จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

‘Pandemic & The City’ จามครั้งเดียว สะเทือนไปทั้งเมือง

10/04/2020

การระบาดของเชื้อโรคและโรคภัยไข้เจ็บไม่ได้ส่งผลแค่เฉพาะกับสุขภาพ แต่ยังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน และนำพาเมืองไปสู่บริบทใหม่ทั้งในเชิงประชากร โครงสร้างทางสังคม และโครงสร้างทางกายภาพ ชุมชนเมืองมีการบริหารจัดการ รับมือ เรียนรู้ ปรับตัวและเดินต่ออย่างไร ในการอุบัติของโรคระบาด WHO ได้เผยข้อมูลที่สำคัญว่า การรระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่เป็นโรคระบาดระดับโลก (Pandemic) เกิดขึ้นทุกๆ 10 – 50 ปี โรคระบาดและเมืองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมือง ในฐานะศูนย์รวมของกิจกรรมทางเสรษฐกิจ สังคม การเมือง ความหนาแน่นของประชากรที่ประกอบกิจกรรมร่วมกันภายในเมือง สร้างโอกาสให้เกิดการติดเชื้อของโรคต่างๆได้อย่างไม่ยากนัก การรับมือต่อโรคติดต่อนั้นๆก็สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างทางสังคม ความเปราะบางของสังคม และสิ่งที่สังคมนั้นให้คุณค่าหรือมองข้าม เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ นั่นก็หมายถึงผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในเมืองในทุกระดับชนชั้น ที่ไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อชีวิต แต่รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และบาดแผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มักจะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อระบบของเมืองในด้านใดด้านหนึ่ง  แล้วการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในครั้งนี้ ที่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของเราอย่างเด่นชัด ความเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นนี้จะสั่นสะเทือนเมืองและเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกในระยะยาวหลังจากที่วิกฤติครั้งนี้จบลงอย่างไร  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง จากโรคระบาด ในช่วงปลาย ศตวรรตที่ 12 หรือปลายยุคกลาง  เกิดกระบวนการทำให้เป็นเมืองในบางส่วนของทวีปยุโรป ปัจจัยจากการค้าขายหรือจากแรงดึงดูดของแหล่งงานช่วยดึงดูดคนให้เข้ามาอยู่อาศัยรวมกันในพื้นที่เมืองต่างๆ เมื่อเกิดโรคติดต่อ ความหนาแน่นของประชากรเมืองยิ่งทำให้การแพร่ระบาดขยายวงกว้างออกไปได้อย่างไม่ยากเย็น  การระบาดของกาฬโรค หรือที่เรียกกันว่า […]

Bangkok Green Bridge สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง

12/11/2019

ปรีชญา นวราช / ธนพร โอวาทวรวรัญญู / ประภวิษณุ์ อินทร์ตุ่น / Noe Leblon  ป่าสีเขียวในรั้วเหล็ก ถ้าพูดถึงพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ  ซึ่งเปรียบเสมือนปอดของเมืองชั้นใน คงไม่มีใครไม่นึกถึง “สวนลุมพินี”  สวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศขนาด 360 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District-CBD) ของเขตปทุมวัน รอบล้อมด้วยถนนสายสำคัญ ได้แก่ ถนนพระรามที่ 4 ถนนราชดำริ ถนนวิทยุ และถนนสารสิน สวนลุมพินีเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนเมืองใช้งานอย่างคึกคัก ทั้งเพื่อดูแลสุขภาพหลังเลิกงาน เป็นสถานที่ฝึกซ้อมวิ่งมาราธอน เป็นบึงใหญ่สำหรับถีบเรือเป็ด ไปจนถึงเป็นลานรำไทเก๊กและเต้นลีลาศของอดีตวัยโจ๋ยุค 60-70  ฯลฯ คงไม่ผิดถ้าจะให้สวนลุมพินีมีฐานะเป็น “พื้นที่ทางสังคม” อีกหนึ่งตำแหน่ง ถัดจากสวนลุมพินีในระยะไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกหรือไปทางย่านคลองเตย จะพบสวนสาธารณะขนาดใหญ่อีกแห่ง นั่นคือ “สวนเบญจกิติ” สวนแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบเดิม ติดกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขนาบข้างหนึ่งด้วยถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย แม้มีขนาดย่อมกว่าสวนลุมพินีเกือบ 3 เท่า […]

1 2