From the Financial Bazooka to the City Planning Bazooka: Proposal to Restore a Sustainable Economic Foundation

16/09/2020

Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Guntamuanglee, Parisa Musigakama, Preechaya Nawarat, Thanaporn Ovatvoravarunyou 3 dimensions of the urban response to COVID-19 This article is a proposal for urban design and management, produced by the Urban Design and Development Center (UddC) to emphasize that, for Bangkok, the present time is an ​​opportunity to advance equality and […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: Revive the Thai tourism sustainably by cultivating spatial immunity: Extra service level and build long-term trust

16/09/2020

Asst. Prof. Komkrit Thanapat, Asst. Prof. Dr. Niramon Serisakul, Adisak Kantamuangli, Manchu chada Dechaniwong, Preechaya Nawarat, Thanaporn Owat Worawaranyu The global economy, tourism and Covid-19 Over the past decades the global tourist sector had been steadily growing. As a result, tourism was one of the fastest growing and largest sectors of the world economy. Tourism […]

BRIDGES THAT CONNECT OUR CITIES: สะพานที่เชื่อมเมืองของเราเข้าด้วยกัน

23/06/2020

สะพานในสายธารประวัติศาสตร์ สะพานที่เราสัญจรข้ามแม่น้ำไปทำงานและข้ามกลับบ้านอยู่ทุกวัน สิ่งใดก็ตาม หากเราเห็นทุกวัน บางทีสิ่งนั้นอาจกลายเป็น “The Invisible” เป็นสิ่งที่เราอาจมองข้ามความสำคัญหรือความหมายเดิมของสิ่งนั้นไป แท้จริงแล้ว ตลอดสายธารแห่งประวัติศาสตร์ สะพานเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของเมือง เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเมือง รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ภาพจำของเมือง เป็นสถานที่ที่มีความหมายในเชิงสังคมและผู้คน นิยามของสะพานในเชิงผังเมืองคือ “โครงสร้างที่ทอดยาวเพื่อเป็นทางสัญจรผ่านสิ่งกีดขวางเชิงภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำลำคลองหรือถนน” เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ตั้งแต่อดีตกาล หากเลือกได้ มนุษย์จะตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ เพื่ออรรถประโยชน์ในเชิงการคมนาคมขนส่ง การใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตรกรรม และการอุตสาหกรรม ดังนั้น สิ่งที่มีคู่กับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ทั่วโลกคือสะพานนั่นเอง สะพานจึงเป็นสาธารณูปโภคของเมืองที่ได้รับการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของเมือง เกณฑ์ในการพิจารณาสร้างสะพาน คือ ความมั่นคงแข็งแรงและความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจในการรองรับการสัญจรผ่าน ในยุคแรกสะพานสร้างไว้เพื่อรองรับการเดินเท้าของคน และได้วิวัฒน์ไปตามการพัฒนาของการสัญจรในเมือง (urban mobility) สู่รถม้า รถยนต์ และรถราง ในกาลต่อมา ความงามและความหมายเชิงสัญลักษณ์ได้กลายเป็นเกณฑ์ในการออกแบบสะพานในยุคหลังสงครามโลก อาทิ สะพานโกลเดนเกต (Golden Gate Bridge) ที่ได้รับการออกแบบด้วยวิสัยทัศน์ของตัวแทนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการก่อสร้าง หรือสะพานบรูคลิน (Brooklyn Bridge) ที่เชื่อมแมนฮัตตันกับบรูคลินซึ่งเป็นย่านการพัฒนาใหม่ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางวิศวกรรมแห่งศตวรรษที่ 19 นอกจากมิติในเชิงวิศวกรรมและการพัฒนาเมืองแล้ว สะพานยังมีความหมายในเชิงสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย […]

จากบาซูก้าการคลัง สู่บาซูก้าผังเมือง ข้อเสนอฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

05/06/2020

บอล 3 ลูกในเมืองหลัง COVID-19 บทความชิ้นนี้เป็นข้อเสนอเชิงออกแบบและบริหารจัดการพื้นที่เมือง โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เพื่อเน้นย้ำว่า ในเมืองกรุงเทพฯนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสและโอกาสนั้นมีอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมให้ทุกคน โดยเฉพาะโอกาสในการทำกินและการประกอบสัมมาอาชีพ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งคงปฎิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงในความเสี่ยงสุขภาพ ความหวาดระแวงว่าจะติดโรคระบาดหรือไม่ นี่คือผลกระทบด้านด้านสาธารณสุข ตลอดจนการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิต และผลกระทบสืบเนื่องสำคัญที่ตามมาคือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจในระดับปากท้องซึ่งกำลังปรากฎชัดและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากช่วงเวลาที่แน่นิ่งของเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับการการกักตัวที่ยาวนานกว่าครึ่งปี ดังนั้น จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่าเรากำลังจะต้องเผชิญรวมถึงตระเตรียมวิธีการจัดการกับลูกบอล 3 ลูกที่จะตามมาหลังการผ่านพ้นไปของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในครั้งนี้ ประกอบด้วย หนึ่ง-สาธารณสุข สอง-การเงินการคลัง และสาม-ปากท้อง อาชีพ และรายได้ แม้ว่าสถานการณ์ในการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในบ้านเราจะดีขึ้นตามลำดับ และอยู่ในอันดับต้นๆ ที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นที่น่าพอใจ ทำให้มีอัตราผู้ติดเชื้อต่อแสนประชากรที่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าเราจะเป็นประเทศแรกที่พบผู้ติดเชื้อนอกพื้นที่จีนแผ่นดินใหญ่ และนี่คือความสำเร็จขั้นที่ 1 ในมาตรการด้านสาธารณสุข หากแต่สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงหลังจากนี้ นอกเหนือไปจากการเยียวยาจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายระดับมหาภาคในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเยียวยาในระดับครัวเรือน ในมาตรการเงินเยียวยา 5,000 บาท และเงินเยียวยาเกษตรกร ซึ่งรวมเรียกได้ว่าเป็นมาตรการด้านการเงินการคลัง เราจะเรียกกว่าเป็น […]

IMMUNITISED, HIGH TOUCH, HIGH TRUST: ฟื้นเมืองท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนด้วยการปลูกภูมิคุ้มกันเชิงพื้นที่ เสริมระดับการบริการ และสร้างความเชื่อถือระยะยาว

14/05/2020

เศรษฐกิจโลก การท่องเที่ยว และวิกฤตการณ์โควิด ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วและใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภาพรวมในด้านต่างๆ โดยรายได้จากการท่องเที่ยวนั้น คิดเป็นร้อยละ 10.3 ของ GPD โลก ได้สร้างงานให้กับคน 1 ใน 10 หรือคิดเป็น 330 ล้านคนทั่วโลก (WTTC, 2020) โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจต่ำ จะมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องมีการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง แค่เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวก็สามารถสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างงานให้กับกลุ่มผู้หญิง เยาวชน และคนชายขอบ ประกอบกับนโยบายการลดกำแพงวีซ่า ค่าเดินทางที่ลดลง และค่าครองชีพที่ต่ำ ก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา การป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 คือสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากที่สุด โดยได้นำเอานโยบายและมาตรการป้องกันต่างๆ มาบังคับใช้ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง การระงับสายการบินและโรงแรม เพื่อลดพลวัตการเคลื่อนย้ายของผู้คนที่แปรผันตรงกับการกระจายเชื้อ เนื่องจากเชื้อโควิดเป็นเชื้อที่ติดจากคนสู่คนผ่านสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าการชะงักตัวเหล่านี้ ได้สร้างผลกระทบต่อการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่แปรผันตรงกับเรื่องของการเดินทางและความไว้วางใจอย่างมาก  ย่อมเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และที่สำคัญวิกฤตินี้ ได้สะท้อนจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งระบบ แนวทางหลักของการฝ่าวิกฤตโควิดของการท่องเที่ยวไทย สำหรับประเทศไทยที่เรียกได้ว่า เป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism […]

จากวันแรงงานถึงหาบเร่แผงลอย – เหรียญสองด้านที่มีทั้งปัญหาและโอกาส

01/05/2020

May Day & May Day  1 พฤษภาคมของทุกปี วันแรงงานแห่งชาติถูกตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของแรงงานในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่างๆ รวมถึงยกย่องความกล้าหาญของกลุ่มแรงงานในการลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง แต่ในประเทศไทยเองยังมีแรงงานอีกกว่า 54.3% ของผู้มีงานทำทั้งหมดที่เป็นแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) ที่ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ โดยมีแรงงานนอกระบบ 5 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มคนทำงานที่บ้าน (home-based worker)2. กลุ่มคนทำงานบ้าน (domestic worker)3. กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์4. กลุ่มหาบเร่แผงลอย5. กลุ่มผู้ค้าขาย คิดเป็นประชากรรวมกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ  (WIEGO, 2562) กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถือเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ  สถานการณ์การปิดเมืองเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบเป็นอีกกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบสูงเช่นกัน สัญญาณขอความช่วยเหลือถึงปัญหาปากท้องถูกนำเสนอตามสื่อทุกวัน เช่นเดียวกับมาตรการการรับมือที่ไม่ชัดเจน วันนี้เราจึงขอพูดถึงกลุ่มหาบแร่แผงลอย ที่เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มใหญ่ของเมืองที่เป็นทั้งปัญหาและทางออก ภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19 หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม แผงลอยจะไม่ใช่ปัญหาในตัวเอง หากมีการจัดการที่เหมาะสม  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนแผงลอยมากถึง 805,083 แผง (WIEGO, 2562) ที่เป็นเหมือนเหรียญสองด้าน กล่าวคือ สำหรับบางคนแผงลอยอาหารคือเสน่ห์และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้แผงลอยยังเป็นแหล่งจับจ่ายอาหารราคาถูกของเมือง […]

FOOD PLACE : Please mind the gap between you and me ร้านอาหาร : พื้นที่ระหว่างเรา ที่อาจจะเปลี่ยนไป

29/04/2020

ย้อนกลับไปเมื่อช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ใครจะจินตนาการออกว่า ภาพร้านอาหารที่แน่นขนัดไปด้วยผู้คน ต่อคิว เบียดเสียดเพื่อรับประทานอาหารร้านยอดนิยมนั้น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล การศึกษาและวิจัยมากมายได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาคำตอบและเสนอแนวทางปรับตัวต่อสถานการณ์โควิด-19 สิ่งหนึ่งที่แน่ชัด คือ กลยุทธ์ทางสาธารณสุขที่นำมาใช้เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากมนุษย์สู่มนุษย์ทั้งผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันทั่วโลกที่ได้กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ชี้เป้าไปที่ ความหนาแน่น (Density) และ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) ร้านอาหาร หนึ่งในธุรกิจฝากท้องของชาวเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายและติดเชื้อโรค ทั้งจากสภาพความหนาแน่น ระยะระหว่างบุคคล (Proximity)  ผนวกกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรับประทานอาหารที่ล้วนเพิ่มโอกาสในการสัมผัส (Contact) ติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้การดำเนินการธุรกิจด้านร้านอาหารถูกจับตามองไม่ใช่น้อย ร้านอาหารจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ไหม มาตรการอะไรที่ร้านอาหารควรปรับใช้ในช่วงสถานการณ์โควิด ไปจนถึงอะไรคือมาตรฐานใหม่ที่จะสร้างสุขอนามัยให้กับร้านอาหารในระยะยาว วันนี้เราจึงขอเสนอแนวคิดในการปรับตัวของเหล่าร้านอาหารในช่วงสถานการณ์ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นข้อคำนึงใหม่ที่ควรนำมาปรับใช้ในการออกแบบร้านอาหารในอนาคต การกำหนดความหนาแน่นของร้านอาหาร  ร้านอาหาร แหล่งรวมความหนาแน่น และกระจุกตัวของผู้คนโดยเฉพาะในช่วงเวลารอบมื้ออาหาร ด้วยต้นทุนทางการดำเนินธุรกิจ ร้านอาหารต่างมีการออกแบบเพื่อให้มีความจุ (Capacity) ในการรองรับการเข้ารับประทานอาหารในแต่ละรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อตอบโจทย์ด้านผลตอบแทนในการลงทุน จึงไม่แปลกที่ร้านอาหารจะมีความเบียดเสียด และแออัด แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ดังกล่าว แนวคิดการออกแบบร้านอาหารในอนาคตอาจจะต้องถูกนำมาประเมินอีกครั้ง ร่วมกับการคำนวนความจุที่เหมาะสมต่อการรองรับลูกค้า ไปถึงค่ามาตรฐาน ตารางเมตรต่อคน ที่เคยอ้างอิงตามตำราเล่มเก่า อาจจะถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง  นอกจากความหนาแน่นที่เกิดขึ้นภายในร้านแล้ว จุดที่สร้างให้เกิดการกระจุกตัวอีกแห่ง […]

Marketplace is coming (back) to town โอกาสของธุรกิจรายย่อย ตู้กับข้าวของชาวเมือง

27/04/2020

ใครจะนึกว่าวันนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ ได้พลิกวิกฤติของผู้เล่นรายย่อยในละแวกบ้าน สู่โอกาสในการทำมาหากิน จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนเมืองที่หันกลับมาพึ่งพาการจับจ่ายใช้สอยในละแวกมากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยจากแผงลอยหน้าหมู่บ้าน ตลาดสดท้ายซอย และร้านรถเข็นเจ้าเก่า ได้กลับมาเป็นคำตอบให้กับคนเมืองอีกครั้ง แน่นอนว่าธุรกิจรายย่อย หรือเหล่าพ่อค้าแม่ขายจาก Informal Sector นั้นได้รับความสนใจอย่างมากต่อเหล่าผู้ถูกกักตัว ซึ่งได้ยึดร้านรวงเหล่านั้นเป็นเหมือนปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต โอกาสของเหล่าธุรกิจรายย่อย นั้นมาพร้อมกับความท้าทายในการพิสูจน์ให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ที่มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัย สุขอนามัยที่ดี ในขณะเดียวกัน วิกฤติในครั้งนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืน และการประนีประนอมที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างโอกาสในการทำมาหากินของเหล่า Informal Sector ที่ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของเหล่าคนเมือง  วันนี้ เราจะชวนคุณไปชมกรณีศึกษาจากทั่วโลก ก่อนจะมาร่วมหาคำตอบของการออกแบบและปรับตัวทางกายภาพของเหล่า Informal Sector ผ่านพื้นฐานทางกายภาพของการออกแบบ จุด เส้น ระนาบ จุดศูนย์กลาง สู่ละแวกบ้าน ภาพด้านบนแสดงรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองก่อนสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบรวมศูนย์ คนเดินทางเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง ภาพที่ 2 แสดงข้อเสนอของรูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยของคนเมืองหลังสถานการณ์ COVID-19 ที่มีลักษณะแบบกระจายตัวไปตามละแวกบ้าน คนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปจับจ่ายใช้สอยจากซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดกลาง แต่เลือกที่จะไปจับจ่ายที่ตลาดขนาดเล็กในละแวกบ้านแทน […]

Bangkok Green Bridge สีเขียวเชื่อมย่าน สะพานเชื่อมเมือง

12/11/2019

ปรีชญา นวราช / ธนพร โอวาทวรวรัญญู / ประภวิษณุ์ อินทร์ตุ่น / Noe Leblon  ป่าสีเขียวในรั้วเหล็ก ถ้าพูดถึงพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ  ซึ่งเปรียบเสมือนปอดของเมืองชั้นใน คงไม่มีใครไม่นึกถึง “สวนลุมพินี”  สวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศขนาด 360 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางย่านศูนย์กลางธุรกิจ (Central Business District-CBD) ของเขตปทุมวัน รอบล้อมด้วยถนนสายสำคัญ ได้แก่ ถนนพระรามที่ 4 ถนนราชดำริ ถนนวิทยุ และถนนสารสิน สวนลุมพินีเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนเมืองใช้งานอย่างคึกคัก ทั้งเพื่อดูแลสุขภาพหลังเลิกงาน เป็นสถานที่ฝึกซ้อมวิ่งมาราธอน เป็นบึงใหญ่สำหรับถีบเรือเป็ด ไปจนถึงเป็นลานรำไทเก๊กและเต้นลีลาศของอดีตวัยโจ๋ยุค 60-70  ฯลฯ คงไม่ผิดถ้าจะให้สวนลุมพินีมีฐานะเป็น “พื้นที่ทางสังคม” อีกหนึ่งตำแหน่ง ถัดจากสวนลุมพินีในระยะไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกหรือไปทางย่านคลองเตย จะพบสวนสาธารณะขนาดใหญ่อีกแห่ง นั่นคือ “สวนเบญจกิติ” สวนแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบเดิม ติดกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขนาบข้างหนึ่งด้วยถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย แม้มีขนาดย่อมกว่าสวนลุมพินีเกือบ 3 เท่า […]