถมองเป็นโอกาสที่ภาครัฐ หน่วยงานฝ่ายต่างๆ จะสามารถมาทำงานร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม  จีนมีระบบการจองขึ้นรถไฟฟ้าแล้ว ระบบการจองก่อนใช้ขนส่งมวลชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ประเทศไทยสามารถลองนำมาใช้ได้ […]

Redesigning the Covid-19 city : 8 แนวโน้มที่เป็นไปได้

19/05/2020

การระบาดของ Covid-19 ทำให้หลายเมืองที่มีสีสันพลันเงียบเหงาลง วิกฤตครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเป็นทั้งด่านหน้าและด่านสุดท้ายของการควบคุมโรคระบาดทั้งในระดับประเทศและระดับโลก Covid-19 ส่งผลร้ายแรงต่อบางเมืองมากกว่าเมืองอื่นและสร้างรอยร้าวขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเหลื่อมล้ำของรายได้ เพศสภาพ ชาติพันธุ์และโอกาสในชีวิต มาตรการรับมือต่างๆที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีกหลายช่วงรุ่น บางเมืองจะกลับมารุ่งเรืองและมีประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่บางเมืองจะค่อยๆ โรยราและเหี่ยวเฉาลงไป ความรุนแรงของวิกฤตในครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากวิธีการบริหารจัดการ ในโคเปนเฮเกน โซล หรือไทเป ภาครัฐเป็นผู้นำ ขณะที่ภาคประชาสังคมให้ความร่วมมือจึงสามารถจำกัดการแพร่ระบาดลงได้ Covid-19 ทำให้เราย้อนกลับไปคิดและตั้งคำถามกับสัญญาประชาคมที่แตกต่างกันในประเทศที่ยากจนและร่ำรวยเลยทีเดียว ในอนาคตเมื่อเมืองทุกเมืองผ่อนคลายและยุติมาตรการ Lockdown จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจขนาดเรียกได้ว่าเป็นการทดลองครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แรงงานทั่วโลกกว่า 81% ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว คนส่วนมากมีภาระทางการเงินที่ต้องจ่ายแต่ไม่สามารถจ่ายได้ กระนั้น สถานการณ์เพิ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในระยะอันใกล้อาจมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ จนกว่าจะคิดค้นวัคซีนหรือมีวิธีการจัดการไวรัสที่ชะงัดกว่านี้ เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าเมืองไม่สามารถ Lockdown ได้ตลอดไป ในระยะสั้น หน้ากากอนามัย ชุดตรวจโรค การติดตามผู้ติดเชื้อ (Digital contact tracing) และมาตรการ Social Distancing ควรทำอย่างต่อเนื่อง แต่ละมาตรการแปรเปลี่ยนไปตามความรุนแรงและขอบเขตการแพร่กระจายของแต่ละเมือง ยกตัวอย่างเช่น ในจีนใช้โทรศัพท์มือถือติดตามผู้ติดเชื้อโดยในแต่ละระดับความเสี่ยงมีสี (Color-coded) แตกต่างกันประกอบป้องกันไม่ให้ชาวบ้านจากหมู่บ้านนอกเมืองเดินทางเข้าเมือง เป็นต้น เมืองในยุโรปหลายเมืองเริ่มคิดที่จะผ่อนปรนมาตรการ Social […]

อากาศยานไร้คนขับ จากภารกิจช่วยผืนป่าสู่อนาคตขนส่งช่วยคนเมือง

18/05/2020

ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา เกิดกระแสข่าวการถ่ายภาพมุมสูงบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ถึงแม้จะมีการออกมาชี้แจงว่าเป็นการขอความร่วมมือให้ส่งภาพเฉพาะหน่วยงานเฉพาะกิจเท่านั้นด้วยหลายๆ เหตุผลที่มิอาจทราบได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์เป็นวงกว้าง   ก่อนอื่นต้องยอมรับและทำความเข้าใจก่อนว่าเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle) หรือ โดรน (Drone) ถูกพัฒนาและใช้ในต่างประเทศโดยเฉพาะกิจการทางทหารมานานแล้ว นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการใช้อากาศยานไร้คนขับในการโจมตีแต่ยังต้องพึ่งพาการบังคับจากมนุษย์ จนมาถึงปัจจุบันที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในการควบคุมการบินได้ โดยมีขนาดตั้งแต่ 5 เซนติเมตรไปจนถึง 50 เมตร ต่อมาโดรนที่ถูกใช้ในพลเรือนหรือประชาชนทั่วไปถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กและนำมาใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง การสำรวจพันธุ์สัตว์ป่า การลักลอบตัดไม้ การทำแผนที่ และแน่นอนการทำแผนที่ไฟป่าและการดับไฟป่าก็เป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์อย่างในกรณีของทางภาคเหนือนั่นเอง เนื่องจากโดรนสามารถถ่ายภาพมุมสูง ช่วยในการรับรู้ทิศทางของไฟ และความเสียหายของขนาดวงไฟที่กำลังเกิดขึ้น และสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดรน กับโอกาส ที่อาจจะปลดล็อกได้ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นทั้งของเล่นและอุปกรณ์ในการถ่ายภาพประกอบแต่เนื่องด้วยคุณลักษณะในการบินเหนือพื้นดิน โดรนจึงจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับการใช้งานเพราะอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น การสอดแนม การติดอาวุธ และรวมไปถึงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ตามกฎหมายแล้ว โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัม และมีกล้องต้องขึ้นทะเบียน และหากมีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม  การใช้อากาศยานไร้คนขับยังมีข้อกำหนดที่ศึกษาอีกข้อคือ เขตห้ามบิน […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: ฟื้นเมืองท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกภูมิคุ้มกันเชิงพื้นที่ เสริมระดับการบริการ และสร้างความเชื่อถือระยะยาว

14/05/2020

เศรษฐกิจโลก การท่องเที่ยว และวิกฤตการณ์โควิด ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภาพรวมในด้านต่างๆ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวนั้น คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของ GPD โลก ได้สร้างงานให้กับคน 1 ใน 10 หรือคิดเป็น 330 ล้านคนทั่วโลก (WTTC, 2020) โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจต่ำ จะมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องมีการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง แค่เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวก็สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างงานให้กับกลุ่มผู้หญิง เยาวชน และคนชายขอบ ประกอบกับนโยบายการลดกำแพงวีซ่า ค่าเดินทางที่ลดลง และค่าครองชีพที่ต่ำ ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา การป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากที่สุด โดยได้นำเอานโยบายและมาตรการป้องกันต่างๆ มาบังคับใช้ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง การระงับสายการบินและโรงแรม เพื่อลดพลวัตการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่แปรผันตรงกับการกระจายเชื้อ เนื่องจากเชื้อโควิดเป็นเชื้อที่ติดจากคนสู่คนผ่านสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าการชะงักตัวเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่แปรผันตรงกับเรื่องของการเดินทางและความไว้วางใจอย่างมาก  ย่อมเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และที่สำคัญวิกฤตินี้ ได้สะท้อนจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งระบบ แนวทางหลักของการฝ่าวิกฤตโควิดของการท่องเที่ยวไทย สำหรับประเทศไทยที่เรียกได้ว่า เป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism […]

1 2