บทเรียนฟื้นฟูเมืองลียง : ส่วนผสมของการวางแผนและการออกแบบที่ดี ภายใต้กลไกจัดการที่เหมาะสม

14/05/2021

หลายครั้งที่อาจารย์นิรมล (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง) มักหยิบยกกรณีศึกษา Lyon Part-Dieu หรือ โครงการพัฒนาย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจใจกลางเมืองลียง (Lyon) ประเทศฝรั่งเศส มาแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน อาจารย์นิรมลจะเน้นย้ำเสมอว่า Lyon Part-Dieu คือหนึ่งในโครงการฟื้นฟูเมืองที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จึงนับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับโครงการบรรยายสาธารณะ MUS x UddC International Lecture Series 2021 ที่ได้รับเกียรติจากสองผู้เชี่ยวชาญในโครงการ Lyon Part-Dieu อย่าง Mr. François Decoster ผู้ก่อตั้ง Founder of I’AUC Architectes Urbanistes ชาวฝรั่งเศส และ คุณพีรวิชญ์ ขันติสุข ที่ปรึกษา EUPOP ASEAN ณ ประเทศเบลเยี่ยม ร่วมบรรยายเมื่อวันก่อน การบรรยาย “Lyon Part-Dieu, Contemporary Metropolitan Hub” โดย François […]

Dominique Alba ราชินีผังเมืองแห่งปารีส ว่าด้วยการจัดสรรงบประมาณมหาศาล เพื่อให้พลเมืองสร้างสรรค์โครงการเมืองด้วยตัวเอง

26/04/2021

จะดีแค่ไหนหากงบประมาณประจำปีจำนวนมหาศาลของเมือง จะถูกจัดสรรไว้ก้อนหนึ่ง จะแปลงเป็นโครงการพัฒนาเมืองโดยภาคพลเมือง ที่ตอบโจทย์ความต้องการอันหลากหลายของเมืองด้วยตัวเอง “ราชินีผังเมืองแห่งปารีส” เป็นสมญานามที่ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ยกย่อง Dr. Dominique Alba ผู้อำนวยการ Paris Urbanism Agency (APUR) ประเทศฝรั่งเศส ผู้อยู่เบื้องหลังการวางยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเมืองปารีสหลายโครงการ ล่าสุดให้เกียรติบรรยายสาธารณะโครงการ MUS x UDDC International Lecture Series โดยแบ่งปันประสบการณ์จากการทำงานในฐานะเบื้องหลังโครงการฟื้นฟูเมืองปารีสมากมาย หลายคนอาจคุ้นเคยกับเจ้าของฉายา “ราชินีผังเมืองแห่งปารีส” เป็นที่เรียบร้อย เนื่องจากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ และ ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย (IRASEC) ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) มูลนิธิ Heinrich Boll และ UN WOMEN ได้ร่วมเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อะไรคือบทบาทของพลเมือง” (Urban Changes in Southeast Asia: what […]

ข้อเสนอสู่เมืองที่ดีกว่าโดยนักรัฐศาสตร์: ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ และ ปลดล็อกโครงสร้างบริหารจัดการ

30/03/2021

กว่า 2 ชั่วโมงของการบรรยาย “Complex Public Governance in City Rehabilitation and Reconstruction toward Resilience” โดย ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี 2 ประเด็นหลักที่เราสนใจ ประการแรก ผู้บรรยายชี้ให้เห็นกลไกการดำเนินงานของ กทม. ซึ่งมีกลไกที่สลับซับซ้อนและแฝงไปด้วยปัญหาที่หยั่งรากลึกมาอย่างยาวนาน ประการที่สอง คือ เสนอข้อชวนคิดที่จะนำมาปรับมุมมองปรับกลไกการทำงานของ กทม. ปัญหาเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการที่หยั่งรากลึก ชุดปัญหาหนึ่งที่ ผศ.ดร.ทวิดา หยิบยกขึ้นมาบรรยาย คือ ชุดปัญหาของยุทธศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์ของของกรุงเทพมหานคร (Dysfunctional Strategy) ได้แก่ 1) ไม่สามารถตีความยุทธศาสตร์ของเมืองออกมาได้เพราะหลายคนคนมองไม่เห็นวิสัยทัศน์ร่วมของยุทธศาสตร์ 2) กำหนดยุทธศาสตร์ที่ไม่ยืดหยุ่น ยุทธศาสตร์ของ กทม. ถูกสร้างมาในปี 2555 และถูกนำมาใช้ในปี 2556 ซึ่งกระบวนการดำเนินการสร้างยุทธศาสตร์ในปี 2555 นั้นเจ้าหน้าที่ กทม. ได้มีการลงพื้นที่ไปสอบถามประชาชน มีการทำ […]

การพัฒนาย่านนวัตกรรม: กรณีศึกษา CyberTech District กรุงเทพฯ

22/03/2021

ความท้าทายของการพัฒนาย่านนวัตกรรมในทุกวันนี้ คงหนีไม่พ้นโจทย์ที่ว่า จะทำอย่างไรให้นวัตกรรมและเมืองถูกรวบเข้ามาไว้ด้วยกัน ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กล่าวในการบรรยาย MUS x UDDC International Lecture Series 2021 ไว้ว่า นวัตกรรมที่เรามักคุ้นเคยกันดีที่สุดนั่นก็คือ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (product innovation) อย่าง smartphone และ smart gadgets ต่าง ๆ และ นวัตกรรมด้านกระบวนการ (process innovation) หากในส่วนของกรอบแนวคิดสำหรับย่านนวัตกรรมที่วิทยากรได้นำเสนอนั้น Area Base Innovation (ABI) ถือได้ว่าเป็นจักรวาลสำคัญของการริเริ่มพัฒนาย่านนวัตกรรม ซึ่ง ABI มีลักษณะที่มีความซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยทักษะจากหลากหลายสหสาขาวิชามารวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ มีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1) achieve paradigm shift 2) attract investment 3) create job for […]

ห้องสมุดที่ไม่ใช่ “ห้องเงียบ” แต่คือพื้นที่สร้างนิเวศการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของพลเมือง

15/02/2021

คุณเข้าห้องสมุดครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่…ยังจำได้ไหม? อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล อย่างการค้นคว้าหาความรู้ ทุกวันนี้เราสามารถเข้าถึงองค์ความรู้มหาศาลทุกที่ทุกเวลา ผ่านทุกอุปกรณ์การสื่อสาร ห้องสมุดและหนังสือนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ใครหลายคนมองข้ามมันไป แน่นอนการเข้าถึงข้อมูลความรู้ในวันนี้ไม่ใช่ของฟรี กว่าแต่ละคนจะมีสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ล้วนต้องอาศัยต้นทุนและปัจจัยหลากหลายด้าน อีกด้านหนึ่งถ้าหากตั้งคำถามว่าจะเป็นอย่างไรหรือหากคนในสังคมสามารถเข้าถึงทรัพยากรความรู้เหล่านี้ โดยที่แต่ละคนมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ การสร้างห้องสมุดสาธารณะเป็นอีกหนึ่งคำตอบสำหรับการจัดสรรพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้กับคนในสังคมได้เข้ามาใช้ประโยชน์ มาเข้าถึงองค์ความรู้ แม้การมาใช้บริการห้องสมุดจะมีค่าเดินทาง และยังไม่ได้รวมถึงค่าเสียโอกาสที่ต้องเสียไป แต่เมื่อพิจารณาดี ๆ จะพบว่าเพราะหนังสือและความรู้ทำให้คนเราดีขึ้น การมีห้องสมุดสำหรับทุกคนย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประเทศที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างฟินแลนด์ (Finland) และออสเตรเลีย (Australia) หอสมุดสาธารณะคือพื้นที่สำคัญในการสร้างต้นทุนของสังคมสำหรับชาวเมือง ห้องสมุดของทั้งสองประเทศคือพื้นที่ที่เป็นมากกว่าสถานที่ที่มีไว้เพื่อนั่งอ่านหนังสือและพออ่านจบก็เดินทางกลับบ้าน แต่คือโรงงานที่สร้างความเป็นพลเมืองให้กับคนในสังคม เป็น “พื้นที่” สำหรับการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่มีไว้ให้ทุกคน ฟินแลนด์ หนึ่งในประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรป และขึ้นชื่อเรื่องความเป็นเลิศด้านการรู้หนังสือ การมีหอสมุดกลางแห่งใหม่ของเมืองเฮลซิงกิ (Helsinki) ที่มีชื่อเรียกว่า Oodi ซึ่งในภาษาอังกฤษคือ ode ที่แปลบทกวีสรรเสริญเปรียบเหมือนโมเมนต์ขณะเหยียบดวงจันทร์ของชาวเมืองเฮลซิงกิ เปิดทำการเดือนธันวาคม 2018 ในวาระครบรอบ 100 ปีการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ช่วงแรกที่เปิดให้ใช้บริการมีผู้สนใจใช้งานรวมกว่า 420,000 คน หรือ 2 ใน 3 ของชาวเมืองทั้งหมด Oodi […]

บทถอดเรียนการส่งเสริมบทบาทพลเมืองต่อการพัฒนาฟื้นฟูเมือง กรณีศึกษา กรุงเทพ-ปารีส

03/02/2021

เพราะเมืองคือพื้นที่ซับซ้อน… มาไขความซับซ้อนจากเวทีเสวนา “การเปลี่ยนแปลงของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อะไรคือบทบาทของพลเมือง” (Urban Changes in Southest Asia: what is the citizen’s role?) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)  และผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ และ ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย (IRASEC) ร่วมกับ UddC-CEUS มูลนิธิ Heinrich Boll และ UN WOMEN ได้ร่วมเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อะไรคือบทบาทของพลเมือง” (Urban Changes in Southeast Asia: what is the citizen’s role?) ส่วนหนึ่งของเทศกาล Night Of Ideas […]

มหาวิทยาลัยสิงคโปร์รับมือโควิด-19 อย่างไรให้ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์มาแล้วเกือบ 1 ปี

19/01/2021

เมื่อปีที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินคำพูดคุ้นหูที่ว่า “อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ในปี 2020” การระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของผู้คนและเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเดินทางสัญจรที่ทำได้ยาก และผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การดำเนินชีวิตของผู้คนจึงตั้งอยู่ความปกติใหม่ (New Normal) สิ่งนี้นับเป็นการเรียนรู้ครั้งสำคัญของสังคมโดยรวม การปิดทำการของสถานที่หลายแห่งเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ โดยเฉพาะสถานศึกษา โรงเรียน และมหาวิทยาลัย พื้นที่การเรียนรู้หลักของผู้คนในเมือง ก่อให้เกิดวิธีการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างการเรียนการสอนออนไลน์ นับเป็นปรับตัวครั้งใหญ่ของทั้งผู้เรียนและผู้จัดการศึกษา อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ล่าสุดได้ประกาศปิดที่ทำการทั้งในและนอกเขตกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3-31 มกราคม 2564 และให้มีการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาในรูปแบบออนไลน์ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 (ตามประกาศวันที่ 2 มกราคม 2564) ตัวอย่างมาตรการรับมือกับโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา ที่สำนักข่าว The New York Times ยกเป็นให้กรณีศึกษา คือมหาวิทยาลัยหลักทั้งสามแห่งของประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management […]

เมืองเนเธอร์แลนด์แข่งรื้อพื้นกระเบื้องเพื่อปลูกต้นไม้ สู่เป้าหมายลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เมือง

11/01/2021

เมืองกับความเป็นพลวัตเป็นของคู่กัน ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของเมืองล้วนเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมุมมอง ตัวอย่างของการปรับมุมมองต่อเมืองเกิดขึ้นที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือ “ประเทศแห่งกระเบื้อง” เห็นได้จากสวนสาธารณะของเมืองหลายแห่งมักปูพื้นด้วยกระเบื้องรูปแบบต่าง ๆ ทว่า ล่าสุดเมืองหลายแห่งในเนเธอร์แลนด์มีโครงการรื้อพื้นกระเบื้อง แล้วแทนที่ด้วยต้นไม้และพืชพรรณธรรมชาติ เช่น เมืองรอตเทอร์ดัม (Rotterdam) หรือที่ใคร ๆ หลายคนขนานนามเมืองนี้กันว่าเป็นเสมือน “ประตูสู่ยุโรป” (Gateway to Europe) เริ่มเพิ่มความเขียวด้วยการรื้อกระเบื้องในพื้นที่สวนรอบบ้านเรือน อาคาร และสำนักงาน และแทนที่ด้วยพุ่มไม้และต้นไม้ แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ แต่ก็เป็นที่สะดุดตาไม่น้อย การรื้อกระเบื้องที่ปูพื้นที่เรียงรายล้อมรอบตัวเป็นการปูทางไปสู่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง และทำให้เมืองรอตเทอร์ดัมมีความ “เขียว” มากขึ้น  หลายคนเคยได้ยินว่า ปัจจุบันไม่ใช่ยุคสมัยที่ประเทศแข่งประเทศ หากเป็นเมืองแข่งกับเมือง เกิดการแข่งขันรื้อกระเบื้องอย่างดุเดือดในสองเมืองใหญ่ระหว่าง รอตเทอร์ดัม กับ อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เมืองหลวงแห่งประเทศกังหันลม แม้ช่วงแรกพี่ใหญ่อย่างอัมสเตอร์ดัมจะเอาชนะได้ก่อนก็ตาม แต่ไม่นาน รอตเทอร์ดัมก็ตามมาชิงชนะได้ จากการรื้อกระเบื้องทิ้งไป 47,942 แผ่น ซึ่งมากกว่าพี่ใหญ่ที่ทำได้ทั้งสิ้น 46,484 แผ่น การแข่งขันสร้างผลกระทบทางบวกต่อทั้งสองเมืองอย่างเห็นได้ชัด แต่ละวันสมาชิกสภาท้องถิ่นของทั้งสองเมืองจะได้รับรายงานผลการแข่งขัน และเผยแพร่ต่อไปยังพลเมืองของพวกเขาผ่านช่องทางโซเชียล เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองในการปรับเปลี่ยนเมืองให้เขียวขึ้นได้อย่างน่าสนใจ ก่อนหน้านี้ […]