ส่องเมืองอาเซียนจากหนังสารคดี “มะละกา-สีหนุวิลล์” ผลจากการพัฒนาขนาดใหญ่ของภาครัฐ

19/02/2021

เมืองเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้อาจจะไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงใหญ่โตในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่เมื่อมองภาพรวมจะเห็นได้ว่า เมืองที่เราอยู่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ โดยที่เราอาจจะค่อยๆ ปรับตัวไปจึงไม่ทันรับรู้ได้ว่าสิ่งที่เป็นอยู่คือผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงต่อเมืองหลายครั้งมาจากการพัฒนาของภาครัฐ ที่พยายามยกเอาผลกระทบเชิงบวก เช่น การสร้างรายได้ การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ ความทันสมัย เข้ามาเป็นตัวโน้มน้าวใจผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมนำมาซึ่งผลกระทบทั้งแง่บวกและแง่ลบ เพียงแต่ผลกระทบในแง่ลบอาจไม่สามารถวัดได้จากการกวาดตาเพียงครั้งเดียว แต่ต้องอาศัยระยะเวลาในการสังเกต ซึ่งจนกว่าจะสรุปออกมาได้ก็อาจจะสายเกินไป ลองดูตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในเมืองทั้ง 3 เมืองในอาเซียน ที่อาจสะท้อนให้เห็นว่าบางครั้งสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมคือการรับฟังซึ่งกันและกันของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และคนในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่สมดุลของการพัฒนาทั้งเชิงเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตไปจนถึงความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนของเมืองที่เราอยู่อาศัย หมายเหตุ: เรียบเรียงเนื้อหาจากเวทีเสวนาโต๊ะกลม “การเปลี่ยนแปลงของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อะไรคือบทบาทของพลเมือง” (Urban Changes in Southest Asia: what is the citizen’s role?) และภาพยนตรสารคดีซึ่งฉายบางส่วนในกิจกรรมค่ำคืนแห่งกรุงเทพฯ Bangkok’s Night of Idea ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ วันที่ 28 มกราคม 2563 เมืองยะโฮร์และเมืองมะละกา, มาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศที่รายล้อมไปด้วยทะเล […]

ทำไม Norman Foster มั่นใจว่า Covid-19 ทำให้เมืองสมาร์ตและเขียวขึ้น?

07/01/2021

จากข่าวการเริ่มใช้วัคซีน Covid-19 ทำให้หลายคนเริ่มคิดถึงการใช้ชีวิตในยุคหลังโควิดมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าการระบาดของ Covid-19 สร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกแง่มุมของการใช้ชีวิต ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การใช้ชีวิตรายบุคคลเท่านั้น แต่เมืองก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เมือง มีพลวัต ไม่ตายตัว การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอด Covid-19 จึงอาจไม่ใช่ตัวการหลักของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่เป็นเพียงเป็นเพียงแรงกระตุ้นให้การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วขึ้นเท่านั้น สถาปนิก Norman Foster เขียนไว้ใน The Guardian ว่า ในอดีตเมืองเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ดังเช่นกรุงปารีสและลอนดอนที่เคยเป็นมหานครที่ใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันก็ถูกแซงหน้าด้วยอีกหลายเมืองในทวีปเอเชียจึงกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของเมืองเกิดขึ้นทุกชั่วขณะ เป็นไปตามวิวัฒนาการและเทคโนโลยี Foster ยกตัวอย่างเหตุการณ์ไฟไหม้ในลอนดอนเมื่อปี 1666 ที่นำมาสู่การก่อสร้างตึกด้วยอิฐแบบทนไฟ หรือการระบาดของอหิวาตกโรคในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ทำให้ต้องวางระบบท่อประปาใหม่ทั้งเมือง เพื่อยกเลิกการใช้แม่น้ำเธมส์เป็นสถานที่ทิ้งสิ่งปฏิกูล หรือการเข้ามาของรถยนต์ที่ทำให้ถนนหนทางสะอาดขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็นำมาซึ่งมลพิษในปัจจุบัน ทุกเหตุการณ์ล้วนแล้วแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองไม่ช้าก็เร็ว ต่อให้ไม่มีไฟไหม้หรือการระบาดของอหิวาตกโรค ระบบการบำบัดน้ำเสียและการป้องกันอัคคีภัยก็คงเกิดขึ้นอยู่ดีในอีกไม่กี่ปีให้หลัง แม้ Covid-19 จะทำให้การใช้ชีวิตเราเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่อาจสรุปได้ว่าการใช้ชีวิตแบบรักษาระยะห่างจะกลายเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตหลังโควิด เพราะเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อย่างการระบาดครั้งใหญ่ของ Spanish Flu ในปี 1918 สิ่งที่ตามมาในช่วงปี 1920 กลับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ที่ตามมาด้วยการสร้างสถานที่พบปะใหม่ๆ อย่างห้างสรรพสินค้า […]

เมื่อโลกไม่แน่นอน เมืองจะพัฒนาอย่างไร ภาพอนาคตย่านกะดีจีน-คลองสานปี 2030 มีคำตอบ

02/12/2020

“ไม่มีฮีโร่คนเดียวในการขับเคลื่อนผลักดัน” เสียงของ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หรือ “อาจารย์แดง” ของเหล่าลูกศิษย์วิชาสตูดิโอวางผังชุมชนเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คุ้นเคยกันดีมาตลอดภาคการศึกษาที่ผ่านมา พยายามเน้นย้ำ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน ‘การนำเสนอสาธารณะร่างผังยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน’ ได้เข้าใจการทำงานของนักออกแบบผังเมือง ที่ต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชน เพราะพวกเขาไม่ใช่แค่เพียงผู้อยู่อาศัยและใช้งานเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะนักออกแบบเองก็อาจจะตกหล่นหรือลืมบางไอเดียที่อาจนำมาต่อยอดได้ เช่น โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ริเริ่มมาจากความคิดอันตรงไปตรงมาของ “ลุงประดิษฐ์ ห้วยหงส์ทอง” ประธานชุมชนวัดบุปผาราม ย่านกะดีจีน จนพัฒนามาเป็นสวนลอยฟ้าที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน และทำให้ดัชนีเมืองเดินได้สูงขึ้นมาทันตา อ้างอิงจากผลการศึกษาของ โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) โดย UddC-CEUS และ สสส. พบว่า ดัชนีเมืองเดินได้ในพื้นที่โดยรอบโครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นจาก 49 เป็น 76 คะแนนเต็มร้อย 12 ปีแห่งความร่วมมือฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน 12 ปีผ่านไปนับตั้งแต่ริเริ่มโครงการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน วันนี้การพัฒนายังไม่สิ้นสุด ไอเดียจากนิสิตได้เข้ามาต่อยอดความร่วมมือของทั้ง UddC-CEUS กรุงเทพมหานคร และชุมชนชาวกะดีจีน-คลองสานที่เข้ามาร่วมชมนิทรรศการและแสดงความคิดเห็นต่อผลงานของนิสิต ณ สุราลัยฮอลล์ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม […]

มารู้จัก Interaction Design และทำไม Google Maps ถึงรับมือรถเมล์ไทยไม่ได้

25/11/2020

เมื่อพูดถึง Interaction Design หรือ การออกแบบที่เน้นปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่ออกแบบและผู้ใช้งาน ฟังดูกว้าง และจับจุดได้ยากหากเราไม่ใช่นักออกแบบเสียเอง จริงๆ แล้ว Interaction Design ก็คลุมความหมายที่กว้างจริงๆ แต่ถ้ายกตัวอย่างที่ใกล้ตัวอย่างเช่นแอปพลิเคชันต่างๆ หลายคนคงร้องอ๋อ ด้วยความหมายที่กว้างทำให้ศาสตร์ของ Interaction Design เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการออกแบบอื่นๆ อย่างที่ Einar Sneve Martinussen ผู้เชี่ยวชาญด้าน Interaction Design จาก Oslo School of Architecture and Design บอกกับเรา อย่างไรก็ตาม Einar ชี้ให้เราเห็นว่าหัวใจหลักของ Interaction Design ที่กลายเป็นความแตกต่างจากการออกแบบโดยทั่วไป คือการออกแบบที่อยู่บนพื้นฐานว่าผู้ใช้งานจะมีปฏิกิริยาอย่างไร และวัตถุหรือผลงานการออกแบบนั้นจะโต้ตอบอย่างไร การสื่อสารไปมาระหว่างกันและกัน ดังนั้นคงจะไม่ผิดนักหากเมื่อเรามองในภาพกว้าง Interaction Design และ Urban Design หรือ การออกแบบเมือง จึงหนีกันไม่พ้น และต้องการการพัฒนาไปควบคู่กัน เพราะหากเราต้องการการออกแบบที่มุ่งตอบสนองผู้ใช้ในระดับเมือง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผู้คนที่พร้อมใช้งาน […]

เมืองสร้างยูนิคอร์น ยูนิคอร์นสร้างเมือง: เกาหลีใต้ผลักดันธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างไรให้สำเร็จเป็นอันดับ 4 ของโลก

11/11/2020

“วงการสตาร์ทอัพ ถ้าเป็นพื้นทรายแทนพื้นคอนกรีตก็คงจะดี ถ้าเป็นงั้นทุกคนคงทำธุรกิจได้ดีขึ้น” หนึ่งในตัวละครจากซีรีส์เกาหลี Start-Up ที่กำลังเป็นที่นิยม พูดออกมาเพื่อสะท้อนถึงความลำบากในการเริ่มและเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเปรียบว่าหากต้องล้มลงบนพื้นคอนกรีต ผู้ประกอบการหน้าใหม่ทั้งหลายคงต้องเจ็บตัว และหวาดกลัว ไม่กล้าลงแรงทำธุรกิจเต็มที่ แต่หากเป็นพื้นทรายที่ช่วยซับแรง ผู้ประกอบการคงไม่กลัวล้ม และเต็มที่ไปกับการทำธุรกิจมากขึ้น แม้จะไม่ใช่คำพูดของตัวละครหลักของเรื่อง แต่ก็สะท้อนมุมมองของธุรกิจสตาร์ทอัพได้เป็นอย่างดี ซีรีส์ทางเน็ตฟลิกซ์ Start-Up บอกเล่าเรื่องราวของคนหนุ่มสาวที่แข่งขันกันเพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยตัวเอง แต่การเริ่มต้นธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกเหนือจากไอเดียที่แปลกใหม่ ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และทำเงินได้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นได้คือเงินทุนและทรัพยากรสนับสนุน หลายครั้งที่แฟนๆ ซีรีส์เกาหลีอาจพอจับสังเกตได้ว่า เรื่องราวในซีรีส์เกาหลีหลายเรื่องพยายามกระตุ้นผู้ชมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น การสร้างภาพผู้ชายที่อบอุ่นเป็นสุภาพบุรุษเพื่อเสริมสร้างค่านิยมที่ดี การสร้างภาพระบบยุติธรรมที่เที่ยงตรงผ่านซีรีส์สืบสวนสอบสวน หรือการกระตุ้นให้ผู้ชมอยากผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการด้วยตัวเอง อย่างเช่นที่ซีรีส์เรื่อง Start-Up กำลังได้รับความนิยม แล้วทำไมเกาหลีใต้ถึงต้องการผลักดันเรื่องสตาร์ทอัพ ในเมื่อมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุง ฮุนได และ แอลจี ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งประเทศอยู่แล้ว? คำตอบก็คือ เกาหลีใต้มองว่าการพึ่งพาธุรกิจขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายถือเป็นความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว และธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้เติบโตช้าลงทุกที ปี 2017 ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีมุนแจอิน เกาหลีใต้ตั้งกระทรวงเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ (Startup (Ministry of SMEs and Startups) เพื่อให้การสนับสนุนโดยตรงแก่ผู้ประกอบการรายย่อย […]

Bologna: เมืองเรียนรู้เดินได้ มหาวิทยาลัยมีชีวิต

05/11/2020

ถนนอิฐที่ทอดเป็นแนวยาว อาคารบ้านช่องสีอิฐ พร้อมประตูไม้บานใหญ่ที่เห็นอยู่ตลอดทาง ผสมผสานกับลวดลายกราฟฟิตี และเสียงหัวเราะของเหล่านักเรียนนักศึกษา เป็นภาพที่ชินตาของ Bologna เมืองทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างนครแห่งศิลปะฟลอเรนซ์ และเมืองแห่งแฟชั่นอย่างมิลาน Bologna เป็นเมืองขนาดย่อมๆ ที่ผสมผสานทั้งประวัติศาสตร์ยาวนานและความทันสมัย ประชากรในตัวเมืองจำนวนเกือบ 4 แสนคน และกว่า 1 ล้านคนทั่วทั้งจังหวัด ประกอบด้วยชาวต่างชาติและนักศึกษาจำนวนมาก ทำให้ Bologna กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมและความหลากหลาย ชื่อของเมือง Bologna อาจคุ้นหูใครหลายๆคน เพราะเป็นชื่อเดียวกับมหาวิทยาลัย Bologna หรือ Alma Mater Studiorum หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดชองโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1088 แต่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่เหมือนกับที่เราคุ้นชินกัน เพราะตึกเรียนของสาขาวิชาต่างๆ กระจัดการจายไปทั่วทั้งเมือง เรียกได้ว่าทั้งเมืองคือมหาวิทยาลัย ไม่ว่าเดินไปที่ไหนก็จะเจอนักเรียนเข้าออกชั้นเรียนอยู่ทุกซอกมุมเมือง และด้วยความที่ไม่มีรั้วรอบกำหนดพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทำให้การเข้าเรียนในแต่ละวันของนักศึกษา คือการเดินไปยังห้องเรียนทั่วเมืองตามแต่วิชาที่ตัวเองเลือก และสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาให้สามารถเข้าเรียนได้ทุกคาบในทุกสภาวะอากาศไม่ว่าจะฝนตกหรือแดดออก ก็คือทางเดินมีหลังคาที่เรียกว่า Portici ที่เชื่อมต่อทุกอาคารบนถนนสายหลักในเมืองที่เริ่มจากใจกลางเมืองคือบริเวณจตุรัสกลางเมือง Piazza Maggiore และหอเอนคู่สัญลักษณ์ของเมือง กระจายออกไปสู่ประตูเมืองทั้ง 12 ประตู ที่ทำหน้าที่เป็นกำแพงล้อมเมืองและทางเข้าออกดั้งเดิม ทางเดินเหล่านี้เมื่อรวมทั้งในกำแพงเมืองและบางส่วนที่อยู่นอกเมือง […]

พิตต์สเบิร์ก (Pittsburgh) ฟื้นฟูเมืองอุตสาหกรรมอันถดถอย สู่เมืองวัฒนธรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ

16/10/2020

ที่ริมฝั่งแม่น้ำ Allegheny แสงไฟจากโรงละคร Byham ยามค่ำคืน เสียงพูดคุยจากผู้คนที่ยืนต่อแถวเข้าโรงละครอย่างไม่มีท่าทีร้อนใจ เวลาเกือบสามทุ่มเข้าไปแล้วแต่บรรยากาศในเมืองเล็กๆ ของรัฐเพนซิลเวเนียดูครึกครื้นเกินกว่าหลายคนคาดคิด ร้านรวงที่ยังคงเปิดให้บริการ พนักงานโรงละครยิ้มแย้มยามเอ่ยทักทายกับแขกของโรงละครอย่างคุ้นเคย ราวกับว่าเป็นเพื่อนที่คบกันมานาน แสงสีและความคึกคักทำให้ยากจะเชื่อว่า ครั้งหนึ่งที่เมืองนี้ เคยประสบกับภาวะภาคอุตสาหกรรมถดถอยจนทำให้ประชากรหายไปเกือบครึ่งเมือง พิตต์สเบิร์ก (Pittsburgh) เคยเป็นที่รู้จักในนาม Steel City (เมืองเหล็กกล้า) เนื่องด้วยอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่รุ่งเรืองในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ของสหรัฐอเมริกา ทำให้ Pittsburgh ผงาดขึ้นเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเต็มไปด้วยโรงงานการผลิตในปลายปี 1860  Pittsburgh กลายเป็นแหล่งอาชีพทั้งชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นกลาง ตึกสูงใจกลางเมือง สัญลักษณ์แห่งศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ตั้งตระหง่านหลัง Point state park ที่เป็นจุดบรรจบของ สองแม่น้ำสายหลักของรัฐเพนซิลเวเนีย แม่น้ำ Allegheny และแม่น้ำ Monongahela  ความรุ่งเรืองของ Pittsburgh ที่ยาวนานต่อเนื่องมากว่า 100 ปีก็ถึงคราวล่มสลายในช่วงปี 1970 ที่สหรัฐอเมริกาประสบกับภาวะภาคอุตสาหกรรมถดถอย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่ Pittsburgh ได้รับผลกระทบโดยตรง เกิดการปลดพนักงานทั้งชนชั้นแรงงานและพนักงานบริษัท บริษัทพากันเลิกกิจการ ฐานการผลิตย้ายถูกออกจากเมือง ส่งผลให้ประชากรที่เคยมีถึง […]