COVID-19



พลอากาศตรี หม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์ นายกสภาสถาปนิก ว่าด้วยสถาปนิกกับแผนการพิชิตโควิด

04/05/2020

ทันที่เราได้ยินโครงการ Zero Covid ซึ่งเป็นความร่วมมือของสภาสถาปนิกกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์และสังคมในการพิชิตโรคระบาดที่กำลังเป็นปัญหาบาดอกบาดใจเราทุกวันนี้ อดสงสัยไม่ได้เหล่าสถาปนิกเหล่านี้จะเข้าไปช่วยส่วนไหน แบบไหนได้บ้าง  The Urbanis มีโอกาสได้พูดคุยกับพลอากาศตรี หม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์ นายกสภาสถาปนิกถึงที่มาของโครงการ ว่าทำไมสถาปนิกถึงมีบทบาทที่จำเป็นไม่น้อยในการช่วยเหลือสังคมให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ แรกเริ่ม Zero Covid Project เกิดขึ้นมาได้อย่างไรมาจากอะไร และทำไมงานสถาปัตยกรรมถึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับโรคระบาด  เรื่องเริ่มมาจากว่า ศูนย์การออกแบบเพื่อสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำงานเรื่องการสนับสนุนการเอาวิชาชีพและเทคโนโลยีด้านการออกแบบมารับใช้สังคม พอมีเหตุการณ์เรื่องสถานการณ์โควิด-19 ทางศูนย์ฯ ก็เข้าไปทำวิจัยเพื่อสร้างแบบจำลองของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ก็พบว่ามันมีแนวโน้มที่โรคนี้จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับเคสจากต่างประเทศในตอนที่เริ่มทำวิจัยเมื่อหลายเดือนก่อน เราก็เห็นว่าเมืองไทยก็น่าจะไปทางนั้น ซึ่งหากสถานการณ์เป็นอย่างนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มมากกว่าจำนวนเตียงหรือมากกว่าขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลที่ประเทศเรามีอยู่ ก็เลยมีความคิดว่าน่าจะจัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยโรงพยาบาล พอตั้งโครงการนี้เสร็จ ก็เสนอไปที่คณะสถาปัตย์จุฬาฯ ผ่านทางสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตย์จุฬา​ฯ​ เพราะแนวทางที่จะใช้แก้ปัญหานี้คือการออกแบบอาคารของโรงพยาบาล ซึ่งก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตย์โดยตรง จากนั้นก็เริ่มมีการประสานงานกับนักออกแบบที่มีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับอาคารทางการแพทย์ การพยาบาล  ส่วนสภาสถาปนิกเองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็เพราะว่า ระหว่างที่เกิดวิกฤตนี้ขึ้นมา ก็มีหลายหน่วยงานติดต่อเราเข้ามาเหมือนกัน เพราะเรามีหน้าที่โดยตรงเพราะเป็นหน่วยงานตามพระราชบัญญัติที่มีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม เราเข้าไปช่วยประสานงานไปยังสมาชิกของเราที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับงานออกแบบโรงพยาบาล พอเริ่มมีการติดต่อก็พบว่ามันก็ไปทับซ้อนกับโครงการซีโร่โควิดซึ่งเขาก็ประสานงานไว้เหมือนกัน พอเป็นอย่างนั้น หากเราจะต่างคนต่างทำเรื่องเดียวกันก็มาทำด้วยกันเลยน่าจะดีกว่า สุดท้ายก็กลายเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สภาสถาปนิก สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตย์จุฬา​ฯ​ ร่วมกับและศูนย์​การออกแบบเพื่อสังคมจุฬา​ลง​กร​ณ์ ปัจจุบันประเทศไทยมีสถาปนิกที่เชี่ยวชาญการออกแบบโรงพยาบาลมากแค่ไหน มีไม่มากนัก ส่วนมากจะเป็นสำนักงานสถาปนิกขนาดใหญ่อยู่สามสี่แห่งเท่านั้น อีกที่หนึ่งก็คือกระทรวงสาธารณสุขโครงกาสรนี้เราดึงทุกคนที่ว่าเข้ามาช่วยกันทั้งหมด […]

จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

FOOD PLACE : Please mind the gap between you and me ร้านอาหาร : พื้นที่ระหว่างเรา ที่อาจจะเปลี่ยนไป

29/04/2020

ย้อนกลับไปเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใครจะจินตนาการออกว่า ภาพร้านอาหารที่แน่นขนัดไปด้วยผู้คน ต่อคิว เบียดเสียดเพื่อรับประทานอาหารร้านยอดนิยมนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล การศึกษาและวิจัยมากมายได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาคำตอบและเสนอแนวทางปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 สิ่งหนึ่งที่แน่ชัด คือ กลยุทธ์ทางสาธารณสุขที่นำมาใช้เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากมนุษย์สู่มนุษย์ทั้งผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันทั่วโลกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ชี้เป้าไปที่ ความหนาแน่น (Density) และ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) ร้านอาหาร หนึ่งในธุรกิจฝากท้องของชาวเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายและติดเชื้อโรค ทั้งจากสภาพความหนาแน่น ระยะระหว่างบุคคล (Proximity)  ผนวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรับประทานอาหารที่ล้วนเพิ่มโอกาสในการสัมผัส (Contact) ติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้การดำเนินการธุรกิจด้านร้านอาหารถูกจับตามองไม่ใช่น้อย ร้านอาหารจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ไหม มาตรการอะไรที่ร้านอาหารควรปรับใช้ในช่วงสถานการณ์โควิด ไปจนถึงอะไรคือมาตรฐานใหม่ที่จะสร้างสุขอนามัยให้กับร้านอาหารในระยะยาว วันนี้เราจึงขอเสนอแนวคิดในการปรับตัวของเหล่าร้านอาหารในช่วงสถานการณ์ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นข้อคำนึงใหม่ที่ควรนำมาปรับใช้ในการออกแบบร้านอาหารในอนาคต การกำหนดความหนาแน่นของร้านอาหาร  ร้านอาหาร แหล่งรวมความหนาแน่น และกระจุกตัวของผู้คนโดยเฉพาะในช่วงเวลารอบมื้ออาหาร ด้วยต้นทุนทางการดำเนินธุรกิจ ร้านอาหารต่างมีการออกแบบเพื่อให้มีความจุ (Capacity) ในการรองรับการเข้ารับประทานอาหารในแต่ละรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อตอบโจทย์ด้านผลตอบแทนในการลงทุน จึงไม่แปลกที่ร้านอาหารจะมีความเบียดเสียด และแออัด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ดังกล่าว แนวคิดการออกแบบร้านอาหารในอนาคตอาจจะต้องถูกนำมาประเมินอีกครั้ง ร่วมกับการคำนวนความจุที่เหมาะสมต่อการรองรับลูกค้า ไปถึงค่ามาตรฐาน ตารางเมตรต่อคน ที่เคยอ้างอิงตามตำราเล่มเก่า อาจจะถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  นอกจากความหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายในร้านแล้ว จุดที่สร้างให้เกิดการกระจุกตัวอีกแห่ง […]

เมื่อข้อมูลดิจิทัลในเมืองคือสายสืบชั้นดี : จัดการ COVID-19 แบบเกาหลีใต้

28/04/2020

มาถึงวันนี้ ผู้คนในเกาหลีใต้เริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ หลายคนออกไปเดินดูดอกไม้บานต้นฤดูใบไม้ผลิ (แม้จะยังมีคำเตือนจากรัฐบาลว่ายังไม่ควรออกไปในที่ชุมชน) ผิดกับเมื่อเดือนมีนาคมที่คนเกาหลียังอยู่ในภาวะหวาดกลัวโรคระบาด COVID-19 จากตัวเลขที่พุ่งสูงต่อเนื่อง หลังเกิดเหตุการณ์แพร่เชื้อจำนวนมากในเมืองแทกูเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาฯ  วันนี้ตัวเลขได้ลดระดับลงแล้วในระดับหลักสิบ จนรู้สึกเหมือนไม่มีผลอะไรกับชีวิต เมื่อมองย้อนกลับไป ตัวเลขผู้ติดที่แซงหน้าประเทศอื่นๆ หลายประเทศอย่างรวดเร็วในกราฟระดับโลก มองแง่หนึ่ง คือความน่าสะพรึงกลัวของโรคระบาด แต่มองในอีกแง่ ตัวเลขเดียวกันนี้คือตัวเลขที่สะท้อนการจัดการอย่างเป็นระบบของเกาหลี ที่ทำให้เจอผู้ติดเชื้อได้ไวกว่าใครๆ  โรคไม่ได้หยุดแพร่ระบาดแค่เพียงเพราะเรามองไม่เห็นมัน หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่เกาหลีใต้ในการจัดการกับการระบาดของโควิด-19 คือการติดตามค้นหาตัวผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อได้จำนวนมาก เพื่อมาเข้ากระบวนการตรวจสอบเชื้อได้อย่างครอบคลุม  ว่าแต่ว่าเขาทำได้อย่างไร? เพราะเข้าใจจึงมั่นใจ ทางการเกาหลี เรียกกลยุทธ์ที่พวกเขาใช้จัดการกับภาวะวิกฤตนี้ว่า TRUST ซึ่งมาจากคำว่า ความโปร่งใส (transparency) ความรับผิดชอบ (responsibility) การทำงานสอดรับกัน (united actions) วิทยาศาสตร์และความเร็ว (science and speed) และการร่วมกันใจเป็นหนึ่ง (together in solidarity) เมื่อมองเจาะได้ด้านความโปร่งใส ซึ่งเน้นไปที่การสืบหาตัวผู้เข้าข่ายติดเชื้อได้เร็วและรีบเผยแพร่ข่าวสารทันทีที่ได้รับการยืนยัน คือกุญแจสำคัญที่ประชาชนหลายคนเชื่อว่ารัฐรับมือได้ เพราะพวกเขาเองก็ได้รู้ทั้งสถานที่ที่ผู้ติดเชื้อผ่านในช่วงเวลาต่างๆ และได้รู้สถานการณ์ในละแวกบ้านว่าร้ายแรงระดับไหน ส่วนหนึ่งที่ต้องยกความดีความชอบให้คือภาคเอกชนที่คิดชุดตรวจสอบโรค (test kit) ได้รวดเร็ว แต่อีกส่วน ต้องยกให้ความสามารถของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกาหลี หรือ […]

Marketplace is coming (back) to town โอกาสของธุรกิจรายย่อย ตู้กับข้าวของชาวเมือง

27/04/2020

ใครจะนึกว่าวันนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ ได้พลิกวิกฤติของผู้เล่นรายย่อยในละแวกบ้าน สู่โอกาสในการทำมาหากิน จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนเมืองที่หันกลับมาพึ่งพาการจับจ่ายใช้สอยในละแวกมากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยจากแผงลอยหน้าหมู่บ้าน ตลาดสดท้ายซอย และร้านรถเข็นเจ้าเก่า ได้กลับมาเป็นคำตอบให้กับคนเมืองอีกครั้ง แน่นอนว่าธุรกิจรายย่อย หรือเหล่าพ่อค้าแม่ขายจาก Informal Sector นั้นได้รับความสนใจอย่างมากต่อเหล่าผู้ถูกกักตัว ซึ่งได้ยึดร้านรวงเหล่านั้นเป็นเหมือนปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต โอกาสของเหล่าธุรกิจรายย่อย นั้นมาพร้อมกับความท้าทายในการพิสูจน์ให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ที่มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัย สุขอนามัยที่ดี ในขณะเดียวกัน วิกฤติในครั้งนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืน และการประนีประนอมที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างโอกาสในการทำมาหากินของเหล่า Informal Sector ที่ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของเหล่าคนเมือง  วันนี้ เราจะชวนคุณไปชมกรณีศึกษาจากทั่วโลก ก่อนจะมาร่วมหาคำตอบของการออกแบบและปรับตัวทางกายภาพของเหล่า Informal Sector ผ่านพื้นฐานทางกายภาพของการออกแบบ จุด เส้น ระนาบ จุดศูนย์กลาง สู่ละแวกบ้าน ภาพด้านบนแสดงรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองก่อนสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบรวมศูนย์ คนเดินทางเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง ภาพที่ 2 แสดงข้อเสนอของรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองหลังสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบกระจายตัวไปตามละแวกบ้าน คนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง แต่เลือกที่จะไปจับจ่ายที่ตลาดขนาดเล็กในละแวกบ้านแทน […]

เมือง (ลอนดอน) กับมาตรการรับมือ Covid-19

24/04/2020

อังกฤษกลายเป็นที่โด่งดังหลังจากออกมาตรการ Herd Immunity เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มาตรการนี้เหมือนจะเป็นแนวคิดใหม่ แลดูท้าทาย ผสมผสานความเสียดสีว่ารัฐบาลไม่ใส่ใจ ปล่อยให้แต่ละคนแบกรับชีวิตตนเอง แต่ก็เป็นวิธีที่มีใช้กันมานาน ได้ผลและมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ ตั้งแต่ Boris Johnson นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรประกาศ Lock Down และเริ่ม Social Distancing เมื่อ 23 มีนาคม ลอนดอนที่เป็นเมืองศูนย์กลางเมืองหนึ่งของโลกก็เริ่มเงียบเหงาลง ชาวต่างชาติทยอยเดินทางกลับบ้าน คนที่ยังอยู่ก็เริ่มทำงานจากบ้าน (Work from home : WFH) ไม่ต่างจากเมืองไทย จากที่เคยออกจากบ้านวันละหลายครั้ง กลายเป็นหลายวันต่อหนึ่งครั้ง คนในเมืองใหญ่อย่างลอนดอนต่างผูกชีวิตไว้กับซุปเปอร์มาร์เก็ตซึ่งแม้จะสั่งออนไลน์ให้มาส่งได้แต่หากเป็นของสดก็จำเป็นต้องออกไปเลือกซื้อด้วยตัวเอง หลายมาตรการรับมือ Covid-19 ในสหราชอาณาจักรและลอนดอนเป็นที่รับรู้กันดี และใช้กันตามเมืองที่มีผู้คนพลุกพล่านทั่วโลก ทั้งการรักษาระยะห่าง 2 เมตร และอยู่รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน ในที่สาธารณะ ภาคเอกชนให้ความร่วมมือกับภาครัฐด้วยการทำสัญลักษณ์ตามทางเดินและฝากำแพงเพื่อบอกให้รู้ว่าระยะ 2 เมตร คือระยะประมาณนี้นะ รวมถึงมีการแบ่งเวลาเข้าซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตชัดเจนว่าให้ความสำคัญ (Priority) กับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง (Vulnerable people) กับคนที่ทำงานให้ […]

Big Data ที่ดี คือทางเลือกหนึ่งของการแก้ปัญหาภัยพิบัติ คุยกับ ผศ. ดร. ทวิดา กมลเวชช ในวันที่ไวรัสป่วนเมือง

23/04/2020

จนถึงตอนนี้การระบาดของไวรัสโควิด-19 คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วเกือบสองแสนชีวิต ภัยพิบัติครั้งนี้ส่งผลกระทบให้โลกทั้งโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นภัยพิบัติหน้าใหม่ที่ทั้งโลกกำลังหาวิธีการรับมือ เป็นภัยพิบัติที่ทุกคนต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง  สำหรับประเทศไทย ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดชนิดนี้กำลังเข้าสู่จำนวนครึ่งร้อย หากเทียบตัวเลขกับนานาประเทศแล้ว ประเทศไทยมีตัวเลขที่สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมรับมือที่ดี  แต่ทว่าเสียงบ่นระงมถึงมาตรการต่างๆ ที่รัฐยื่นมาช่วยเหลือเยียวยาประชาชนนั้นดูจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ทำได้ไม่ทั่วถึง ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องการสื่อสารสั่งการ หรือกระทั่งการปิดเมืองที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ตลอดจนการวิ่งไล่ตามหลังปัญหาเสมอมาของการจัดการแบบประเทศไทย การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นสถานการณ์ร้อนๆ ที่ยังหาบทสรุปไม่ได้ จึงมีเรื่องให้ต้องเปลี่ยนแปลงกันวันต่อวัน  ส่วนวันนี้คุยกับ ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ  ทบทวนว่าที่ผานมาเราพลาดอะไรกันไป แล้วต่อไปเราจะแก้ไขอะไรได้บ้าง  นัดพบครั้งนี้ไม่ต้องใส่หน้ากากเข้าหากันเพราะเราต่างต้อง social distancing และ physical distancing หยุดเชื้อ เพื่อชาติ…   งานภัยพิบัติในประเทศไทยไม่เคยได้รับความสำคัญในลำดับแรกๆ เพราะอะไร หนึ่ง เราโฟกัสกับการพัฒนาเรื่องอื่นอยู่ อย่างที่สองเราเจอภัยแรงๆ ที่ทำให้เสียหายน้อยครั้ง มันเลยเกิดอาการที่ไม่ได้ใส่ใจกับปัญหามากหนัก จนมาถึงสาเหตุที่ 3 ระดับความรู้ในเรื่องนี้ของประเทศมันไปให้ความสนใจกับวิทยาศาสตร์มากกว่าสังคมศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่ใช่ความผิด การเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติในแบบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ในแบบคำอธิบายทางวิศวกรรม ทางกายภาพหรือทางเครื่องไม้เครื่องมือนั้นง่ายกว่าอยู่แล้ว เพราะจับต้องได้มากกว่า  ส่วนเรื่องสุดท้ายที่ทำให้ประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่บอกไม่ได้ว่าผลของมันคืออะไร คำว่าผลของมันคืออะไร ลองนึกถึงว่า ถ้าอยากให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นก็ทำได้ด้วย […]

เส้นทางแผนที่โรคระบาด จากยุคศตวรรษที่ 17 ถึง Big Data

20/03/2020

ในขณะที่การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสกระจายตัวไปทั่วโลกและปรากฏจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ความกังวลมักมากขึ้นเป็นปกติ หนึ่งในรูปแบบข้อมูลที่เราติดตามกันอย่างหนักช่วงนี้คือ แผนที่แบบ Interactive จากหลายสำนัก ที่แสดงให้เห็นว่าโรคนี้กระจายตัวอย่างไร มีที่ไหนได้รับผลกระทบบ้าง และข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะข้อมูลที่แท้จริงและเพียงพอจะช่วยให้เราไม่ตระหนกและระมัดระวังตัวได้อย่างเหมาะสม หนึ่งในตัวอย่างเด่น คือ แพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นโดย  Johns Hopkins University’s Center for Systems Science and Engineering งานออกแบบสีแดงตัดดำชิ้นนี้ใช้ซอฟต์แวร์จากบริษัท Esri โดยทาง Johns Hopkins รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขของทางการจากทั่วโลกแบบเรียลไทม์ ยิ่งวงกลมสีแดงใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ นั่นแปลว่าพื้นที่ตรงนั้นมีเคสผู้ติดเชื้อเยอะ ขณะนี้ยอดรวมผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 มากกว่าโรค SARS ที่ระบาดในปี 2003 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Metabiota บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยคุกคามจากการระบาดใหญ่ได้เพิ่มโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ลงในรายการเชื้อโรคที่ทางบริษัทติดตามอยู่กว่า 130 ตัวทั่วโลก หากเข้าไปดูในเว็บไซต์ https://www.epidemictracker.com/ จะพบว่าจุดสีส้มที่กระพริบอยู่ใช้แทนข้อมูลไวรัสที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน การทำแผนที่ลักษณะนี้เป็นเรื่องใหม่ไหม? การฉายภาพการระบาดเหล่านี้มีมาแล้วเนิ่นนาน มีความพยายามทำมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แต่ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ การทำแผนที่ทางการแพทย์ก้าวหน้าและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นเพราะมีคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังเป็นตัวเร่งให้การแบ่งปันและรวบรวมข้อมูลทำได้ง่ายขึ้นด้วย เป็นเวลากว่าศตวรรษที่นักภูมิศาสตร์และสาธารณสุขใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการทำแผนที่เพื่อร่างทฤษฎีขึ้นมาว่าเพราะเหตุใดการระบาดชนิดใดชนิดหนึ่งจึงเกิดขึ้นโดยดูจากกลุ่มคนที่บาดเจ็บล้มตาย ทุกวันนี้สามารถคาดการได้ว่าการระบาดที่เกิดขึ้นจะมีวิวัฒนาการอย่างไรและสามารถกำหนดนโยบายตามข้อมูลที่คาดการณ์นี้ […]

1 2 3