การใช้ชีวิตในเมือง



ย่านไหน อยู่เย็นจัง แถมตังค์อยู่ครบ

01/09/2020

ตลอดเดือนที่ผ่านมา แทบทุกครั้งที่เราเจอคนอื่น คำว่าร้อนมักขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาอยู่เสมอ ในขณะที่ประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนชื้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่อุณหภูมิเฉลี่ยก็ยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกไปจากนี้ มหาสมุทรแปซิฟิกในปีนี้มีภาวะเอลนีโญ่ ซึ่งทำให้ประเทศไทยรวมถึงประเทศต่างๆ ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแห้งและร้อนกว่าปกติ หลายต่อหลายหนความร้อนในประเทศไทยมีพลังสูงส่งทำให้ความคิดอยากเดิน อยากวิ่ง หรืออยากปั่นจักรยานต้องพ่ายแพ้ไปโดยปริยาย บางครั้งเมื่อเราอยากจะอาบน้ำก็ยังต้องรอให้น้ำที่ตากแดดอยู่ในแทงค์น้ำบนหลังคาบ้านหายร้อนก่อนจึงจะอาบได้ มิหนำซ้ำ อาบน้ำเสร็จแล้วก็กลับมาเหงื่อชุ่มอีกเหมือนเดิม โฆษณาการท่องเที่ยวต่างๆ ก็มักจะไม่พ้นคำโปรยว่า “หนีร้อน” เพื่อที่จะชักจูงคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศที่มีอากาศเย็นกว่าบ้านเรา และถึงแม้คำว่า ”แช่แอร์” จะฝืนธรรมชาติแค่ไหนก็ตาม มันก็เริ่มกลายเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในวิถีชีวิตคนไทย จะว่าไป ฤดูกาลที่แพงที่สุดก็คงหนีไม่พ้นฤดูร้อน ไหนจะค่าหนีร้อนไปเที่ยวทะเลหรือเที่ยวต่างประเทศ ค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือแท็กซี่สำหรับคนที่ปกติไม่ได้ใช้ หรือค่าน้ำที่สูงขึ้นจากการเล่นน้ำสงกรานต์และการอาบน้ำที่ถี่ขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่สุดในช่วงฤดูร้อนก็คงหนีไม่พ้นค่าไฟฟ้า กราฟโทนสีแดงด้านล่างแสดงปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนต่อเดือนของพื้นที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ซึ่งรวมถึงพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี และกราฟโทนสีเขียวแสดงปริมาณการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งรวมถึงจังหวัดที่เหลือในประเทศไทย โดยเส้นสีอ่อนเป็นปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปีพ.ศ. 2555 และเข้มขึ้นเรื่อยมาจนถึงปีพ.ศ. 2560 เราจะเห็นได้ว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากเส้นสีเข้มของแต่ละปีที่จะกว้างออกเรื่อยๆ นอกจากนี้ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะลดต่ำที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม และจะสูงที่สุดในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความร้อนกับปริมาณการใช้ไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กันโดยตรง เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว การติดเครื่องปรับอากาศ หรือที่เรามักเรียกกันว่าแอร์ ในบ้านเป็นเรื่องที่หาได้ยาก […]

When the Office is Dead – เมื่อออฟฟิศกำลังจะตาย ในโลกใหม่ของการทำงาน

24/08/2020

ว่ากันว่า ออฟฟิศยุคใหม่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน ให้จับตามองเหล่าบรรดาสตาร์ตอัพและบริษัทเทคโนโลยีในซิลิคอน แวลลีย์ หรือเมืองที่เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั่วโลก Google และ Facebook, สองยักษ์ใหญ่แห่งวงการเทคโนโลยี, ประกาศอนุญาตให้พนักงานของพวกเขาทำงานจากบ้านได้จนถึงสิ้นปี (BBC, 2020) Twitter เองก็แจ้งในอีเมลถึงพนักงานของบริษัทว่าสามารถทำงานจากบ้านได้ “ตลอดไป” หรือ “ตราบเท่าที่เห็นควร” ออฟฟิศก็ยังพร้อมจะเปิดรับ หรือจะทำงานที่บ้านต่อไปก็แล้วแต่การตัดสินใจของตัวพนักงานเองเพราะที่ผ่านมาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานก็ไม่ได้ลดลง จึงไม่เห็นว่าการเข้าออฟฟิศเป็นเรื่องที่สำคัญเท่าไหร่อีกต่อไป (Techcrunch, 2020) ในทางตรงกันข้าม บริษัทเทคโนโลยีใดที่ไม่มีมาตรการรองรับการทำงานจากที่บ้านกลับถูกวิจารณ์อย่างหนัก เช่น IBM ซึ่งเคยเป็นผู้บุกเบิกการทำงานจากที่บ้านมาก่อนเพื่อน แต่ดันยกเลิกโครงการไปในปี 2017 (Business, 2017) หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เงอะงะในการปรับต่อไปสู่การ work from home เช่น Accenture, ATT, Cognizant, Epic Systems, Tesla, SpaceX และ Wells Fargo (Medium, 2020) ก็ถูกประนามโดย David Heinemeier Hansson ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp (แพลตฟอร์มจัดการโปรเจ็กออนไลน์) […]

บางประทุน(นิยม) ในวันที่ชีวิตริมคลองต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง

24/07/2020

ภาพ : พูลสวัสดิ์ สุตตะมา จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เสียงคำรามของเครื่องยนต์ดังลั่นลอยมาให้ได้ยิน ไม่กี่อึดใจเรือหางยาวก็แล่นฝ่าน้ำเข้ามาเทียบท่า  เท้าเหยียบซีเมนต์ก่อนจะก้าวข้ามไปบนพื้นเรือ  “บางประทุนเปลี่ยนไปมาก” คำทักทายแรกที่ได้ยิน “ทางที่ดีใช่ไหมพี่” ผมเอ่ยถาม  …! รับรู้ความหมายได้จากรอยยิ้มอ่อนพร้อมอาการส่ายหน้าน้อยๆ ของเขา เรือแล่นไปข้างหน้า ผมเหลือบมองสายน้ำทั้งสองฝั่ง สีของน้ำที่เปลี่ยนไป ขยะเกลื่อนลอยปะปน ผิดกับเมื่อครั้งที่ผมเคยมาเยือนคลองนี้เพื่อสำรวจความอุดมสมบูรณ์ ระยะเวลาแค่ปีเดียวเหมือนจะไม่นานแต่นั่นมากพอจะทำให้บางประทุนเปลี่ยนไปมากตามคำเขาว่า เขาในวันนี้ไม่ต่างจากวันที่เจอกันครั้งแรก รูปร่างกำยำท้วมสูง ทะมัดทะแมง มองดูก็รู้ว่าเป็นลูกชาวสวนที่ใช้แรงเป็นกิจวัตรประจำวัน เขาที่ว่าผู้ใหญ่ในชุมชนเรียก ไอ้ ส่วนเด็กๆ เรียก ครู เป็นคนในชุมชนบางประทุนที่คอยเป็นกระบอกเสียงของคนริมคลอง บอกเล่าความสำคัญของชีวิตริมสายน้ำ เก็บรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ปลูกฝังรากฐานให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงวิถีชีวิต พยายามรักษาบางประทุนให้คงอยู่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาของความศิวิไลซ์ เคลื่อนเรือไปไม่ถึงนาที เสียงเครื่องยนต์สงบลง จอดเทียบท่าให้ก้าวขึ้นฝั่งอีกครั้ง เขาเปิดประตูนำเข้าไปในบ้านไม้สองชั้นอายุมาก ที่ก่อนหน้านี้เคยตั้งใจจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บวัตถุมีคุณทางจิตใจของชาวชุมชน จำพวกภาพถ่ายในครั้งอดีต อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่สะสมไว้เป็นเครื่องเตือนความทรงจำ เมื่อวันใดวันหนึ่งที่ความเจริญจะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่มากกว่าที่เคยเป็น แต่ความตั้งใจนั้นต้องถูกพับเก็บ เเพราะที่ดินแปลงนี้มีเจ้าของโฉนดเป็นคนนอกชุมชน เมื่อไหร่เจ้าของที่ดินเรียกคืน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จะสูญเปล่า บ้านหลังนี้ไร้สมบัติประเภท เงิน ทอง แต่มรดกอย่างหนึ่งซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบันคือ พื้นที่สวน ว่ากันว่านี่คือ สวนซึ่งดูจะสมบูรณ์มากที่สุดในย่านบางประทุน แต่อย่างที่บอกไป สวนแห่งนี้เจ้าของโฉนดไม่ใช่คนในชุมชนบางประทุนอีกแล้ว  “สวัสดีลุง” ผู้นำทางเอ่ยทักทายเจ้าของสวนที่กำลังขะมักเขม้นอยู่กับการพรวนดิน  […]

วินของคนเมือง ฟันเฟืองที่ขาดไม่ได้

21/07/2020

ภาพ : พี่เขียว (วินมอเตอร์ไซค์) หากเปรียบเมืองเป็นเครื่องจักรใหญ่ๆ สักเครื่อง ระบบขนส่งมวลชนก็คงเป็นฟันเฟืองที่ทำให้คนเมืองสามารถไปทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างบรรลุเป้าหมาย ด้วยผังเมืองที่ไม่ได้ออกแบบให้เราเดินทางได้สะดวกนัก ผู้ช่วยที่ดีที่สุดในยามที่เราต้องเข้าซอยลึกหรือรีบเร่งไปทำงานคงจะหนีไม่พ้น “พี่วินมอเตอร์ไซค์” ที่จะยืนรอผู้โดยสารประจำจุดเดิมในทุกๆ วัน บทบาทของวินมอเตอร์ไซค์ในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่แค่เพียงขับรถรับ – ส่งผู้โดยสารเท่านั้น แต่วินบางคนยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการช่วยจัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน จนไปถึงเรื่องใหญ่ๆ ที่ต้องอาศัยความไว้ใจด้วย ความสัมพันธ์แบบนี้เองที่หาไม่ได้ในขนส่งมวลชนประเภทอื่นๆ จึงไม่แปลกใจที่วินมอเตอร์ไซค์จะได้ใจคนเมือง ชวนคุยและดูภาพถ่ายของ ‘พี่เขียว’ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ทำอาชีพนี้ด้วยหัวใจมายาวนานนับ 10 ปี ตั้งแต่ประสบการณ์ชีวิต มุมมองต่อการทำงาน ไปจนถึงเปิดอกคุยปัญหาและตอบทุกข้อสงสัย  ผลกระทบจากโควิดที่วินมอเตอร์ไซค์ได้เจอ / ทำไมวินต้องมีปัญหากับคนขับบริษัทขนส่งเอกชน / โดนผู้โดยสารผู้ชายคุกคามทางเพศทำอย่างไรได้บ้าง / ชอบชวนคุยตอนขับรถแล้วได้ยินเสียงลูกค้าไหม ฯลฯ ชื่อ : พี่เขียวอายุ : 37 ปีอาชีพ : มอเตอร์ไซค์รับจ้างประสบการณ์ : 10 ปี ตารางประจำวัน5:30 น. รับลูกค้าประจำเจ้าแรก6:00 – 7:00 […]

เมื่อรถยนต์คือแขกรับเชิญ ในเมืองจักรยาน อัมสเตอร์ดัม

21/07/2020

ภาพ : กรกฎ พัลลภรักษา Pete Jordan ผู้แต่งหนังสือเรื่อง City of Bikes กล่าวว่า “พวกเยอรมันเกลียดคนอัมสเตอร์ดัมที่ขี่จักรยานเหลือเกิน” เพราะขวางการเคลื่อนขบวนรถทหารบนถนน แต่ความจริงแล้ว Jordan เขียนว่า “นี่เป็นวิธีการแสดงการขัดขืนต่อพวกนาซี และแสดงความสาแก่ใจ จากสามัญชน ที่สามารถขัดขวางพวกนาซีได้” เพราะการขี่จักรยานนั้น เป็นการคมนาคมหลักของประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงนาซีเข้ามาครอบเมืองในช่วงประมาณ 1940  ถึงวันนี้คนขับรถ หรือคนเดินถนนในอัมสเตอร์ดัมเอง ก็หวั่นเกรงคนขี่จักรยาน เพราะการใช้จักรยานในอัมสเตอร์ดัมคือพาหนะในการเดินทางหลัก และมีมากกว่า 880,000 คัน ขณะที่จำนวนรถยนต์มีน้อยกว่าถึง 4 เท่า   ถ้าใครเคยดูหนังสารคดีเรื่อง Rijksmuseum คงจะจำได้ว่า การซ่อมแซมบูรณะพิพิธภัณฑ์นั้นใช้เวลายาวนานมาก เพราะแต่ละขั้นตอนของการออกแบบและก่อสร้าง จะต้องมีการขอความเห็น และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนใช้จักรยาน นักกิจกรรมจักรยานนั้นเสียงดังเอาเรื่อง เพราะถือว่าเป็นเสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์มากพอกับเสียงส่วนอื่นด้วย ดังนั้น การออกแบบของพิพิธภัณฑ์ไรกส์นั้น จึงจำเป็นที่ต้องทำให้ทุกฝ่ายพอใจ จนในที่สุดผู้ใช้จักรยานก็สามารถขี่ผ่านส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย เพื่อนของเรา เป็นคนแรกที่ขี่จักรยานเข้าพิพิธภัณฑ์ไรกส์เป็นคนแรก Tania มารู้ก็ตอนที่ตัวเองได้ออกเป็นข่าวไปแล้ว! ดูเหมือนจะไม่ได้ใส่ใจ แต่ใช้สิทธิธรรมดาๆ ในการใช้ถนนบนอานจักรยาน  อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่ฉันหลงรักทันทีตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ไปพบ และทำให้เป็น loveaffair ระหว่างตัวฉันกับเมือง เพราะคลอง ถนนเล็กๆ จักรยาน และ Dutch Mentality หรือทัศนคติของคนดัตช์ จะเริ่มต้นอธิบายทัศนคติที่ว่าอย่างไรดี? ส่วนมากแล้ว เพื่อนคนดัตช์ในอัมสเตอร์ดัม หรือคนอัมสเตอร์ดัมที่พบและรู้จักนั้น ถ้าเปรียบเป็นดอกไม้เหมือนทานตะวัน มากกว่าทิวลิปที่เป็นเหมือนโลโก้ของประเทศ […]

หมองกลิ่นเมืองเหงา

14/07/2020

ภาพข่าวที่ชวนให้สะเทือนใจเมื่อไม่นานมานี้คือ ภาพแม่ค้าที่ตลาดนั่งลงกับพื้นถนนไหว้อ้อนวอนผอ.เขต กับเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ออกมาไล่รื้อแผงลอยค้าขายที่ตลาดลาวย่านคลองเตยในช่วงเวลาประมาณสามทุ่ม ในขณะที่เวลาสี่ทุ่มคือเวลาเคอร์ฟิว ถ้อยคำร้องทุกข์ของพ่อค้าแม่ค้าคือ ตอนนี้ก็ทำมาหากินยากอยู่แล้ว ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา และถูกซ้ำเติมจากมาตรการปิดเมืองเพื่อรับมือกับโควิด 19 ทำไมกทม. ถึงจะมาบีบให้คนทำมาหากินที่ลำบากอยู่แล้วต้องเผชิญกับสภาวะจนตรอกมากขึ้น ส่วนทางกทม. นั้นก็มีคำอธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ทวงคืนทางเท้า” ของกทม. โดยอธิบายว่า ทางเท้านี้ถูกยึดไปเป็นตลาดมานานกว่า 30 ปี มีความพยายามไล่รื้อมาตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ เดือนพฤษภาคมพยายามอีกครั้งก็ทำให้เราเห็นภาพชวนสะเทือนใจ นั่นคือ ภาพแม่ค้านั่งกลางถนนยกมือไหว้อ้อนวอนขอพื้นที่สำหรับทำมาหากิน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการปะทะกัน ระหว่างคนค้าขายบนพื้นที่ที่ฉันอยากจะเรียกมันว่าพื้นที่อันกำกวม นั่นคือ พื้นที่ริมถนน และทางเท้า กับเทศกิจและกทม. (และจังหวัดอื่นๆ ด้วย) นอกจากจะไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ภาพแม่ค้าวิ่งหนีเทศกิจยังกลายเป็นภาพคลาสสิค สถาปนาพล็อตในหนัง ในการ์ตูน ในเรื่องสั้น ในละคร มีชีวิตอยู่ใน pop culture ของไทย จนเรารู้สึกไปโดยปริยายว่า มีทางเท้าก็ต้องมีรถเข็นขายของ มีรถเข็นขายของก็ต้องมีเทศกิจ เป็นเนื้อคู่กระดูกคู่กัน คำถามของฉันคือ ทำไมเราปล่อยให้มันกำกวม? และรถเข็น หาบเร่ แผงลอย ทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ ดำเนินการอยู่โดยปราศจาก “การจัดการ” จริงๆ […]

เติบโตจากการใช้ชีวิตในต่าง ‘เมือง’ : คุยกับลูกเรือในวันที่ COVID-19 ทำให้ต้องหยุดบิน

15/06/2020

หากนึกดูให้ดี ‘สายการบินระหว่างประเทศ’ แท้จริงแล้วคือ ‘สายการบินระหว่างเมือง’ ไฟลท์บินระหว่างไทย – อังกฤษ ส่วนใหญ่คือ การเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ – ลอนดอน เช่นเดียวกับไฟลท์บินไทย – สิงคโปร์ ย่อมไม่ใช่อะไรอื่นใดระหว่างการเชื่อมสองมหานครหลวงของทั้งสองประเทศ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่อาชีพบนเครื่องบินเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน เพราะอาชีพนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็น ‘บ้าน’ และ ‘เมือง’ หลายแบบ การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบโดยตรงทุกประเทศทั่วโลก บางสายการบินถึงกับล้มละลาย เนื่องจากมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายโดยไม่มีรายได้เข้ามา การปรับลดต้นทุนและใช้มาตราการฉุกเฉินอาจทำให้รอดจากสภาวะนี้ หากแต่เรายังไม่รู้ว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดจะจบลงตรงไหน นับว่าเป็นอีกวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่อุตสาหกรรมและบุคลากรทางการบินได้เผชิญ ในขณะที่ใครหลายคนสามารถ work from home ได้ แต่ดูเหมือนว่า โอปอล์ – ศศินันท์ บุญเฉียน ลูกเรือสายการบินแห่งหนึ่งไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ดูเผินๆ ก็ไม่มีอะไรแปลก เพราะเมื่อเครื่องบินบินไม่ได้ ลูกเรือก็ต้องหยุดงาน ทว่าโอปอล์ต้องประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ‘เมือง’ ที่ไม่ใช่ ‘บ้าน’ ของเธอ อย่างผู้อยู่อาศัย แม้จะมีทางเลือกให้เธอกลับ ‘บ้าน’ ได้แต่ก็มีหลายเหตุผลให้โอปอล์เลือกที่จะอยู่ที่นี่ น่าสนใจว่า มุมมองต่อ […]

Urban design ทำให้กรุงเทพฯ เย็นลง 2°C ได้อย่างไร

01/11/2019

ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัดที่เราต่างรู้สึกว่าอากาศร้อนๆ เป็นของคู่กับกรุงเทพฯ ความร้อนของชนบทที่มากกว่าในเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องที่คิดกันไปเอง เพราะ เซน – กิตติณัฐ พิมพขันธ์ นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนงานวิจัยที่ผ่านๆ มาแล้วพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นที่กลางเมืองกับพื้นที่ชนบทนั้นต่างกันมากกว่า 6 องศาเซลเซียส สภาวะแบบนี้มีชื่อเรียกว่า เกาะความร้อนเมือง (urban heat island)  ซึ่งมีสาเหตุหลักอยู่ 2 ปัจจัย คือ การเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินจากการพัฒนาเมือง อีกส่วนหนึ่งความร้อนที่ปล่อยออกจากการใช้พลังงานอาคาร กิจกรรมการสัญจรโดยรถยนต์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงระดับการเพิ่มของก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global heating) เมื่อดูข้อมูลเจาะจงในพื้นที่เมืองช่วง 30 ปีย้อนหลัง ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 0.6 องศาเซลเซียส “สภาวะน่าสบาย” ของเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ นั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 28-31 องศาเซลเซียส แต่หากดูค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิในเมืองหลวงเกินสภาวะน่าสบายไปที่ 2-3 องศาเซลเซียส นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงรู้สึกร้อนสุมทรวง ต้องหามุมหลบในซอกหลืบเงาร่มของอาคาร งาน Thesis ของเซนจึงพยายามใช้ความรู้ด้าน Urban design และ […]