ชุมชนแออัดแห่งยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ประวัติศาสตร์เมืองบนภาพแกะสลักไม้

05/10/2021

โลกของเราได้เข้าสู่ช่วงแห่งเวลาใหม่ภายหลังเหตุการณ์การปฏิวัติครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 คือ ช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดลงมาในภาพวาด ณ สมัยนั้น ทำให้เราเห็นสามารถเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสิ่ง ๆ ต่างได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น  เมืองก็เป็นอีกสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม อย่างที่เรารู้กันอยู่เสมอว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นทำให้มีผู้คนจำนวนมากจากทุกสารทิศแห่กันเข้ามาในเมืองเพื่อทำงาน ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เห็นได้จากยุโรปในช่วง ค.ศ. 1890 ที่สัดส่วนของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 โดยทั้งจำนวนประชากรและโรงงานอุตสาหกรรมที่มาก สถาพสังคมเมืองในสมัยนั้นจึงมีด้านมืดอยู่หลายอย่าง ๆ ด้านมืดเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านภาพวาดในหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งในบทความนี้จะแสดงถึงภาพวาดที่บอกเล่าด้านมืดทางสังคมอย่างชุมชนแออัดที่เกิดขึ้น เนื่องจากความหนาแน่นที่สูงของประชากรในเมือง อย่างที่เรารู้กันว่ามีผู้คนจำนวนมาอพยพเข้ามาในเมืองช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผู้คนที่อพยพเข้ามาเหล่านี้ส่วนมากก็คือ แรงงานที่เข้ามาเพื่อทำงาน พวกเขาไม่ได้มีทรัพย์สินมากมายพอจะสร้างที่อยู่อาศัยที่ดีได้ ประกอบกับอาชีพแรงงานที่ต้องทำงานตลอดเวลา พวกเขาจึงต้องไปอาศัยอยู่รวมกันใกล้โรงงานอุตสาหกรรมบริเวณใจกลางเมือง จนเกิดเป็นชุมชนแออัดกลางเมืองขึ้น  ในพื้นที่ชุมชนแออัด บ้านถูกก่อสร้างในลักษณะหันหลังชนกัน (back-to-back houses) ยาวเป็นแถว แต่ละแถวคั่นด้วยซอยแคบ ด้วยความที่มีผู้คนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ทำให้สภาพพื้นที่เต็มไปด้วยความสกปรก ความแออัด เช่น เช่น ณ กรุงปารีส แรงงานประมาณ 30,000 คนต้องอาศัยในห้องเช่าที่มีขนาดเล็ก […]

เมืองกับศักยภาพการเป็นโรงพยาบาลสนามในภาวะฉุกเฉิน ย้อนมองไทย สหรัฐฯ และอินเดีย

30/06/2021

ภาพปกบทความ โดย สำนักประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร สถานการณ์ฉุกเฉินอย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนมองเห็นคุณค่าของพื้นที่สาธารณะและพื้นที่กึ่งสาธารณะของเมืองในมุมมองที่แตกต่างจากภาวะปกติ ดังเห็นว่าพื้นที่บางประเภท เช่น หอประชุม สนามกีฬาในร่ม อาคารเรียน ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานเพื่อรองรับความต้องการของเมืองในยามคับขัน เช่น ถูกปรับเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเเบ่งเบาภาระของสถานพยาบาลที่มีจำนวนไม่เพียงพอกับผู้ติดเชื้อ ไทยกับปรากฏการณ์เตียงผู้ป่วย ห้อง ICU ที่ไม่เพียงพอ ข้อมูลจากสำนักข่าวบีบีซีไทย (28 เมษายน 2564) พูดถึงประเด็นน่ากังวลเรื่องการจัดหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด-19 และจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยไอซียูห้องความดันลบเริ่มจะเต็มกำลังการรองรับของระบบสาธารณสุข ภายหลังเกิดการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานยอดผู้ป่วยสูงขึ้นสู่ระดับ 2,000 คนต่อวัน โดยระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 25644 ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นจาก 418 ราย เป็น 695 ทำให้สถานการณ์เตียงสำหรับผู้ป่วยอาการหนักหรือไอซียู เกิดสภาวะที่เรียกว่า “เตียงตึง” โดยกรมการแพทย์ให้ข้อมูลว่า มีผู้ป่วยครองเตียงไปแล้ว 70-80% ทั่วประเทศ ไม่เพียงเตียงผู้ป่วยและเตียงผู้ป่วยไอซียูที่ไม่เพียงพอ แต่เครื่องช่วยหายใจและระบบความดันลบก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากมีผู้ป่วยหนักย่อมแสดงว่าความต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจก็มีมากขึ้น ขณะนี้เครื่องช่วยหายใจที่ต้องมีระบบออกซิเจนเริ่มมีไม่เพียงพอ อีกทั้งการที่มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นยังทำให้พื้นที่โรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างเพียงพอ สถานการณ์ไทยเทียบกับอินเดียแล้วหรือไม่? สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 […]

เมืองแห่งการเรียนรู้และถกเถียง ณ ยุคแห่งแสงสว่างทางปัญญา (The Enlightenment)

23/06/2021

ยุคสมัยแสงสว่างทางปัญญาเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18  เป็นยุคสมัยแห่งกระบวนการทางปรัชญา การเมืองและสังคม ที่เชื่อว่ามนุษย์สามารถประยุกต์ให้เหตุผล และจิตวิญญาณแห่งการวิพากษ์ วิจารณ์กับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ อันเป็นรากฐานของความคิดแบบประชาธิปไตยที่ผู้คนสามารถวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลได้ ตามหลักการสำคัญจากคำพูดของ Immanuel Kant นักปรัชญาชาวเยอรมัน ที่กล่าวว่า “Sapere Aude: sich seines Verstandes ohne Leitung anderer zu bedienen”  จงกล้าที่จะใช้ปัญญาญาณแห่งตน โดยปราศจากการชี้นำจากผู้อื่น หมายความว่า ใช้สติปัญญาตนเองในการคิด การใช้เหตุผล (individual reasoning) และนำเหตุผลของตัวเองไปใช้ในการแสดงความเห็น ในสังคมที่มีเสรีภาพในการพูด และอื่นๆ  วัฒนธรรมการถกเถียง เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชนชั้นกลาง (bourgeois) ที่ส่วนมากจะอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองที่กำลังเติบโตในยุคสมัยแสงสว่างทางปัญญา ชนชั้นกลางเหล่านี้มักเป็นพวกประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้า การลงทุน และอุตสาหกรรม รวมถึงประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความรู้วิชาชีพเฉพาะทาง (the professionals) เช่น แพทย์ ทนายความ ข้าราชการระดับล่าง ถือเป็นกลุ่มหลักที่รับผิดชอบการเสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล มีรายได้สัมพันธ์กับระบบตลาดและการผันผวนของระบบการค้าและระบบเศรษฐกิจ และเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทในด้านการคิดค้นวิทยาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความชำนาญของตนเอง ด้วยบทบาทที่มากเช่นนี้ในสังคม […]

สวนสาธารณะที่ไม่สาธารณะ กับ ความต้องการพื้นที่สีเขียวที่มากขึ้นในวิกฤตโรคระบาด

21/06/2021

ภาพปก Tree photo created by tirachard – www.freepik.com การระบาดของโควิด-19 ในหลายระลอกที่ผ่านมา กระทบโดยตรงต่อผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น การวิ่งในสวนสาธารณะ เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีคำสั่งปิดใช้งานสวนสาธารณะ นับรวมเป็นเวลาหลายเดือนที่พื้นที่สำหรับเสริมสร้างสุขภาวะ ถูกลบไปจากวิถีชีวิตประจำวันคนเมือง คำถามคือในภาวะล็อคดาวน์และกึ่งล็อกดาวน์ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น มิใช่พื้นที่สีเขียวหรอกหรือที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตเมืองให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ โดยไม่กระทบร่างกายและจิตใจมากเกินไป กรุงเทพฯ เขียวน้อยลงได้อีกในภาวะโรคระบาด แม้ในภาวะปกติ พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯเดิมก็มีให้ใช้ประโยชน์ไม่มากอยู่แล้วเมื่อเทียบสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในมหานครทั่วโลก ข้อมูลพื้นที่สีเขียวของสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม ระบุว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวที่นับรวมจากพื้นที่สวน 7 ประเภททั้งสิ้น 40 ตารางกิโลเมตร (40 ล้านตารางเมตร) ทำให้ประชากร 5,487,876 คนในกรุงเทพฯ (อ้างอิงข้อมูลกระทรวงมหาดไทย และยังไม่รวมประชากรแฝงอีกจำนวนมาก) เข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้เฉลี่ยประมาณ 7 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ 9 ตารางเมตรต่อคน อ่านต่อ กรุงเทพฯ เขียวได้ แต่อยากเขียวแค่ไหน เมื่อย้อนอ่าน ประกาศกรุงเทพมหานครสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว ซึ่งรวมไปถึง สนามกีฬาทุกประเภท สวนสาธารณะ ลานสาธารณะ […]

รู้จัก Gay Village และพลวัตเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ

14/06/2021

เรียบเรียง : สรวิชญ์ ธรรมระติวงศ์, หฤษฎ์ ทะวะบุตร ภาพปก : ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ที่หลายเมืองให้ความสนใจและกำหนดเป็นเป้าหมายของการพัฒนานั้น นอกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กลไกการบริหารจัดการ ระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศ หากประกอบที่สำคัญไม่แพ้กันคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็น Smart People และสภาพที่แวดล้อมที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้คนที่หลากหลายอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยและเป็นสุข บทความชิ้นนี้ตั้งใจบอกเล่าเกี่ยวกับย่านและเมืองของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในเมืองบนโลกปัจจุบัน ที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนิยมอยู่อาศัยและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว เพราะเป็นย่านในเมืองหรือเมืองที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับพวกเขาในสภาพสังคมปัจจุบันที่หลายๆ ประเทศ อาจจะยังไม่เปิดกว้างในเรื่องความหลากหลายทางเพศมากนัก Gay Village กำเนิดย่านของผู้มีความหลากหลายทางเพศ พื้นที่เมืองอันเป็นย่านของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “Gay Village” พบได้ทั่วไปในมหานครทั่วโลก มีลักษณะสำคัญคือเป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (LGBTQ+ Urban Space) และมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่าง คลับ บาร์ ซาวน่า ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า ร้านหนังสือ ร้านอาหาร และอื่น ๆ อีกมากมาย ในช่วงแรก Gay Village […]

Hudson Yards ย่านพัฒนาแบบผสมผสานแห่งมหานครนิวยอร์ก ส่วนผสมที่ลงตัวของ luxury และ creativity

09/06/2021

การวางผังพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน (mixed-use development) เป็นเทรนด์การพัฒนาเมืองที่มหานครทั่วโลกให้ความสนใจ ด้วยหลายสาเหตุ เช่น พื้นที่เมืองที่จำกัดทำให้การใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่าจึงเป็นเรื่องสำคัญ หรือการสร้างกลุ่มอาคารสูงและทันสมัยของสำนักงานขนาดใหญ่ หรืออื่น ๆ ด้วยสาเหตุเหล่านี้เองการพัฒนาพื้นที่ mixed-use ในมหานครยุคปัจจุบัน จึงมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่มาก และประกอบอาคารสูงหลายแห่งเกาะกลุ่มรวมกัน ซึ่งตัวอย่างที่ผู้เขียนอยากจะนำเสนอวันนี้คือ Hudson Yards ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่แบบ mixed-use ขนาดใหญ่บริเวณทางตะวันตกของ Midtown Manhattan ซึ่งถือเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ mixed-use ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ที่ตั้งของโครงการ Hudson Yards เดิมเป็นทางผ่านของทางรถไฟ Hudson River Railroad เชื่อมระหว่างมหานครนิวยอร์กกับพื้นที่ตอนบนของรัฐนิวยอร์ก (Upstate New York) ที่ตั้งของ Hudson Yards จึงเคยเป็นลานขนส่งสินค้ามาก่อน (freight yards) ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การใช้รถไฟในสหรัฐอเมริกาเริ่มเสื่อมความนิยม แทนที่ด้วยการเกิดขึ้นของทางหลวงเชื่อมระหว่างรัฐ (Interstate Highways) ที่ทำให้การขนส่งสินค้าสะดวกสบายกว่าโดยรถไฟแบบเดิม ลานขนส่งสินค้าที่เคยพลุกพล่านก็เงียบเหงาลง พื้นที่ Hudson Yards ก็เช่นเดียวกัน […]

สังคมเมืองกับวัฒนธรรมการเดินเตร็ดเตร่ของผู้คน

07/06/2021

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้หลายคนต้องอยู่บ้าน และทำให้ชีวิตของคนเมืองต้องเปลี่ยนไป จากเดิมที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย ความเร่งรีบ นำไปสู่สังคมในแบบใหม่ที่ผู้คนใส่หน้ากากอนามัยเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กัน ความเร่งรีบที่หายไปจากการทำงานที่บ้าน ความวุ่นวายที่หายไปจากการทำงานที่บ้าน และความกลัวต่อเชื้อไวรัสของผู้คน สังคมเมืองแบบที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายและความเร่งรีบ ก่อตัวชัดเจนในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผู้คนจำนวนมากต้องอพยพเข้ามาในเมืองเพื่อหางานหาโอกาส ทำให้ในเมืองเต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมาก และผู้คนเหล่านั้นก็มีความหลากหลาย สิ่งที่น่าสนใจคือ ในปัจจุบันมีผู้คนบางกลุ่มที่ชอบการออกไปเจอผู้คน การเข้าไปในฝูงชนเพื่อลิ้มรสความวุ่นวายอันเป็นเสน่ห์ของสังคมเมือง ซึ่งอันที่จริงแล้วคนกลุ่มนี้ได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมเมืองที่ก่อตัวขึ้นในช่วงยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในสมัยนั้นคนกลุ่มนี้ก็คือ ผู้คนที่ชื่นชอบลิ้มรสสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย และความเร่งรีบ ผ่านการแฝงตัวเข้าไปในฝูงชนอันวุ่นวายนี้ พวกเขามีชื่อเรียกว่า “flaneur” (ฟลาเนอร์) ซึ่งบทความชิ้นนี้เราจะกล่าวถึงที่มาของพวกเขาอย่างคร่าว ๆ  สังคมเมืองยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ก่อนจะกล่าวถึง the flaneur เราต้องรู้ถึงเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การก่อตัวขึ้นของสังคมเมืองในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อน สังคมเมืองเริ่มเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ทำให้เกิดการอพยพของผู้คนในชนบทจำนวนมากเข้ามาในเมือง เพื่อเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดกระบวนการขยายตัวของเมืองไปยังพื้นที่ชนบท (urban growth) ดังเช่นในภาพด้านล่างที่แสดงถึงการขยายตัวของมหานครลอนดอน และเมื่อประชากรในเมืองเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่ทำอาชีพเป็นแรงงานอุตสาหกรรมที่มีรายได้ที่มั่นคงและแน่นอนมากขึ้น จึงทำให้ความสามารถที่จะซื้อสินค้าได้เพิ่มขึ้นไปด้วย รวมถึงเวลาอยู่ในเมืองเราไม่ได้มีอาหารรองรับเหมือนตอนทำเกษตรกรรม เราต้องไปหาซื้ออาหารมากิน ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ผลิตพยายามผลิตสินค้าและบริการออกมามากขึ้น เพื่อตอบรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ การเกิดขึ้นของสังคมเมือง จุดเด่นของสังคมเมืองคือความเป็นสังคมบริโภคนิยม และความเป็นสังคมแบบไร้ชื่อ ผู้คนในสังคมไม่รู้จักกัน แต่อยู่ร่วมกันในลักษณะของฝูงชนในเมือง […]

เมื่อ Smart City คือเมืองที่เต็มไปด้วยคนสมาร์ต เมืองซูวอนผลักดันให้คนเข้าถึงการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาอย่างไร

25/05/2021

“เรากำลังสร้างอนาคตที่สดใสให้กับพลเมืองซูวอนในเมืองที่เห็นแก่ผู้อื่นที่เน้นการเรียนรู้และการแบ่งปันเป็นศูนย์กลาง” Mr.Tae-young Yeom นายกเทศมนตรีเมืองซูวอน ประเทศเกาหลีใต้ ปัจจุบันเทรนด์ของการพัฒนาเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ต่างสอดรับกับการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันมากขึ้น การพัฒนาเมืองจึงเน้นในการด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมในการบริหาร การออกแบบ และการใช้ชีวิตในเมือง หรือมีเทรนด์การพัฒนาเมืองที่เรารู้จักกันในชื่อว่า “เมืองอัจฉริยะ” (Smart City)  การที่เมืองแห่งหนึ่งจะกลายเป็นเมืองอัจฉริยะได้ เมืองแห่งนั้นต้องมีองค์ประกอบหลัก ๆ 6 ประการ (Six Dimensions of Smart City) หากมีเพียงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเมืองแห่งนั้นก็จะถือว่าเป็น Smart City ได้แล้ว โดยในบทความนี้จะกล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบหนึ่งได้แก่ Smart People  จากไดอะแกรมข้างต้น คำว่า Smart People เกี่ยวโยงกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง ในเมืองอัจฉริยะนั้นผู้คนจะต้องมีความรู้ มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี มีความสามารถที่จะอยู่ร่วมกันกับสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ ซึ่งการที่ผู้คนในเมืองจะมีคุณสมบัติดังกล่าว สามารถทำได้ผ่านการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ จึงเกิดเป็นคำพูดว่า “Lifelong Learning” หรือ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” การที่ผู้คนในเมืองจะสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้นั้นก็ต้องอาศัยการพัฒนาเมืองให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้ จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า “เมืองแห่งการเรียนรู้” (Learning […]