05/06/2023
Environment

พื้นที่สีเขียวกับปัญหาฝุ่นละอองในเมือง

จุฬารัตน์ ป่าหวาย ธนพร โอวาทวรวรัญญู
 


ทุกวันนี้ตื่นมาตอนเช้ามองไปทางไหนก็แทบจะไม่เห็นบ้านเรือนหรืออาคารสูงที่อยู่รายล้อมที่พักอาศัย เนื่องจากฝุ่นละอองที่กระจายตัวหนาแน่นอยู่ทั่วเมือง โดยค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในกรุงเทพฯ และหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย พุ่งสูงติด 1 ใน 10 อันดับของโลก และมีความรุนแรงเช่นนี้ทุกปีในช่วงเดือนธันวาคมลากยาวถึงเมษายน ซี่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กรมควบคุมมลพิษ ได้ประกาศว่า ในกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของมลพิษในระดับสูงสุด และยังพบอีกว่าไม่มีวันไหนเลยที่จะพบเจออากาศดี ๆ ในเดือนนี้ มากกว่านั้น สถานการณ์การเพิ่มาขึ้นของฝุ่นละอองในเมืองยังคงมีแนวโน้มความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการลดการปล่อยสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ลดปริมาณรถยนต์ และส่งเสริมให้มีการพัฒนาการขนส่งสาธารณะให้ดีมากขึ้น ตลอดจนการควบคุมกิจกรรมก่อสร้างต่างๆ จะเป็นแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองที่ทั่วโลกให้ความสำคัญแล้ว อีกหนึ่งทางเลือกที่หลายเมืองต่างขับเคลื่อนเช่นกันคือ “การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง” ที่ให้ต้นไม้พืชพรรณช่วยดักจับฝุ่นละอองและสับเปลี่ยนออกซิเจนออกมาแลกเปลี่ยน ซึ่งพื้นที่สีเขียวลดฝุ่นละอองได้ จริงหรือไม่ และปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างไร วันนี้ The Urbanis นำข้อมูลมาให้ดูกัน

พื้นที่สีเขียวลดฝุ่นละอองได้จริงหรือไม่ ?

View of the istanbul at cloudy weather, multiple low and high buildings, fog, turkey

ที่มาภาพ frimufilms

จากงานศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นที่สีเขียวและฝุ่นละอองในอากาศ ที่ศึกษาข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 24 สถานี ของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และพื้นที่สีเขียวจำนวน 94 แห่ง ในกรุงเทพฯ พบว่า พื้นที่สีเขียวมีผลต่อการลดฝุ่นละอองในอากาศจริง โดยเห็นได้จากสถานการณ์ที่ เมื่อปริมาณของพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10 จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งการเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียวที่ใหญ่ขึ้น เช่น สวนสาธารณะ สวนหย่อม ฯลฯ จะสามารถช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศและยังเพิ่มสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับเมืองได้ด้วย อีกทั้ง จากงานวิจัยโดย TNC  (The Natture Conservancy) ยังบอกอีกว่า ต้นไม้ในเมืองสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองได้ถึงร้อยละ 7 – 24 เลยทีเดียว นอกจากพื้นที่สีเขียวจะยังช่วยดูดซับฝุ่นละอองในอากาศที่เป็นปัญหาในเมืองใหญ่ได้แล้ว  ยังช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ และเพิ่มปอดของเมืองอีกด้วย

จากงานศึกษาความสัมพันธ์ของพื้นที่สีเขียวและฝุ่นละอองในอากาศ ที่ศึกษาข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 24 สถานี ของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และพื้นที่สีเขียวจำนวน 94 แห่ง ในกรุงเทพฯ พบว่า พื้นที่สีเขียวมีผลต่อการลดฝุ่นละอองในอากาศจริง โดยเห็นได้จากสถานการณ์ที่ เมื่อปริมาณของพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10 จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งการเพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียวที่ใหญ่ขึ้น เช่น สวนสาธารณะ สวนหย่อม ฯลฯ จะสามารถช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศและยังเพิ่มสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับเมืองได้ด้วย อีกทั้ง จากงานวิจัยโดย TNC (The Natture Conservancy) ยังบอกอีกว่า ต้นไม้ในเมืองสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองได้ถึงร้อยละ 7 – 24 เลยทีเดียว นอกจากพื้นที่สีเขียวจะยังช่วยดูดซับฝุ่นละอองในอากาศที่เป็นปัญหาในเมืองใหญ่ได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ และเพิ่มปอดของเมืองอีกด้วย

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่สีเขียวกับ PM2.5

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของพื้นที่สีเขียวกับ PM 10

การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพ

จากโครงการ “คุ้งบางกระเจ้า” สามารถนำข้อมูลมาช่วยในการคาดการณ์แนวโน้มการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง หนึ่งในนโยบายของนายชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีเป้าหมายว่าจะปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น ภายใน 4 ปี หากเราสามารถปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น ได้สำเร็จจะสามารถดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศ PM 2.5 ได้ประมาณ 754,961 กิโลกรัม/ปี เลยทีเดียว อีกทั้ง จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานว่า ในเขตประเวศ เขตบางนา และเขตหนองแขม มีปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 สูงกว่ามาตรฐานและเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จากโครงการต้นไม้ 1 ล้านต้น หากมองในแง่การจัดสรรปันส่วนจำนวนต้นไม้ในแต่ละพื้นที่ควรมีการจัดสรรต้นไม้ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งความรุนแรงของฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น จาก 3 เขตที่กล่าวมา มีความรุนแรงของมลภาวะค่อนข้างสูง อาจจัดสรรต้นไม้ให้เขตเหล่านี้ให้เร็วกกว่าหรือมากกว่าพื้นที่ที่เสี่ยงน้อยกว่า เพื่อให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มพื้นที่สีเขียวมีประโยชน์ต่อการลดฝุ่นละอองก็จริง แต่การควบคุมการปล่อยสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การลดปริมาณรถยนต์ หรือการพัฒนาการขนส่งสาธารณะให้ดีขึ้น รวมไปถึงการควบคุมกิจกรรมก่อสร้างต่างๆ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ก็เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดฝุ่นในเมืองใหญ่

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทย: การใช้สื่อและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้สิทธิและหน้าที่ของความเป็นพลเมืองเพื่อขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ในประเทศไทย โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ในการสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ที่มาข้อมูล

พื้นที่สีเขียว อีกทางเลือกในการลดฝุ่น PM2.5

อิทธิพลของพื้นที่สีเขียวที่มีต่อมลภาวะฝุ่นละอองในเขตชุมชนเมือง กรณีศึกษาชุมชนเมืองสมุทรปราการ

อุทยานสวนจตุจักร

สำนักสิ่งแวดล้อม

Jertam

ทางแก้ PM2.5 ในมุมมองเอ็นจีโอ ร้องปรับปริมาณฝุ่นพิษมาตรฐานองค์การอนามัยโลก


Contributor