การวางแผนเมือง



ชุมนุมอย่างไรให้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย คุยกับ ‘เป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ เมื่อประเทศขาดพื้นที่สาธารณะ ในการแสดงออกทางการเมือง

12/05/2020

ช่วงที่ผ่านมาคำว่า ‘ลงถนน’ ดูจะเป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้น  อาจนับตั้งแต่ผลการเลือกตั้งปี 62 ถูกประกาศ จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่บวกกับความไม่พอใจในการบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนเป็นการชุมนุมแบบ ‘แฟลชม็อบ’ ในหมู่นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ น่าเสียดายที่การเคลื่อนไหวครั้งนั้นต้องยุติลงเพราะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาพการลงถนนที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจึงเริ่มเลือนลางไป แต่คำว่า ‘ลงถนน’ กลับมาเด่นชัดขึ้นอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลขาดศักยภาพในการรับมือกับ COVID-19 จนสร้างผลกระทบต่อประชาชนทุกย่อมหญ้า แม้ตอนนี้สถานการณ์ COVID-19 จะยังไม่คลี่คลาย แต่หลายฝ่ายต่างลงความเห็นตรงกันว่า ‘สิ้น COVID-19 นี้อาจเกิดการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่’   อย่างไรก็ตามการชุมนุมที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถือว่าไม่ง่ายเลย ทั้งในแง่ของการปฏิบัติและในเชิงพื้นที่ แต่จะทำอย่างไรให้การชุมนุมดำเนินไปได้ ?  หากจะมีใครสักคนให้คำตอบได้ ‘เป๋า’ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) น่าจะเป็นคนนั้น  จากประสบการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา และการทำงานภาคประชาสังคมที่หยิบจับประเด็นทางกฎหมายมาสื่อสารให้เกิดการตั้งคำถาม ไปจนถึงการทำงานรณรงค์ด้านสิทธิเสรีภาพอย่างแข็งขัน เมื่อเอ่ยถึงเรื่องกฎหมายที่พ่วงมากับการเคลื่อนไหวทางการเมืองทีไร ชื่อของเขามักปรากฎขึ้นมาเสมอ  บทสทนาระหว่าง The Urbanis กับ เป๋า ยิ่งชีพ ในวันนี้ จึงว่าด้วยการชุมนุมประท้วงอย่างไรให้ไม่ให้ผิดกฎหมาย พร้อมพูดคุยถึงปัญหาเรื่องพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ชุมนุม […]

Our common (safe) future ?

07/05/2020

ผมและเรียวเป็นนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัย KU Leuven ในเบลเยียม เรามาถึงเบลเยียมกันในเดือนกันยายน 2019 ทุกอย่างสวยงามเพราะเบลเยียมกำลังก้าวเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง แสงแดดที่มีมากกว่าฤดูอื่นๆ ทำให้เบลเยียมดูสวยงามเป็นพิเศษ โรงเรียนของผมอยู่ในปราสาทอเรนแบร์ก ซึ่งเป็นอาคารเก่าตั้งอยู่นอกเมืองเลอเวิน ส่วนโรงเรียนของเรียวมีชื่อที่เรียกกันติดปากว่า Sint-Lucas Gent เป็นโรงเรียนที่มีการสอนสถาปัตยกรรมยาวนานมาตั้งแต่ปี 1862 ชีวิตเราดำเนินแบบนี้มาเรื่อยๆ จนผ่านฤดูใบไม้ร่วงเข้าสู่ฤดูหนาวจนแดดเริ่มออกอีกครั้งในเดือนมีนาคม แต่เราก็มีเรื่องชวนปวดหัวเล็กน้อยในวันที่ประเทศเริ่มมีการประกาศว่าประชาชนเริ่มติดไวรัสโคโรนา วันที่มีคนติดกันคนสองคน ผมยังคุยกับเรียวว่ามันไกลตัวมาก แต่ที่ไหนได้ วันนี้มีมากกว่าสามหมื่นคนแล้ว เมื่อเริ่ม lockdown ผมเดินทางไปหาเรียว แต่เพราะรัฐบาลสั่งห้ามการเดินทางที่ไม่จำเป็น บรรยากาศบนรถไฟจึงดูแปลกตาไป การนั่งรถไฟจากเลอเวินมาเกนต์นั้น ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ซึ่งหากใครเคยดูหนังเรื่อง Train to Busan บรรยากาศบนรถไฟช่างเหมือนหนังเรื่องนั้น เพียงแค่ไม่มีซอมบี้เท่านั้นเอง ผมแทบจะเป็นผู้โดยสารเพียงคนเดียวบนรถไฟ พนักงานไม่กล้าเดินมาตรวจตั๋ว ที่สถานีรถไฟเองก็ปลอดผู้คนจนน่าใจหาย เมืองมาถึงที่เกนต์ หนึ่งในเมืองท่องเที่ยวที่โด่งดังที่สุดของเบลเยียมก็ช่างเงียบเหงาอย่างแปลกตา เรียวเป็นนักเรียนปริญญาโท ในโรงเรียนสถาปัตย์ (Sint-Lucas Gent, Faculteit Architectuur) ในหลักสูตร Sustainable Architecture การมาหาเรียวในช่วงนี้น่าสนุกกว่าเคย เพราะในฐานะที่เรียวเป็นนักเรียนสถาปัตย์และกำลังทำโปรเจ็กต์เรื่องสวนสาธารณะในเมือง Brussels ผมเลยชวนเรียวนั่งคุยและถามว่าเขามีมุมมองที่เปลี่ยนไปกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างไร ชีวิตปกติก่อน […]

ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ โลกการทำงานหลังยุคโควิด-19 เมื่อ ‘งาน’ ไม่ได้ติดอยู่กับ ‘เมือง’ อีกต่อไป

05/05/2020

โลกหลังวิกฤตโควิด-19 จะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ทุกคนอยากรู้ หนึ่งในเรื่องที่หลายคนอยากรู้ก็คือ โฉมหน้าของการทำงานในเมืองนับจากนี้ ซึ่งหนึ่งใน New Normal ยุคโควิด-19 ก็คือการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home  เราอยากรู้ว่าหลังจากนี้ บริษัทต่างๆ จะมีทิศทางในการทำงานอย่างไร ความจำเป็นของการมีออฟฟิศจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะไหน เพราะทำงานที่ไหนก็ได้ หรือวิถีเช่นนี้จะไปกระตุ้น Gig Economy ซึ่งก่อนหน้านี้กำลังมีบทบาทอย่างมากอย่างไร นี่เป็นเรื่องของคนทำงานในเมืองจำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกันไม่ใช่ทุกคนจะย้ายตัวเองไปทำมาหากินบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ดังที่เราเห็นว่า คนที่อาศัยอยู่ในเมืองอีกจำนวนมากต้องตกงานและระเห็จกลับภูมิลำเนา สิ่งนี้สะท้อนอะไรเกี่ยวกับเมืองบ้าง และในเมื่อเมืองไม่มีงานไม่มีเงินอีกต่อไป คนเหล่านี้ยังมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองอีกหรือไม่   เราชวน อ.ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ หนึ่งในนักวิจัยจากโครงการวิจัย ‘คนเมือง 4.0 : อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย’ พูดคุยถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการทำงานในเมืองในยุคโควิด-19 และประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางแอปพลิเคชัน Zoom ซึ่งน่าจะกลายเป็น New Normal ของการสัมภาษณ์เช่นกัน หลังจากเกิดโควิด-19 ผลกระทบกับตัวคุณเองในแง่การทำงานเป็นอย่างไรบ้าง และมีประสบการณ์ต่อการ Work from home อย่างไร ส่วนตัวไม่ได้ประสบปัญหามาก […]

พลอากาศตรี หม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์ นายกสภาสถาปนิก ว่าด้วยสถาปนิกกับแผนการพิชิตโควิด

04/05/2020

ทันที่เราได้ยินโครงการ Zero Covid ซึ่งเป็นความร่วมมือของสภาสถาปนิกกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์และสังคมในการพิชิตโรคระบาดที่กำลังเป็นปัญหาบาดอกบาดใจเราทุกวันนี้ อดสงสัยไม่ได้เหล่าสถาปนิกเหล่านี้จะเข้าไปช่วยส่วนไหน แบบไหนได้บ้าง  The Urbanis มีโอกาสได้พูดคุยกับพลอากาศตรี หม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์ นายกสภาสถาปนิกถึงที่มาของโครงการ ว่าทำไมสถาปนิกถึงมีบทบาทที่จำเป็นไม่น้อยในการช่วยเหลือสังคมให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ แรกเริ่ม Zero Covid Project เกิดขึ้นมาได้อย่างไรมาจากอะไร และทำไมงานสถาปัตยกรรมถึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับโรคระบาด  เรื่องเริ่มมาจากว่า ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำงานเรื่องการสนับสนุนการเอาวิชาชีพและเทคโนโลยีด้านการออกแบบมารับใช้สังคม พอมีเหตุการณ์เรื่องสถานการณ์โควิด-19 ทางศูนย์ฯ ก็เข้าไปทำวิจัยเพื่อสร้างแบบจำลองของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ก็พบว่ามันมีแนวโน้มที่โรคนี้จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับเคสจากต่างประเทศในตอนที่เริ่มทำวิจัยเมื่อหลายเดือนก่อน เราก็เห็นว่าเมืองไทยก็น่าจะไปทางนั้น ซึ่งหากสถานการณ์เป็นอย่างนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มมากกว่าจำนวนเตียงหรือมากกว่าขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลที่ประเทศเรามีอยู่ ก็เลยมีความคิดว่าน่าจะจัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยโรงพยาบาล พอตั้งโครงการนี้เสร็จ ก็เสนอไปที่คณะสถาปัตย์จุฬาฯ ผ่านทางสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตย์จุฬา​ฯ​ เพราะแนวทางที่จะใช้แก้ปัญหานี้คือการออกแบบอาคารของโรงพยาบาล ซึ่งก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตย์โดยตรง จากนั้นก็เริ่มมีการประสานงานกับนักออกแบบที่มีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับอาคารทางการแพทย์ การพยาบาล  ส่วนสภาสถาปนิกเองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็เพราะว่า ระหว่างที่เกิดวิกฤตนี้ขึ้นมา ก็มีหลายหน่วยงานติดต่อเราเข้ามาเหมือนกัน เพราะเรามีหน้าที่โดยตรงเพราะเป็นหน่วยงานตามพระราชบัญญัติที่มีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม เราเข้าไปช่วยประสานงานไปยังสมาชิกของเราที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับงานออกแบบโรงพยาบาล พอเริ่มมีการติดต่อก็พบว่ามันก็ไปทับซ้อนกับโครงการซีโร่โควิดซึ่งเขาก็ประสานงานไว้เหมือนกัน พอเป็นอย่างนั้น หากเราจะต่างคนต่างทำเรื่องเดียวกันก็มาทำด้วยกันเลยน่าจะดีกว่า สุดท้ายก็กลายเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สภาสถาปนิก สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตย์จุฬา​ฯ​ ร่วมกับและศูนย์​การออกแบบเพื่อสังคมจุฬา​ลง​กร​ณ์ ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาปนิกที่เชี่ยวชาญการออกแบบโรงพยาบาลมากแค่ไหน มีไม่มากนัก ส่วนมากจะเป็นสำนักงานสถาปนิกขนาดใหญ่อยู่สามสี่แห่งเท่านั้น อีกที่หนึ่งก็คือกระทรวงสาธารณสุขโครงกาสรนี้เราดึงทุกคนที่ว่าเข้ามาช่วยกันทั้งหมด […]

นิยายแห่งสองชรานคร : เราควรออกแบบเมืองเพื่อคนแก่ หรือเมืองเพื่อเตรียมคนให้แก่อย่างมีคุณภาพ?

27/12/2019

เมื่อพูดถึง “เมือง” เราอาจจะนึกถึงความพลุกพล่านเร่งรีบของผู้คนหนุ่มสาววัยทำงานตามท้องถนน แต่ตัวละครหนึ่งที่เรามักมองข้ามก็คือ “ผู้สูงวัย” แต่ประเด็นคือ ปัจจุบันโครงสร้างจำนวนประชากรที่สูงวัย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ สถิติจาก United Nations Department of Economic and Social Affairs (UNDESA) คาดการณ์ว่าในปี 2030 จำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีราว 1,402 ล้านคน และในปี 2050 จะเพิ่มเป็น 2,092 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไทย   ดังนั้น จึงพูดได้ว่า สังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต และคนไทยสูงวัยในอนาคตที่ว่า – ก็คือพวกเราหนุ่มสาววัยทำงานในปัจจุบันนี่เอง แล้วเมืองของเราได้เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องนี้ไว้แค่ไหน? ลินดา แกรตตัน ศาสตราจารย์แห่ง London Economic School ผู้เขียนหนังสือ The 100-Year Life […]

Urban design ทำให้กรุงเทพฯ เย็นลง 2°C ได้อย่างไร

01/11/2019

ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัดที่เราต่างรู้สึกว่าอากาศร้อนๆ เป็นของคู่กับกรุงเทพฯ ความร้อนของชนบทที่มากกว่าในเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องที่คิดกันไปเอง เพราะ เซน – กิตติณัฐ พิมพขันธ์ นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนงานวิจัยที่ผ่านๆ มาแล้วพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นที่กลางเมืองกับพื้นที่ชนบทนั้นต่างกันมากกว่า 6 องศาเซลเซียส สภาวะแบบนี้มีชื่อเรียกว่า เกาะความร้อนเมือง (urban heat island)  ซึ่งมีสาเหตุหลักอยู่ 2 ปัจจัย คือ การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินจากการพัฒนาเมือง อีกส่วนหนึ่งความร้อนที่ปล่อยออกจากการใช้พลังงานอาคาร กิจกรรมการสัญจรโดยรถยนต์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงระดับการเพิ่มของก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global heating) เมื่อดูข้อมูลเจาะจงในพื้นที่เมืองช่วง 30 ปีย้อนหลัง ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 0.6 องศาเซลเซียส “สภาวะน่าสบาย” ของเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ นั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 28-31 องศาเซลเซียส แต่หากดูค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิในเมืองหลวงเกินสภาวะน่าสบายไปที่ 2-3 องศาเซลเซียส นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงรู้สึกร้อนสุมทรวง ต้องหามุมหลบในซอกหลืบเงาร่มของอาคาร งาน Thesis ของเซนจึงพยายามใช้ความรู้ด้าน Urban design และ […]

1 2