จากการเมืองโลก ถึง วิกฤตเมืองเชียงใหม่ : มองโลกหลัง COVID-19 ผ่านสายตา ‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’

30/06/2020

บทความนี้ให้สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤษภาคม 2563 ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าปี 2020 จะเริ่มต้นด้วยการมาของไวรัส COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วทุกมุมโลก แต่อีกแง่หนึ่งวิกฤตครั้งนี้ก็เป็นเหมือนบทพิสูจน์ในการทดสอบศักยภาพที่แท้จริงของผู้นำหรือรัฐบาลแต่ละประเทศในการจัดการกับปัญหา ซึ่งก็มีทั้งที่ประสบความสำเร็จจนได้รับความชื่นชม และที่น่าผิดหวังจนได้รับเสียงก่นด่าจากประชาชนจำนวนมาก ไม่เพียงแค่ความเชื่อมั่นของคนในชาติที่สั่นคลอน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีรอยร้าวอยู่แล้ว ก็เด่นชัดขึ้นหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นจีนกับสหรัฐ ไต้หวันกับจีน หรือสหภาพยุโรปที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าตอบสนองต่อวิกฤตได้ไม่ค่อยดีนัก The Urbanis ชวนมองปัญหาที่เกิดขึ้นผ่านการสนทนากับ ‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’  Pre-Doctoral Fellow แห่งสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับดีกรีจบปริญญาโทด้านนโยบายสาธารณะจาก Harvard Kennedy School และกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ University of Oxford  อีกทั้งเขายังเป็นนักพัฒนากาแฟไทยที่ทำงานคลุกคลีกับชาวสวนกาแฟในภาคเหนือ จึงเห็นปัญหาของการจัดการของรัฐบาลตั้งแต่ปัญหาไฟป่าและฝุ่นละออง ไปจนถึงความบกพร่องของมาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างใกล้ชิด  บทสนทนาในวันนี้จึงว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สถานการณ์การเมืองโลก ไปจนถึงปัญหาเชิงสังคมที่เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนและมิติของเมืองในอนาคต  COVID-19 เหมือนเป็นบททดสอบที่เผยศักยภาพการทำงานที่แท้จริงของผู้นำและรัฐบาลแต่ละประเทศออกมา สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง  ฟูอาดี้ : ประสิทธิภาพของรัฐบาลที่เมื่อก่อนพอถูๆ ไถๆ ครั้งนี้มันโดนเปิดเผยออกมา เหมือนปัญหาที่อยู่ใต้ดินโดนเอาขึ้นมาบนดินหมดเลยว่าเรามีปัญหาอะไรบ้าง อย่างเรื่องความสับสนในการระบุเกณฑ์อย่างเจาะจงว่า ใครควรจะได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา 5,000 บาท หรือเมื่อมีนโยบายออกมาเเล้วว่าใครที่ควรได้รับเงิน […]

ชุมนุมอย่างไรให้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย คุยกับ ‘เป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ เมื่อประเทศขาดพื้นที่สาธารณะ ในการแสดงออกทางการเมือง

12/05/2020

ช่วงที่ผ่านมาคำว่า ‘ลงถนน’ ดูจะเป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้น  อาจนับตั้งแต่ผลการเลือกตั้งปี 62 ถูกประกาศ จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่บวกกับความไม่พอใจในการบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนเป็นการชุมนุมแบบ ‘แฟลชม็อบ’ ในหมู่นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ น่าเสียดายที่การเคลื่อนไหวครั้งนั้นต้องยุติลงเพราะการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาพการลงถนนที่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจึงเริ่มเลือนลางไป แต่คำว่า ‘ลงถนน’ กลับมาเด่นชัดขึ้นอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลขาดศักยภาพในการรับมือกับ COVID-19 จนสร้างผลกระทบต่อประชาชนทุกย่อมหญ้า แม้ตอนนี้สถานการณ์ COVID-19 จะยังไม่คลี่คลาย แต่หลายฝ่ายต่างลงความเห็นตรงกันว่า ‘สิ้น COVID-19 นี้อาจเกิดการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่’   อย่างไรก็ตามการชุมนุมที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถือว่าไม่ง่ายเลย ทั้งในแง่ของการปฏิบัติและในเชิงพื้นที่ แต่จะทำอย่างไรให้การชุมนุมดำเนินไปได้ ?  หากจะมีใครสักคนให้คำตอบได้ ‘เป๋า’ ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) น่าจะเป็นคนนั้น  จากประสบการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา และการทำงานภาคประชาสังคมที่หยิบจับประเด็นทางกฎหมายมาสื่อสารให้เกิดการตั้งคำถาม ไปจนถึงการทำงานรณรงค์ด้านสิทธิเสรีภาพอย่างแข็งขัน เมื่อเอ่ยถึงเรื่องกฎหมายที่พ่วงมากับการเคลื่อนไหวทางการเมืองทีไร ชื่อของเขามักปรากฎขึ้นมาเสมอ  บทสทนาระหว่าง The Urbanis กับ เป๋า ยิ่งชีพ ในวันนี้ จึงว่าด้วยการชุมนุมประท้วงอย่างไรให้ไม่ให้ผิดกฎหมาย พร้อมพูดคุยถึงปัญหาเรื่องพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ชุมนุม […]

ART SPACE กระจกสะท้อนความสำคัญของศิลปะในมุม อุทิศ เหมะมูล

06/01/2020

ปกติ ‘อุทิศ เหมะมูล’ เป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนมือดีเจ้าของผลงานวรรณกรรมเปี่ยมคุณภาพหลายเล่มโดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง ‘ลับแล, แก่งคอย’ ที่ส่งให้เขาได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2552 และในปี พ.ศ. 2561 เขาก็ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ จากความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 15  ปี แต่หลังจากอุทิศลุกขึ้นมาจัดแสดงนิทรรศการ ‘ภาพร่างของปรารถนา’ ที่รวมผลงานจิตรกรรมของ ‘เข้าสิง’ ตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง ‘ร่างของปรารถนา’ มาจัดแสดง พร้อมกับเปลี่ยนเรื่องราวบนหน้ากระดาษไปสู่ละครเวที ‘ปรารถนา : ภาพเหมือนการเข้าสิง’ ซึ่งเป็นการร่วมงานกับ ‘โทชิกิ โอคาดะ’ (Toshiki Okada) ผู้กำกับละครเวทีชื่อดังชาวญี่ปุ่น และออกตะเวนแสดงไปทั่วโลก ทั้งกรุงเทพฯ โตเกียว และปารีส ชื่อของ ‘อุทิศ เหมะมูล’ ก็ถูกพูดถึงในฐานะ ‘ศิลปิน’ ที่ทำงานศิลปะขนานกันไปกับงานวรรณกรรม  ผลงานครั้งนั้นไม่เพียงแค่พิสูจน์ว่าอุทิศยังคงมีฝีไม้ลายมือด้านศิลปะ แต่เป็นใบเบิกที่บอกว่าเขาหวนกลับมาทำงานศาสตร์นี้เต็มตัวหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรหรือเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว   หลังจากนั้นเราก็ได้เห็นผลงานของเขาอีกครั้งในนิทรรศการ ‘ความสุขของแสง The Light of […]

The Better City ของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ “เราคือเมือง เมืองคือประชาชน”

29/11/2019

แม้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ยังมาไม่ถึง แต่คนที่เรารู้อย่างแน่ชัดแล้วว่าจะลงแข่งขันในศึกชิงตำแหน่งครั้งนี้แน่นอนก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ อดีตรองศาสตราจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมผู้ได้รับสมญานามว่า ‘รัฐมนตรีผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี’  บ่อยครั้งที่ใครๆ ก็พบเห็นชายผู้แข็งแกร่งที่สดในปฐพีคนนี้ไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนลุมฯ และถ้าเข้าไปทักทายของถ่ายรูปด้วย ก็จะได้รับปฏิกิริยาตอบกลับแบบยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นมิตรเสมอ ไลฟ์สไตล์ติดดิน เข้าถึงง่าย ชัชชาติเป็นหนึ่งในนักการเมืองไม่กี่คนที่ประชาชนรู้สึกคุ้นเคย รวมไปถึงพื้นที่โซเชียลมีเดียด้วย ดังนั้น ชัชชาติจึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับผู้ท้าชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. โดยเฉพาะเมื่อเขาตัดสินใจลงในนามอิสระ ด้วยเหตุผลที่ว่า ‘สามารถทำงานกับทุกภาคส่วนได้มากกว่าลงสมัครในนามพรรคการเมือง’  ว่าแต่ว่า วิสัยทัศน์ในเรื่อง ‘เมือง’ ของผู้ชายคนนี้จะเป็นอย่างไร The Urbanis อยากชวนคุณไปพูดคุยกับเขาหลังการบรรยายครั้งสำคัญในหัวข้อ “Better City จะทำเมืองให้ดีขึ้นได้อย่างไร”  การบรรยายนี้จัดขึ้นโดย ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง (CUURP) คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ซึ่งนอกจากจะเปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาเมืองให้แก่นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ยังทำให้เรา ‘เห็น’ ชัดเจนอีกด้วย ว่าชัชชาติมีวิสัยทัศน์ต่อกรุงเทพฯ อย่างไร รวมทั้งเขาอยากทำอะไรบ้าง – เพื่อให้กรุงเทพฯ ดีขึ้น ชัชชาติเริ่มการบรรยายด้วยการตั้งคำถามว่า ‘เมืองที่ดีคืออะไร’ เพราะการจะวัดผลว่าดีหรือไม่ดีนั้น […]

City Farming เมื่อเซินเจิ้นจับแปลงปลูกผักมาสู่แหล่งช้อปปิ้งกลางเมือง

21/11/2019

คุณอาจเคยเห็นแปลงผักขนาดย่อมบนพื้นที่รกร้างในหมู่บ้าน ที่เพื่อนบ้านสักคนเข้าไปปลูกผักสวนครัวไว้ พอจะกินก็เดินออกมาเก็บไปประกอบอาหาร มองดูแล้วเป็นวิถีชีวิตที่ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหากบ้านคุณอยู่ในชุมชนชานเมืองหรือในต่างจังหวัด แต่ถ้าคุณย้ายเข้ามาอยู่ในเมือง ใช้ชีวิตอยู่บนคอนโดนิเนียมที่พื้นที่โดยรอบอัดแน่นไปด้วยตึกรามบ้านช่อง คงไม่พบเจอภาพวิถีชีวิตแบบนั้นอีกแล้ว ยิ่งใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยศูนย์การค้า เรายิ่งนึกภาพไม่ออกเลยทีเดียวว่าจะมีแปลงเกษตรเกิดขึ้น ทว่าเมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน กลับได้ทำให้ภาพเบลอๆ ที่เหมือนอยู่ในจินตนาการเหล่านั้น ออกมาเป็นรูปธรรมได้สำเร็จ เพราะเขาใช้แนวคิด City Farming City Farming คือ แปลงเกษตรในเขตเมืองที่มีความเกี่ยวข้องกับคนที่ทำงานกับสัตว์และพืชเพื่อผลิตอาหาร ฟาร์มในเมืองมักเป็นสวนที่ดำเนินการโดยชุมชนซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์กับชุมชนและให้ความรู้ด้านการเกษตรและการทำฟาร์มแก่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเมือง ฟาร์มในเมืองจึงเป็นเสมือนแหล่งความมั่นคงด้านอาหารที่สำคัญสำหรับชุมชนหลายแห่งทั่วโลกโดยอาจจะมีตั้งแต่แปลงเล็ก ๆ ไปจนถึงฟาร์มขนาดใหญ่ที่ครอบครองพื้นที่หลายตารางเมตร ทั้งนี้ ในอดีต เซินเจิ้นเป็นเพียงพื้นที่ทำเกษตรกรรมรายย่อยและเป็นหมู่บ้านชาวประมงที่มีสภาพความเป็นอยู่เข้าขั้นยากจน แต่หลังจากรัฐบาลจีนมีนโยบายประกาศให้เซินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรก พื้นที่เกษตรกรรมเหล่านั้นก็ถูกแทนที่ด้วยตึกสูงระฟ้าของสำนักงานใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และคอนโดมิเนียมจำนวนมาก   ความเจริญขยายเข้ามาสู่ตัวเมืองอย่างรวดเร็วจนแทบไม่มีเค้าโครงเดิมเหลืออยู่ เซินเจิ้นกลายมาเป็น Urban Lifestyle เช่นเดียวกับมหานครใหญ่ของโลกหลายแห่ง และดูท่าการความเติบโตของเซินเจิ้นก็คงไม่หยุดลงเพียงเท่านี้ เพราะรัฐบาลจีนกำลังมียุทธศาสตร์ที่จะผลักดันเซินเจิ้น ให้เป็น “Silicon Valley of Asia” ซึ่งถ้าหากยุทธศาสตร์นี้ทำได้สำเร็จจริง คงสามารถขับเคลื่อนทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศและดึงผู้คนอีกมากมายให้หลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่า แน่นอนว่าการเติบโตของเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรลดลง และทำให้คนเมืองมีวิถีชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ ตัดขาดจากการไปใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ชนบทอย่างสิ้นเชิง ซึ่งรัฐบาลจีนเองก็เล็งเห็นถึงความสำคัญตรงนั้น จึงออกแบบโครงการ Landgrab City หรือแปลงเกษตรขนาดใหญ่ให้อยู่ใจกลาง […]

Why so democracy on public space ประชาธิปไตยบนที่สาธารณะของ ไอติม – พริษฐ์ วัชรสินธุ

13/11/2019

ชื่อของ ‘ไอติม’ – พริษฐ์ วัชรสินธุ ถูกจับตามองว่าเป็นนักการเมืองเลือดใหม่ไฟแรงมาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ’62  แม้ว่าผลการเลือกตั้ง ส.ส. ของเขาจะไม่เป็นไปอย่างใจหวัง แต่อดีตนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์คนนี้ยังคงเดินหน้าเรียกร้องประชาธิปไตยต่อไปภายใต้การเป็นนักการเมืองอิสระ, แกนนำกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า และบทบาทใหม่ล่าสุดของเขากับการเขียนหนังสือ ‘Why So Democracy ประชาธิปไตยมีดีอะไร’ หนังสือที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับประชาธิปไตย บนพื้นฐานความเคลือบแคลงใจทางการเมืองที่หลายคนอาจเคยตั้งคำถามกับตัวเอง เมื่อคำถามเป็นบ่อเกิดของหนังสือเล่มนี้ เราจึงอยากตั้งคำถามไอติมกลับว่า “Why so democracy on public space ” เพื่อเป็นบ่อเกิดของความเข้าใจว่าพื้นที่สาธารณะนั้นสัมพันธ์อย่างไรกับประชาธิปไตย  และเมื่อเราขาดแคลนพื้นที่สาธารณะ เราจึงขาดความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือเปล่า  พื้นที่สาธารณะมีความเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยอย่างไร ไอติม : มันมีความเชื่อมโยงกันพอสมควรนะครับ  อย่างแรกคือเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงพื้นที่ทำมาหากิน เพราะว่าท้ายที่สุดแล้วประชาธิปไตย คือการที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน แน่นอนถ้าแปลโดยตรง มันคือการมีสิทธิที่เท่าเทียมกันทางการเมืองในการกำหนดประเทศ แต่ว่าในภาษาอังกฤษเนี่ยเขาจะใช้คำว่า Democratize Education Democratize Healthcare คือทำให้การศึกษาและสาธารณสุขเป็นประชาธิปไตย หมายความว่าการทำให้คนมีสิทธิเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพมากขึ้น เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพมากขึ้นบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน  เพราะฉะนั้นเรื่องที่ดิน เรื่องพื้นที่สาธารณะก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ปัจจุบันถ้าเราไปดูความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยเนี่ย อันที่สูงสุดน่าจะเป็นความเลื่อมล้ำของที่ดิน คือคนแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์คุมที่ดินหลายเปอร์เซ็นของประเทศ เพราะงั้นถ้าเกิดมันไม่มีพื้นที่สาธารณะเลย หรือถ้าไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวยและมีที่ดินมันก็ลำบาก   […]

แหม่ม-วีรพร นิติประภา การเดินทางครึ่งชีวิตบนเมืองฝันสลาย

31/10/2019

บางคนนิยามกรุงเทพฯว่า เป็นเมืองคนเหงา บ้างก็ว่าเป็นเมืองแห่งโอกาส ส่วนบางคนก็เรียกเมืองแห่งสีสัน แต่สำหรับ ‘แหม่ม-วีรพร นิติประภา’ นักเขียนดับเบิ้ลซีไรต์ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้เกือบทั้งชีวิต เธอให้นิยามกรุงเทพฯ ไว้ว่า‘เมืองฝันสลาย’ “ถามว่าพี่รักเมืองนี้ไหม..พี่เรียกมันว่าเมืองฝันสลายเวลาพี่เขียนนิยาย เพราะพี่รู้ว่ามันเป็นเมืองที่ไม่มีอะไรให้ใครฝันถึง มันเป็นเมืองที่ผู้คนวิ่งเข้ามาหาโอกาสแล้วก็อกหักกลับไป”  น้ำเสียงแผ่วเบาที่อ่อนลงเรื่อยๆ จากความเหนื่อยใจ คือคำตอบที่ว่าทำไมกรุงเทพฯ ไม่ใช่เมืองในฝันสำหรับวีรพร แต่ในขณะเดียวกัน เธอก็มองว่านี่อาจเป็นเสน่ห์ของมัน เมืองที่มีทั้งความรวย ความจน ความสวยงาม และความน่าเกลียดผสมรวมกันอยู่ในพื้นที่เดียว ตลอดระยะเวลากว่า 57 ปีในชีวิตของวีรพรบนเมืองฝันสลาย  เธอเห็นการเปลี่ยนผ่านของกรุงเทพฯ อย่างไรบ้าง และอะไรคือเหตุผลที่ทำให้กรุงเทพฯ ยังคงเป็นบ้านสำหรับเธอ หรือเพราะอีกฝากความวุ่นวายยังมีความอบอุ่นของย่านเมืองเก่าที่หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของกรุงเทพฯ รวมทั้งจิตวิญญาณของวีรพรใช่หรือเปล่า เมื่อได้ยินคำว่ากรุงเทพฯ ภาพความทรงจำแรกที่ขึ้นมาคืออะไร แหม่ม : รถติด จริงๆ มันก็เป็นเมืองที่มีทุกอย่างนะ เวลาที่พี่ไปเมืองอื่นๆ ไม่ใช่แค่เมืองนอกนะ แต่ในเมืองไทยเองพี่ก็มักจะมองหาเมืองที่มีด้านสองด้าน และพี่ก็พบว่ากรุงเทพฯ มันอาจจะมีด้านอย่างนั้นอะนะ ก็อาจจะเป็นอย่างนี้ก็ได้ที่พี่ทนอยู่กรุงเทพฯ ได้มาอย่างยาวนาน เพราะมันมีทั้งส่วนที่ดีที่สุดเท่าที่เมืองๆ หนึ่งควรจะมีกับส่วนที่แย่ที่สุดเท่าที่เมืองๆหนึ่งควรจะมีได้เช่นกัน มีความรวย มีความจน มีความสวยงามกับน่าเกลียดพอๆ กัน ในฐานะที่อยู่กรุงเทพฯ มานาน เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไรของกรุงเทพฯ […]