STREET FURNITURE อีกหนึ่งอุปกรณ์สื่อสารเรื่องเมือง

17/06/2023

ศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์การออกแบบสิ่งประดิษฐ์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ และสื่อสารประเด็นต่าง ๆ ผ่านสิ่งนั้น ล้วนเป็นเครื่องสะท้อนถึงประเด็นบางอย่าง ผ่านผลงานที่ถูกชูและออกแบบ สร้างสรรค์อย่างปราณีต ดูมีเอกลักษณ์ มีรูปแบบการวางที่โดดเด่น และเฉพาะเจาะจง อยู่ในพื้นที่ที่ผู้คนจะมองเห็นได้ง่าย โดดเด่น และเป็นหมุดหมายในเมือง เช่น การสร้างอนุสาวรีย์ การสร้างสรรค์นิทรรศการผลงานศิลปะขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบการติดตั้งชั่วคราวและติดตั้งถาวร ซึ่งมีความหมายและที่มาที่ไปซ่อนอยู่เสมอ รวมไปถึงยังเป็นเครื่องสะท้อนถึงประเด็นที่มีความสำคัญต่อชีวิตคนเมือง Pyramids of Garbage เมืองไคโร ประเทศอียิปต์ ผลงานประติมากรรมที่รังสรรค์ด้วยกองขยะมหึมาขนาดกว้าง 11 เมตร และสูง 6 เมตร โดยความร่วมมือของกลุ่มช่างไม้ และการรวมกลุ่มของเด็กนักเรียนในเมืองไคโร ต้องการสื่อให้เห็นถึงความสูงตระหง่านของกองพีระมิดขยะ ที่เทียบเคียงกับกองพีระมิดด้านหลัง สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่าง ปัจจุบันเรามีการผลิตออกมามาก และมีการบริโภคมหาศาลมาก และเราจำเป็นจะต้องทบทวนว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบนี้ จะทำอย่างไรให้เกิดความสมดุล และการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนโดยทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด (Bahia Shehab, 2563) ที่มาภาพ https://www.bahiashehab.com/public-installations/pyramids-of-garbage The Broken Chair กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ The Broken Chair หรือเก้าอี้ 3 […]

พื้นที่สุขภาวะกินได้: โจทย์ และโอกาสในเมืองกรุงเทพมหานคร

09/06/2023

รายงานของ UN ภายในปี 2025 โลกเราจะมีประชากรถึง 10 หมื่นล้านคน และโลกอาจจะประสบปัญหาวิกฤตทางอาหาร วาเลนติน เทิร์น ผู้เขียนหนังสือขายดี นักกิจกรรมด้านอาหาร ชาวเยอรมัน เจ้าของสารคดีเรื่อง 10 BILLION: WHAT’S ON YOUR PLATE? ตั้งคำถามว่า เราจะมีอาหารที่เพียงพอสำหรับ หมื่นล้านคนไหม ? การเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ เป็นหนึ่งสิทธิขั้นพื้นฐาน ความยุติธรรมทางอาหาร ประเด็นด้านอาหารในระดับเมือง จึงมีความท้าทายอย่างมากในการทำให้เป็นพื้นที่ที่สามารถทำให้คนเมืองเข้าถึงอาหารได้ นอกจาก “บ้าน” พื้นที่ใกล้ตัวที่จะทำให้เกิด “พื้นที่สาธารณะ” เป็นหนึ่งในประเภทพื้นที่สภาพแวดล้อมของเมืองที่จะส่งเสริมสุขภาวะทางกาย ใจ และสังคม คือ “พื้นที่สาธารณะ” ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะของกรุงเทพฯ ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวต่อหัวประชากร พบว่าอยู่ที่ 7.6 ตารางเมตร/ คน แล้วถ้าหากคนกรุงเทพฯ อยากไปสวนสาธารณะ ? จะต้องเดินทางด้วยระยะ 4.5 กิโลเมตร หรือใช้เวลาเดิน […]

ฟื้นฟูย่านคลองสานด้วย กราฟฟิตี้คอมมูนิตี้ x สวนสานฯ

24/02/2023

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเมือง ผู้คน สภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็วแนวทางการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านประวัติศาสตร์สำคัญของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันไม่เพียงแต่ฟื้นฟูด้านมรดกวัฒนธรรม แต่ต้องฟื้นฟูด้านพื้นที่ร่วมด้วย ทั้งพื้นที่รกร้างรอการพัฒนาซ่อนตัวอยู่ในย่าน การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อการเดินเชื่อมต่อให้มีความปลอดภัย รวมไปถึง ความร่วมมือในการพัฒนา ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทดลองใช้วิธีการพัฒนาเมืองจากล่างขึ้นบน TACTICAL URBANISM หนึ่งในลูกเล่นการพัฒนาเมืองที่จะพาไปสู่ ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ และใช้แนวคิด Art-leds Urban Regeneration ถอดบทเรียน เรียนรู้ผ่าน ‘กระบวนการฟื้นฟูเมือง’ เป็นเครื่องมือ เข้ามาช่วยโดยสามารถเริ่มได้จากกระบวนการมีส่วนร่วมจากคนในย่าน การฟื้นฟูย่านด้วยศิลปะ ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม และเริ่มต้นจากผู้คนในเมือง (bottom-up) แทนที่จะเริ่มด้วยการตัดสินใจจากภาครัฐ แต่เริ่มด้วยไอเดียของคนในชุมชน ซึ่งเป็นคนที่อยู่และรู้จักย่านดีกว่าใครๆ ดังนั้นแล้ว เพื่อเป็นการทดลองแนวคิด และวิธีการเพื่อเปลี่ยนภาพจำใหม่ของย่านทั้งพื้นที่ และความสัมพันธ์ของคนในชุมชน UddC ยังธน และภาคีขับเคลื่อน ทดลองผ่านกิจกรรมที่ชื่อว่า ‘กราฟฟิตี้คอมมูนิตี้คิดส์ x สวนสานธารณะ’ ในพื้นที่สวนสานธารณะ ซึ่งกว่าจะมาเป็นกิจกรรมนี้มีการพูดคุยมาไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง  สร้างสีสันในสวนสาน ฯ จากการพูดคุยมามากกว่า 20 ครั้ง สวนสานธารณะ ที่ดินเอกชนพลิกฟื้นจากพื้นที่รกร้างว่างเปล่าสู่การเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของย่านกะดีจีน-คลองสานด้วยกระบวนการพูดคุย และออกแบบอย่างมีส่วนร่วมระหว่าง ชุมชนช่างนาคสะพานยาว […]

เล่าประวัติศาสตร์อาหาร ผ่านรสชาติที่คุ้นเคย

18/01/2023

หากพูดถึงสถานที่ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชุมชนกุฎีจีน หนึ่งในสถานที่ที่หลายคนต้องนึกถึง คือ “พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน” สถานที่ที่เก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวโปรตุเกสในประเทศไทย ก่อตั้งโดย “อาตอง” หรือ “คุณนาวินี พงศ์ไทย (ทรรทรานนท์)” หนึ่งในตระกูลที่มีเชื้อสายสืบทอดจากทหารโปรตุเกส หลานของคุณย่าเล็ก หรือ Avô – โว แปลว่าคุณย่าในภาษาโปรตุเกส ผู้เป็นเจ้าของเรือนแห่งนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีการตกแต่งให้เหมือนสมัยรุ่นปู่ย่าตายายมากที่สุด และเต็มไปด้วยของใช้ ภาพความทรงจำ รวมไปถึง “อาหาร” ที่ทานกันมาตั้งแต่วัยเด็ก ราวกับว่าได้หลุดเข้าไปอยู่ในช่วงเวลาเหล่านั้น และวันนี้เราได้มีโอกาสมาทำความรู้จักกับ “อาตอง” เจ้าของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ พร้อมพูดคุยถึงเรื่องราวอาหารโปรตุเกสในความทรงจำ และการทำพิพิธภัณฑ์ เพื่อส่งต่อความทรงจำผ่านเมนูอาหารพิเศษ และพื้นที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน ความทรงจำอาหารของอาตอง ภาพจาก Love Kadeejeen-Khlongsan “แต่ก่อนคนกุฎีจีนจะทำอาหารโปรตุเกสได้แทบทุกบ้าน ทานเหมือนกันหมด หลังๆ เริ่มย้ายออกไป เด็กรุ่นใหม่ไม่ได้ทำ แต่ด้วยความที่เราทานกันมาตั้งแต่เด็ก เลยไม่อยากให้มันหายไป รสชาติโบราณเราจะคุ้นเคยกันดี จุดไหนที่รู้สึกยังไม่ใช่รสเดิม ก็จะปรุงให้เหมือนที่สุด อาหารที่ทำจะมีรสชาติไม่ต่างจากเดิม เพราะพยายามทำให้เหมือนเดิมที่สุด ถ้าคนที่ไม่เคยทานรสนี้ตั้งแต่เด็กก็จะทำออกมาไม่ได้รสที่ทานกันอยู่ เมื่อพูดถึงเรื่องของรสชาติ ทำไม่เหมือน ก็ไม่เป็นไร แต่การเล่าเรื่อง ประวัติศาสตร์ของอาหารก็จะเปลี่ยนไปด้วย […]

สถานการณ์การเรียนรู้ในประเทศไทย

12/01/2023

ปัจจุบันทิศทางการเรียนรู้ของประเทศไทย มีความมุ่งหวังให้ในปีพ.ศ. 2579 คนไทยมีทักษะคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ จิตสำนึกดีงาม รู้คุณค่าความเป็นไทย มีสุขภาพใจและกายที่ดี ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Productivity and Innovation driven) ซึ่งหากมองมา ณ ปัจจุบันที่เรากำลังอยู่ในยุค แห่ง ‘BANI’ หรือ ความเปราะบาง (Brittle) ความวิตกกังวล (Anxious) ความไม่เป็นเส้นตรง (Nonlinear) และ ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ (Incomprehensible) ซึ่งเป็นขั้นกว่าของความผันผวน จากแนวโน้มที่ประชากรเกิดน้อยลง และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์การเรียนรู้ของประเทศไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย Learning Loss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย ที่มา: jcomp จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นหนึ่งในตัวเร่งทำให้แนวโน้มการเรียนรู้ในประเทศไทยเกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือที่เรียกว่า ‘Learning Loss’ ผลการวิจัยจากโครงการวิจัยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบออนไลน์และการขยายผลการสํารวจสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) (2565) พบว่า สถานการณ์การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทยในช่วง 2-3 ปีมานี้ ไม่ได้มีข้อจำกัดอยู่เพียงแค่พื้นที่การเรียนรู้ แต่รวมไปถึงการเผชิญกับภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือ […]

เมือง กับ กระบวนทัศน์และพลวัตของการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21

22/11/2022

ความจริงและความรู้ พบได้ในตัวเรา หรือเป็นสิ่งที่พบได้ นอกจากประสาทสัมผัสของเรา ? การเรียนรู้ คืออะไร เราเรียนรู้ไปเพื่ออะไร ? ประเด็นพูดคุยที่มีเรื่องให้ถกกันนับไม่ถ้วน ตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 และเรากำลังอยู่ใน ยุคแห่งข้อมูล เทคโนโลยีและนวัตกรรม ความก้าวหน้าและท้าทายทางเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ ที่จะมีบทบาทอย่างมาก ในการสร้างงานรูปแบบใหม่ที่มีทักษะสูง การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเป็นพลเมือง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยนวัตกรรม ฐานการเรียนรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากภายนอก ประสบการณ์การเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ สิ่งของ หรือความไม่รู้ ที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดองค์ความรู้ใหม่ การต่อยอด การนำไปความรู้ไปใช้ต่อยอดให้เกิดแนวทางการแก้ไขด้วยนวัตกรรมในการแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิม ตลอดจนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมืองต่อไปได้จึงเป็นความท้าทายที่น่าขบคิดต่อ  สัญญาณและทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ร่วมสมัยในศตวรรษที่ 21  การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นเป้าหมายสูงสุดของการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การเติบโตด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับองค์ความรู้จากสิ่งต่าง ๆ  จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ […]

เสียงจากผู้ร่วมกิจกรรมศิลป์ในซอย ครั้งที่ 7

23/09/2022

จบกันไปแล้วกับงานศิลป์ในซอย: แสง-สี-ศิลป์ เชื่อมย่าน เชื่อมการเรียนรู้ เชื่อมเศรษฐกิจชุมชน (ART IN SOI) ครั้งที่ 7 ตอน Plearn in Soi ที่จัดขึ้นในวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2565 นี้ ณ ย่านกะดีจีน-คลองสาน ตรอกดิลกจันทร์ และสวนสานธารณะ เรามาฟังเสียงผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในงานกันสักหน่อยว่าหลังจากที่ได้ทำกิจกรรมแล้ว พวกเขารู้สึกอย่างไรกันบ้าง “ได้ยินว่าย่านนี้เป็นย่านเก่าแก่ ที่มาความเป็นพหุวัฒนธรรม เลยสนใจมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ หลังจากได้มาร่วมกิจกรรมเล่าย่านคลองสานผ่านโรงน้ำปลาแล้ว รู้สึกว่าได้เรียนรู้เบื้องลึกเบื้องหลังเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ย่าน การรักษาอาคารเก่า และความรู้เรื่องการทำน้ำปลาในสมัยก่อน รู้สึกดีที่ได้มาร่วมกิจกรรมในวันนี้” คุณพิชญ์สินีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล่าคลองสานผ่านโรงน้ำปลา “ได้ตามที่คาดหวังและมากกว่าที่คาดหวังไว้ คือได้เข้ามาชมด้านใน แต่ที่มากกว่านั้นคือ การได้รู้เรื่องราวจากท่านวิทยากรที่ดูแลกิจการโรงน้ำปลาด้วย มากกว่าเรื่องราวและความรู้เกี่ยวกับสถานที่แล้ว ยังมีเรื่องราวเกี่ยวพันกับเรื่องพื้นเพเดิมของท่านวิทยากร ทั้งกิจการโรงน้ำปลา ความรู้อื่นๆ ความพิเศษของกิจกรรมในครั้งนี้คือ ที่นี่ไม่ได้เปิดให้คนภายนอกชมได้ตลอด มันเป็นความเฉพาะตัวที่มีแค่บ้างช่วงเวลาเท่านั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้มีโอกาสได้เข้ามาตรงนี้ และได้รับรู้เรื่องราวการบูรณะสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ที่ทำให้เห็นทั้งในเชิงเทคนิคและความในใจจากคนที่เป็นเจ้าของสถานที่โดยตรง” คุณพิชชาพรผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล่าคลองสานผ่านโรงน้ำปลา “ปกติเป็นคนที่คุ้นชินกับการเดินสำรวจต้นไม้ในพื้นที่ธรรมชาติ แต่ยังไม่เคยเดินสำรวจต้นไม้ในเมืองเลย ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมเราถึงรู้สึกเชื่อมโยงกับต้นไม้ในพื้นที่ธรรมชาติได้แตกต่างจากต้นไม้ในเมือง […]

Guerrilla Gardening สวนหย่อมกองโจรเคลื่อนเมืองใหญ่

20/05/2022

ในเมืองที่ขาดแคลนพื้นที่สีเขียว แต่กลับมีพื้นที่ทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์มากมายในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลของการไม่ใช่เจ้าของ กฎหมายและอำนาจหน้าที่ในการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือใด ๆ ก็ตามแต่ ชาวเมืองก็ยังล้วนแล้วแต่จำเป็นจะต้องมีพื้นที่สีเขียวเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีภายในเมือง จากบทความเรื่อง พื้นที่สีเขียว ในเมืองใหญ่ สำคัญไฉน และทำไมต้องสร้างเพิ่ม ? (โดย เว็บไซต์ Salika) ได้รวบรวมประโยชน์ของพื้นที่สีเขียวต่อคนในเมืองใหญ่ไว้ ไม่ว่าจะเป็น การมีส่วนช่วยลดปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกที่แปรปรวน ทั้งจากภาวะโลกร้อน และโลกรวน ด้วยการลดมลภาวะทางอากาศ จากสิ่งก่อสร้างในเมืองอย่างฝุ่นควัน นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดมลภาวะทางเสียง รวมถึงการเป็นพื้นที่กลางในการพักผ่อนหย่อนใจ และเชื่อมต่อระหว่างคนเมืองกับธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างพรรณไม้ และสัตว์เล็กในเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นการสร้างความสมดุลของระบบนิเวศน์ในเมืองให้น่าอยู่ และยั่งยืนได้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เท่านั้น แต่สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชาวเมืองลึกลงไปในระดับละแวกบ้าน ย่าน ชุมชน หนึ่ง ในวิธีที่มีความน่าสนใจ และสามารถทำได้ทันที คือ แนวคิดการแทรกแซงสวนหย่อมตามชุมชน Guerrilla Gardening ทำความรู้จัก Guerrilla Gardening หลายคนให้ความหมายของ Guerrilla Gardening แตกต่างกันออกไป Guerrilla มีความหมายว่า กองโจร ผนวกเข้ากับ Gardening […]

TACTICAL URBANISM หนึ่งในลูกเล่นการพัฒนาเมืองที่จะพาไปสู่ ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’

12/05/2022

เพราะเมืองเปลี่ยนและเดินทางเป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลา รูปแบบการเรียนรู้จำเป็นจะต้องเปลี่ยนตามเพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ชาวเมืองอย่างเราเองจำเป็นต้องรับบทบาทเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ‘Lifelong Learners’ ที่พร้อมรับมือเรียนรู้กับสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกวัน  เพื่อต่อยอดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ความรู้ไม่ได้กระจุกตัวอยู่เพียงที่ใดที่หนึ่งอีกต่อไป แต่เป็นสภาพแวดล้อมที่เราอยู่อาศัยอยู่ ตั้งแต่บ้าน ซอย ย่าน ไปจนถึงเมืองที่จะเป็นพื้นที่กลางในส่งเสริมทักษะอาชีพ แรงงาน ให้ผู้คนมีความสามารถ ต่อยอดองค์ความรู้และสร้างสรรค์ผลงาน อันจะเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาระดับเมืองไปจนถึงระดับประเทศชาติ จึงเกิดแนวคิด ‘นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้’ ขึ้น  วันนี้ The Urbanis จะพาผู้อ่าน ไปทำความรู้จัก กับ 1 แนวคิดการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในเมือง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่ผลักดันโดยการดำเนินงานของภาคประชาชน สามารถเริ่มต้นด้วยการดำเนินแบบ ‘ล่างสู่บน’ และกระบวนการเชื่อมต่อเชิงเครือข่ายเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่เมือง อันเป็นฐานในการขับเคลื่อน ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ Tactical Urbanism คืออะไร ? “We have to do more with less— doing being the operative word.”  Mike Lydon […]

Art-leds Urban Regeneration ถอดบทเรียน เรียนรู้ผ่าน ‘กระบวนการฟื้นฟูเมือง’

25/03/2022

ในปัจจุบัน ‘เมือง’ ที่พวกเราอาศัยกันอยู่ มีการเปลี่ยนแปลง และมีความเป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการพัฒนาเมืองจึงมีหลากหลายวิธีเพื่อตอบรับการพัฒนาที่เหมาะกับการเปลี่ยนแปลง และบริบทของพื้นที่ โดย หนึ่งในนั้น คือ การพัฒนาด้วยการฟื้นฟูเมือง โดยใช้ศิลปะ ที่เรียกว่า “การฟื้นฟูเมืองด้วยศิลปะ” หรือ Art-leds Urban Regeneration ที่นอกจากจะช่วยสร้างความใหม่ให้กับเมืองแล้ว ยังแฝงเรื่องราวทางวิถีชีวิต และประวัติศาสตร์ของเมืองและย่าน ให้ผู้คนได้ร่วมเรียนรู้ผ่านผลงานศิลปะหลากหลายแขนง ‘ศิลปะ กับ การฟื้นฟูเมือง’ “การใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือ จะช่วยให้ความหมาย และเปลี่ยนเมืองผ่านการสร้างเอกลักษณ์ และสร้างภาพจำใหม่ให้แก่เมือง” McCarthy, 2006 ปัจจุบัน มีการนำผลงานทางด้านศิลปะ มาปรับใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ระดับนโยบายท้องถิ่น จังหวัด ไปจนถึงระดับชาติ เพื่อพัฒนาสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมือง ผ่านการฟื้นฟูด้วย ‘ศิลปวัฒนธรรม’ ที่เต็มไปด้วยเรื่องราว วิถีชีวิต และประสบการณ์  กล่าวอีกอย่างหนึ่ง การใช้ศิลปะในการฟื้นฟูเมือง เปรียบเสมือนการหยิบเอาเรื่องราวเหล่านั้นออกมาปัดฝุ่น เช็ดขัดเงา แต่งเติมเล็กน้อย และทำให้ผู้คนมองเห็นสิ่งเหล่านั้นได้ชัดเจนขึ้น เช่น การจัดนิทรรศการ เทศกาลศิลปะ […]

1 2