อากาศยานไร้คนขับ จากภารกิจช่วยผืนป่าสู่อนาคตขนส่งช่วยคนเมือง

18/05/2020

ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา เกิดกระแสข่าวการถ่ายภาพมุมสูงบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ถึงแม้จะมีการออกมาชี้แจงว่าเป็นการขอความร่วมมือให้ส่งภาพเฉพาะหน่วยงานเฉพาะกิจเท่านั้นด้วยหลายๆ เหตุผลที่มิอาจทราบได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์เป็นวงกว้าง   ก่อนอื่นต้องยอมรับและทำความเข้าใจก่อนว่าเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle) หรือ โดรน (Drone) ถูกพัฒนาและใช้ในต่างประเทศโดยเฉพาะกิจการทางทหารมานานแล้ว นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการใช้อากาศยานไร้คนขับในการโจมตีแต่ยังต้องพึ่งพาการบังคับจากมนุษย์ จนมาถึงปัจจุบันที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในการควบคุมการบินได้ โดยมีขนาดตั้งแต่ 5 เซนติเมตรไปจนถึง 50 เมตร ต่อมาโดรนที่ถูกใช้ในพลเรือนหรือประชาชนทั่วไปถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กและนำมาใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง การสำรวจพันธุ์สัตว์ป่า การลักลอบตัดไม้ การทำแผนที่ และแน่นอนการทำแผนที่ไฟป่าและการดับไฟป่าก็เป็นหนึ่งในการใช้ประโยชน์อย่างในกรณีของทางภาคเหนือนั่นเอง เนื่องจากโดรนสามารถถ่ายภาพมุมสูง ช่วยในการรับรู้ทิศทางของไฟ และความเสียหายของขนาดวงไฟที่กำลังเกิดขึ้น และสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที โดรน กับโอกาส ที่อาจจะปลดล็อกได้ การใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นทั้งของเล่นและอุปกรณ์ในการถ่ายภาพประกอบแต่เนื่องด้วยคุณลักษณะในการบินเหนือพื้นดิน โดรนจึงจำเป็นต้องมีกฎข้อบังคับการใช้งานเพราะอาจถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น การสอดแนม การติดอาวุธ และรวมไปถึงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ตามกฎหมายแล้ว โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัม และมีกล้องต้องขึ้นทะเบียน และหากมีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม  การใช้อากาศยานไร้คนขับยังมีข้อกำหนดที่ศึกษาอีกข้อคือ เขตห้ามบิน […]

“Vélo’v” VS “ปันปั่น”

01/11/2019

หลายเมืองทั่วโลกได้นำเอาแนวคิด Smart City มาใช้ในการพัฒนาเมืองโดยอาศัยการเก็บรวมรวมข้อมูลพื้นฐานของเมืองเพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลโดยอาศัย Big Data มาเป็นตัวช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่พร้อมทั้งสามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ไปพร้อมๆ กันในเวลาอันรวดเร็วผ่านการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID (Radio Frequency Identification) และ Sensors ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิด ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย ผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงนับเป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้เมืองได้ดึงศักยภาพที่น่าจะมีในพื้นที่ออกมาได้เป็นอย่างดีหากได้รับความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน แต่การพัฒนาเมืองตามแนวทาง Smart City จะเป็นไปในทิศทางใดก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและบทบาทของเมือง  ยกตัวอย่างการพัฒนาเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวมรดกโลกของฝรั่งเศสที่นอกจากจะเป็นเมืองที่มีบทบาททางการท่องเที่ยว แล้วยังเป็นเมืองที่มีบทบาททางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีโครงการพัฒนาเมืองเกิดขึ้นอย่างมากมาย แนวทางการพัฒนาเมืองด้วยการใช้แนวคิด Smart City ก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ลียงนำมาใช้ในการพัฒนาเมือง โดยนำเอา Big Data มาเป็นตัวช่วยในการรวบรวมและจัดการข้อมูลที่ได้จาก IoT มาจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่จนกลายเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถนำมาวิเคราะห์หาความต้องการของคนที่ใช้ชีวิตในเมือง เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ผ่านแผนการพัฒนา  อาศัยความร่วมมือของ 3 ภาคส่วน คือภาครัฐ เอกชน และประชาชน เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานตามแนวทางของ Smart City โดยเอกชนจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนา มีประชาชนเป็นคนให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเมือง และรัฐเป็นผู้สนับสนุนโดยการกำหนดกรอบการดำเนินงานปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ การบริหารจัดการเมืองให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสนับสนุนการให้บริการของภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งขอมูลที่มีประสิทธิผลที่สามารถยังประโยชน์อย่างยั่งยืนในแง่ของ เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของทุกคน โดยนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ มารวบรวบในรูปแบบของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ภายใต้ชื่อ Data Grand Lyon ที่เป็นตัวกลางรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของเมืองตลอดจนเป็นหน่วยงานที่กำหนดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อแชร์ให้กับทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึง และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวได้โดยทั่วถึง […]