learningcity



อ.ชัยวุฒิ ตันไชย: อย่าให้เมืองแห่งการเรียนรู้เป็นแค่อีก buzzword ที่เราใช้แล้วทิ้ง

19/11/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ปัญหาของการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในไทยจากมุมมองของอาจารย์ชัยวุฒิ ตันไชย อาจารย์ชัยวุฒิ ตันไชย นักวิชาการอิสระที่มีประสบการณ์ทำงานกับหลายหน่วยงานผ่านการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ และการขับเคลื่อนด้านนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในฐานแนวคิด และ “กระแส” ที่อาจารย์นิยามว่ามันเป็น buzzword หรือ วาทกรรมที่สวยหรูอยู่หลายๆ ได้เล่าประสบการณ์ของตนเองที่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำแนวความคิดเรื่องเมืองแห่งการจัดการการศึกษาและการสร้าง Learning Ecosystem ในระดับเมือง ผ่านการทำเรื่องเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เนื่องจากว่าหากมองลงไปลึก ๆ เกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะก็จะพบว่า ในหลายๆ เมืองอัจฉริยะทั่วโลก มีมิติของการศึกษาและการเรียนอยู่มาก อาจารย์เลยได้ไปสังเกตการณ์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในหลายประเทศ ต่อมาอาจารย์มีโอกาสได้เริ่มคุยกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  เกี่ยวกับการนำเมืองแห่งการเรียนรู้มาใช้ในบริบทของประเทศไทย ว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ และถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องสร้างกระบวนการในการปริวรรตแนวคิดอย่างไร อาจารย์เลยได้ไปศึกษาและพบว่าหน่วยงานที่นำแนวความคิดเกี่ยวกับการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้เข้ามาใช้ในไทยมี 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (บพท.)  สำนักงานหน่วยนโยบายการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่เพิ่งนำเข้ามาใช้เมื่อปีที่แล้ว และที่สำคัญคือท่านมีความเห็นว่า เมืองแห่งการเรียนรู้ยังเป็นไปได้ยากที่จะสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากเหตุผลหลัก […]

ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าไชน่าทาวน์ให้ตอบโจทย์คนหลายรุ่นโดย จุฤทธิ์ กังวานภูมิ จากกลุ่มปั้นเมือง

25/08/2021

สัมภาษณ์โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ เรียบเรียงโดย สรวิชญ์ อังศุธาร, ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต หากพูดถึงย่านในกรุงเทพมหานครที่แสนเก่าแก่แต่เก๋าพอให้คนรุ่นใหม่นึกถึง เชื่อได้ว่าหนึ่งในคำตอบต้องมีย่านตลาดน้อย-ไชน่าทาวน์อยู่ในนั้น เพราะย่านนี้มีเอกลักษณ์ชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน ชุมชนและตึกรามบ้านช่องที่ยังคงกลิ่นอายดั้งเดิมไว้มาก ขณะเดียวกันมีองค์ประกอบของศิลปะ งานสื่อสารสมัยใหม่ และพื้นที่การเรียนรู้แทรกอยู่เป็นจังหวะ  โจ-จุฤทธิ์ กังวานภูมิ ผู้ที่มีสวมหมวกหลายใบ เป็นทั้งคนในพื้นที่ เป็นนักวิชาชีพด้านสถาปนิกชุมชน และ เป็นประธานชุมชน คือหนึ่งในคนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ย่านนี้มีพลวัตที่น่าสนใจตลอดทศวรรษที่ผ่านมา โจขับเคลื่อนบ้านเกิดผ่านกลุ่มฟื้นฟูเมืองที่ชื่อ ปั้นเมือง แม้พื้นที่ทำงานหลักของปั้นเมืองจะอยู่ในโซนตลาดน้อย แต่เป้าหมายของทีมปั้นเมืองมองครอบคลุมทั้งย่านไชน่าทาวน์ การทำงานฟื้นฟูเมืองในย่านชุมชนเก่าที่ค่อนข้างแข็งตัวมีโจทย์เฉพาะแบบไหน ทีมปั้นเมืองเข้าหาชุมชนด้วยวิธีการใด ก้าวต่อไปของพื้นที่นี้ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และ The Urbanis พูดคุยกับโจเพื่อหาคำตอบ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น ปั้นเมือง มีที่มาที่ไปอย่างไร            พวกเราเป็นกลุ่มสถาปนิกและนักสังคมศาสตร์ที่มีความสนใจและเป้าหมายคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะในเรื่องการฟื้นฟูเมือง ก่อนหน้านี้พวกเราเคยทำงานด้วยกันมาประมาณสัก 9-10 ปีแล้วจึงตัดสินใจตั้งเป็นกลุ่มปั้นเมืองได้ 6-7 ปี  เราเริ่มต้นจากการทำโปรเจกต์ย่านไชน่าทาวน์ แม้ตอนแรกจะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละด้าน นอกจากความเชื่อที่ว่า ถ้าย่านนี้จะต้องฟื้นฟู ก็ควรจะมาจากการมีส่วนร่วมของชุมชน เพราะเราเริ่มเห็นประเด็นปัญหาเรื่องของเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง คนที่เติบโตมาในเมืองรุ่นหลังย้ายออกจากเมืองไปอยู่ตามย่านชานเมืองมากขึ้น […]

สนทนากับ อรรถ บุนนาค ย้อนวัฒนธรรมการเรียนรู้ญี่ปุ่น กับบทบาทโรงเรียนเชื่อมร้อยครอบครัวและชุมชน

23/08/2021

สัมภาษณ์โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล เรียบเรียงโดย ชยากรณ์ กำโชค, สรวิชญ์ อังศุธาร สูญสิ้นความเป็นคน, เมียชายชั่ว, อาทิตย์สิ้นแสง ฯลฯ คือตัวอย่างวรรณกรรมคลาสสิกของญี่ปุ่นที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยอย่างยอดเยี่ยมโดยสำนักพิมพ์ JLIT โดยมี อรรถ บุนนาค เป็นผู้ก่อตั้ง บรรณาธิการ ลงมือแปลด้วยตัวเอง หลายคนอาจคุ้นเคยคุณอรรถจากบทบาทอดีตพิธีกรร่วมในรายการ “คิดเล่นเห็นต่าง” ทางวอยซ์ทีวีเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน เช่นเดียวกับบทบาทผู้รักการอ่านและผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น ย้อนไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ดิฉันได้รับเชิญจากสำนักพิมพ์ JLIT ร่วมงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ซันชิโร ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซันชิโรเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของโซเซกิ ว่าด้วยเรื่องคู่ขัดแย้ง เมือง-ชนบท ความขัดแย้งทางจิตใจ และคุณค่าความเป็นมนุษย์ งานนี้ทำให้ดิฉันทราบว่านอกจากความเชี่ยวชาญด้านวรรณกรรม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นแล้ว คุณอรรถยังเป็นผู้สนใจและเชี่ยวชาญเรื่องเมืองอีกด้วย ในฐานะหัวหน้าโครงการอนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ (The Future of Learning City) ดิฉันจึงขอความกรุณาจากคุณอรรถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ของญี่ปุ่น เพื่อหาคำตอบว่าเพราะเหตุใด ญี่ปุ่นจึงมีวัฒนธรรมของการเรียนรู้ที่เข้มข้น และจัดการองค์ความรู้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อการฟื้นฟูเมือง ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมอะไรที่ทำให้คนแปรความรู้เป็นสินทรัพย์และพัฒนาให้เกิดผลผลิตทางเศรษฐกิจได้ บางคนบอกว่าสังคมไทยกับสังคมญี่ปุ่นคล้ายกัน […]

ก้าวข้ามวังวนและมายาคติ การขับเคลื่อนเมืองด้วยข้อมูล

19/08/2021

เรียบเรียงโดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฝ่าย Urban Intelligence จากการนำเสนอสาธารณะ ฟื้นเมืองบนฐานความรู้ (Knowledge-based City Remaking) ภายใต้โครงการเมืองกับบทบาทและศักยภาพในการขับเคลื่อนนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้ จากข้อสังเกต ประสบการณ์การทำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองด้วยฐานความรู้และประสบการณ์การทำงานเรื่องของการพัฒนาพื้นที่โดยใช้ข้อมูลและความรู้เป็นฐานผ่านโครงการเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง เน้นย้ำให้เห็นว่า แต่ละเมืองมีเอกลักษณ์ความเฉพาะตัว ที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือ (VUCA: volatility, uncertainty, complexity, ambiguity) ซึ่งทำให้การพัฒนาเมืองหรือการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเมืองแต่ทางกายภาพเป็นไปไม่ได้ ที่จะปราสจากมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม หรือเศรษฐกิจ ยิ่งบริบทของความเป็นเมืองในปัจจุบันที่เป็นสังคมของการเรียนรู้หรือการพัฒนาบนฐานความรู้ก็ยิ่งเป็นไปได้ยากหากมองเพียงมิติกายภาพเพียงอย่างเดียว ความท้าทายในการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่นั้น เป็นเรื่องของกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการเมืองที่เปลี่ยนไป จากรูปแบบของการสั่งการและการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจ (hierarchic government-based modes of urban decision-making with command logic) แต่ฝ่ายเดียวนั้น ไม่สามารถใช้การได้ในสภาพสังคมและเมืองที่มีลักษณะข้างต้น แนวคิดการบริหารจัดการเมืองสมัยใหม่จึงให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ของเครือข่ายผ่านกระบวนการเจรจาต่อรอง (hierarchic governance network-based modes with negotiation logic) อีกประเด็นสำคัญของเมืองในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (economic […]

เมืองแห่งการเรียนรู้และถกเถียง ณ ยุคแห่งแสงสว่างทางปัญญา (The Enlightenment)

23/06/2021

ยุคสมัยแสงสว่างทางปัญญาเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18  เป็นยุคสมัยแห่งกระบวนการทางปรัชญา การเมืองและสังคม ที่เชื่อว่ามนุษย์สามารถประยุกต์ให้เหตุผล และจิตวิญญาณแห่งการวิพากษ์ วิจารณ์กับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ อันเป็นรากฐานของความคิดแบบประชาธิปไตยที่ผู้คนสามารถวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลได้ ตามหลักการสำคัญจากคำพูดของ Immanuel Kant นักปรัชญาชาวเยอรมัน ที่กล่าวว่า “Sapere Aude: sich seines Verstandes ohne Leitung anderer zu bedienen”  จงกล้าที่จะใช้ปัญญาญาณแห่งตน โดยปราศจากการชี้นำจากผู้อื่น หมายความว่า ใช้สติปัญญาตนเองในการคิด การใช้เหตุผล (individual reasoning) และนำเหตุผลของตัวเองไปใช้ในการแสดงความเห็น ในสังคมที่มีเสรีภาพในการพูด และอื่นๆ  วัฒนธรรมการถกเถียง เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชนชั้นกลาง (bourgeois) ที่ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองที่กำลังเติบโตในยุคสมัยแสงสว่างทางปัญญา ชนชั้นกลางเหล่านี้มักเป็นพวกประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้า การลงทุน และอุตสาหกรรม รวมถึงประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความรู้วิชาชีพเฉพาะทาง (the professionals) เช่น แพทย์ ทนายความ ข้าราชการระดับล่าง ถือเป็นกลุ่มหลักที่รับผิดชอบการเสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล มีรายได้สัมพันธ์กับระบบตลาดและการผันผวนของระบบการค้าและระบบเศรษฐกิจ และเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทในด้านการคิดค้นวิทยาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความชำนาญของตนเอง ด้วยบทบาทที่มากเช่นนี้ในสังคม […]

เมื่อ Smart City คือเมืองที่เต็มไปด้วยคนสมาร์ต เมืองซูวอนผลักดันให้คนเข้าถึงการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาอย่างไร

25/05/2021

“เรากำลังสร้างอนาคตที่สดใสให้กับพลเมืองซูวอนในเมืองที่เห็นแก่ผู้อื่นที่เน้นการเรียนรู้และการแบ่งปันเป็นศูนย์กลาง” Mr.Tae-young Yeom นายกเทศมนตรีเมืองซูวอน ประเทศเกาหลีใต้ ปัจจุบันเทรนด์ของการพัฒนาเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ต่างสอดรับกับการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันมากขึ้น การพัฒนาเมืองจึงเน้นในการด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมในการบริหาร การออกแบบ และการใช้ชีวิตในเมือง หรือมีเทรนด์การพัฒนาเมืองที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “เมืองอัจฉริยะ” (Smart City)  การที่เมืองแห่งหนึ่งจะกลายเป็นเมืองอัจฉริยะได้ เมืองแห่งนั้นต้องมีองค์ประกอบหลัก ๆ 6 ประการ (Six Dimensions of Smart City) หากมีเพียงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเมืองแห่งนั้นก็จะถือว่าเป็น Smart City ได้แล้ว โดยในบทความนี้จะกล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบหนึ่งได้แก่ Smart People  จากไดอะแกรมข้างต้น คำว่า Smart People เกี่ยวโยงกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง ในเมืองอัจฉริยะนั้นผู้คนจะต้องมีความรู้ มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี มีความสามารถที่จะอยู่ร่วมกันกับสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ ซึ่งการที่ผู้คนในเมืองจะมีคุณสมบัติดังกล่าว สามารถทำได้ผ่านการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ จึงเกิดเป็นคำพูดว่า “Lifelong Learning” หรือ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” การที่ผู้คนในเมืองจะสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้นั้นก็ต้องอาศัยการพัฒนาเมืองให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้ จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า “เมืองแห่งการเรียนรู้” (Learning […]

สำรวจ 5 พื้นที่และสถาปัตยกรรมสร้างสรรค์เพื่อสรรสร้างแหล่งเรียนรู้ของเมือง

18/05/2021

ภาพโครงการ Weiliu Wetland Park จาก http://landezine.com/ เมืองของเรามีพื้นที่หรืออาคารสาธารณะที่ช่วยส่งเสริมให้คนในเมืองเกิดการเรียนรู้อยู่บ้าง แต่ก็เรียกได้ว่ายังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้อาศัยนอกพื้นที่เขตเมืองชั้นในที่ยากจะเข้าถึงพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งมักจะกระจายในเมืองชั้นใน จากข้อมูลของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) โดยโครงการอนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ (The Future of Learning City) พบว่า กรุงเทพฯมีสาธารณูปการสนับสนุนการเรียนรู้เฉลี่ยเพียง 35 % เท่านั้น จากบทความ กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้ อ่านต่อ เป็นไปได้หรือไม่ว่า พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ศาลากลางจังหวัด ห้องสมุด แม้แต่สนามเด็กเล่น พื้นที่หรืออาคารสาธารณะเหล่านี้ จะมีบทบาทที่มากกว่าและหลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ วันนี้เราจะพาไปดูเหล่าโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะที่ช่วยส่งเสริมให้คนเกิดการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับฟังก์ชันการใช้งานอื่นๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีวภาพและวิถีชีวิตของชุมชน พิพิธภัณฑ์ที่เป็นทั้งที่แสดงผลงานศิลปะ วัฒนธรรมและเป็นทั้งแหล่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาวแอฟริกัน-อเมริกันในพื้นที่ไปพร้อมๆกัน อาคารศูนย์การเรียนพุทธศาสนาที่เปิดให้คนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน ศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชนที่เป็นทั้งโรงเรียนและพื้นที่สาธารณะ และการเปลี่ยนแปลงอาคารประวัติศาสตร์สู่ศูนย์วัฒนธรรมครบวงจร Weiliu Wetland Park โครงสร้างสีเขียวเชื่อมโยงชุมชนกับธรรมชาติ Weiliu Wetland Park เป็นพื้นที่สวนสาธารณะ สร้างขึ้นบนพื้นที่ราบลุ่มของแม่น้ำ Wei […]

กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้

09/04/2021

เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิตอล ทุกสิ่งทุกอย่างต่างหมุนเร็วขึ้นในทุกมิติ ความรู้เดิมที่เคยมี ไม่สามารถนำเราก้าวไปข้างหน้าได้อีกต่อไป การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงไม่ได้ถูกจำกัดเพียงเเค่ในระบบการศึกษา แต่ยังมีความสำคัญมากขึ้นต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อสร้างโอกาสในการเกิดการเรียนรู้ในทุกรูปแบบที่ไม่จำกัดเพียงการเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียน มหาวิทยาลัย เเต่ยังรวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จากชุมชน ที่ทำงาน พื้นที่สาธารณะ และการศึกษาผ่านรูปแบบแพลทฟอร์มออนไลน์  จึงเกิดเป็นเเนวคิด “เมืองเเห่งการเรียนรู้” (Learning City) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับเเนวทาง (UNESCO Institute for Lifelong Learning- UIL) ที่จัดตั้งเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบ SDGs เพราะการเรียนรู้ > การศึกษา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฉายภาพเปรียบความแตกต่างระหว่าง การศึกษา (Education) กับ “การเรียนรู้” (Learning) […]

ห้องสมุดที่ไม่ใช่ “ห้องเงียบ” แต่คือพื้นที่สร้างนิเวศการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของพลเมือง

15/02/2021

คุณเข้าห้องสมุดครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่…ยังจำได้ไหม? อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล อย่างการค้นคว้าหาความรู้ ทุกวันนี้เราสามารถเข้าถึงองค์ความรู้มหาศาลทุกที่ทุกเวลา ผ่านทุกอุปกรณ์การสื่อสาร ห้องสมุดและหนังสือนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ใครหลายคนมองข้ามมันไป แน่นอนการเข้าถึงข้อมูลความรู้ในวันนี้ไม่ใช่ของฟรี กว่าแต่ละคนจะมีสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ล้วนต้องอาศัยต้นทุนและปัจจัยหลากหลายด้าน อีกด้านหนึ่งถ้าหากตั้งคำถามว่าจะเป็นอย่างไรหรือหากคนในสังคมสามารถเข้าถึงทรัพยากรความรู้เหล่านี้ โดยที่แต่ละคนมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ การสร้างห้องสมุดสาธารณะเป็นอีกหนึ่งคำตอบสำหรับการจัดสรรพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้กับคนในสังคมได้เข้ามาใช้ประโยชน์ มาเข้าถึงองค์ความรู้ แม้การมาใช้บริการห้องสมุดจะมีค่าเดินทาง และยังไม่ได้รวมถึงค่าเสียโอกาสที่ต้องเสียไป แต่เมื่อพิจารณาดี ๆ จะพบว่าเพราะหนังสือและความรู้ทำให้คนเราดีขึ้น การมีห้องสมุดสำหรับทุกคนย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประเทศที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างฟินแลนด์ (Finland) และออสเตรเลีย (Australia) หอสมุดสาธารณะคือพื้นที่สำคัญในการสร้างต้นทุนของสังคมสำหรับชาวเมือง ห้องสมุดของทั้งสองประเทศคือพื้นที่ที่เป็นมากกว่าสถานที่ที่มีไว้เพื่อนั่งอ่านหนังสือและพออ่านจบก็เดินทางกลับบ้าน แต่คือโรงงานที่สร้างความเป็นพลเมืองให้กับคนในสังคม เป็น “พื้นที่” สำหรับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่มีไว้ให้ทุกคน ฟินแลนด์ หนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรป และขึ้นชื่อเรื่องความเป็นเลิศด้านการรู้หนังสือ การมีหอสมุดกลางแห่งใหม่ของเมืองเฮลซิงกิ (Helsinki) ที่มีชื่อเรียกว่า Oodi ซึ่งในภาษาอังกฤษคือ ode ที่แปลบทกวีสรรเสริญเปรียบเหมือนโมเมนต์ขณะเหยียบดวงจันทร์ของชาวเมืองเฮลซิงกิ เปิดทำการเดือนธันวาคม 2018 ในวาระครบรอบ 100 ปีการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ช่วงแรกที่เปิดให้ใช้บริการมีผู้สนใจใช้งานรวมกว่า 420,000 คน หรือ 2 ใน 3 ของชาวเมืองทั้งหมด Oodi […]

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด: มองเมืองผ่านมุมเศรษฐศาสตร์ และการสร้างมูลค่าจากเมืองแห่งการเรียนรู้

25/01/2021

เรื่อง : สหธร เพชรวิโรจน์ชัย ภาพปก : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) / นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ “ตราบใดที่ยังมองว่าข้าวคือข้าว เราก็ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เมืองก็เช่นกัน ถ้าเรามองเมืองคือเมืองเหมือนกัน มันก็ไม่สามารถสร้างมูลค่าได้” นี่คือคำพูดส่วนหนึ่งของ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเมืองแห่งการเรียนรู้ ในฐานะที่เขาเป็นทั้งนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นทั้งคุณพ่อที่สนใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน เพราะทุกวันนี้การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป แต่ได้ขยับขยายออกมาสู่นอกห้องเรียนอย่างเมืองที่เราอาศัยอยู่ สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้สำหรับทุกคน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจต่อไป แล้วกระบวกการเรียนรู้สำคัญกับเมืองอย่างไร? มีกลไกลอะไรบ้างที่เราสามารถเปลี่ยนเมืองธรรมดาให้กลายเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้? เมืองในประเทศไทยพร้อมไหมกับการเปลี่ยนแปลง? ลองฟังความคิดเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ที่สามารถเข้ามาช่วยออกแบบเมืองให้เกิดมูลค่าได้จากบทสัมภาษณ์นี้ อาจารย์เริ่มสนใจเรื่องกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่ตอนไหน จริงๆ สนใจเรื่องการศึกษามานานแล้วเพราะเราเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่นอกเหนือจากหน้าที่การงาน บทบาทสำคัญก็คือการเป็นพ่อครับ เพราะเวลาเป็นอาจารย์ เราจะเห็นการเรียนรู้แค่ในห้องเรียน แต่เวลาเราเป็นพ่อ เราจะเห็นการเรียนรู้ในอีกมุมว่า ลูกสามารถเรียนรู้ได้ในบางโอกาสซึ่งเราไม่คิดว่ามันคือการเรียนรู้ด้วยซ้ำ เช่น การดูนก การเล่นเกม การออกแบบเกม หรือการแต่งกลอน สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่า กระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนถูกจำกัดไปหน่อย ผมก็เลยนำสิ่งที่ได้จากลูกมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน […]

1 2