“หากราชวิถีจะมีสกายวอล์ค” ผลสำรวจความคิดเห็นต่อการเดินเท้าบริเวณถนนราชวิถีของประชาชนผู้ใช้งานพื้นที่

15/02/2024

“ทางเดินยกระดับ” หรือ “สกายวอล์ค (SKYWALK)” หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่จะช่วยให้เกิดการยกระดับศักยภาพการเดินเท้าในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่บริเวณที่มีข้อจำกัดทางพื้นที่ อาทิ พื้นที่แคบไม่สามารถขยายพื้นที่ทางเท้าได้ พื้นที่ทางเท้าขาดความต่อเนื่องจากการมีทางเข้า-ออกจำนวนมาก พื้นที่ที่มีปริมาณคนเดินเท้าหนาแน่น ฯลฯ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มศักยภาพการเชื่อมต่อการเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะและโครงข่ายการสัญจรระดับอาคาร ถนนราชวิถี เป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ควรมีการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาสกายวอล์ค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสู่การเป็นย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี-ราชวิถี ดังนั้น กรุงเทพมหานคร และคณะทำงานโครงการฯ จึงได้มีการจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นต่อการเดินเท้าบริเวณถนนราชวิถี ตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิถึงแยกตึกชัย ของประชาชนผู้ใช้งานพื้นที่กว่าหนึ่งพันคน เกี่ยวกับข้อมูลพฤติกรรมการเดินเท้าในพื้นที่ ปัญหาที่พบเจอ ความต้องการในการพัฒนา รวมถึงความคิดเห็นต่อการพัฒนาสกายวอล์คในพื้นที่ กว่า 82% เห็นด้วยต่อการพัฒนาสกายวอล์คบริเวณถนนราชวิถี จากการสำรวจความเห็นต่อการพัฒนาทางเดินยกระดับ มีผู้ให้ความเห็นทั้งสิ้น 1,236 คน พบว่า 82% “เห็นด้วย” กับการสร้างและพัฒนาให้บนถนนราชวิถีมีทางเดินยกระดับ โดยมีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมที่สนับสนุนความคิดที่เห็นด้วยอย่างหลากหลาย อาทิ การช่วยลดความเสี่ยงเวลาเดินข้ามถนน ความสะดวกสบายในการเดินทาง การมีโครงสร้างกันแดดกันฝน การช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับผู้คนที่เปราะบางในการเดินทาง เช่น คนตาบอด หรือ คนพิการ ลดการจราจรติดในตอนเช้า และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลที่มักจะต่อรถมาจากขนส่งสาธารณะ ผู้ที่ไม่แน่ใจ คิดเป็น 12% ที่ส่วนมากยังมองภาพไม่ออกว่าหากมีการพัฒนาทางเดินยกระดับในพื้นที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบเช่นไรบ้าง ส่วนหนึ่งมีความกังวลในช่วงเวลาการก่อสร้างหากมีการพัฒนาจริง […]

ถ้ากรุงเทพฯ อยากเขียว จะเขียวได้แค่ไหน

09/06/2023

กรุงเทพมหานคร เมืองใหญ่ที่พบเจอกับภัยพิบัติอยู่เป็นประจำ เช่น ฝุ่นควัน PM2.5 น้ำรอระบาย ปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง ตลอดจนปัญหาสุขภาพของคนเมือง ในทางกลับกัน กรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองที่มีพื้นที่สีเขียว ซึ่งมีบทบาทช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวให้ทุเลาลงในปริมาณน้อยกว่ามาตรฐาน ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองกลายเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ ในการพัฒนาเมือง ที่ทุกคนให้ความสนใจหรืออาจจะอยากมีส่วนร่วม แต่เราเคยลองจินตนาการดูไหมว่า กรุงเทพที่กำลังทำให้ตัวเองเขียวขึ้นนั้น จะเขียวได้มากแค่ไหน? เขียวน้อย เขียวไกล แต่เขียวได้เท่าลอนดอน ปัจจุบัน พื้นที่สีเขียวสาธารณะในกรุงเทพมหานครถูกแบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สวนระดับเมือง สวนระดับย่าน สวนหมู่บ้าน สวนชุมชน สวนหย่อมขนาดเล็ก สวนถนน และสวนเฉพาะทาง (เช่น สวนบริเวณอนุสาวรีย์) ซึ่งส่วนใหญ่สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. เป็นผู้ดูแล พื้นที่สีเขียวสาธารณะทั้งหมดนี้ มีพื้นที่รวม 42 ตารางกิโลเมตร เพียงแค้ 2.7% ของพื้นที่กรุงเทพฯ หรือเทียบเท่าพื้นที่เขตบางเขน และเมื่อพิจารณาจากขนาดต่อประชากร พบว่ากรุงเทพฯ นั้น มีพื้นที่สีเขียว 7.7 ตารางเมตรต่อคน และเข้าถึงได้ในระยะทางเฉลี่ยประมาณ […]

4 ความท้าทายสู่การพัฒนาเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพมหานคร

09/06/2023

เมืองมีความซับซ้อน หลากหลาย เป็นพื้นที่แห่งโอกาสและความเหลื่อมล้ำ กรุงเทพมหานครเองก็เป็นเช่นนั้น เป็นเมือง VUCA ที่รายล้อมไปด้วยความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) ดังนั้น การเข้าใจเมืองจึงไม่ควรมองเพียงมิติทางกายภาพเพียงอย่างเดียว แต่ควรมีแว่นกรองหรือมุมมองที่หลากหลาย ทั้งมิติกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ที่จะช่วยสร้างการขับเคลื่อนเมืองให้เกิดการพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มีลักษณะเป็น “เมืองโตเดี่ยว” เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีสัดส่วนของเศรษฐกิจร้อยละ 36.3 ของ GDP ทั้งประเทศ เต็มไปด้วยผู้คนที่หลากหลายรวมกว่า 9 ล้านคน มีกิจกรรมที่ซับซ้อน ผู้คนที่หลากหลายนำมาซึ่งกิจกรรมการใช้ชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายตามมา ทั้งย่านการอยู่อาศัย ย่านพาณิชยกรรม ย่านประวัติศาสตร์ ที่กระจายตัวและผสมผสานกันอยู่ทั่วเป็น อีกทั้ง เป็นเมืองที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทั้งระบบขนส่งมวลชน โครงการขนาดใหญ่ พื้นที่สวน พื้นที่นันทนาการ และอีกมากมาย ตลอดจนเป็นเมืองที่มีความวุ่นวายและชีวิตชีวาทั้งกลางวันและกลางคืน จึงทำให้กรุงเทพฯ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทยทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังเป็นหมุดหมายของการเดินทางท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก […]

พื้นที่สีเขียวกับปัญหาฝุ่นละอองในเมือง

05/06/2023

ทุกวันนี้ตื่นมาตอนเช้ามองไปทางไหนก็แทบจะไม่เห็นบ้านเรือนหรืออาคารสูงที่อยู่รายล้อมที่พักอาศัย เนื่องจากฝุ่นละอองที่กระจายตัวหนาแน่นอยู่ทั่วเมือง โดยค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในกรุงเทพฯ และหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย พุ่งสูงติด 1 ใน 10 อันดับของโลก และมีความรุนแรงเช่นนี้ทุกปีในช่วงเดือนธันวาคมลากยาวถึงเมษายน ซี่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กรมควบคุมมลพิษ ได้ประกาศว่า ในกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของมลพิษในระดับสูงสุด และยังพบอีกว่าไม่มีวันไหนเลยที่จะพบเจออากาศดี ๆ ในเดือนนี้ มากกว่านั้น สถานการณ์การเพิ่มาขึ้นของฝุ่นละอองในเมืองยังคงมีแนวโน้มความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการลดการปล่อยสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ลดปริมาณรถยนต์ และส่งเสริมให้มีการพัฒนาการขนส่งสาธารณะให้ดีมากขึ้น ตลอดจนการควบคุมกิจกรรมก่อสร้างต่างๆ จะเป็นแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองที่ทั่วโลกให้ความสำคัญแล้ว อีกหนึ่งทางเลือกที่หลายเมืองต่างขับเคลื่อนเช่นกันคือ “การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง” ที่ให้ต้นไม้พืชพรรณช่วยดักจับฝุ่นละอองและสับเปลี่ยนออกซิเจนออกมาแลกเปลี่ยน ซึ่งพื้นที่สีเขียวลดฝุ่นละอองได้ จริงหรือไม่ และปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างไร วันนี้ The Urbanis นำข้อมูลมาให้ดูกัน พื้นที่สีเขียวลดฝุ่นละอองได้จริงหรือไม่ ? ที่มาภาพ frimufilms จากงานศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นที่สีเขียวและฝุ่นละอองในอากาศ ที่ศึกษาข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 24 สถานี ของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และพื้นที่สีเขียวจำนวน 94 แห่ง ในกรุงเทพฯ […]

เมื่อข้อมูลเปิด เมืองจึงขับเคลื่อนการพัฒนาเร็วขึ้น

25/02/2022

ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา คำว่า “ข้อมูล” และ “ข้อมูลเปิด” คงเป็นคำที่หลายคนเคยผ่านตาผ่านหู หรือหลายคนก็อาจจะโดนกรอกหูด้วยคำนี้ตลอดเวลา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคดิจิทัลภิวัตน์นี้ ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการวางแผนหรือการตัดสินใจของหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นระดับย่าน เมือง หรือประเทศ  หากแต่ด้วยความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสาร หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกับ “ข้อมูลเปิด” เท่าไรนัก และอาจจะยังนึกไม่ออกว่าข้อมูลเปิดจะช่วยในการขับเคลื่อนการพัฒนาได้อย่างไร วันนี้ The Urbanis เลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับคำว่าข้อมูลเปิด เปิดแค่ไหนถึงเรียกว่าเปิด ทำไมถึงต้องเปิดข้อมูล ทำไมเปิดข้อมูลแล้วช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาให้เร็วขึ้น และประเทศไทยอยู่ตรงไหนของการเปิดข้อมูล ข้อมูลเปิดคืออะไร? ข้อมูลเปิด คือ ข้อมูลที่เราสามารถนำไปใช้ได้อย่างเสรี ไม่มีข้อจำกัด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และแบ่งปันต่อได้ แต่ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล และใช้งานข้อมูลตามขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลหรืองานกำหนดไว้ อาทิ การห้ามใช้เพื่อการพาณิชย์ ที่หลายคนอาจจะพบบ่อย โดยข้อมูลเปิดนั้น ควรมีรูปแบบข้อมูลที่สะดวกต่อการนำไปใช้งานต่อ สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ และควรอ่านได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ส่วนในด้านค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดควรเปิดเป็นสาธารณะโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง หรืออย่างน้อยที่สุดคือค่าธรรมเนียมในการทำสำเนา หรือสนับสนุนการดำเนินการและการมีอยู้ของฐานข้อมูลนั้นๆ  ทั้งนี้ ไม่ว่าภาคส่วนใดก็สามารถแบ่งปันข้อมูลเปิดได้ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ถือข้อมูลมากที่สุดและละเอียดที่สุด ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และสาธารณะชน ทุกภาคส่วนล้วนสามารถที่จะแบ่งปันข้อมูลได้ บนฐานที่ไม่กระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น […]

เธอ เขา เรา เมือง เมืองแบบไหนที่คนเมืองจะรัก?

14/02/2022

เมื่อความรักไม่ได้เกิดขึ้นได้แค่กับเธอ เขา เรา ฉัน แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับเมืองที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ความรักต่อเมืองจากชาวเมืองหรือพลเมืองนั้น ก็เหมือนกับที่คุณรักใครสักคน ไม่ว่าเกิดจากรักแรกพบ ใช้เวลาศึกษาดูใจ ชอบที่ภายนอก ชอบที่นิสัยใจคอ หรือแม้กระทั่งคลุมถุงชนอยู่ ๆ กันไปก็รักกันเอง ฯลฯ แล้วเมืองแบบไหนกันที่จะทำให้คุณตกหลุมรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม? เมืองแบบไหนที่คนเมืองจะรัก? เป็นคำถามและโจทย์สำคัญของทั้งผู้นำเมือง นักผังเมือง นักออกแบบเมือง นักวิจัยสังคม ฯลฯ มาโดยตลอด ในการสร้างความสุขและความเป็นเจ้าของร่วมของพลเมือง ดึงดูดผู้คนจากภายนอกให้เข้ามาทำกิจกรรมในเมือง ให้เกิดพลวัตของเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงลดโอกาสการเกิดภาวะสมองไหล ย้ายเมืองย้ายประเทศ ที่จะส่งผลอย่างมากต่อสถานการณ์เศรษฐกิจสังคมของเมืองหรือประเทศ ซึ่งหากถามว่าเมืองแบบไหนที่จะทำให้พลเมืองรักได้นั้น เราก็คงหนีไม่พ้นแนวคิดเมืองน่าอยู่ เมืองสุขภาวะ เมืองสำหรับทุกคน การสร้างความเป็นสถานที่ ฯลฯ ที่พยายามให้แนวทางในการพัฒนาเมืองให้ผู้คนที่อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความหลากหลายของกิจกรรม พื้นที่ ผู้คน และเศรษฐกิจ มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ตลอดจนสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ จากพลเมืองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน วันนี้เราเลยสรุปจากแนวคิดและข้อมูลต่างๆ ได้ออกมาเป็น 9 คุณลักษณะของเมือง ทั้งมิติกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ที่จะทำให้คุณหรือชาวเมืองจะรัก หวงแหน และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วม […]

From the Financial Bazooka to the City Planning Bazooka: Proposal to Restore a Sustainable Economic Foundation

16/09/2020

Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Guntamuanglee, Parisa Musigakama, Preechaya Nawarat, Thanaporn Ovatvoravarunyou 3 dimensions of the urban response to COVID-19 This article is a proposal for urban design and management, produced by the Urban Design and Development Center (UddC) to emphasize that, for Bangkok, the present time is an ​​opportunity to advance equality and […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: Revive the Thai tourism sustainably by cultivating spatial immunity: Extra service level and build long-term trust

16/09/2020

Asst. Prof. Komkrit Thanapat, Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Kantamuangli, Manchu chada Dechaniwong, Preechaya Nawarat, Thanaporn Owat Worawaranyu The global economy, tourism and Covid-19 Over the past decades the global tourist sector had been steadily growing. As a result, tourism was one of the fastest growing and largest sectors of the world economy. Tourism […]

จากบาซูก้าการคลัง สู่บาซูก้าผังเมือง ข้อเสนอฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

05/06/2020

บอล 3 ลูกในเมืองหลัง COVID-19 บทความชิ้นนี้เป็นข้อเสนอเชิงออกแบบและบริหารจัดการพื้นที่เมือง โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เพื่อเน้นย้ำว่า ในเมืองกรุงเทพฯนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสและโอกาสนั้นมีอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมให้ทุกคน โดยเฉพาะโอกาสในการทำกินและการประกอบสัมมาอาชีพ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งคงปฎิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงในความเสี่ยงสุขภาพ ความหวาดระแวงว่าจะติดโรคระบาดหรือไม่ นี่คือผลกระทบด้านด้านสาธารณสุข ตลอดจนการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิต และผลกระทบสืบเนื่องสำคัญที่ตามมาคือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจในระดับปากท้องซึ่งกำลังปรากฎชัดและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากช่วงเวลาที่แน่นิ่งของเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับการการกักตัวที่ยาวนานกว่าครึ่งปี ดังนั้น จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่าเรากำลังจะต้องเผชิญรวมถึงตระเตรียมวิธีการจัดการกับลูกบอล 3 ลูกที่จะตามมาหลังการผ่านพ้นไปของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในครั้งนี้ ประกอบด้วย หนึ่ง-สาธารณสุข สอง-การเงินการคลัง และสาม-ปากท้อง อาชีพ และรายได้ แม้ว่าสถานการณ์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในบ้านเราจะดีขึ้นตามลำดับ และอยู่ในอันดับต้นๆ ที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นที่น่าพอใจ ทำให้มีอัตราผู้ติดเชื้อต่อแสนประชากรที่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าเราจะเป็นประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อนอกพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่ และนี่คือความสำเร็จขั้นที่ 1 ในมาตรการด้านสาธารณสุข หากแต่สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงหลังจากนี้ นอกเหนือไปจากการเยียวยาจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายระดับมหาภาคในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเยียวยาในระดับครัวเรือน ในมาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท และเงินเยียวยาเกษตรกร ซึ่งรวมเรียกได้ว่าเป็นมาตรการด้านการเงินการคลัง เราจะเรียกกว่าเป็น […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: ฟื้นเมืองท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกภูมิคุ้มกันเชิงพื้นที่ เสริมระดับการบริการ และสร้างความเชื่อถือระยะยาว

14/05/2020

เศรษฐกิจโลก การท่องเที่ยว และวิกฤตการณ์โควิด ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภาพรวมในด้านต่างๆ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวนั้น คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของ GPD โลก ได้สร้างงานให้กับคน 1 ใน 10 หรือคิดเป็น 330 ล้านคนทั่วโลก (WTTC, 2020) โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจต่ำ จะมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องมีการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง แค่เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวก็สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างงานให้กับกลุ่มผู้หญิง เยาวชน และคนชายขอบ ประกอบกับนโยบายการลดกำแพงวีซ่า ค่าเดินทางที่ลดลง และค่าครองชีพที่ต่ำ ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา การป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากที่สุด โดยได้นำเอานโยบายและมาตรการป้องกันต่างๆ มาบังคับใช้ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง การระงับสายการบินและโรงแรม เพื่อลดพลวัตการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่แปรผันตรงกับการกระจายเชื้อ เนื่องจากเชื้อโควิดเป็นเชื้อที่ติดจากคนสู่คนผ่านสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าการชะงักตัวเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่แปรผันตรงกับเรื่องของการเดินทางและความไว้วางใจอย่างมาก  ย่อมเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และที่สำคัญวิกฤตินี้ ได้สะท้อนจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งระบบ แนวทางหลักของการฝ่าวิกฤตโควิดของการท่องเที่ยวไทย สำหรับประเทศไทยที่เรียกได้ว่า เป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism […]

1 2