5 จุดโปรดระวัง!!! ข้างหน้าเกิดอุบัติเหตุบ่อย

26/06/2023

กรุงเทพฯ เมืองที่ครองแชมป์ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในไทย จากบทความกรุงเทพฯ เมือง(อุบัติเหตุ) 15 นาที มีการกล่าวถึงการเดินทางที่เพิ่มขึ้น 40 ล้านเที่ยวคนต่อวัน และมีการใช้ยานพาหนะที่สูงขึ้น เนื่องจากแหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่เฉพาะใจกลางเมือง ทำให้คนจำเป็นต้องเดินทางเข้า-ออกเมืองเป็นประจำทุกวัน ซึ่งหากเมืองไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ อย่างจริงจัง แน่นอนว่าในอนาคตผู้คนต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความสูญเสียที่มากขึ้นและถี่ขึ้น ที่มา https://share.traffy.in.th/teamchadchart ยิ่งขับขี่เร็ว การมองเห็นแคบลง ความสูญเสียยิ่งเพิ่มขึ้น นอกจากอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว อุบัติเหตุทางเท้าก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจไม่แพ้กัน ปัจจุบันจึงได้มีการคิดค้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนในเมืองมากขึ้น เช่น Traffy Fondue แพลตฟอร์มรับแจ้งปัญหาของเมือง ที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นของเมือง ตลอดจนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเมืองให้ดีขึ้น จากข้อมูลของ Traffy Fondue แสดงให้เห็นว่าประเด็นที่ได้รับแจ้งและได้รับความสนใจจากประชาชนมากเป็นอันดับต้น ๆ คือ “อุบัติเหตุบนทางเท้า” เนื่องจากทางเท้าชำรุด การมีสิ่งกีดขวางบนทางเท้าทำให้คนจำเป็นต้องเดินลงบนถนน การขับรถจักรยานยนต์บนทางเท้า และแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลพื้นที่ 5 จุดเสี่ยงเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดจากในกรุงเทพฯ ปี 2563-2565 โดย Thai RSC ที่มา https://mapdemo.longdo.com/bkk-accidents-clusters 5 จุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในกรุงเทพฯ 1) ถนนเพชรเกษม […]

ขออภัยในความไม่สะดวก “น้ำกำลังรอระบาย”

05/10/2022

เข้าสู่ช่วงหน้าฝนทีไร คงยากที่จะปฏิเสธกับบรรยากาศเดิม ๆ อย่างปัญหาน้ำค้างท่อรอระบายที่เอ่อล้นเกินครึ่งล้อ สร้างปัญหาจราจรติดขัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงสิงหาคมถึงตุลาคม ที่กรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับเคราะห์ซ้ำกรรมซัดกับฤทธิ์ของ “ลานีญา” ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ จนสร้างความเดือดร้อนในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากรุงเทพฯ จะมีการเตรียมการรับมือกับปริมาณน้ำฝนและป้องกันน้ำท่วมมาโดยตลอด แต่ทำไมปัญหาน้ำรอระบายยังคงเป็นหนึ่งในประเด็นหลักที่ต้องจัดการและแก้ไข แล้วที่ผ่านมากรุงเทพฯ มีการรับมือกับปัญหานี้อย่างไร The Urbanis จะชวนทุกท่านมาไขข้อข้องใจในบทความนี้กัน ทำไม “น้ำรอระบาย” ยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก หากพูดถึงข้อจำกัดหรืออุปสรรคที่ทำให้กรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำรอระบายแทบจะทุกครั้งเมื่อฝนตกนั้น พบว่ามี 3 สาเหตุหลัก คือ (1) โครงสร้างพื้นฐานของเมือง (2) ประสิทธิภาพการระบายน้ำ และ (3) ความสูง-ต่ำของพื้นที่ และแผ่นดินทรุดตัว 1. โครงสร้างพื้นฐานของเมือง ด้วยสภาพเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับระบบระบายน้ำแก้ไขจัดการตามการเติบโตของเมืองไม่ทัน เช่น หากมีการยกระดับถนน แต่ไม่มีระบบระบายน้ำรองรับบริเวณที่ต่ำกว่า เมื่อฝนตกน้ำจึงมักไหลท่วมถนนและซอยที่ต่ำจนเกิดน้ำท่วมขังตามมา 2. ประสิทธิภาพการระบายน้ำ เนื่องจาก คู คลอง ถูกบ้านเรือนชุมชนรุกล้ำจนไม่สามารถขุดลอกให้กว้างและลึกได้มากพอ รวมทั้งท่อระบายน้ำที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 – […]

พิพิธภัณฑ์: นิยามที่มากกว่าห้องเก็บของ

07/04/2022

เมื่อถึงเวลาหลังเลิกงาน หรือวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ เชื่อว่าหลายๆ คน มักจะเลือกออกไปที่ไหนสักแห่ง ที่ไม่ใช่บ้านหรือที่พัก แต่เป็นพื้นที่ที่ได้พบปะ พูดคุย และใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศเดิมๆ ที่เจอตลอดทั้งอาทิตย์ จึงมีคำกล่าวว่า บ้าน คือ First place หรือจุดเริ่มต้นของวัน และที่ทำงาน โรงเรียน คือ Second place หรือพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมจำเป็น และเรามักใช้เวลาส่วนใหญ่เมื่อออกนอกบ้าน ส่วน Third place คือ พื้นที่เหลือหลังจากนั้น เป็นพื้นที่ที่เราเลือก และสมัครใจในการทำกิจกรรมทางเลือก เช่น เดินห้าง นั่งอ่านหนังสือที่ร้านกาแฟ หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นหนึ่งในสถานที่ฮีลใจของใครหลายๆ คน Ray Oldenburg และ Dennis Brissett นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งนิยาม “Third Place” ในหนังสือ The Great Good Place ปี 1989 […]

น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเน่าปลาตาย ชวนส่อง 5 คลองเน่าของเมืองกรุง

02/03/2022

หากพูดถึงคลอง กรุงเทพฯ คุณจะนึกถึงอะไร?  แน่นอนว่าหนึ่งในภาพที่หลายคนต้องนึกถึง คือ สภาพคลองสีดำสกปรก เต็มไปด้วยเศษขยะลอยเกลื่อนคลอง และส่งกลิ่นเหม็นเน่าคละคลุ้งไปทั่วบริเวณ ใครสัญจรไปมา ต่างต้องฝืนทนดมกลิ่น กลายเป็นภาพจำ จนคนส่วนใหญ่อาจลืมไปแล้วว่าในอดีตกรุงเทพฯ เคยได้รับขนานนามว่า “เวนิสตะวันออก” เมืองที่มีคลองทอดตัวลัดเลาะไหลเชื่อมโยงชุมชน และเป็นเส้นเลือดหลักของเมืองในการสัญจร สร้างความผูกพันผู้คนกับสายน้ำ กลายเป็นหนึ่งในเสน่ห์ของกรุงเทพฯ ในอดีต แต่ทุกวันนี้คลองกลับถูกลดความสำคัญ จากเดิมที่เป็นเส้นทางหลักในการสัญจร แปรเปลี่ยนเป็นเมืองสัญจรทางถนน มีการถมคลองสร้างถนนหนทาง และสร้างอาคารบ้านเรือน จนเกิดเป็นชุมชนแออัด มีการปล่อยน้ำเสีย ทิ้งขยะลงคลองอย่างมักง่าย จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคลองในปัจจุบัน มีบทบาทเพียงเพื่อระบายน้ำ และที่รองรับขยะของชุมชนเท่านั้น ปัจจุบัน คลองในกรุงเทพฯ จำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง แต่จากการตรวจวัดคุณภาพน้ำคลองทั่วกรุงเทพฯ ปี 2564 จำนวน 173 คลอง พบว่ามีคลองเน่าเสียกว่า 124 คลอง หรือคิดเป็น 72% ของคลองที่ตรวจวัดทั้งหมด (สำนักการระบายน้ำ, […]

กรุงเทพฯ เมือง(อุบัติเหตุ) 15 นาที

15/02/2022

ปี 2561 มีคนกว่า 1.3 ล้านคนทั่วโลก เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และ 93% อยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา ความสูญเสียอันมหาศาลนี้ กลายเป็นประเด็นท้าทายระดับโลก ที่ต้องการลดความสูญเสียนี้ลงให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ภายใต้การรณรงค์ชื่อว่า “Decade of Action for Road Safety 2021-2030” นำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สำหรับประเทศไทยกับอุบัติเหตุจากจราจร คงหนีไม่พ้นคำสุภาษิตที่ว่า “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”เพราะเรามักจะได้เห็นข่าวความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นสนใจที่สังคมให้ความสำคัญเพียงช่วงเวลาที่เกิดความสูญเสียเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปประเด็นเหล่านี้ก็จะถูกลืม วินัยการจราจรก็กลับไปหย่อนยานเช่นเดิมจนกว่าจะมีข่าวใหม่และเหยื่อหน้าใหม่เกิดขึ้นอีกครั้ง ทั้งที่จริงแล้ว ความสูญเสียจากการใช้รถใช้ถนนเกิดขึ้นทุกวัน จนกลายเป็นปัญหาสุดคลาสสิกที่ไม่เคยหายไปจากสังคมไทย กลายเป็นว่า เรายังต้องเห็นโลงศพและหลั่งน้ำตากันอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน แม้ว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนลดลงจาก 38 คนต่อแสนประชากรในปี 2554 เหลือ 32 คนในปี 2562 แต่ก็เป็นการลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้ง ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกถึง 2 เท่า (องค์การอนามัยโลก, 2563) […]

ย่านเศรษฐกิจล้มลุก: สำรวจย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่ในช่วงโควิดกลืนเมือง

14/01/2022

ย่านแต่ละย่านต่างมีเรื่องราว เอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ที่ประกอบสร้างขึ้นจากความคิด ความรู้สึก ตลอดจนความสัมพันธ์ พฤติกรรม หรือกิจกรรมที่เกิดในพื้นที่ กลายเป็นภาพสะท้อนที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงร้อยเรียงผู้คนในพื้นที่ เมืองเชียงใหม่ กับความเป็นย่านหลากมิติ จากรายงานศึกษาเรื่องราวความเป็นย่านผ่านประวัติศาสตร์ และโครงสร้างของเมืองเชียงใหม่แสดงให้เห็นว่าแต่ละย่านของเมืองเชียงใหม่ มักเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม พลวัตทางการเมือง และการพัฒนาเมือง ที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวกันออกไป (ปรานอม ตันสุขานันท์ และวิทยา ดวงธิมา, 2556) ซึ่ง “ย่านเศรษฐกิจ” ที่เห็นได้ในปัจจุบัน ถือเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนของเมืองเชียงใหม่ ที่มีการพัฒนาจนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศและของโลก บทความนี้เราจะชวนผู้อ่านทุกท่านสำรวจ “7 ย่านเศรษฐกิจ” ณ ห้วงเวลาการเเพร่ระบาด COVID -19 ของเมืองเชียงใหม่ ที่ต้องเผชิญกับมาตรการล็อกดาวน์ (ปี 2563) ไร้วี่เเววของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ดังนั้น ย่านใดบ้างที่ธุรกิจหยุดชะงัก หรือสามารถดำเนินต่อไปได้ เพื่อสะท้อนให้เห็นผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของย่านเศรษฐกิจเชียงใหม่ ย่านห้วยแก้ว -นิมมานเหมินท์ ย่านเศรษฐกิจสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ครอบคลุมถนนห้วยแก้ว และถนนนิมมานเหมินท์ เป็นถนนสายเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ใกล้สถานศึกษาหลายแห่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่พักอาศัยที่สำคัญอีกด้วย “ถนนห้วยแก้ว” หรือที่ชาวเชียงใหม่เรียกติดปากว่า “ถนนหน้ามอ(ชอ)” […]

Urban Dataverse เพราะเมืองกำลังขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

15/12/2021

ข้อมูลเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองเป็นอย่างมาก หากเปรียบเมืองเป็นบ้านหนึ่ง การจะสร้าง ออกแบบหรือต่อเติมบ้านให้ออกมาดูดีตรงใจได้นั้น ก็จำเป็นที่จะต้องรู้ในทุกมิติตั้งแต่ขนาด โครงสร้าง วัสดุที่ใช้ ศึกษาว่าจะมีคนเข้ามาอยู่อาศัยกันกี่คน ห้องไหนจะใช้งบประมาณในการต่อเติมมากหรือห้องไหนจะใช้งบประมาณน้อย และอีกมากมาย หากกลับมาดูในบริบทของเมืองที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลในมิติที่หลากหลาย ข้อมูลเมืองมีหลายประเภท หลายรูปแบบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาการจราจร การแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ การแก้ปัญหาน้ำท่วม ช่วยในการออกแบบเมืองให้น่าอยู่และมีอัตลักษณ์ ข้อมูลเมืองจะช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจลงทุนหรือกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เองก็จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เมืองพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน The Urbanis สรุปสาระงานเสวนา Urban Dataverse: The verse of data-driving urbanism จากวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา ทีมผู้อยู่เบื้องหลังเพจ “เชียงใหม่ฉันจะดูเเลคุณ” คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ นักภูมิศาสตร์เมือง คนเล่นแร่แปรธาตุข้อมูลเชิงพื้นที่เมือง คุณธนิสรา เรืองเดช ผู้ร่วมก่อตั้ง Punch Up studio กับโครงการเปลี่ยนสังคมด้วย “ดาต้า” และ คุณนิธิกร บุญยกุลเจริญ หนึ่งในนักพัฒนา ทีม […]

กรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้

09/04/2021

เมื่อโลกก้าวสู่ยุคดิจิตอล ทุกสิ่งทุกอย่างต่างหมุนเร็วขึ้นในทุกมิติ ความรู้เดิมที่เคยมี ไม่สามารถนำเราก้าวไปข้างหน้าได้อีกต่อไป การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงไม่ได้ถูกจำกัดเพียงเเค่ในระบบการศึกษา แต่ยังมีความสำคัญมากขึ้นต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อสร้างโอกาสในการเกิดการเรียนรู้ในทุกรูปแบบที่ไม่จำกัดเพียงการเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียน มหาวิทยาลัย เเต่ยังรวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จากชุมชน ที่ทำงาน พื้นที่สาธารณะ และการศึกษาผ่านรูปแบบแพลทฟอร์มออนไลน์  จึงเกิดเป็นเเนวคิด “เมืองเเห่งการเรียนรู้” (Learning City) ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับเเนวทาง (UNESCO Institute for Lifelong Learning- UIL) ที่จัดตั้งเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบ SDGs เพราะการเรียนรู้ > การศึกษา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ฉายภาพเปรียบความแตกต่างระหว่าง การศึกษา (Education) กับ “การเรียนรู้” (Learning) […]