เมเดยิน: จากเมืองอาชญากรรมสู่เมืองนวัตกรรม

11/06/2023

ย้อนกลับไปราวช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990s เมืองเมเดยิน (Medellin) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดอันเตียวเกีย (Antioquia) ประเทศโคลอมเบีย (Colombia) คือเมืองที่ได้รับการขนานนามจากนิตยสาร Time ว่าเป็น “เมืองที่อันตรายที่สุดในโลก” คำนิยามที่ไม่ค่อยดีนักกลายเป็นคำเรียกแทนชื่อของเมืองเมเดยิน ณ ขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ก่อการร้าย สงครามกลางเมือง หรือแหล่งค้ายาเสพติดขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันเมเดยินได้สร้างภาพจำใหม่ให้แก่เมือง บทความฉบับนี้จึงพาทุกท่านไปสำรวจว่า เมืองเมเดยิน มีแนวทางการพัฒนาเมืองอย่างไร ถึงพลิกโฉมจากเมืองอาชญากรรมสู่การกลายเป็นเมืองแห่งนวัตกรรมได้สำเร็จ รู้จักกับเมเดยินในอดีต ปัญหาความขัดแย้งมีอยู่มานานแล้วในเมืองเมเดยินตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สงครามกลางเมืองระหว่างกลุ่มกบฏฝ่ายซ้ายที่นำโดยกลุ่มหลักอย่างกองกำลังปฏิวัติติดอาวุธโคลอมเบีย (FARC) กับกองกำลังกึ่งทหารฝ่ายขวาที่มีรัฐบาลสนับสนุน นอกจากนี้ เมเดยินในเวลานั้นยังมีขบวนการค้ายาเสพติดภายใต้การควบคุมของ นายพาโบล เอสโคบาร์ (Pablo Escobar) ผู้ซึ่งเป็นชายที่ได้รับฉายาว่า “ราชาแห่งยาเสพติด” บรรยากาศภายในเมืองอบอวลไปด้วยความกลัว ความกังวล และความกดดัน ไม่มีพื้นที่ไหนในเมเดยินที่รู้สึกปลอดภัยสำหรับประชาชนในเวลานั้น เสียงปืน เขม่าควัน และการฆาตกรรมเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนกลายเป็นเรื่องพบเห็นจนชินตา โดยตั้งแต่ปีค.ศ. 1991 เป็นต้นมา เมืองเมเดยินมีอัตราการฆาตกรรมในเมืองสูงถึง 381 ศพ ต่อประชากรจำนวน 100,000 คนต่อปี หรือมีมากกว่า […]

ภาษี และ ที่ว่าง จะดึงมาสร้างพื้นที่สีเขียวได้ไหม?

07/06/2023

พงหญ้าสูงพลิ้วลิ่วตามลม ผสมด้วยไม้เถาเลื้อยคดคู้ ทั้งคู่เป็นหนึ่งในลักษณะเบื้องต้นที่เรามักสังเกตเห็นได้จากผืนที่ดินว่างเปล่าในเมือง อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ บ้างก็เหลือให้เห็นเศษเหล็ก เศษปูน บ้างก็ถูกคลุมด้วยเหล่าพืชนานาพรรณ และทันทีที่สายตาเราจรดมอง “รกร้าง” คือคำนิยามแรกที่สะท้อนภาพนั้นออกมาได้อย่างชัดเจน แต่หากเราลองเพ่งพินิจดูอีกสักนิด เราจะมองเห็นว่าผืนดินส่วนนี้ช่าง “ว่างเปล่า” เหลือเกิน เพราะที่ว่าง เมืองจึงร้างโอกาส หลายคนน่าจะทราบกันดีว่ากรุงเทพมหานคร มีพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคนนั้นอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด โดยพื้นที่สีเขียวที่ชาวเมืองกรุงเทพฯ มีอยู่ที่ 7.63 ตร.ม. ต่อคน (สำนักสิ่งแวดล้อม, 2566) แต่เมื่อคำนวณตามพื้นที่สีเขียวสาธารณะ ที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการ พักผ่อนหย่อนใจได้จริง ไม่นับรวมกับสวนหย่อมบริเวณเกาะกลางถนนจะอยู่เพียง 0.9 ตร.ม. ต่อคนเท่านั้น (อดิศักดิ์, 2564) และอาจอยู่ที่ประมาณ 1 ตร.ม. ต่อคนในปัจจุบัน เมื่อลองสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินว่างเปล่าจาก Green Finder ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จัดทำขึ้นโดยกลุ่มเครือข่าย We Park แสดงให้เห็นว่า กรุงเทพฯ ยังมีที่ว่างที่มีศักยภาพตามแหล่งชุมชนมากมาย โดยที่รัฐสามารถเข้าไปพูดคุย และดึงมาบริหารจัดการได้โดยการสร้างความมีส่วนร่วมกับทางชุมชน นอกจากนี้หากปรับปรุงพื้นที่ว่างเปล่าในสังกัดของรัฐ หรือกึ่งรัฐอย่าง พื้นที่ใต้ทางด่วน พื้นที่โล่งตามผังเมืองรวม […]