บ้านเจ้าชายผัก: ปลูกเมืองให้เติบโตด้วยภูมิปัญญา และนวัตกรรมเกษตร

07/05/2025

จากความหลงใหลในเกษตรกรรมได้พัฒนาแนวคิด “บ้านเจ้าชายผัก” สู่การขับเคลื่อนเกษตรในเมือง บ้านเจ้าชายผัก มีจุดเริ่มต้นมาจากความสนใจในเรื่องการทำเกษตรของคุณนคร ลิมปคุปตถาวร ตั้งแต่ช่วงเรียนด้านการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนเป็นเวลานานระหว่างช่วงเรียนรู้เกษตรกรรมคุณนครอยากทำเกษตรจึงได้ลองเริ่มปลูกผักไว้บริโภคเองจากที่บ้านด้วยเมื่อทำไปสักพัก คุณนครได้ค้นพบตัวเองว่าหลงใหลกับการทำเกษตรโดยได้แนวคิดการทำสวนเกษตรในบ้านมาระหว่างการทำวิทยานิพนธ์และได้เริ่มมีบทบาทในการส่งเสริมการทำสวนเกษตรในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้คุณนคร เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น  ย้อนกลับไปในปี 2554 คุณนครเป็นหนึ่งในสมาชิกโครงการสวนผักคนเมือง ช่วยส่งเสริมให้คนเมืองหันมาสนใจการปลูกผัก ทั้งสร้างการตระหนักรู้ให้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกผักและการทำเกษตรในเมือง แม้ในช่วงแรกโครงการจะยังไม่ได้รับความสนใจมากเท่าที่ควร แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้คนเริ่มหันมาสนใจการทำเกษตรในเมืองมากยิ่งขึ้น ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกของคุณนครในการทำงานด้านเกษตรกรรม ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเกษตรในเมืองและงานด้านเกษตรทั้งหมด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองกับคนชนบท และเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรสู่การบริโภค เราต้องทำให้ผู้คนเห็นว่าทุกสิ่งที่พวกเขาเลือกนั้น ไม่ใช่เพียงการเลือกสินค้า แต่คือการเลือกวิถีชีวิต หากเลือกแนวทางหนึ่งก็จะนำไปสู่เส้นทางหนึ่ง หากเลือกอีกแนวทางก็จะนำไปสู่อีกเส้นทางหนึ่ง ดังนั้น การตัดสินใจของแต่ละคนล้วนมีความหมาย  นอกจากนี้ เราพยายามเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน เพื่อให้การพัฒนานั้นไม่ขาดรากเหง้าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในภาคเกษตรกรรม แต่สะท้อนให้เห็นในหลายแวดวง รวมถึงด้านสุขภาพ จากการทำงานร่วมกับเพื่อนในสายงานต่าง ๆ เราพบว่าสังคมไทยเผชิญกับภาวะที่ขาดรากฐานทางความคิดอย่างชัดเจน โดยมักมีการแบ่งขั้วอย่างสุดโต่ง หากเป็นแนวอนุรักษ์นิยม ก็ขาดการพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัย ขณะที่ฝั่งหัวก้าวหน้าก็อาจละเลยรากฐานของตนเอง ดังนั้น การสร้างสมดุลระหว่างอดีตและปัจจุบัน คือแนวทางที่เราพยายามผลักดัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีรากฐานที่มั่นคง จากโครงการปันอยู่ปันกินสู่สหกรณ์เพื่อเกษตรกรในเมือง ในช่วงโควิด-19 คุณนครได้ทดลองทำตลาดสีเขียวในเมืองอย่างโครงการปันอยู่ปันกิน ซึ่งเป็นตลาดที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีช่องทางในการพบผู้ผลิตรายอื่นเดือนละ 1 ครั้ง โดยโครงการนี้ทำให้ได้เห็นความสำคัญของการช่วยเหลือผู้คนในเวลาที่ยากลำบากอย่างช่วงโควิด-19 และคิดวิธีเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค คุณนครจึงเริ่มทำสหกรณ์เพื่อเกษตรกรในเมืองขนาดย่อม […]