พื้นที่สาธารณะ



มาแล้วลูกจ๋า “พื้นที่สีเขียว” ที่หนูอยากได้

04/11/2021

เรื่อง/วิเคราะห์ข้อมูล/แมพวิชวล โดย อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ หากนี่คือเกมที่ว่าด้วยการจัดสรรและการกระจายสวนสาธารณะให้กับเมือง ในเมื่อเมืองเรากำลังให้ความสำคัญกับเรื่องสวนสาธารณะ และคนที่อาศัยอยู่ในเมืองกำลังต้องการพื้นที่สาธารณะเพิ่ม เราในฐานะนักวางแผน/นักวางผังเมืองจะมีส่วนช่วยในการจัดการสถานการณ์เช่นนี้อย่างไร ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดี หากเมืองของเราจะมีการพัฒนา หรือฟื้นฟูพื้นที่สวนสาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนที่อยู่ในเมือง แต่คำถามสำคัญมากกว่านั้น หากเราเป็นนักวางผังหรือความจริงเป็นคำถามที่ใครก็สามารถตั้งคำถามได้ ไม่ว่าประชาชนคนธรรมดา ทั้งที่เป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎร์หรือเป็นประชาชนชั้น 2 (ประชากรแฝง) ที่เข้ามาทำงาน มาเรียนอยู่ในมหานครแห่งนี้ ว่า “สวนสาธารณะ” นั้นเป็นสิ่งที่เราควรได้รับการให้บริการจากเมืองหรือไม่ หากคำตอบคือ ใช่ คำถามถัดมาที่เราควรถามหรือมีในใจ คือ ควรจะมีที่ไหน มีให้เท่าไหร่ และมีอย่างไร?  คำถามว่าด้วยความเหลื่อมล้ำและหลุมพรางของเรื่องที่ดี มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คงเป็นศตวรรษของกรุงเทพฯ สีเขียวจริงๆ แต่หลุมพรางที่ตามมาของการพัฒนาพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะ ที่ดูเหมือนว่าจะทำอย่างไรมันก็ดูเป็นเรื่องดีไปหมดนี้ ทำให้เกิดคำถามฉุดขึ้นในใจว่า หากเมืองจะมีนโยบายที่เด็ดเดี่ยวและตั้งใจเช่นนี้ คำถามของผมในฐานะนักผังเมืองที่เป็นประชากรแฝงคนหนึ่ง ก็คือ การตัดสินใจในการสร้างหรือพัฒนาโครงการเหล่านี้ หากพิจารณาตามหลักพื้นฐานของการวางผังหรือแผนของเมือง ซึ่งว่าด้วยศาสตร์ของการออกแบบและการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง พื้นที่เหล่านี้มันควรมีการกระจายตัวหรือมีการจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้เป็น “หลุมพรางของเรื่องที่ดี” และจะไม่สร้างความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ให้เกิดขึ้นไปมากกว่านี้ ดังนั้น หากสมมุติว่าเราสามารถเลือกหรือมีโอกาสได้เลือก เราจะจัดสรรทรัพยากรนี้อย่างไร ในเมื่องบประมาณในเรื่องนี้มีอยู่อย่างจำกัด เพราะคงมีเรื่อง หรือปัญหาทุกข์ร้อนในเมืองอีกมากโข ที่เมืองจะต้องเร่งแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน […]

ประท้วง-ช่วงชิง-เกทับ คุยกับธนาวิ โชติประดิษฐ เรื่องพื้นที่การชุมนุมและการเมือง

19/10/2020

การเมืองของมวลชนดูคุกรุ่น ร้อนแรงขึ้นทุกขณะ ประเด็นรุดหน้าไปอย่างที่หากมองย้อนอาจจะไม่มีใครคาดคิดว่าจะมาถึงจุดนี้ ยามบ่ายของวันหนึ่ง ในวันที่สนามหลวงยังไม่มีอีกชื่อว่าสนามราษฎร เรามีนัดกับธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกเรื่อง ‘พลังทางการเมืองของศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยคณะราษฎร’ เพื่อพูดคุยในเรื่องพื้นที่ของเมืองกับการชุมนุม การช่วงชิงอำนาจในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ไปจนถึงหมุดคณะราษฎร  (1) ประท้วง Q: สังเกตว่าช่วงที่ผ่านมาการชุมนุมเริ่มเกิดบ่อยครั้งขึ้นและมักเข้ามาเสนอข้อเรียกร้องในเมือง ทำไมเป็นเช่นนั้น มีปัญหาที่ชุมชนแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วทำไมเขาต้องมาเรียกร้องในเมืองแบบนี้ใช่ไหม ถ้าพูดอย่างนี้ก็เหมือนกับว่าไม่มีการเรียกร้องหรือชุมนุมในพื้นที่ที่เป็นปัญหาเลย แต่ในความเป็นจริง ไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ  อย่างไรก็ดี ถึงจุดหนึ่งก็จะต้องมีการชุมนุมในเมืองด้วย อย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ คิดว่ามันไม่ได้มีประเด็นซับซ้อนมากไปกว่าเรื่องที่ว่าการชุมนุมเรียกร้องอะไรบางอย่าง นั้นจำเป็นต้องเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง คือต้องให้สาธารณชนรับรู้ว่ามีประเด็นนี้อยู่ เป็นปัญหาที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอยากจะส่งเสียง  พื้นที่ทำหน้าที่เป็นตัวรองรับในเชิงกายภาพก็จริง แต่ว่ามันก็ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ที่บรรจุคน มันมีบทบาทอย่างอื่นด้วย พื้นที่การชุมนุมจะต้องเป็นที่ๆ คนเห็นได้ในวงกว้าง ในหลายกรณี พื้นที่ที่คนไปชุมนุมอาจจะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับพื้นที่ที่เป็นต้นตอของปัญหาเลยก็ได้ แต่มันก็จะมีความสำคัญในแบบอื่น เช่น มันเป็นพื้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาล หรือว่าอยู่หน้าโรงงานอะไรสักอย่างที่เขาจะไปประท้วง ซึ่งพื้นที่พวกนี้มันอยู่ในเมือง คนก็ไม่ได้ไปประท้วงเรื่องป่ารอยต่อในป่าใช่ไหม Q: ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะสะท้อนว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่มาจากเมืองด้วยไหม มันก็ขึ้นอยู่ว่าเรื่องนั้นคนที่ต้องจัดการมันอยู่ที่ไหน หน่วยงานที่ต้องจัดการอยู่ที่ไหน เรื่องมันใหญ่ขนาดไหน ถ้าคุณต้องการที่จะประท้วงโรงงานก. ที่อยู่ในอำเภอข. คุณก็อาจจะไปประท้วงหน้าโรงงานนั้น มันก็อาจไม่จำเป็นต้องไปประท้วงที่กรุงเทพฯ ก็ได้ แต่ถ้าหน่วยงานที่คุณต้องสื่อสารเรื่องนี้ด้วยมันอยู่ในเมือง […]

ความสัมพันธ์ระหว่างเรา : คนกับพื้นที่เมือง และการพัฒนาพื้นที่สาธารณะอย่างมีชีวิตชีวา

01/09/2020

พื้นที่สาธารณะคืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง ‘พื้นที่สาธารณะ’ (Public Space) เป็นการใช้พื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นรูปแบบไหน เช่น ถนน ทางเดิน สวนสาธารณะ สนาม ลานชุมชน ลานเมืองเป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้หรือแบ่งปันร่วมกันสมาชิกทุกๆ คน พื้นที่สาธารณะจึงเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ในเชิงกายภาพซึ่งสามารถมองเห็นได้จากทุกคนและมีการเข้าถึงได้มากกว่าพื้นที่ส่วนตัว นอกเหนือจากพื้นที่ทางกายภาพแล้ว จะต้องสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างคนกับสถานที่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างให้พื้นที่สาธารณะเกิดการใช้งานอย่างมีชีวิตชีวาคือ การสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของผู้คน ดังนั้นพื้นที่สาธารณะจะต้องมีการเข้าถึงพื้นที่ การเชื่อมต่อที่ดี ความรู้สึกสบาย ปลอดภัย บรรยากาศที่เชื้อเชิญ และมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเข้าสังคมของผู้ใช้พื้นที่ กรุงเทพฯ vs วอร์ซอ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองขนาดใหญ่มีพื้นที่กว่า 1,569 ตร.กม. และมีประชากรกว่า 10 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบแล้วเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517 ตร.กม. มีประชากร 2.5 ล้านคน กล่าวคือวอร์ซอมีขนาดเล็กกว่ามาก เห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่เมืองต่อจำนวนประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่อคนน้อยกว่าคนวอร์ซอถึงร้อยละ 25 อีกทั้งเมืองวอร์ซอยังมีพื้นที่สีเขียวโดยรวมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่เมืองและสัดส่วนของพื้นที่สาธารณะยังมีสูงถึงถึง 62 ตร.ม.ต่อคน แต่คนกรุงเทพฯ มีเพียง 6.2 ตร.ม.ต่อคน หรือต่างกันกว่า […]

‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ : ความหวังและความเป็นไปได้ใหม่ ในการเติมสีเขียวให้เมือง เชื่อมเมือง เชื่อมชุมชน ให้ผู้คนเดินได้

09/06/2020

กรุงเทพมหานคร เมืองที่แออัด รถติด ขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง ฝุ่นควัน ความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาค และอื่นๆ อีกมากเรื่อง พูดกันได้ไม่รู้จบ แม้เราจะบ่นถึงปัญหาสารพัดของเมืองได้ทุกวัน แต่การค้นหาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองให้ดียิ่งขึ้นก็กำลังเดินหน้าทำงานขนานกันไป ล่าสุดหนึ่งในโครงการปรับเปลี่ยนสะพานด้วนให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้าก็สำเร็จลุล่วง เปิดให้ผู้คนได้ใช้บริการแล้ว  โครงการ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา (Chao Phraya Sky Park) เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงจากโครงการผังแม่บทการฟื้นฟูเมืองชั้นใน ที่มีชื่อเล่นว่า ‘โครงการกรุงเทพฯ 250’ ด้วยความร่วมมือจากภาคีพัฒนาสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่น หัวเรี่ยวหัวแรงประสานความร่วมมือ สนับสนุนงบประมาณในการศึกษา ออกแบบวางผัง และดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ในฐานะเจ้าของโครงสร้างสะพานและผู้ดูแลพื้นที่ ที่เปิดไฟเขียวสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะส่งเสริมการสัญจรของเมือง พร้อมด้วย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ในฐานะหัวหน้าทีมศึกษาออกแบบวางผังและเสนอความเป็นไปได้ใหม่ในการพัฒนาฟื้นฟูเมือง สร้างพื้นที่สาธารณะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่ผู้คนในเมืองสามารถเดินได้เดินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น  วันนี้อยากชวนทุกคนมาเดินทอดน่องชมวิวพระอาทิตย์ตกบนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาแห่งนี้ พร้อมกับฟังแนวคิดและการวางแผนดำเนินการ อุปสรรค รวมถึงข้อจำกัดที่ท้าทาย กับ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการ […]

กว่าจะถึงห้องพักในชั้นที่ 73

04/06/2020

73 จำนวนชั้นของคอนโดมิเนียมที่สูงที่สุดจากย่านที่ถือได้ว่าดีที่สุดของกรุงเทพมหานครด้านหนึ่งของห้องหันหน้าเข้าสู่ผืนน้ำที่สะท้อนแดดระยับตาในเวลากลางวัน และอีกด้านในมุมที่สูงกว่าใครนั้นก็เผยให้เห็นถึงความงดงามจากทิวทัศน์ของเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เมืองที่ความเจริญกำลังแผ่ขยายออกไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยคุณสามารถเป็นเจ้าของห้องพักที่กว้างขวาง สวยงาม และสะดวกสบายที่ว่านี้ ได้ในราคา 336,000 บาทต่อ ‘ตารางเมตร’ มากกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ย ‘ต่อปีต่อครัวเรือน’ ของคนไทยแค่ราว 12,000 บาทเท่านั้น (อ้างอิงข้อมูลโดยเฉลี่ยจากสถิติแห่งชาติในปี 2560) แล้วห้องพักแต่ละชั้นในตึกอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง? ‘พญาไท-ราชเทวี’ พื้นที่ชุมชนที่คราคร่ำไปด้วยผู้คนและแหล่งพักอาศัย หากมองจากสถานีรถไฟฟ้าคุณก็จะเห็นคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่เบียดแน่นอยู่ทั่วบริเวณ แต่หากคุณลองเดินเข้าซอยลึกลงไปอีกหน่อย คุณจะพบว่าที่จริงแล้วคอนโดมิเนียมเหล่านั้นต่างหากที่กำลังแทรกตัวอยู่ระหว่าง ‘ห้องเช่า’ จำนวนมาก ใต้ร่มเงาของคอนโดมิเนียมสูงใหญ่ เราจะพบกับอาคารพาณิชย์หลายคูหาที่ซ้อนตัวติดกันเป็นล็อกๆ ระเบียงของแต่ละชั้นแน่นขนัดไปด้วยเสื้อผ้าที่ถูกซักและตากรายวัน หน้าห้องพักและเสาไฟฟ้าแต่ละต้นมักถูกจับจองด้วยป้าย ‘ว่างให้เช่า’ จากห้องพักบริเวณใกล้เคียงทั้งที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาพม่าและกัมพูชา หลายปีมาแล้วที่ธุรกิจอย่างห้องเช่าในเมืองเกิดขึ้นและยังคงเป็นที่ต้องการอยู่เรื่อยมา โดยผู้ที่เข้าพักอาศัยมีตั้งแต่นักศึกษา ลูกจ้างชั่วคราว ไปจนถึงเหล่าพนักงานออฟฟิศ บันไดชันที่กว้างราวสามกระเบื้องเล็กๆ พาเราขึ้นสู่อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งที่ถูกดัดแปลงและเปิดเป็นห้องพักให้เช่าในราคาเพียง 3,200 บาทต่อเดือนเท่านั้น อาคารแห่งนี้มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นล่างสุดเปิดเป็นร้านขายของชำ ส่วนอีก 4 ชั้นที่เหลือจะถูกแบ่งออกเป็นห้องพักขนาดย่อมราว 8-12 ตารางเมตรพร้อมห้องน้ำในตัว โดยในแต่ละชั้นจะประกอบไปด้วยห้องพัก 3 – 4 […]

ชุมนุมอย่างไรให้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย คุยกับ ‘เป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ เมื่อประเทศขาดพื้นที่สาธารณะ ในการแสดงออกทางการเมือง

12/05/2020

ช่วงที่ผ่านมาคำว่า ‘ลงถนน’ ดูจะเป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้น  อาจนับตั้งแต่ผลการเลือกตั้งปี 62 ถูกประกาศ จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่บวกกับความไม่พอใจในการบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนเป็นการชุมนุมแบบ ‘แฟลชม็อบ’ ในหมู่นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ น่าเสียดายที่การเคลื่อนไหวครั้งนั้นต้องยุติลงเพราะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาพการลงถนนที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจึงเริ่มเลือนลางไป แต่คำว่า ‘ลงถนน’ กลับมาเด่นชัดขึ้นอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลขาดศักยภาพในการรับมือกับ COVID-19 จนสร้างผลกระทบต่อประชาชนทุกย่อมหญ้า แม้ตอนนี้สถานการณ์ COVID-19 จะยังไม่คลี่คลาย แต่หลายฝ่ายต่างลงความเห็นตรงกันว่า ‘สิ้น COVID-19 นี้อาจเกิดการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่’   อย่างไรก็ตามการชุมนุมที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถือว่าไม่ง่ายเลย ทั้งในแง่ของการปฏิบัติและในเชิงพื้นที่ แต่จะทำอย่างไรให้การชุมนุมดำเนินไปได้ ?  หากจะมีใครสักคนให้คำตอบได้ ‘เป๋า’ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) น่าจะเป็นคนนั้น  จากประสบการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา และการทำงานภาคประชาสังคมที่หยิบจับประเด็นทางกฎหมายมาสื่อสารให้เกิดการตั้งคำถาม ไปจนถึงการทำงานรณรงค์ด้านสิทธิเสรีภาพอย่างแข็งขัน เมื่อเอ่ยถึงเรื่องกฎหมายที่พ่วงมากับการเคลื่อนไหวทางการเมืองทีไร ชื่อของเขามักปรากฎขึ้นมาเสมอ  บทสทนาระหว่าง The Urbanis กับ เป๋า ยิ่งชีพ ในวันนี้ จึงว่าด้วยการชุมนุมประท้วงอย่างไรให้ไม่ให้ผิดกฎหมาย พร้อมพูดคุยถึงปัญหาเรื่องพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ชุมนุม […]

พื้นที่สาธารณะในนามสนามหลวง : จากทุ่งพระเมรุ สนามกอล์ฟ ลานเล่นว่าว สู่พื้นที่สัญลักษณ์

05/12/2019

ใครเกิดทันได้เล่นว่าวที่สนามหลวงบ้าง?  ครั้งหนึ่ง ก่อนที่สนามหลวงจะมีรั้วล้อมรอบ สนามหลวงเคยเป็นพื้นที่สาธารณะผืนใหญ่ใจกลางเมืองที่มีฉากหลังเป็นพระบรมมหาราชวัง วิวสวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่จริงแล้ว สนามหลวงเคยเป็นอะไรต่อมิอะไรมาหลายอย่าง ทั้งลานเล่นว่าว ตลาดนัด ฉายหนังกลางแปลง ท้องนา ยุ้งฉาง ทุ่งพระเมรุ ลานประหาร สนามกอล์ฟ สนามม้า ไฮด์ปาร์ค ลานจอดรถ ห้องนอนชั่วคราวของคนไร้บ้าน และพระราชพิธีสำคัญต่างๆ  กูดเซลล์ นักผังเมือง เคยอธิบายถึงพื้นที่สาธารณะว่า มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างพื้นที่เปิดโล่งทางกายภาพเพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้ที่เป็นสาธารณะและเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนเมือง ดังนั้น สนามหลวงจึงน่าจะเข้าข่ายเป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ แห่งแรกๆ ของมหานครแห่งนี้มาก่อน แต่ถ้าย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ สนามหลวง หรือ ทุ่งพระเมรุ มีการใช้งานครั้งแรกในงานพระเมรุพระบรมอัฐิพระชนกแห่งรัชกาลที่ 1 และเป็นสถานที่เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์มาโดยตลอด  นอกจากกิจกรรมพระราชพิธี สนามหลวงยังเคยเป็นผืนนา แสดงความอุดมสมบูรณ์ของสยามประเทศ ให้สมกับคำว่า อู่ข้าว อู่น้ำ การทำนาที่ท้องสนามหลวงเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำนา เพื่อเป็นการแสดงให้นานาประเทศเห็นว่า เมืองสยามบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าให้ใช้ […]

The Better City ของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ “เราคือเมือง เมืองคือประชาชน”

29/11/2019

แม้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ยังมาไม่ถึง แต่คนที่เรารู้อย่างแน่ชัดแล้วว่าจะลงแข่งขันในศึกชิงตำแหน่งครั้งนี้แน่นอนก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ อดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมผู้ได้รับสมญานามว่า ‘รัฐมนตรีผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี’  บ่อยครั้งที่ใครๆ ก็พบเห็นชายผู้แข็งแกร่งที่สดในปฐพีคนนี้ไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนลุมฯ และถ้าเข้าไปทักทายของถ่ายรูปด้วย ก็จะได้รับปฏิกิริยาตอบกลับแบบยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรเสมอ ไลฟ์สไตล์ติดดิน เข้าถึงง่าย ชัชชาติเป็นหนึ่งในนักการเมืองไม่กี่คนที่ประชาชนรู้สึกคุ้นเคย รวมไปถึงพื้นที่โซเชียลมีเดียด้วย ดังนั้น ชัชชาติจึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับผู้ท้าชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. โดยเฉพาะเมื่อเขาตัดสินใจลงในนามอิสระ ด้วยเหตุผลที่ว่า ‘สามารถทำงานกับทุกภาคส่วนได้มากกว่าลงสมัครในนามพรรคการเมือง’  ว่าแต่ว่า วิสัยทัศน์ในเรื่อง ‘เมือง’ ของผู้ชายคนนี้จะเป็นอย่างไร The Urbanis อยากชวนคุณไปพูดคุยกับเขาหลังการบรรยายครั้งสำคัญในหัวข้อ “Better City จะทำเมืองให้ดีขึ้นได้อย่างไร”  การบรรยายนี้จัดขึ้นโดย ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง (CUURP) คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ซึ่งนอกจากจะเปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาเมืองให้แก่นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ยังทำให้เรา ‘เห็น’ ชัดเจนอีกด้วย ว่าชัชชาติมีวิสัยทัศน์ต่อกรุงเทพฯ อย่างไร รวมทั้งเขาอยากทำอะไรบ้าง – เพื่อให้กรุงเทพฯ ดีขึ้น ชัชชาติเริ่มการบรรยายด้วยการตั้งคำถามว่า ‘เมืองที่ดีคืออะไร’ เพราะการจะวัดผลว่าดีหรือไม่ดีนั้น […]