city



ส่อง 6 ฮอตสปอต นครโฮจิมินห์ซิตี เครื่องมือสร้างเมืองนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

20/05/2021

ภาพปกโดย Photo by Q.U.I on Unsplash รู้หรือไม่ กรุงเทพฯ มีแผนการพัฒนาย่านนวัตกรรมมากมายหลายพื้นที่ อาทิ ย่านรัตนโกสินทร์ ราชเทวี กล้วยน้ำไท ลาดกระบัง ปุณณวิถี ฯลฯ โดยมีเป้าหมายสำคัญให้ย่านนวัตกรรมเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองและประเทศ เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเวียดนาม ที่มีแนวคิดในการพัฒนาย่านนวัตกรรมเช่นเดียวกัน วันนี้เราจะพาไปดูการสร้างย่านนวัตกรรมในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามอย่าง “นครโฮจิมินห์ซิตี้” (Ho Chi Minh City) หลายคนอาจสงสัยว่าย่านนวัตกรรมมันคืออะไร? ข้อมูลของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ระบุว่า ย่านนวัตกรรม (Innovation District) เป็นแนวคิดใหม่ของการวางแผนและออกแบบพื้นที่และสังคมเมืองบนหลักการของการพัฒนาเมือง หรือย่านที่ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมให้รวมกันเป็นคลัสเตอร์ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและผู้ดำเนินกิจกรรมในย่าน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อผู้คนและไอเดียภายในย่าน (connecting) รวมถึงการมีกลไกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกัน (co-creation) แบ่งปันความรู้ระหว่างกัน (knowledge sharing) ของชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานในพื้นที่  โมเดลย่านนวัตกรรมแบบเกลียว 3 สาย (triple helix model of innovation […]

มหาวิทยาลัยสิงคโปร์รับมือโควิด-19 อย่างไรให้ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์มาแล้วเกือบ 1 ปี

19/01/2021

เมื่อปีที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินคำพูดคุ้นหูที่ว่า “อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ในปี 2020” การระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของผู้คนและเมืองเปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเดินทางสัญจรที่ทำได้ยาก และผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การดำเนินชีวิตของผู้คนจึงตั้งอยู่ความปกติใหม่ (New Normal) สิ่งนี้นับเป็นการเรียนรู้ครั้งสำคัญของสังคมโดยรวม การปิดทำการของสถานที่หลายแห่งเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ โดยเฉพาะสถานศึกษา โรงเรียน และมหาวิทยาลัย พื้นที่การเรียนรู้หลักของผู้คนในเมือง ก่อให้เกิดวิธีการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างการเรียนการสอนออนไลน์ นับเป็นปรับตัวครั้งใหญ่ของทั้งผู้เรียนและผู้จัดการศึกษา อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ล่าสุดได้ประกาศปิดที่ทำการทั้งในและนอกเขตกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3-31 มกราคม 2564 และให้มีการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาในรูปแบบออนไลน์ถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 (ตามประกาศวันที่ 2 มกราคม 2564) ตัวอย่างมาตรการรับมือกับโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา ที่สำนักข่าว The New York Times ยกเป็นให้กรณีศึกษา คือมหาวิทยาลัยหลักทั้งสามแห่งของประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management […]

เมื่อโลกไม่แน่นอน เมืองจะพัฒนาอย่างไร ภาพอนาคตย่านกะดีจีน-คลองสานปี 2030 มีคำตอบ

02/12/2020

“ไม่มีฮีโร่คนเดียวในการขับเคลื่อนผลักดัน” เสียงของ ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) หรือ “อาจารย์แดง” ของเหล่าลูกศิษย์วิชาสตูดิโอวางผังชุมชนเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่คุ้นเคยกันดีมาตลอดภาคการศึกษาที่ผ่านมา พยายามเน้นย้ำ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน ‘การนำเสนอสาธารณะร่างผังยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน’ ได้เข้าใจการทำงานของนักออกแบบผังเมือง ที่ต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชน เพราะพวกเขาไม่ใช่แค่เพียงผู้อยู่อาศัยและใช้งานเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะนักออกแบบเองก็อาจจะตกหล่นหรือลืมบางไอเดียที่อาจนำมาต่อยอดได้ เช่น โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ริเริ่มมาจากความคิดอันตรงไปตรงมาของ “ลุงประดิษฐ์ ห้วยหงส์ทอง” ประธานชุมชนวัดบุปผาราม ย่านกะดีจีน จนพัฒนามาเป็นสวนลอยฟ้าที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน และทำให้ดัชนีเมืองเดินได้สูงขึ้นมาทันตา อ้างอิงจากผลการศึกษาของ โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) โดย UddC-CEUS และ สสส. พบว่า ดัชนีเมืองเดินได้ในพื้นที่โดยรอบโครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นจาก 49 เป็น 76 คะแนนเต็มร้อย 12 ปีแห่งความร่วมมือฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน 12 ปีผ่านไปนับตั้งแต่ริเริ่มโครงการฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน วันนี้การพัฒนายังไม่สิ้นสุด ไอเดียจากนิสิตได้เข้ามาต่อยอดความร่วมมือของทั้ง UddC-CEUS กรุงเทพมหานคร และชุมชนชาวกะดีจีน-คลองสานที่เข้ามาร่วมชมนิทรรศการและแสดงความคิดเห็นต่อผลงานของนิสิต ณ สุราลัยฮอลล์ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม […]

พื้นที่สาธารณะ เลนจักรยาน อาคารทิ้งร้าง สร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร ชวนศึกษา 5 เมืองทั่วโลกที่อยากเห็นผู้คนฉลาดขึ้น

01/12/2020

บทความดัดแปลงจากรายงานความคืบหน้าโครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต (The Future of Learning City) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล / อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ / ธนพร โอวาทวรวรัญญู / อคัมย์สิริ ล้อมพงษ์ / บุษยา พุทธอินทร์ / พิชนา ดีสารพัด Andrew Harrison และ Les Hotton ได้กล่าวถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพ ภายใต้กรอบแนวคิด ภูมิทัศน์การเรียนรู้ (learning landscape) เพื่อส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้แห่งอนาคตว่า การสร้างภูมิทัศน์การเรียนรู้ตั้งอยู่บนหลักความเชื่อที่ว่า พื้นที่ไม่ได้มีบทบาทเป็นเพียงภาชนะสำหรับการเรียนหรือการทำงาน แต่ยังแสดงออกถึงวัฒนธรรม ตลอดจนเสริมคุณค่าและความเชื่อขององค์กรและบุคคลที่เป็นสมาชิก ดังนั้น หลักการออกแบบสภาพแวดล้อมกายภาพจึงไม่ควรเน้นที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่านั้น แต่ยังควรเน้นไปที่การแสดงออกถึงคุณค่าและหลักปรัชญา ความชัดเจนของภูมิทัศน์การเรียนรู้ที่ปรากฏผ่านทั้งในระดับผังและสถาปัตยกรรมจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (sense of belonging) ของกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในองค์รวม และจะเป็นแรงดึงดูดผู้เรียนให้คงอยู่สภาพแวดล้อมกายภาพ องค์ประกอบของเมืองที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ภูมิทัศน์ของการเรียนรู้แห่งอนาคต ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัจจัยที่กระตุ้นทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อน […]

เมืองแห่งการเรียนรู้คืออะไร เมื่อการเรียนรู้ > การศึกษา

03/11/2020

เรียบเรียงจากการบรรยายวิชาการ โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และข้อเสนอโครงการศึกษาบทบาท ศักยภาพ และพัฒนาดัชนีชี้วัดการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต (The Future of Learning City) โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล / อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ / ธนพร โอวาทวรวรัญญู  กิจกรรม การเรียนรู้ > การศึกษา โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ “เมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต” (The Future of Learning City) ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้/พื้นที่เรียนรู้ (Learning Provider) กับผู้เรียนรู้ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนนิยามและกำหนดความหมายของคำว่า “เมืองแห่งการเรียนรู้” (Learning City) ผ่านกระบวนการสนทนากลุ่ม […]

พิตต์สเบิร์ก (Pittsburgh) ฟื้นฟูเมืองอุตสาหกรรมอันถดถอย สู่เมืองวัฒนธรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ

16/10/2020

ที่ริมฝั่งแม่น้ำ Allegheny แสงไฟจากโรงละคร Byham ยามค่ำคืน เสียงพูดคุยจากผู้คนที่ยืนต่อแถวเข้าโรงละครอย่างไม่มีท่าทีร้อนใจ เวลาเกือบสามทุ่มเข้าไปแล้วแต่บรรยากาศในเมืองเล็กๆ ของรัฐเพนซิลเวเนียดูครึกครื้นเกินกว่าหลายคนคาดคิด ร้านรวงที่ยังคงเปิดให้บริการ พนักงานโรงละครยิ้มแย้มยามเอ่ยทักทายกับแขกของโรงละครอย่างคุ้นเคย ราวกับว่าเป็นเพื่อนที่คบกันมานาน แสงสีและความคึกคักทำให้ยากจะเชื่อว่า ครั้งหนึ่งที่เมืองนี้ เคยประสบกับภาวะภาคอุตสาหกรรมถดถอยจนทำให้ประชากรหายไปเกือบครึ่งเมือง พิตต์สเบิร์ก (Pittsburgh) เคยเป็นที่รู้จักในนาม Steel City (เมืองเหล็กกล้า) เนื่องด้วยอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่รุ่งเรืองในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ของสหรัฐอเมริกา ทำให้ Pittsburgh ผงาดขึ้นเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเต็มไปด้วยโรงงานการผลิตในปลายปี 1860  Pittsburgh กลายเป็นแหล่งอาชีพทั้งชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นกลาง ตึกสูงใจกลางเมือง สัญลักษณ์แห่งศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ตั้งตระหง่านหลัง Point state park ที่เป็นจุดบรรจบของ สองแม่น้ำสายหลักของรัฐเพนซิลเวเนีย แม่น้ำ Allegheny และแม่น้ำ Monongahela  ความรุ่งเรืองของ Pittsburgh ที่ยาวนานต่อเนื่องมากว่า 100 ปีก็ถึงคราวล่มสลายในช่วงปี 1970 ที่สหรัฐอเมริกาประสบกับภาวะภาคอุตสาหกรรมถดถอย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่ Pittsburgh ได้รับผลกระทบโดยตรง เกิดการปลดพนักงานทั้งชนชั้นแรงงานและพนักงานบริษัท บริษัทพากันเลิกกิจการ ฐานการผลิตย้ายถูกออกจากเมือง ส่งผลให้ประชากรที่เคยมีถึง […]

3 ย่าน: เยาวราช/เพลินจิต/พระประแดง ในความนึกคิดของนิสิตผังเมือง

20/08/2020

ย่านแต่ละย่านต่างมีรสชาติเป็นของตัวเอง มีทั้งเรื่องราว เรื่องเล่า การออกแบบที่สะท้อนบุคลิกของผู้คนที่อาศัยอยู่ The Urbanis ชวนสำรวจ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเยาวราช ย่านเก่าแก่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก, เพลินจิต ย่านธุรกิจใจกลางเมือง และพระประแดง ย่านที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านมุมมองของนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ทั้ง 3 คน เตรียมผูกเชือกรองเท้าให้พร้อมแล้วเดินสำรวจพร้อมกันในบทความนี้ได้เลย… A neighborhood/ศุภิฌา สุวรรณลักษณ์ ว่าด้วยความเป็นย่าน ย่านเปรียบเสมือนหน่วยย่อยของพื้นที่ทางสังคมของเมือง การเกิดย่านของมนุษย์นั้นเกิดจากกระบวนการที่ประกอบสร้างขึ้นตามความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้คนในย่าน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสาธารณะ แต่ทั้งนี้การจะพัฒนาเมืองไปสู่สิ่งที่สร้างความสุขในการใช้ชีวิตได้จริงนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย หากในกระบวนการวางผังเมืองหรือการก่อสร้างตึกอาคารละเลยที่จะคำนึงถึงหนึ่งในหัวใจสำคัญที่สุดของเมือง นั่นคือ การกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเมือง ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่สำนึกของชุมชนจนถึงระดับย่านที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ย่านที่ดีประกอบไปด้วยผู้คน กิจกรรม และเวลาอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างในแต่ละพื้นที๋สภาพแวดล้อมทางกายภาพของย่าน ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน เช่น สถาปัตยกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ระบบเศรฐกิจ-สังคม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา อาหาร เป็นต้น โดยย่านเยาวราชนั้น มีองค์ประกอบดังที่กล่าวข้างต้นที่ทำให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกย่านนี้สามารถที่จะรับรู้ได้ถึงการเข้าย่าน-ออกย่านหรือความเป็นย่านได้เป็นอย่างดี แสดงให้เห็นถึงการทำให้ผู้คนมีความรู้สึกและรับรู้ได้ถึงการ ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของย่านเยาวราชได้อย่างชัดเจน […]

โบกมือลารถรา Net City ออกแบบเมืองใหม่ในเซินเจิ้นให้คนเดินถนนเป็นศูนย์กลาง

07/08/2020

“โอ้โฮ นี่หรือบางกอกผิดกับบ้านนอกตั้งหลายศอก หลายวารถราแล่นกันวุ่นวายมากกว่าฝูงควายฝูงวัวบ้านนา” เพลงโอ้โฮบางกอกเป็นอีกหนึ่งเพลงที่สะท้อนอิทธิพลของรถยนต์ในเมืองกรุงได้เป็นอย่างดี ในอดีตรถหรือถนนอาจจะเป็นหลักฐานของความเจริญที่เข้ามาถึง แต่ปัจจุบันและอนาคตอาจไม่ใช่อีกต่อไป หลายประเทศเริ่มออกแบบให้เมืองปราศจากถนนขนาดใหญ่ จำกัดจำนวนรถยนต์ด้วยเหตุผลทั้งทางสิ่งแวดล้อม และเหตุผลเรื่องการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เหมือนอย่าง Net City เมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่ในเซินเจิ้นที่ออกแบบให้คนเดินถนนและนักปั่นจักรยานเป็นศูนย์กลางของเมือง เนื้อที่กว่า 2 ล้านตารางเมตร ส่วนหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น หนึ่งในมหานครชื่อดังของโลกถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทั้งที่ตั้งสำนักงานของ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ในจีน ผู้อยู่เบื้องหลังแอปพลิเคชัน Wechat และบริการรับ-ส่งข้อความทางอินเทอร์เน็ตอย่าง QQ รวมไปถึงออกแบบให้มีที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ เพื่อรองรับคนกว่า 80,000 คน โดยปกติในหลายเมืองใหญ่ พื้นที่มากกว่าครึ่งจะถูกใช้ไปกับถนนและลานจอดรถยนต์ แต่โจนาธาน วาร์ด พาร์ตเนอร์ผู้ออกแบบจาก NBBJ บริษัทที่ชนะการแข่งขันบอกเล่าว่าเมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับคนเดินเท้า คนปั่นจักรยาน เต็มไปด้วยสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวที่คนสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ง่ายขึ้น และยังเป็นแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำในช่วงมรสุม  สำหรับคอนเซปต์พื้นฐานการจำกัดการจราจรในท้องถนนที่จะหยิบมาใช้ในการออกแบบนั้นคล้ายกับซูเปอร์บล็อกในเมืองบาร์เซโลนา “ถ้าคุณแยกส่วนมันจะมองเป็น 6 บล็อก แต่ละบล็อกจะล้อมไปด้วยถนนใหญ่อย่างที่คุณจะเห็นเป็นปกติในเซินเจิ้น แต่พวกเราจะรวมทั้ง 6 บล็อกเข้าด้วยกันเพื่อให้มีพื้นที่ถนนใหญ่เฉพาะรอบนอก ส่วนถนนด้านในจะเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินแทน” วาร์ดบอกเล่าว่าตึกยังคงสามารถเขาถึงโดยรถยนต์ในรอบนอก ส่วนที่จอดรถจะอยู่ใต้ใต้ดิน ทำให้การขับรถไม่จำเป็นอีกต่อไป  เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ใหม่แห่งนวัตกรรมและพื้นที่แห่งความสุขเพื่อใช้ชีวิตและทำงาน “สิ่งหนึ่งที่จะต้องจำกัดคือจำนวนของรถยนต์” […]