ฉัน สามล้อ และความสงบในซอย

24/07/2020

นอกจากจะเป็นจังหวัดที่ติดกับกรุงเทพแบบแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ฉันว่าเมืองนนท์ (หรือหากจะเรียกอย่างเต็มยศก็คือ จังหวัดนนทบุรี) ยังมีความกึ่งเมือง กึ่งต่างจังหวัดอยู่ในตัว ยังมีเขตบ้านดั้งเดิมที่เชื่อมต่อแทบจะเป็นเนื้อเดียวกับชุมชน เช่นซอยบ้านฉัน หรือซอยเพื่อนบ้านอย่างเรวดี ที่แค่ซอยเดียวก็อัดแน่นไปด้วยสารพัดสิ่ง เป็นทุกอย่างให้แล้ว ตั้งแต่หน้าสงกรานต์ที่เปลี่ยนซอยธรรมดาๆ เป็นเขตมิคสัญญีระดับมีคนตายกันทุกปี จนในที่สุด จังหวัดต้องออกมาห้าม -ไม่ใช่ห้ามเล่นสงกรานต์- แต่ห้ามคนนอกเข้าไปใช้ถนนในนั้นเป็นทางลัด คือให้เล่นกันอยู่แต่ในซอย วนหัววนท้ายกันให้หนำ แล้วทันทีที่หมดสามวันอันครื้นเครงของเทศกาล ก็กลับมาเป็นชุมชน ตลาดสด อู่ซ่อมรถ ร้านกาแฟ ร้านสเต็กกันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งมีแค่ซอยเล็กๆ แคบๆ ซอยเดียวเท่านั้น ที่กั้นซอยบ้านฉันออกจากเรวดี ซึ่งไอ้ซอยบ้านฉันนี่ ก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนดูแล ยังจำได้ว่าเมื่อตอนยังเยาว์ ดึกๆ จะยังได้ยินเสียงแก๊งๆ ของแผ่นเหล็ก ที่มีคนมาคอยเคาะบอกเวลาสองยาม กับให้ระวังฟืนไฟ เดินเวียนเที่ยวไปทุกซอยและได้ยินแต่เสียงโดยไม่เคยเห็นหน้าตา เขาเล่ากันมาว่า (เขานี่คือใคร ฉันก็ไม่รู้อีกเหมือนกัน) มีคณะกรรมการบริหารซอย หรือผู้มีอำนาจอะไรสักอย่าง ที่ปลูกบ้านอยู่ในซอยนี้ เป็นคนสั่งการและควบคุมว่าจะทำอะไรยังไงกับซอย คล้ายๆ กลุ่มนิติบุคคลของคอนโด หรือส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรร ทั้งที่บ้านในนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่กันมาแต่เดิม อย่างบ้านฉันนี่ก็อยู่กันมาสี่สิบปี ฉันก็ไม่เคยเห็นกลุ่มบุคคล หรือใครที่ทรงอิทธิพลแบบนั้นมาถามอะไรบ้านฉัน วันดีคืนดีถนนในซอยก็ถูกปรับให้สูงขึ้น กว้างขึ้น สะอาดขึ้น […]

“Vélo’v” VS “ปันปั่น”

01/11/2019

หลายเมืองทั่วโลกได้นำเอาแนวคิด Smart City มาใช้ในการพัฒนาเมืองโดยอาศัยการเก็บรวมรวมข้อมูลพื้นฐานของเมืองเพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลโดยอาศัย Big Data มาเป็นตัวช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่พร้อมทั้งสามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ไปพร้อมๆ กันในเวลาอันรวดเร็วผ่านการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID (Radio Frequency Identification) และ Sensors ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิด ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย ผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงนับเป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้เมืองได้ดึงศักยภาพที่น่าจะมีในพื้นที่ออกมาได้เป็นอย่างดีหากได้รับความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน แต่การพัฒนาเมืองตามแนวทาง Smart City จะเป็นไปในทิศทางใดก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและบทบาทของเมือง  ยกตัวอย่างการพัฒนาเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวมรดกโลกของฝรั่งเศสที่นอกจากจะเป็นเมืองที่มีบทบาททางการท่องเที่ยว แล้วยังเป็นเมืองที่มีบทบาททางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีโครงการพัฒนาเมืองเกิดขึ้นอย่างมากมาย แนวทางการพัฒนาเมืองด้วยการใช้แนวคิด Smart City ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ลียงนำมาใช้ในการพัฒนาเมือง โดยนำเอา Big Data มาเป็นตัวช่วยในการรวบรวมและจัดการข้อมูลที่ได้จาก IoT มาจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่จนกลายเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถนำมาวิเคราะห์หาความต้องการของคนที่ใช้ชีวิตในเมือง เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ผ่านแผนการพัฒนา  อาศัยความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน คือภาครัฐ เอกชน และประชาชน เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานตามแนวทางของ Smart City โดยเอกชนจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา มีประชาชนเป็นคนให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเมือง และรัฐเป็นผู้สนับสนุนโดยการกำหนดกรอบการดำเนินงานปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ การบริหารจัดการเมืองให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสนับสนุนการให้บริการของภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งขอมูลที่มีประสิทธิผลที่สามารถยังประโยชน์อย่างยั่งยืนในแง่ของ เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของทุกคน โดยนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ มารวบรวบในรูปแบบของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ภายใต้ชื่อ Data Grand Lyon ที่เป็นตัวกลางรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของเมืองตลอดจนเป็นหน่วยงานที่กำหนดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อแชร์ให้กับทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึง และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวได้โดยทั่วถึง […]

บทบาทของย่าน La Part-Dieu กับการพา Lyon สู่เมืองชั้นนำในยุโรป

01/11/2019

คงปฏิเสธไม่ได้ว่ายุโรปเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักเดินทางหลายๆคน หรือยิ่งไปกว่านั้นคือความฝันที่จะใช้ชีวิตภายหลังเกษียณ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านสภาพอากาศ ธรรมชาติ ผู้คน ตึกรามบ้านช่องที่ดูสวยงามไปซะหมดเหมือนยกออกมาจากเทพนิยาย หรือหลายคนอาจมองไปถึง “คุณภาพชีวิตที่ดี” ที่หาได้ยากเหลือเกินในบ้านเมืองเรา ที่จริงแล้วใครกันที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างบ้านเมืองให้น่าอยู่ รัฐ เอกชน หรือประชาชนทุกคน อ่านมาถึงจุดนี้อย่าพึ่งด่วนสรุปถอดใจเพราะเมืองที่ดีคงไม่ได้มาเพราะความบังเอิญแน่นอน            จากสถิติปี 2015 องค์กรที่ปรึกษา ชั้นนำอย่าง PwC ได้จัดอันดับให้เมือง Lyon เป็นเมืองที่น่าดึงดูดสำหรับผู้มาเยือนที่สุดในฝรั่งเศสสามารถเอาชนะเมืองคู่แข่งสำคัญอื่นๆ อาทิ Paris Toulouse Bordeaux ยิ่งไปกว่านั้น ในปีเดียวกันการจัดอันดับเมืองที่น่าอยู่อาศัยที่สุดยังจัดอันดับให้ Lyon ติดอันดับที่ 16 ของเมืองในทวีปยุโรปยังไม่นับสถิติด้านเศรษฐกิจและการลงทุนอื่นๆ อีกมากมายที่เมืองนี้ถูกจัดอันดับให้ใกล้เคียงสูสีกับเมืองชั้นนำอื่นๆ ในทวีป หนึ่งในโครงการสำคัญที่สร้างการเติบโตและพัฒนาอย่างก้าวกระโดดให้เมืองคือโครงการพลิกฟื้นย่านเก่าแก่ด้านพาณิชยกรรมอย่างย่าน LaPart-Dieu ที่ริเริ่มครั้งแรกในช่วงปี 2007-2009 ผ่านการผลักดันอย่างต่อเนื่องของนักการเมืองคนสำคัญ Gérard Collomb (ตำแหน่งปัจจุบัน President of the Lyon metropolis) และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ผ่านการทำงานตลอดจนการเกิดขึ้นของบรรษัทพัฒนาเมือง Société Publique Locale (SPL) หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบและบริหารจัดการโครงการโดยตรง           องค์กร Société Publique Locale  หรือเรียกย่อๆ ว่า SPL คือหน่วยงานที่ร่วมกันก่อตั้งในปี 2014 ถือหุ้นโดย Lyon City และ Metropole de Lyon (เทียบกับบ้านเราก็เปรียบกับหน่วยงานระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ทำหน้าที่ที่ปรึกษาและบริหารจัดการด้านการออกแบบวางผัง การลงทุน การประชาสัมพันธ์โครงการต่อสาธารณชน ทั้งเอกชนที่สนใจมาลงทุนในโครงการและที่สำคัญทำความเข้าใจและรับฟังความต้องการของชาวเมืองและประชาชนในพื้นที่ ดูแลพื้นที่สำคัญขนาด 1.77 ตารางกิโลเมตรอย่างโครงการ La Part-Dieu ที่ได้เกริ่นข้างต้น แต่ทำไมต้องพื้นที่นี้ ย่านนี้สำคัญอย่างไร ? บริเวณ La Part-Dieu เป็นย่านพาณิชยกรรมเก่าแก่ที่ถูกพัฒนาฟื้นฟูมาตั้งแต่ช่วงปี 1960-1970 โดยความหาญกล้าของหน่วยงานท้องถิ่นในการนำค่ายทหารเก่าที่อยู่ใจกลางเมืองติดกับสถานีรถไฟกลาง (Gare de Lyon Part-Dieu) และด้วยทำเลที่ห่างจากศูนย์กลางเมืองเพียง 1.8 กิโลเมตรมาพัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยขนาด 2,600 ยูนิตสำหรับประชาชนทั่วไป หลังจากนั้นพื้นที่ขนาด 334 เอเคอร์ หรือ 1.35 ตร.กม. (พื้นที่ก่อนจะเพิ่มขอบเขตและดูแลโดย SPL) ได้ถูกจัดสรรแบ่งโซนและพัฒนาโครงการอื่นๆ […]